รู้จัก KT-Luxury โอกาสการเติบโตไปกับเมกะเทรนด์ธุรกิจแบรนด์หรู
บลจ . กรุงไทย x ลงทุนแมน
รู้หรือไม่ว่าบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในทวีปยุโรป ไม่ได้ทำธุรกิจเทคโนโลยี
แต่ทำธุรกิจแบรนด์หรู โดยเขามีชื่อว่าคุณ “Bernard Arnault”
เจ้าของทรัพย์สินมูลค่ามากถึง 5.2 ล้านล้านบาท
(ที่มา: Forbes ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2565)
แต่ทำธุรกิจแบรนด์หรู โดยเขามีชื่อว่าคุณ “Bernard Arnault”
เจ้าของทรัพย์สินมูลค่ามากถึง 5.2 ล้านล้านบาท
(ที่มา: Forbes ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2565)
โดยเขาเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท LVMH เจ้าของแบรนด์หรู Louis Vuitton, Céline, Fendi, Givenchy และอีกหลายแบรนด์ในหลากธุรกิจ ทั้งแฟชั่นหรู ร้านเครื่องสำอาง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรู
ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2565 LVMH มีมูลค่าบริษัทราว 11 ล้านล้านบาท
มูลค่าเพิ่มขึ้นมา มากถึง 153% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
(ที่มา: Yahoo Finance ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2565)
มูลค่าเพิ่มขึ้นมา มากถึง 153% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
(ที่มา: Yahoo Finance ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2565)
เร็ว ๆ นี้เอง KTAM กำลังจะมีการเปิด IPO หรือการเปิดให้นักลงทุนเข้าไปจองซื้อกองทุน
ที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นของธุรกิจแบรนด์หรูโดยเฉพาะ ชื่อว่า KT-Luxury
แล้วกองทุนนี้ น่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นของธุรกิจแบรนด์หรูโดยเฉพาะ ชื่อว่า KT-Luxury
แล้วกองทุนนี้ น่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ก่อนอื่น เรามาดูความน่าสนใจของอุตสาหกรรมแบรนด์หรูกันก่อน
ในความเป็นจริงแล้ว ธุรกิจกลุ่มนี้ เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์
ไม่แพ้ธุรกิจเทคโนโลยีหรืออุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น แบตเตอรี่ หรือรถยนต์ไฟฟ้า
ในความเป็นจริงแล้ว ธุรกิจกลุ่มนี้ เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์
ไม่แพ้ธุรกิจเทคโนโลยีหรืออุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น แบตเตอรี่ หรือรถยนต์ไฟฟ้า
สะท้อนให้เห็นจากพฤติกรรมผู้บริโภคในหลาย ๆ มุม ไม่ว่าจะเป็น
- ความต้องการเพิ่มขึ้น ตามจำนวนชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อสูง
โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ เช่น ประเทศจีน
โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ เช่น ประเทศจีน
ซึ่งมีการคาดการณ์กันว่า ประเทศจีนจะกลายเป็นตลาดขนาดใหญ่ คิดเป็นสัดส่วนในธุรกิจแบรนด์หรู สูงถึง 48% ในปี 2025
ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ จะเป็นยุโรป 13%
สหรัฐอเมริกา 17%
ญี่ปุ่น 7%
เอเชีย 10%
และอื่น ๆ อีก 4%
(ที่มา: Pictet ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565)
สหรัฐอเมริกา 17%
ญี่ปุ่น 7%
เอเชีย 10%
และอื่น ๆ อีก 4%
(ที่มา: Pictet ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565)
- Sheconomy หรือในยุคที่ผู้หญิงเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ เพราะต้องการซื้อสินค้าแบรนด์เนม เพื่อสนองความต้องการส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น
- ธุรกิจแบรนด์หรูในปัจจุบัน มีระดับราคาไล่ตั้งแต่ไม่สูงมาก หรือปานกลาง เพื่อดึงดูดลูกค้ารายใหม่ให้มาลองซื้อและลองใช้ก่อน โดยลูกค้ากลุ่มดังกล่าว มีโอกาสหันมาให้ความสนใจในสินค้าที่มีความพรีเมียมของแบรนด์ ซึ่งมีราคาแพงขึ้น และมีโอกาสกลายมาเป็นลูกค้าประจำได้เช่นกัน
- ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มีส่วนสำคัญในการทำให้ธุรกิจแบรนด์หรูสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากกว่าแต่ก่อน
และก็ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งเสริมการเติบโตให้แบรนด์หรู เช่น เทรนด์การออกกำลังกาย การท่องเที่ยว หรือแม้แต่กลุ่มสกินแคร์ ที่ผู้บริโภคต่างให้ความสำคัญกับแบรนด์ และความพรีเมียมของผลิตภัณฑ์สูงขึ้นกว่าแต่ก่อนอย่างเห็นได้ชัด
หากอ้างอิงจากอัตราการเติบโตของธุรกิจแบรนด์หรูในปี 2022 นี้
- รายได้จะเติบโตเฉลี่ย 17.6%
- จะมีอัตรากำไรจากการดำเนินงานเฉลี่ย 24.4%
(ที่มา: Pictet ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565)
- จะมีอัตรากำไรจากการดำเนินงานเฉลี่ย 24.4%
(ที่มา: Pictet ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565)
เรียกได้ว่าเป็นอัตราการเติบโตของรายได้ที่สูง เพราะธุรกิจแบรนด์หรูเป็นธุรกิจที่มีความสามารถในการกำหนดราคา ตั้งราคาได้แพงกว่า เพราะผู้บริโภคยอมจ่าย
จึงทำให้อัตรากำไรของอุตสาหกรรมนี้สูงขึ้นตามไปด้วย นำไปสู่กระแสเงินสดและฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง
พูดง่าย ๆ เลยก็คือ ธุรกิจกลุ่มนี้สามารถเติบโตได้ด้วยตนเอง ไม่จำเป็นต้องพึ่งพางบวิจัยและพัฒนามูลค่ามหาศาลเหมือนกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยี
ทีนี้ เรามาดูกันว่า KT-Luxury จะเข้าไปลงทุนในอะไรบ้าง ?
กองทุนเปิดเคแทม Luxury หรือ KT-Luxury เป็น Feeder Fund ที่เน้นลงทุนในหน่วยลงทุน Pictet - Premium Brands เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
กองทุน Pictet - Premium Brands (กองทุนรวมหลัก) มีนโยบายการบริหารการลงทุนแบบเชิงรุก สามารถลงทุนได้โดยไม่มีข้อจำกัด และไม่อ้างอิงกับดัชนีใด ๆ โดยใช้ดัชนี MSCI ACWI เพื่อเปรียบเทียบเชิงผลตอบแทนเท่านั้น
และยังเป็นกองทุน Thematic ภายใต้การบริหารจัดการของ Pictet ที่เก่าแก่ที่สุด
โดยเริ่มกลยุทธ์การลงทุนนี้ตั้งแต่ปี 1998 ในชื่อของ Pictet-Leisure ก่อนที่จะทำการปรับตำแหน่งการตลาดมาเป็น Pictet - Premium Brands ในปี 2005 เป็นต้นมา
โดยเริ่มกลยุทธ์การลงทุนนี้ตั้งแต่ปี 1998 ในชื่อของ Pictet-Leisure ก่อนที่จะทำการปรับตำแหน่งการตลาดมาเป็น Pictet - Premium Brands ในปี 2005 เป็นต้นมา
โดยเน้นการลงทุนในบริษัททั่วโลกที่ทำธุรกิจมากกว่า 50% ขึ้นไปอยู่ในอุตสาหกรรมสินค้าและบริการระดับบน (High-end Products and Services) ครอบคลุมในหลากหลายอุตสาหกรรม ทั้งสินค้าและบริการมากกว่า 120 บริษัท
โดยมีผู้จัดการกองทุนหลักเป็นคุณ Caroline Reyl และคุณ Laurent Belloni ซึ่งบริหารจัดการกองทุนนี้มานับตั้งแต่ปี 2005 และปี 2006 ตามลำดับ
ซึ่งใช้เกณฑ์ในการพิจารณาบริษัทที่จะเข้าไปลงทุน 5 แกนหลัก แบ่งออกเป็น
ซึ่งใช้เกณฑ์ในการพิจารณาบริษัทที่จะเข้าไปลงทุน 5 แกนหลัก แบ่งออกเป็น
1. ประสบการณ์และบริการต้องเป็นเลิศและได้รับการยอมรับ
2. ความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแบรนด์
3. ภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ดีในสายตาของผู้บริโภค
4. ความโดดเด่นด้านการบริหารจัดการ
5. การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์
2. ความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแบรนด์
3. ภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ดีในสายตาของผู้บริโภค
4. ความโดดเด่นด้านการบริหารจัดการ
5. การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์
(ที่มา: Pictet ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565)
ยกตัวอย่าง พอร์ตการลงทุนของกองทุนรวมหลัก ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565
ซึ่งมีบริษัทที่มีผลิตภัณฑ์แบรนด์ดังชั้นนำที่หลายคนรู้จัก เช่น
ซึ่งมีบริษัทที่มีผลิตภัณฑ์แบรนด์ดังชั้นนำที่หลายคนรู้จัก เช่น
- LVMH เจ้าของแบรนด์หรู เช่น Louis Vuitton, Céline, Fendi และ Givenchy
- Hermès แบรนด์แฟชั่นหรูระดับโลก ที่ทำธุรกิจมายาวนานกว่า 185 ปี
- EssilorLuxottica เครือธุรกิจแว่น และเลนส์ ใหญ่สุดในโลก
- Hermès แบรนด์แฟชั่นหรูระดับโลก ที่ทำธุรกิจมายาวนานกว่า 185 ปี
- EssilorLuxottica เครือธุรกิจแว่น และเลนส์ ใหญ่สุดในโลก
ทั้งยังมีการลงทุนในอีกหลายเจ้าของแบรนด์ชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็น Apple, Marriott International, L’Oreal และ Visa เป็นต้น (ที่มาของข้อมูล: Pictet)
ดังนั้นการลงทุนในกองทุน KT-Luxury ก็อาจจะทำให้หลายคนรู้สึกว่าได้ยกระดับการลงทุนไปอีกขั้นเลยทีเดียว
ดังนั้นการลงทุนในกองทุน KT-Luxury ก็อาจจะทำให้หลายคนรู้สึกว่าได้ยกระดับการลงทุนไปอีกขั้นเลยทีเดียว
หมายเหตุ: ตัวอย่างพอร์ตการลงทุนของกองทุนรวมหลักที่กล่าวมาข้างต้น สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนหลัก / ข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการนำเสนอเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์แต่อย่างใด
โดยพอร์ตการลงทุนปัจจุบัน แยกตามกลุ่มอุตสาหกรรมได้ ดังนี้
(ที่มา: Pictet ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565)
(ที่มา: Pictet ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565)
- แบรนด์หรู 37.8%
- กีฬา 14.7%
- อาหารและเครื่องดื่ม 14.7%
- การท่องเที่ยว 12.9%
- เครื่องสำอาง 9.8%
- บันเทิง 8.6%
- อื่น ๆ เช่น เงินสด อีก 1.5%
- กีฬา 14.7%
- อาหารและเครื่องดื่ม 14.7%
- การท่องเที่ยว 12.9%
- เครื่องสำอาง 9.8%
- บันเทิง 8.6%
- อื่น ๆ เช่น เงินสด อีก 1.5%
ซึ่งสามารถแบ่งการลงทุนตามแต่ละภูมิภาคได้เป็น สหรัฐอเมริกา 47.5% ฝรั่งเศส 22.6% สหราชอาณาจักร 8.1% อิตาลี 6.2% สวิตเซอร์แลนด์ 5.8% และอื่น ๆ อีก 9.8%
หากเรามาดูผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้งกองทุน อ้างอิงข้อมูลจาก Pictet ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565
กองทุนหลัก Pictet - Premium Brands จะสร้างผลตอบแทนได้ 216.29%
ในขณะที่ MSCI ACWI ที่เป็นดัชนีอ้างอิง จะสร้างผลตอบแทนได้ +161.07%
(คำเตือน: ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต)
กองทุนหลัก Pictet - Premium Brands จะสร้างผลตอบแทนได้ 216.29%
ในขณะที่ MSCI ACWI ที่เป็นดัชนีอ้างอิง จะสร้างผลตอบแทนได้ +161.07%
(คำเตือน: ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต)
จากตรงนี้ จะเห็นได้ว่าการลงทุนในธุรกิจแบรนด์หรู สามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่น และเหนือกว่าดัชนีอ้างอิง ซึ่งก็นับเป็นหนึ่งในกองทุน ที่น่าจับตามอง
สำหรับใครที่สนใจกระจายการลงทุนของเราในอุตสาหกรรมนี้
ติดต่อจองซื้อ IPO ได้ในช่วงระหว่างวันที่ 18-25 พฤษภาคม 2565 นี้ และสามารถลงทุนได้โดยเริ่มต้นเพียง 1,000 บาท
ติดต่อจองซื้อ IPO ได้ในช่วงระหว่างวันที่ 18-25 พฤษภาคม 2565 นี้ และสามารถลงทุนได้โดยเริ่มต้นเพียง 1,000 บาท
โดยศึกษารายละเอียดได้ที่ www.ktam.co.th หรือขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือหนังสือชี้ชวนได้ที่ บลจ.กรุงไทย โทร. 0-2686-6100 กด 9 ในเวลาทำการ ธนาคารกรุงไทย และผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี)
ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ: ความเสี่ยงทางตลาด ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน และความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือจะได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน