สรุป การรุกเข้าสู่ธุรกิจ EV ของ ปตท. ในปีนี้ และอนาคต
สรุป การรุกเข้าสู่ธุรกิจ EV ของ ปตท. ในปีนี้ และอนาคต
ปตท. x ลงทุนแมน
ปตท. x ลงทุนแมน
ปัจจุบัน พฤติกรรมการใช้พลังงานของเรา กำลังหันเข้าหาพลังงานสะอาด
ส่งผลให้บริษัทในอุตสาหกรรมพลังงานดั้งเดิม
ต้องเตรียมความพร้อมสำหรับยุคการเปลี่ยนผ่าน และพลังงานทางเลือกใหม่ ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้
ต้องเตรียมความพร้อมสำหรับยุคการเปลี่ยนผ่าน และพลังงานทางเลือกใหม่ ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้
หากพูดถึงในประเทศไทย คงหนีไม่พ้น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.
บริษัทพลังงานแห่งชาติ ที่กำลังวางกลยุทธ์การเติบโตระยะยาว ไปกับกลุ่มธุรกิจพลังงานแห่งอนาคต
บริษัทพลังงานแห่งชาติ ที่กำลังวางกลยุทธ์การเติบโตระยะยาว ไปกับกลุ่มธุรกิจพลังงานแห่งอนาคต
หนึ่งในนั้น ก็คือ กลุ่มธุรกิจ “EV Value Chain” หรือธุรกิจพลังงานไฟฟ้าครบวงจร
แล้ว ปตท. จะรุกเข้าสู่ธุรกิจพลังงานไฟฟ้า อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
หากเรามาดูเป้าหมายการใช้พลังงานในประเทศไทย
เรามีเป้าหมายที่จะลดก๊าซเรือนกระจกลง และจะก้าวเข้าสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutrality ในปี 2050 หรืออีก 28 ปีข้างหน้า
แปลว่า เราจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงสถานีบริการพลังงาน ประเภทยานยนต์บนท้องถนน ที่จะหันเข้าหาเทรนด์การใช้พลังงานสะอาด มากขึ้นในทุก ๆ ปี
หากเรามาดูโครงสร้างรายได้ของบริษัทพลังงานแห่งชาติ หรือ ปตท. ในปี 2564
เกือบทั้งหมด ยังคงมาจากธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งนับเป็นเชื้อเพลิงดั้งเดิม
เกือบทั้งหมด ยังคงมาจากธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งนับเป็นเชื้อเพลิงดั้งเดิม
ถ้าถามว่า ปตท. จะรุกเข้าสู่ธุรกิจพลังงานไฟฟ้าด้วยวิธีไหน
คำตอบก็คือ รุกด้วยการดำเนินธุรกิจใหม่ ๆ
คำตอบก็คือ รุกด้วยการดำเนินธุรกิจใหม่ ๆ
โดยตั้งเป้าหมายให้เป็นธุรกิจ ที่สามารถเติบโตตามเมกะเทรนด์ยุคการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานในระยะยาว และเพื่อเข้ามาบริหารจัดการและลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานไฟฟ้าครบวงจรโดยเฉพาะ
ในที่นี้ก็คือ ครอบคลุมตั้งแต่การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ไปจนถึงการบริการนอกสถานีบริการ
ผ่าน บริษัท อรุณ พลัส จำกัด (ARUN PLUS)
แล้ว อรุณ พลัส ลงทุนและจัดตั้งธุรกิจ อะไรบ้าง ?
ไปจนถึงการบริการนอกสถานีบริการ
ผ่าน บริษัท อรุณ พลัส จำกัด (ARUN PLUS)
แล้ว อรุณ พลัส ลงทุนและจัดตั้งธุรกิจ อะไรบ้าง ?
เรามาเริ่มจากธุรกิจแรกก็คือ “ออน-ไอออน” (on-ion) เป็นผู้ให้บริการสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า
ปัจจุบัน กำลังขยายเครือข่ายไปยังพื้นที่ศักยภาพ นอกเหนือจากสถานีบริการ
ยกตัวอย่างเช่น ศูนย์การค้า โรงแรม อาคารสำนักงาน หรือแม้แต่ที่ร้านอาหาร
ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อรองรับการเติบโตของตลาดยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต
ยกตัวอย่างเช่น ศูนย์การค้า โรงแรม อาคารสำนักงาน หรือแม้แต่ที่ร้านอาหาร
ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อรองรับการเติบโตของตลาดยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต
ก่อนที่คนกลุ่มใหญ่จะเริ่มเลือกใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เปรียบได้กับตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงก็คือ “เครื่องอัดประจุไฟฟ้า” ไม่ต่างอะไรไปจาก สถานีบริการน้ำมันสำหรับรถยนต์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้
จะเห็นได้ว่าการที่ ปตท. เข้ามาลงทุนและเริ่มดำเนินธุรกิจนี้ก่อน
ก็เปรียบกับการเร่งและยังเป็นการวางรากฐานสำหรับยุคของพลังงานใหม่
ที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ ซึ่งหากเราทำได้ก่อนและบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ก็เปรียบกับการเร่งและยังเป็นการวางรากฐานสำหรับยุคของพลังงานใหม่
ที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ ซึ่งหากเราทำได้ก่อนและบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยภาพที่เราจะเห็นได้ทั่วไปในอนาคตก็คือ ไม่ว่าเราจะเดินทางไปไหน
จะร้านอาหาร สำนักงาน ทุกที่ที่เราไป ก็จะเต็มไปด้วยสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า
จะร้านอาหาร สำนักงาน ทุกที่ที่เราไป ก็จะเต็มไปด้วยสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า
สำหรับธุรกิจต่อมา ก็คือโครงการพัฒนา “E-Bus” หรือรถโดยสารพลังงานไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงที่ผลิตขึ้นใหม่ในประเทศ ด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ที่ปัจจุบันมีความร่วมมือกับ EnCo ในการนำ E-Bus รุ่นใหม่ ซึ่งพัฒนานวัตกรรมตัวถังและโครงสร้างจากอลูมิเนียมสมัยใหม่ที่ผลิตในประเทศไทย เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน พร้อมระบบความปลอดภัยและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสารครบครัน มาอำนวยความสะดวกในการรับส่งพนักงานในกลุ่ม ปตท. บุคลากรกระทรวงพลังงาน และประชาชนทั่วไปที่มาติดต่องาน โดยโครงการดังกล่าว ก็จะเข้ามาเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำด้วยพลังงานสะอาด
นอกเหนือจาก 2 ธุรกิจนี้แล้ว อรุณ พลัส ยังมีการลงทุนในธุรกิจ EV ระยะยาว ที่มีแนวโน้มจะเข้ามาเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าอีกมาก ผ่านการจัดตั้งบริษัทย่อย เช่น
“HORIZON PLUS” หรือ ฮอริษอน พลัส เป็นโครงการร่วมทุนระหว่าง ปตท. และ Foxconn
ที่เพิ่งจัดตั้งแล้วเสร็จไปเมื่อ 2 เดือนก่อน
ที่เพิ่งจัดตั้งแล้วเสร็จไปเมื่อ 2 เดือนก่อน
สำหรับใครที่ยังไม่รู้จัก Foxconn
อธิบายสั้น ๆ ว่า บริษัทแห่งนี้ เป็นหนึ่งในผู้นำด้านการผลิต และประกอบชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดของโลก
โดยมีลูกค้ารายสำคัญ เช่น Apple, PlayStation, Nintendo และ Xiaomi
อธิบายสั้น ๆ ว่า บริษัทแห่งนี้ เป็นหนึ่งในผู้นำด้านการผลิต และประกอบชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดของโลก
โดยมีลูกค้ารายสำคัญ เช่น Apple, PlayStation, Nintendo และ Xiaomi
ซึ่งการเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรกัน ทั้ง 2 บริษัท จะเข้ามาช่วยผลักดันเทคโนโลยีการผลิต MIH Platform และ Open EV Platform
ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสำหรับการผลิตโครงช่วงล่างของรถยนต์ไฟฟ้าให้มีความยืดหยุ่นสูง และสามารถปรับแต่งให้เข้ากับรถยนต์ได้หลายประเภท
หมายความว่า HORIZON PLUS จะเข้ามาเป็นส่วนสำคัญ ที่ช่วยให้แบรนด์รถยนต์ลดค่าใช้จ่าย
และลดระยะเวลาในการพัฒนาและผลิตรถยนต์แต่ละรุ่น
หมายความว่า HORIZON PLUS จะเข้ามาเป็นส่วนสำคัญ ที่ช่วยให้แบรนด์รถยนต์ลดค่าใช้จ่าย
และลดระยะเวลาในการพัฒนาและผลิตรถยนต์แต่ละรุ่น
ทำให้ผู้ใช้งานรถยนต์จะได้รถยนต์ที่มีประสิทธิภาพในราคาที่จับต้องได้มากขึ้น
นอกจากนี้ HORIZON PLUS ก็ยังอยู่ในระหว่างการหารือกับหลายแบรนด์รถยนต์ยักษ์ใหญ่ ที่มีความสนใจในตลาดรถยนต์ประเทศไทยและอาเซียน เพื่อให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ให้กับบริษัท อีกด้วย
นอกเหนือจากโครงสร้างพื้นฐานทางด้านสถานีอัดประจุและโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้าแล้ว
ยังมีแพลตฟอร์มธุรกิจ เพื่อรองรับการใช้งานของผู้ขับขี่ยานยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ
ซึ่งก็มีการตั้งแพลตฟอร์มให้บริการสลับแบตเตอรี่สำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบบไม่ต้องรอชาร์จ
ดำเนินการโดยบริษัท ชื่อว่า “Swap & Go”
ดำเนินการโดยบริษัท ชื่อว่า “Swap & Go”
ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นต้นแบบทางธุรกิจที่พัฒนาขึ้นเพื่อทุกไลฟ์สไตล์การใช้งาน โดยเฉพาะไรเดอร์บนแพลตฟอร์มดิลิเวอรี ที่สามารถใช้งานได้สะดวก ทุกที่ทุกเวลาผ่านแอปพลิเคชัน “Swap & Go” ที่เชื่อมต่อกับรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถสลับแบตเตอรี่เดิมที่หมดกับแบตเตอรี่ใหม่
ที่พร้อมใช้งานในตู้ชาร์จด้วยตัวเอง ในเวลาไม่ถึง 3 นาที
ซึ่งนับเป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์เทรนด์การใช้ชีวิตประจำวันในยุคนี้
ที่พร้อมใช้งานในตู้ชาร์จด้วยตัวเอง ในเวลาไม่ถึง 3 นาที
ซึ่งนับเป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์เทรนด์การใช้ชีวิตประจำวันในยุคนี้
เนื่องจากแพลตฟอร์มดิลิเวอรี ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในไลฟ์สไตล์ของเราไปแล้ว
การที่มีบริการสลับแบตเตอรี่เข้ามารองรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
การที่มีบริการสลับแบตเตอรี่เข้ามารองรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
ก็จะเป็นอีกตัวขับเคลื่อนที่ทำให้สังคมไทย ก้าวเข้าสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากแพลตฟอร์มสับเปลี่ยนแบตเตอรี่
ก็ยังมี “EVME PLUS” (อีวีมี พลัส) อีกหนึ่งผู้ให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มที่ให้ผู้ใช้ได้ประสบการณ์
ก็ยังมี “EVME PLUS” (อีวีมี พลัส) อีกหนึ่งผู้ให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มที่ให้ผู้ใช้ได้ประสบการณ์
การเป็นเจ้าของ EV แบบครบวงจร ให้บริการในรูปแบบ Subscription หรือการเป็นสมาชิก รายแรกและรายเดียวในประเทศไทยผ่านแอปพลิเคชัน EVme (อีวี มี)
ที่จะทำให้บุคคลทั่วไปสามารถเลือกใช้บริการรถ EV จากแบรนด์ชั้นนำที่มีให้เลือกหลากหลายรุ่น เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน เลือกรุ่นรถ และกดจอง เพียงเท่านี้ก็สามารถรอรับรถได้ที่หน้าบ้าน ได้เลยทันที
ทั้งนี้ อรุณ พลัส ก็ยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่เรียกว่า “G-Box for Residential”
ซึ่งเป็นระบบกักเก็บพลังงานสำหรับที่พักอาศัย ภายใต้แบรนด์ G-Cell
พัฒนาโดย NUOVO PLUS ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง อรุณ พลัส และ GPSC
ซึ่งเป็นระบบกักเก็บพลังงานสำหรับที่พักอาศัย ภายใต้แบรนด์ G-Cell
พัฒนาโดย NUOVO PLUS ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง อรุณ พลัส และ GPSC
โดยสามารถนำมาใช้ร่วมกับระบบโซลาร์เซลล์ ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้เรา
กักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ในตอนกลางวันไว้ในแบตเตอรี่
และนำมาชาร์จรถไฟฟ้าในตอนกลางคืน
กักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ในตอนกลางวันไว้ในแบตเตอรี่
และนำมาชาร์จรถไฟฟ้าในตอนกลางคืน
โดยผู้ใช้งานสามารถควบคุม และสั่งการการทำงานต่าง ๆ ผ่านระบบสมาร์ตโฟน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าในที่พักอาศัยอย่างสมบูรณ์แบบ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าในที่พักอาศัยอย่างสมบูรณ์แบบ
ทั้งหมดนี้ ก็เป็นกลยุทธ์การรุกเข้าสู่ธุรกิจ EV Value Chain หรือธุรกิจพลังงานไฟฟ้าครบวงจร
ของ ปตท. ที่ได้จัดตั้งบริษัทใหม่อย่าง “อรุณ พลัส” เข้ามาดำเนินธุรกิจในด้านนี้โดยเฉพาะ
ของ ปตท. ที่ได้จัดตั้งบริษัทใหม่อย่าง “อรุณ พลัส” เข้ามาดำเนินธุรกิจในด้านนี้โดยเฉพาะ
ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า การวางหมากของ ปตท. นั้น
เริ่มตั้งแต่การลงทุนในกลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน
ทั้งการลงทุนด้วยตัวเอง และการร่วมลงทุนกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญ
จากต่างประเทศ ครอบคลุมไปจนถึงการให้บริการทั้งในและนอกสถานีบริการ
เริ่มตั้งแต่การลงทุนในกลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน
ทั้งการลงทุนด้วยตัวเอง และการร่วมลงทุนกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญ
จากต่างประเทศ ครอบคลุมไปจนถึงการให้บริการทั้งในและนอกสถานีบริการ
เรียกได้ว่า ปตท. น่าจะเป็นหนึ่งในองค์กรในประเทศไทย
ที่มีความพร้อมและกำลังวางรากฐาน เพื่อเป็นส่วนสำคัญ
ในการก้าวเข้าสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนระดับประเทศ ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า..
ที่มีความพร้อมและกำลังวางรากฐาน เพื่อเป็นส่วนสำคัญ
ในการก้าวเข้าสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนระดับประเทศ ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า..