ถอดบทเรียนจากการทำงานตลอด 35 ปี ของ คุณนพดล ปิ่นสุภา COOD ปตท.
ปตท. x ลงทุนแมน
“มุมมองของผู้คนต่าง ๆ มีอะไรซ่อนอยู่เยอะมาก ขึ้นอยู่กับตัวเราเองด้วย
เมื่อไรก็ตามที่คนเป็นหัวหน้าละเลยการฟังมุมมองจากคนอื่น
ก็จะพลาดโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มองในมุมที่แตกต่าง
เพียงแค่รายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ บางครั้งอาจไปถึงขั้นตัดสินใจผิดพลาดไปเลยก็ได้”
นี่เป็นเพียงบางส่วนของบทสนทนาของ คุณนพดล ปิ่นสุภา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
จากประสบการณ์จริง ๆ ตลอดระยะเวลาการทำงานกับกลุ่ม ปตท. มากกว่า 35 ปี
อะไรคือ สิ่งที่ตกตะกอน มาเป็นบทเรียนสำคัญของคนรุ่นใหม่บ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
คุณนพดล จบการศึกษาด้านวิศวกรรมไฟฟ้า จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท
ก่อนจะเริ่มต้นเส้นทางอาชีพในกลุ่ม ปตท. เก็บสะสมประสบการณ์ที่มีคุณค่ามากมายมาจนถึงวัยเกษียณ
คุณนพดล เริ่มต้นเล่าว่า..
“35 ปีที่แล้ว ผมเริ่มต้นเส้นทางอาชีพที่ ปตท. ด้วยความรู้ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าติดตัวมา
แต่กลับต้องมาทำงานวิเคราะห์ราคาตลาดน้ำมัน ซึ่งแตกต่างจากสิ่งที่เรียนมาโดยสิ้นเชิง
ช่วงแรกต้องเจอกับความท้าทายเยอะมาก ไม่เข้าใจอะไรหลายอย่าง
แต่ผมเชื่อเสมอว่า ความพยายามและความอดทน คือกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ
จากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ นั้น ผมได้สั่งสมประสบการณ์และเรียนรู้จากหลากหลายหน้างานของกลุ่ม ปตท. มาอย่างต่อเนื่อง
- กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)
- รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
- ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
- รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและดิจิทัล บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
- ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
จนในที่สุด ก็ได้รับโอกาสก้าวขึ้นมาเป็น ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
แน่นอนว่า การเป็นผู้นำระดับสูงในองค์กรขนาดใหญ่อย่าง ปตท. ต้องตามมาด้วยการเผชิญกับความท้าทายมากมาย ทั้งในมุมของพนักงาน องค์กร คู่ค้า และอื่น ๆ
ดังนั้น ทักษะสำคัญที่คนเป็นผู้นำควรจะมีติดตัว คือ การรับมือกับปัญหาในองค์กร
เวลามีปัญหาเกิดขึ้น สิ่งแรกที่จะทำคือ Fact-Finding หรือการค้นหาข้อเท็จจริง”
แล้ว Fact-Finding คืออะไร ?
คุณนพดล อธิบายง่าย ๆ ว่า “Fact-Finding คือ การมองเพื่อทำความเข้าใจให้กระจ่างจริง ๆ ว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร
ขั้นตอนนี้ถือว่าสำคัญมาก ต้องทำอย่างเป็นกลาง ไม่ลำเอียง (Unbiased) ต้องเปิดใจรับฟังทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน
เพราะถ้าเข้าใจปัญหาอย่างถ่องแท้แล้ว
เราจะสามารถวิเคราะห์และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพจริง ๆ
ว่าควรจะแก้ปัญหาที่จุดไหน หรือต้องปรับปรุงกระบวนการอย่างไร
และสิ่งที่สำคัญ หลังจากกระบวนการ Fact-Finding แล้ว
เราก็ต้องใส่ใจกับการเลือก Solution ที่จะนำมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นให้ตอบโจทย์ที่สุดด้วย
ผมเชื่อว่า Fact-Finding เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เราตัดสินใจได้อย่างยุติธรรม ตรงจุดที่สุด และทำให้เราไม่คาดหวังเกินจริง”
ถึงตรงนี้ ดูเหมือนว่า Fact-Finding จะเป็นทักษะสำคัญของผู้นำจริง ๆ
แต่นอกจากทักษะที่ควรจะมี ซึ่งเกิดจากการตกตะกอนในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบแล้ว
แนวคิดและปรัชญาในการเป็นผู้นำที่ดี ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน..
คุณนพดล เล่าต่อไปว่า “ผมคิดว่าการจะเป็นผู้นำที่ดี ควรจะมี 3 สิ่งสำคัญนี้เป็นพื้นฐาน ประกอบไปด้วย
ข้อแรกคือ การคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
เรื่องนี้สำคัญที่สุด เพราะทุกการทำงาน เราต้องเผชิญปัญหาเป็นเรื่องปกติ อย่าตกใจ
ยิ่งเราขึ้นมาเป็นผู้นำ ยิ่งต้องคิดบวกไว้ก่อน คิดไปเลยว่า ทุกปัญหาต้องมีทางออก
ถ้ามัวแต่คิดในแง่ลบ เราจะแก้ไขปัญหาอะไรไม่ได้เลย
ผมเชื่อว่า ทัศนคติเชิงบวก เป็นพื้นฐานสำคัญของการเป็นผู้นำที่ดี มองเห็นโอกาสในทุกอุปสรรค
มันสร้างแรงบันดาลใจให้ทีมงาน กล้าที่จะก้าวผ่านความท้าทายไปด้วยกันได้จริง ๆ”
ข้อต่อมาคือ คิดเผื่อคนอื่น (To be Considerate)
เพราะการตัดสินใจของเราส่งผลกระทบต่อทุกฝ่าย
บางครั้ง สิ่งที่เราคิดว่าดีที่สุด อาจไม่ใช่สำหรับคนอื่น และอาจนำไปสู่ความขัดแย้ง
พูดง่าย ๆ ว่า การตัดสินใจที่ดี ไม่ได้แปลว่า เราต้องได้ประโยชน์สูงสุดอยู่ฝ่ายเดียว
แต่ต้องคิดไปถึงผลกระทบต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน
ข้อสุดท้ายที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ การเคารพ (Respect)
ปตท. เป็นหนึ่งในบริษัทใหญ่ของประเทศไทย
หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่ต้องทำงานกับคนมากมาย ทั้งอายุเยอะกว่าหรือน้อยกว่า ที่มีประสบการณ์มากกว่า
การเคารพความคิดคนอื่น จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
และการให้เกียรติและเคารพผู้อื่น เป็นสิ่งที่ผู้นำที่ดีพึงมี
เราต้องเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใดก็ตาม
เพราะทุกคนล้วนมีคุณค่า และสามารถสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ให้กับองค์กรได้
หนึ่งสิ่งที่ผมอยากฝากผู้นำรุ่นใหม่ ๆ คือ อย่าลืม และอย่าอายที่จะ “ปรึกษาพี่ ๆ น้อง ๆ”
ต่อให้เราจะเก่งแค่ไหน แต่คนที่มีประสบการณ์ และทำงานคลุกคลีกับงานมานาน ย่อมมีทางออก หรือมีมุมมองต่อปัญหา ที่เราอาจจะไม่เคยพบเจอมาก่อน
ถึงตรงนี้ Fact-Finding, Positive Thinking, To be Considerate และ Respect
กลายเป็น Keyword สำคัญที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของคุณนพดล ปิ่นสุภา COOD ปตท.
ซึ่งดูเหมือนว่า ใคร ๆ ก็สามารถนำไปปรับใช้จริง ๆ ในทุกองค์กร ไม่ว่าจะกี่ยุคสมัยก็ตาม
อีกหนึ่งคำถามสำคัญของคนยุคนี้ ก็คือ..
งาน - เงิน - Passion ควรให้ความสำคัญกับอะไรก่อนดี ?
คุณนพดล ตอบว่า “เงินเดือน อาจเป็นสิ่งสำคัญสำหรับหลายคน โดยเฉพาะ First Jobber ที่มีภาระค่าใช้จ่าย
แต่หลายคนก็ให้ความสำคัญกับ Passion เพราะเชื่อว่าจะนำไปสู่ความสุข และความสำเร็จได้ในระยะยาว
เท่ากับว่า การตัดสินใจเรื่อง งาน เงิน และ Passion จึงต้องพิจารณาควบคู่กันไป
เราต้องเริ่มทำงานก่อน ถึงจะรู้ว่าเรามี Passion กับเรื่องนั้นจริงไหม
ประสบการณ์จะช่วยให้เราค้นพบตัวเอง และเข้าใจว่าอะไรคือสิ่งที่เราชอบ
เงินก็สำคัญ ทำให้เราทำงานได้ยั่งยืน เพราะเมื่อมีรายได้มั่นคง เป้าหมายในชีวิตชัดเจน ก็จะมีแรงจูงใจในการทำงาน
ส่วน Passion ก็สำคัญเช่นกัน เพราะทำให้มีความสุข และสนุกไปกับการทำงาน
ผมว่าสิ่งสำคัญคือ การมองหาโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาตัวเอง มากกว่า
พัฒนาตัวเองต่อเนื่อง เราจะมีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้นในอนาคต
และเหนือสิ่งอื่นใด การทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้
นอกจากจะทำให้เราได้รับความเคารพจากผู้อื่นแล้ว ยังเป็นรากฐานสำคัญของความไว้วางใจ ซึ่งจะนำไปสู่การเติบโตที่มั่นคง
ที่สำคัญ “ความซื่อสัตย์” จะสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง
และทำให้เรามีความสุขกับการทำงานจริง ๆ เหมือนเป็นเกราะป้องกันไม่ให้เราหลงผิด เป็นรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับความสำเร็จในระยะยาวด้วย”
สุดท้ายนี้ เมื่อเข้าวัยเกษียณที่หลายคนกังวลก็คือ ชีวิตหลังเกษียณ ทำให้ชีวิตมีคุณค่าน้อยลงจริงหรือไม่ ?
คุณนพดล ตอบพร้อมฝากข้อคิดไว้ว่า..
“สำหรับผม ไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวนี้เลย
เพราะชีวิตหลังเกษียณเปรียบเสมือนบทใหม่ของชีวิต ที่เลือกเขียนเรื่องราวได้ตามใจปรารถนา
ในวัยเรียน วัยทำงาน เราอาจจะเลือกเยอะไม่ได้ แต่เราจะทำให้ดีที่สุด
แต่ถ้าหลังเกษียณ คือวัยใช้ชีวิต เราจะสามารถเลือกใช้ชีวิตอย่างไรก็ได้ที่เราต้องการ
ทำในสิ่งที่อยากทำ เรามีเวลาโฟกัสกับสุขภาพและชีวิตมากขึ้น
สุดท้าย ถ้าเป็นเรื่องของการวัดคุณค่า เราต้องดูว่าจะวัดจากอะไร
สำหรับผม ถึงแม้ผมจะเกษียณ ผมก็จะทำในสิ่งที่ผมรักและสนใจต่อไปอย่างแน่นอน..”
ทั้งหมดนี้คือ บทเรียนจากประสบการณ์จริง การทำงานจริง และความสำเร็จที่เกิดขึ้นจริง ๆ ของคุณนพดล ปิ่นสุภา COOD ปตท.
ที่ใคร ๆ ก็สามารถนำไปปรับใช้ได้ตลอดเส้นทางการทำงาน พร้อมเกษียณงานไปทำสิ่งที่ตนเองรักต่อไป..
Reference:
- สัมภาษณ์พิเศษคุณนพดล ปิ่นสุภา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดย ลงทุนแมน
“มุมมองของผู้คนต่าง ๆ มีอะไรซ่อนอยู่เยอะมาก ขึ้นอยู่กับตัวเราเองด้วย
เมื่อไรก็ตามที่คนเป็นหัวหน้าละเลยการฟังมุมมองจากคนอื่น
ก็จะพลาดโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มองในมุมที่แตกต่าง
เพียงแค่รายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ บางครั้งอาจไปถึงขั้นตัดสินใจผิดพลาดไปเลยก็ได้”
นี่เป็นเพียงบางส่วนของบทสนทนาของ คุณนพดล ปิ่นสุภา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
จากประสบการณ์จริง ๆ ตลอดระยะเวลาการทำงานกับกลุ่ม ปตท. มากกว่า 35 ปี
อะไรคือ สิ่งที่ตกตะกอน มาเป็นบทเรียนสำคัญของคนรุ่นใหม่บ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
คุณนพดล จบการศึกษาด้านวิศวกรรมไฟฟ้า จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท
ก่อนจะเริ่มต้นเส้นทางอาชีพในกลุ่ม ปตท. เก็บสะสมประสบการณ์ที่มีคุณค่ามากมายมาจนถึงวัยเกษียณ
คุณนพดล เริ่มต้นเล่าว่า..
“35 ปีที่แล้ว ผมเริ่มต้นเส้นทางอาชีพที่ ปตท. ด้วยความรู้ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าติดตัวมา
แต่กลับต้องมาทำงานวิเคราะห์ราคาตลาดน้ำมัน ซึ่งแตกต่างจากสิ่งที่เรียนมาโดยสิ้นเชิง
ช่วงแรกต้องเจอกับความท้าทายเยอะมาก ไม่เข้าใจอะไรหลายอย่าง
แต่ผมเชื่อเสมอว่า ความพยายามและความอดทน คือกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ
จากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ นั้น ผมได้สั่งสมประสบการณ์และเรียนรู้จากหลากหลายหน้างานของกลุ่ม ปตท. มาอย่างต่อเนื่อง
- กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)
- รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
- ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
- รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและดิจิทัล บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
- ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
จนในที่สุด ก็ได้รับโอกาสก้าวขึ้นมาเป็น ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
แน่นอนว่า การเป็นผู้นำระดับสูงในองค์กรขนาดใหญ่อย่าง ปตท. ต้องตามมาด้วยการเผชิญกับความท้าทายมากมาย ทั้งในมุมของพนักงาน องค์กร คู่ค้า และอื่น ๆ
ดังนั้น ทักษะสำคัญที่คนเป็นผู้นำควรจะมีติดตัว คือ การรับมือกับปัญหาในองค์กร
เวลามีปัญหาเกิดขึ้น สิ่งแรกที่จะทำคือ Fact-Finding หรือการค้นหาข้อเท็จจริง”
แล้ว Fact-Finding คืออะไร ?
คุณนพดล อธิบายง่าย ๆ ว่า “Fact-Finding คือ การมองเพื่อทำความเข้าใจให้กระจ่างจริง ๆ ว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร
ขั้นตอนนี้ถือว่าสำคัญมาก ต้องทำอย่างเป็นกลาง ไม่ลำเอียง (Unbiased) ต้องเปิดใจรับฟังทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน
เพราะถ้าเข้าใจปัญหาอย่างถ่องแท้แล้ว
เราจะสามารถวิเคราะห์และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพจริง ๆ
ว่าควรจะแก้ปัญหาที่จุดไหน หรือต้องปรับปรุงกระบวนการอย่างไร
และสิ่งที่สำคัญ หลังจากกระบวนการ Fact-Finding แล้ว
เราก็ต้องใส่ใจกับการเลือก Solution ที่จะนำมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นให้ตอบโจทย์ที่สุดด้วย
ผมเชื่อว่า Fact-Finding เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เราตัดสินใจได้อย่างยุติธรรม ตรงจุดที่สุด และทำให้เราไม่คาดหวังเกินจริง”
ถึงตรงนี้ ดูเหมือนว่า Fact-Finding จะเป็นทักษะสำคัญของผู้นำจริง ๆ
แต่นอกจากทักษะที่ควรจะมี ซึ่งเกิดจากการตกตะกอนในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบแล้ว
แนวคิดและปรัชญาในการเป็นผู้นำที่ดี ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน..
คุณนพดล เล่าต่อไปว่า “ผมคิดว่าการจะเป็นผู้นำที่ดี ควรจะมี 3 สิ่งสำคัญนี้เป็นพื้นฐาน ประกอบไปด้วย
ข้อแรกคือ การคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
เรื่องนี้สำคัญที่สุด เพราะทุกการทำงาน เราต้องเผชิญปัญหาเป็นเรื่องปกติ อย่าตกใจ
ยิ่งเราขึ้นมาเป็นผู้นำ ยิ่งต้องคิดบวกไว้ก่อน คิดไปเลยว่า ทุกปัญหาต้องมีทางออก
ถ้ามัวแต่คิดในแง่ลบ เราจะแก้ไขปัญหาอะไรไม่ได้เลย
ผมเชื่อว่า ทัศนคติเชิงบวก เป็นพื้นฐานสำคัญของการเป็นผู้นำที่ดี มองเห็นโอกาสในทุกอุปสรรค
มันสร้างแรงบันดาลใจให้ทีมงาน กล้าที่จะก้าวผ่านความท้าทายไปด้วยกันได้จริง ๆ”
ข้อต่อมาคือ คิดเผื่อคนอื่น (To be Considerate)
เพราะการตัดสินใจของเราส่งผลกระทบต่อทุกฝ่าย
บางครั้ง สิ่งที่เราคิดว่าดีที่สุด อาจไม่ใช่สำหรับคนอื่น และอาจนำไปสู่ความขัดแย้ง
พูดง่าย ๆ ว่า การตัดสินใจที่ดี ไม่ได้แปลว่า เราต้องได้ประโยชน์สูงสุดอยู่ฝ่ายเดียว
แต่ต้องคิดไปถึงผลกระทบต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน
ข้อสุดท้ายที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ การเคารพ (Respect)
ปตท. เป็นหนึ่งในบริษัทใหญ่ของประเทศไทย
หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่ต้องทำงานกับคนมากมาย ทั้งอายุเยอะกว่าหรือน้อยกว่า ที่มีประสบการณ์มากกว่า
การเคารพความคิดคนอื่น จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
และการให้เกียรติและเคารพผู้อื่น เป็นสิ่งที่ผู้นำที่ดีพึงมี
เราต้องเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใดก็ตาม
เพราะทุกคนล้วนมีคุณค่า และสามารถสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ให้กับองค์กรได้
หนึ่งสิ่งที่ผมอยากฝากผู้นำรุ่นใหม่ ๆ คือ อย่าลืม และอย่าอายที่จะ “ปรึกษาพี่ ๆ น้อง ๆ”
ต่อให้เราจะเก่งแค่ไหน แต่คนที่มีประสบการณ์ และทำงานคลุกคลีกับงานมานาน ย่อมมีทางออก หรือมีมุมมองต่อปัญหา ที่เราอาจจะไม่เคยพบเจอมาก่อน
ถึงตรงนี้ Fact-Finding, Positive Thinking, To be Considerate และ Respect
กลายเป็น Keyword สำคัญที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของคุณนพดล ปิ่นสุภา COOD ปตท.
ซึ่งดูเหมือนว่า ใคร ๆ ก็สามารถนำไปปรับใช้จริง ๆ ในทุกองค์กร ไม่ว่าจะกี่ยุคสมัยก็ตาม
อีกหนึ่งคำถามสำคัญของคนยุคนี้ ก็คือ..
งาน - เงิน - Passion ควรให้ความสำคัญกับอะไรก่อนดี ?
คุณนพดล ตอบว่า “เงินเดือน อาจเป็นสิ่งสำคัญสำหรับหลายคน โดยเฉพาะ First Jobber ที่มีภาระค่าใช้จ่าย
แต่หลายคนก็ให้ความสำคัญกับ Passion เพราะเชื่อว่าจะนำไปสู่ความสุข และความสำเร็จได้ในระยะยาว
เท่ากับว่า การตัดสินใจเรื่อง งาน เงิน และ Passion จึงต้องพิจารณาควบคู่กันไป
เราต้องเริ่มทำงานก่อน ถึงจะรู้ว่าเรามี Passion กับเรื่องนั้นจริงไหม
ประสบการณ์จะช่วยให้เราค้นพบตัวเอง และเข้าใจว่าอะไรคือสิ่งที่เราชอบ
เงินก็สำคัญ ทำให้เราทำงานได้ยั่งยืน เพราะเมื่อมีรายได้มั่นคง เป้าหมายในชีวิตชัดเจน ก็จะมีแรงจูงใจในการทำงาน
ส่วน Passion ก็สำคัญเช่นกัน เพราะทำให้มีความสุข และสนุกไปกับการทำงาน
ผมว่าสิ่งสำคัญคือ การมองหาโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาตัวเอง มากกว่า
พัฒนาตัวเองต่อเนื่อง เราจะมีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้นในอนาคต
และเหนือสิ่งอื่นใด การทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้
นอกจากจะทำให้เราได้รับความเคารพจากผู้อื่นแล้ว ยังเป็นรากฐานสำคัญของความไว้วางใจ ซึ่งจะนำไปสู่การเติบโตที่มั่นคง
ที่สำคัญ “ความซื่อสัตย์” จะสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง
และทำให้เรามีความสุขกับการทำงานจริง ๆ เหมือนเป็นเกราะป้องกันไม่ให้เราหลงผิด เป็นรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับความสำเร็จในระยะยาวด้วย”
สุดท้ายนี้ เมื่อเข้าวัยเกษียณที่หลายคนกังวลก็คือ ชีวิตหลังเกษียณ ทำให้ชีวิตมีคุณค่าน้อยลงจริงหรือไม่ ?
คุณนพดล ตอบพร้อมฝากข้อคิดไว้ว่า..
“สำหรับผม ไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวนี้เลย
เพราะชีวิตหลังเกษียณเปรียบเสมือนบทใหม่ของชีวิต ที่เลือกเขียนเรื่องราวได้ตามใจปรารถนา
ในวัยเรียน วัยทำงาน เราอาจจะเลือกเยอะไม่ได้ แต่เราจะทำให้ดีที่สุด
แต่ถ้าหลังเกษียณ คือวัยใช้ชีวิต เราจะสามารถเลือกใช้ชีวิตอย่างไรก็ได้ที่เราต้องการ
ทำในสิ่งที่อยากทำ เรามีเวลาโฟกัสกับสุขภาพและชีวิตมากขึ้น
สุดท้าย ถ้าเป็นเรื่องของการวัดคุณค่า เราต้องดูว่าจะวัดจากอะไร
สำหรับผม ถึงแม้ผมจะเกษียณ ผมก็จะทำในสิ่งที่ผมรักและสนใจต่อไปอย่างแน่นอน..”
ทั้งหมดนี้คือ บทเรียนจากประสบการณ์จริง การทำงานจริง และความสำเร็จที่เกิดขึ้นจริง ๆ ของคุณนพดล ปิ่นสุภา COOD ปตท.
ที่ใคร ๆ ก็สามารถนำไปปรับใช้ได้ตลอดเส้นทางการทำงาน พร้อมเกษียณงานไปทำสิ่งที่ตนเองรักต่อไป..
Reference:
- สัมภาษณ์พิเศษคุณนพดล ปิ่นสุภา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดย ลงทุนแมน