หากร้านอาหารทำระบบ Delivery เอง จะคุ้มไหม ?
หากร้านอาหารทำระบบ Delivery เอง จะคุ้มไหม ? /โดย ลงทุนแมน
ช่วงที่ผ่านมา ค่า GP 30-35% หรือ Gross Profit ที่ร้านอาหารต้องจ่ายให้แก่บรรดาแอปส่งอาหาร ถูกหยิบขึ้นมาถกเถียงกันอีกครั้ง
เพราะในช่วงที่เกิดการระบาดของโควิด 19 รอบใหม่ที่ถือว่าเป็นครั้งที่รุนแรงที่สุดกว่าทุกครั้ง
และทำให้รัฐบาลมีคำสั่งให้ร้านอาหารทั่วประเทศงดให้ลูกค้านั่งทานในร้าน
และทำให้รัฐบาลมีคำสั่งให้ร้านอาหารทั่วประเทศงดให้ลูกค้านั่งทานในร้าน
นั่นแปลว่าร้านอาหารต่าง ๆ ต้องพึ่งพาช่องทางแอปส่งอาหารเพิ่มมากขึ้นแบบมีนัยสำคัญ นอกเหนือจากการขายหน้าร้านแบบ Take Away ก็เลยเกิดข้อเรียกร้องให้บรรดาแอปส่งอาหาร ช่วยลดค่า GP ที่ส่วนใหญ่เรียกเก็บ 30-35%
แต่รู้ไหมว่า ถ้าไม่นับรวม Robinhood ที่ใช้งบ CSR ของ SCB ในการเก็บ GP ที่ 0%
เมื่อไปดูงบการเงินของ แอปส่งอาหารรายใหญ่ในตลาด อย่าง Grab, Foodpanda หรือ LINE MAN
แม้แต่ละเดือนพวกเขาจะมีจำนวนออร์เดอร์มหาศาล แต่ก็ยังมีผลประกอบการที่ขาดทุนเป็นหลักพันล้านบาทแทบทุกราย
เมื่อไปดูงบการเงินของ แอปส่งอาหารรายใหญ่ในตลาด อย่าง Grab, Foodpanda หรือ LINE MAN
แม้แต่ละเดือนพวกเขาจะมีจำนวนออร์เดอร์มหาศาล แต่ก็ยังมีผลประกอบการที่ขาดทุนเป็นหลักพันล้านบาทแทบทุกราย
เรื่องนี้เป็นเพราะอะไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
การระบาดของโควิด 19 รอบใหม่ ทำให้ร้านอาหารหลายร้านต้องถูกปิดไม่ให้ทานอาหารในร้าน และให้ซื้อกลับบ้านได้เท่านั้น
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
การระบาดของโควิด 19 รอบใหม่ ทำให้ร้านอาหารหลายร้านต้องถูกปิดไม่ให้ทานอาหารในร้าน และให้ซื้อกลับบ้านได้เท่านั้น
ถึงแม้ว่าล่าสุด ภาครัฐได้ยกเลิกคำสั่งดังกล่าวและให้ลูกค้าสามารถนั่งทานในร้านได้ถึง 21.00 น.
อย่างไรก็ตามภาครัฐได้จำกัดจำนวนลูกค้าที่นั่งทานในร้าน
เรื่องนี้ทำให้ลูกค้ายังเข้าร้านน้อยลงกว่าในช่วงเวลาก่อนการระบาดรอบนี้อยู่ดี
เพราะหลายคนยังระแวงการนั่งทานในร้าน และพร้อมจ่ายค่าบริการเพื่อไม่ต้องเดินทาง
อย่างไรก็ตามภาครัฐได้จำกัดจำนวนลูกค้าที่นั่งทานในร้าน
เรื่องนี้ทำให้ลูกค้ายังเข้าร้านน้อยลงกว่าในช่วงเวลาก่อนการระบาดรอบนี้อยู่ดี
เพราะหลายคนยังระแวงการนั่งทานในร้าน และพร้อมจ่ายค่าบริการเพื่อไม่ต้องเดินทาง
แล้วถ้าเป็นแบบนี้ไปอีกสักระยะ ก็คงมีบางร้านอาหารเกิดคำถามว่า
จะทำระบบ Delivery เอง โดยไม่ต้องพึ่งพาแอปส่งอาหาร ดีหรือไม่
จะทำระบบ Delivery เอง โดยไม่ต้องพึ่งพาแอปส่งอาหาร ดีหรือไม่
แน่นอนเรื่องนี้ย่อมมีทั้งข้อดี และข้อเสีย
ก่อนอื่นเรามาดูโมเดลธุรกิจ Food Delivery ในแบบเข้าใจง่าย ๆ
ก็คือการมีบริษัทหนึ่งลงทุนสร้างแพลตฟอร์มซึ่งเป็นเสมือน “คนกลาง”
เพื่อให้ลูกค้าและคนขับส่งอาหารได้เจอกัน
จากนั้นบริษัทที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มก็เก็บส่วนแบ่งจากร้านอาหารและค่าบริการจากลูกค้า
ก็คือการมีบริษัทหนึ่งลงทุนสร้างแพลตฟอร์มซึ่งเป็นเสมือน “คนกลาง”
เพื่อให้ลูกค้าและคนขับส่งอาหารได้เจอกัน
จากนั้นบริษัทที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มก็เก็บส่วนแบ่งจากร้านอาหารและค่าบริการจากลูกค้า
ฟังดูก็น่าจะแฮปปีกันทุกฝ่าย เจ้าของแพลตฟอร์มมีรายได้, ร้านอาหารขายได้เยอะขึ้น
คนขับก็มีรายได้, ลูกค้าสะดวกสบาย
คนขับก็มีรายได้, ลูกค้าสะดวกสบาย
แต่ความจริงมันไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะแพลตฟอร์มนี้ อาจไม่ใช่ เสือนอนกิน อย่างที่ใครคิด
เพราะรู้หรือไม่ว่า แต่ละรายกว่าจะมาถึงจุดนี้ ต้องลงทุนเทคโนโลยีพัฒนาแอปตัวเอง
อีกทั้งแบกค่าใช้จ่ายทั้งส่วนแบ่งคนขับ, ค่าพนักงาน, ค่าโฆษณา และรายจ่ายอื่น ๆ
เพราะรู้หรือไม่ว่า แต่ละรายกว่าจะมาถึงจุดนี้ ต้องลงทุนเทคโนโลยีพัฒนาแอปตัวเอง
อีกทั้งแบกค่าใช้จ่ายทั้งส่วนแบ่งคนขับ, ค่าพนักงาน, ค่าโฆษณา และรายจ่ายอื่น ๆ
ผลลัพธ์คือทุกรายต่างขาดทุนกันหมด
Grab ขาดทุน 1,650 ล้านบาท (รวมธุรกิจเรียกรถและส่งอาหาร)
Foodpanda ขาดทุน 1,265 ล้านบาท
Gojek ขาดทุน 1,137 ล้านบาท
LINE MAN ขาดทุน 157 ล้านบาท
(ข้อมูลผลประกอบการในปี 2562)
Grab ขาดทุน 1,650 ล้านบาท (รวมธุรกิจเรียกรถและส่งอาหาร)
Foodpanda ขาดทุน 1,265 ล้านบาท
Gojek ขาดทุน 1,137 ล้านบาท
LINE MAN ขาดทุน 157 ล้านบาท
(ข้อมูลผลประกอบการในปี 2562)
ก็เลยเป็นเงื่อนปมปัญหาคือฝั่ง Food Delivery ไม่สามารถลดค่า GP ให้ต่ำกว่านี้
เพราะ ณ วันนี้นอกจากตัวเองยังไม่มีกำไรแล้วนั้น ก็ยังขาดทุนหนักหน่วง
ส่วนฝั่งร้านอาหารก็มองว่าค่า GP 30-35% ได้ทำลายกำไรจนแทบไม่เหลืออะไรเลย
เพราะ ณ วันนี้นอกจากตัวเองยังไม่มีกำไรแล้วนั้น ก็ยังขาดทุนหนักหน่วง
ส่วนฝั่งร้านอาหารก็มองว่าค่า GP 30-35% ได้ทำลายกำไรจนแทบไม่เหลืออะไรเลย
ที่สำคัญหากผลักภาระตรงนี้ไปที่ลูกค้า ด้วยการปรับค่าส่งอาหารที่แพงขึ้น
แน่นอน ลูกค้าก็พร้อมจะเปลี่ยนไปใช้บริการ Food Delivery เจ้าอื่นในทันที
แน่นอน ลูกค้าก็พร้อมจะเปลี่ยนไปใช้บริการ Food Delivery เจ้าอื่นในทันที
แล้วถ้าร้านอาหารจะหาทางออกเรื่องนี้ เพื่อให้ได้กำไรเต็มเม็ดเต็มหน่วยเหมือนขายหน้าร้าน
ก็จำเป็นต้อง “ตัดคนกลาง” อย่าง Food Delivery ออกไป
พร้อมกับสร้างระบบส่งอาหารเป็นของตัวเอง
ก็จำเป็นต้อง “ตัดคนกลาง” อย่าง Food Delivery ออกไป
พร้อมกับสร้างระบบส่งอาหารเป็นของตัวเอง
หากทำอย่างนั้นจริง สิ่งที่ร้านอาหารจะต้องแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมีอะไรบ้าง ?
แน่นอนเรื่องการจะให้ร้านอาหารลงทุนเพื่อสร้างแอปพลิเคชัน ประเด็นนี้ตัดออกไปได้เลย
เพราะเป็นการลงทุนที่สูงและไม่คุ้มค่า ถ้าร้านอาหารยังมีสาขาไม่มากพอ และจะทำให้เสียโฟกัสในธุรกิจไป
แน่นอนเรื่องการจะให้ร้านอาหารลงทุนเพื่อสร้างแอปพลิเคชัน ประเด็นนี้ตัดออกไปได้เลย
เพราะเป็นการลงทุนที่สูงและไม่คุ้มค่า ถ้าร้านอาหารยังมีสาขาไม่มากพอ และจะทำให้เสียโฟกัสในธุรกิจไป
โมเดลที่ง่ายที่สุดก็คือ การรับออร์เดอร์ทางโทรศัพท์หรือทางแช็ต LINE
สิ่งที่ตามมาก็คือ ร้านอาหารอาจต้องจ้างพนักงานอีก 1 ตำแหน่ง เพื่อทำหน้าที่นี้
สิ่งที่ตามมาก็คือ ร้านอาหารอาจต้องจ้างพนักงานอีก 1 ตำแหน่ง เพื่อทำหน้าที่นี้
สิ่งต่อมาคือ การจ้างคนขับส่งอาหาร หากจ้างประจำก็ต้องยอมจ่ายเงินเดือนสูง
เพราะอย่าลืมว่าปัจจุบัน คนขับส่งอาหาร มีตัวเลือกในการหารายได้มากมาย
ทั้งขับให้ Food Delivery, ขับวินมอเตอร์ไซค์, ขับส่งสินค้าให้บริษัทขนส่ง
เพราะอย่าลืมว่าปัจจุบัน คนขับส่งอาหาร มีตัวเลือกในการหารายได้มากมาย
ทั้งขับให้ Food Delivery, ขับวินมอเตอร์ไซค์, ขับส่งสินค้าให้บริษัทขนส่ง
หรืออีกตัวเลือกคือ จ้างวินมอเตอร์ไซค์แถวร้าน แต่ปัญหาก็คือการควบคุมค่าส่งเป็นไปได้ยาก
เพราะวินมอเตอร์ไซค์คิดค่าบริการตามเรตที่กำหนดไว้
หากต้องส่งระยะไกล ๆ ค่าบริการอาจแพงกว่า Food Delivery ก็เป็นได้
เพราะวินมอเตอร์ไซค์คิดค่าบริการตามเรตที่กำหนดไว้
หากต้องส่งระยะไกล ๆ ค่าบริการอาจแพงกว่า Food Delivery ก็เป็นได้
นอกจากนั้นในช่วงเวลาเร่งรีบ อาจไม่มีวินมอเตอร์ไซค์คนไหน รับงานส่งอาหาร ซึ่งก็ยากต่อการควบคุมเวลาส่งอาหารไปถึงมือลูกค้า
เรื่องสุดท้ายคือ หากอยากให้ร้านอาหารเป็นที่รู้จักในวงกว้าง
ก็ต้องควักเงินซื้อโฆษณาสื่อต่าง ๆ
ซึ่งก็อาจต้องลุ้นว่าจะตรงกับกลุ่มเป้าหมายและช่วยสร้างยอดขายให้กับทางร้านได้หรือไม่
ก็ต้องควักเงินซื้อโฆษณาสื่อต่าง ๆ
ซึ่งก็อาจต้องลุ้นว่าจะตรงกับกลุ่มเป้าหมายและช่วยสร้างยอดขายให้กับทางร้านได้หรือไม่
ทีนี้ เราลองมาดูแพลตฟอร์ม Food Delivery ที่ร้านอาหารจำเป็นต้องแลกด้วยการจ่ายส่วนแบ่ง 30-35%
ให้แก่บรรดาแอปพลิเคชันต่าง ๆ สิ่งที่ร้านอาหารได้คืนกลับมานั้น มีอะไรบ้าง
ให้แก่บรรดาแอปพลิเคชันต่าง ๆ สิ่งที่ร้านอาหารได้คืนกลับมานั้น มีอะไรบ้าง
เรื่องแรกคือ ไม่ต้องยุ่งยากหาคนรับออร์เดอร์และหาคนขับส่งอาหารเอง
เพราะแอปส่งอาหารจะมีระบบรับออร์เดอร์พร้อมคำนวณบิล ระบุที่อยู่จัดส่งของลูกค้า
โดยร้านอาหารสามารถรอรับเงินโอนจากแพลตฟอร์ม
ไม่ต้องวุ่นวายหากลูกค้าจะจ่ายผ่านบัตรเครดิต
เพราะแอปส่งอาหารจะมีระบบรับออร์เดอร์พร้อมคำนวณบิล ระบุที่อยู่จัดส่งของลูกค้า
โดยร้านอาหารสามารถรอรับเงินโอนจากแพลตฟอร์ม
ไม่ต้องวุ่นวายหากลูกค้าจะจ่ายผ่านบัตรเครดิต
แอปส่งอาหารยังมีข้อได้เปรียบคือการมีฐานคนขับส่งอาหารคอย Standby อยู่ตลอดเวลา
นอกจากตัดปัญหาในเรื่องการหาคนขับในช่วงเวลาเร่งด่วนแล้ว ก็ไม่ต้องวุ่นวายกับการจัดการในค่าบริการส่งอาหารกับลูกค้า เพราะแต่ละเจ้ามีอัตราค่าส่งเป็นมาตรฐานที่กำหนดไว้อยู่แล้ว
นอกจากตัดปัญหาในเรื่องการหาคนขับในช่วงเวลาเร่งด่วนแล้ว ก็ไม่ต้องวุ่นวายกับการจัดการในค่าบริการส่งอาหารกับลูกค้า เพราะแต่ละเจ้ามีอัตราค่าส่งเป็นมาตรฐานที่กำหนดไว้อยู่แล้ว
ข้อได้เปรียบสุดท้าย ก็คือการเข้าถึงลูกค้าจำนวนมหาศาล
และทำให้คนรู้จักร้านอาหารในวงกว้าง โดยในบางแอปร้านค้าสามารถเข้าถึงลูกค้าเพิ่มเติมด้วยการโฆษณาในแอปอีกด้วย
และทำให้คนรู้จักร้านอาหารในวงกว้าง โดยในบางแอปร้านค้าสามารถเข้าถึงลูกค้าเพิ่มเติมด้วยการโฆษณาในแอปอีกด้วย
สรุปแล้ว โมเดลไหนดีกว่ากัน ระหว่างร้านอาหารทำระบบ Delivery เองหรืออยู่บนแพลตฟอร์ม Food Delivery ซึ่งเชื่อว่าแต่ละร้านก็คงมีคำตอบแตกต่างกันออกไป
ทางออกของเรื่องนี้ก็คือทุกคนที่เกี่ยวข้องควรมองถึงความจริงของแต่ละฝ่าย
เจ้าของแพลตฟอร์ม Food Delivery แม้เกือบทุกรายยังขาดทุน
แต่ลึก ๆ ทุกรายต้องการทำธุรกิจให้มี กำไร
ฝั่งร้านอาหารก็ต้องการเห็นกำไรสมน้ำสมเนื้อในการขาย Delivery
ส่วนคนขับส่งอาหารก็ต้องการรายได้ที่คุ้มค่ากับเวลาทำงานที่เสียไปในแต่ละวัน
ผู้บริโภคก็อยากที่จะจ่ายค่าบริการส่งอาหาร ในราคาสมเหตุสมผล
เจ้าของแพลตฟอร์ม Food Delivery แม้เกือบทุกรายยังขาดทุน
แต่ลึก ๆ ทุกรายต้องการทำธุรกิจให้มี กำไร
ฝั่งร้านอาหารก็ต้องการเห็นกำไรสมน้ำสมเนื้อในการขาย Delivery
ส่วนคนขับส่งอาหารก็ต้องการรายได้ที่คุ้มค่ากับเวลาทำงานที่เสียไปในแต่ละวัน
ผู้บริโภคก็อยากที่จะจ่ายค่าบริการส่งอาหาร ในราคาสมเหตุสมผล
สุดท้ายแล้วก็ต้องทำให้ทุกฝ่าย ได้รับผลประโยชน์ ในขนาดที่สมดุลกัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
-https://www.thairath.co.th/business/economics/2086451
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
-https://www.thairath.co.th/business/economics/2086451