ตำนาน บัตรเครดิต ตอน VISA
ตำนาน บัตรเครดิต ตอน VISA / โดย ลงทุนแมน
เชื่อว่าหลายคนที่ใช้บัตรเครดิตและเดบิตในบ้านเรา
ถ้าหยิบบัตรขึ้นมาดูซักใบ
ไม่ว่าบัตรนั้นจะเป็นของธนาคารอะไร
ส่วนใหญ่จะต้องมีชื่อของ “VISA” หรือ “MasterCard” บนบัตรใบนั้น
เชื่อว่าหลายคนที่ใช้บัตรเครดิตและเดบิตในบ้านเรา
ถ้าหยิบบัตรขึ้นมาดูซักใบ
ไม่ว่าบัตรนั้นจะเป็นของธนาคารอะไร
ส่วนใหญ่จะต้องมีชื่อของ “VISA” หรือ “MasterCard” บนบัตรใบนั้น
ทั้ง Visa และ MasterCard ทำหน้าที่เป็น ตัวกลาง เพื่ออำนวยความสะดวกและรับรองการโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic funds transfer) ให้กับผู้ถือบัตร
โดยบริษัทที่เป็นตัวกลางนี้ จะไม่ได้เป็นผู้ออกบัตรเครดิตหรือเดบิตให้กับเราโดยตรง แต่จะเป็นการให้ license กับทางสถาบันการเงินอย่าง ธนาคาร แล้วทางธนาคารก็จะนำไปออกเป็นบัตรให้กับคนทั่วไปอีกที
ในฐานะตัวกลาง จะได้รับเงินส่วนแบ่งเล็กน้อยจากทุกยอดการใช้งานของบัตร (ประมาณ 0.11%) แต่ถือเป็นรายได้ที่ได้มาโดยไม่ต้องลงทุนลงแรงไปเจรจาหาลูกค้าหรือร้านค้าเอง
ตัวกลางไม่ต้องออกเงินให้ก่อนเหมือนธนาคารผู้ออกบัตรและ ไม่ต้องคอยดูแลเรื่องต่างๆให้ร้านค้า เหมือนธนาคารของผู้รับบัตร (อ่านรายละเอียดเรื่อง บัตรเครดิตใครได้ค่าธรรมเนียมบ้าง ได้ในบทความเก่าในเว็บไซต์ longtunman.com)
จากข้อมูลปี 2016 ตลาดบัตรเครดิตและเดบิตถูกครอบครองโดย 6 บริษัท ได้แก่ VISA, MasterCard, UnionPay, American Express, JCB, และ Discover/Diners Club
โดยที่ 95% ของ Purchase Transactions ทั่วโลก เป็นของ 3 บริษัทแรก
VISA 139,000 ล้าน transactions คิดเป็น 54%
MasterCard 67,300 ล้าน transactions คิดเป็น 26%
UnionPay 38,300 ล้าน transactions คิดเป็น 15%
VISA 139,000 ล้าน transactions คิดเป็น 54%
MasterCard 67,300 ล้าน transactions คิดเป็น 26%
UnionPay 38,300 ล้าน transactions คิดเป็น 15%
เรามาดูประวัติที่มาของ VISA ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดใน 3 บริษัทนี้กัน
จุดเริ่มต้นของ VISA นั้น เกิดมาจากนาย Joseph P. Williams หัวหน้าหน่วยวิจัยการบริการลูกค้าของ Bank of America มองเห็นปัญหาที่คนต้องพกบัตรเครดิตเป็นจำนวนมาก เพราะแต่ละบัญชี ก็เป็นของแต่ละร้านค้า และยังทำให้เวลาจ่ายเงินในแต่ละเดือนยุ่งยากตามไปด้วย
จึงต้องการออกบัตรเครดิตอเนกประสงค์ที่สามารถใช้จ่ายกับหลายร้านค้าได้ด้วยบัตรใบเดียว ซึ่งจริงๆ ก็มีธนาคารอื่นได้พยายามทำมาก่อนแล้ว เพียงแต่ด้วยขนาดของธนาคารที่เล็ก ทำให้ไม่มีทรัพยากรที่มากพอที่จะทำให้ระบบนี้เกิดขึ้นได้
Bank of America จึงได้จัดทำบัตรเครดิตชื่อ BankAmericard ขึ้น ในปี 1958 หรือเมื่อ 59 ปีที่แล้ว และเริ่มแจกจ่ายให้กับคนในพื้นที่รัฐ California นำไปใช้ โดยภายใน 1 ปี มีร้านค้ากว่า 20,000 ร้านที่รับบัตรใบนี้
แต่ปัญหาก็เกิดขึ้น จากความโลกสวยของนาย Williams ที่ประเมินไว้ว่าจะมีลูกค้าบัตรเครดิตชั้นดีถึง 96% แต่ในความเป็นจริง ตัวเลขนั้นอยู่ที่ 78%
แค่นั้นยังไม่พอ ยังมีรายงานว่า ตำรวจต้องมานั่งรับเรื่องการฉ้อโกงด้วยบัตรเครดิตใหม่นี้หลายต่อหลายครั้ง ทำให้ทางธนาคารถูกโจมตีจากสื่อและนักการเมืองอย่างหนัก จนนาย Williams ต้องรับผิดชอบด้วยการลาออก และทำให้ธนาคารเสียหายเฉพาะจากเรื่องบัตรเครดิตไปกว่า 290 ล้านบาท
หลังจากนั้น ธนาคารต้องใช้ความพยายามอย่างหนักตั้งแต่ ออกมาตรการควบคุมการใช้ที่เหมาะสม ไปจนถึงออกจดหมายเปิดผนึกเพื่อขอโทษชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุการณ์นี้ เพื่อที่จะกอบกู้ชื่อเสียงคืนมา
ปี 1966 BankAmericard เริ่มเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ ด้วยการให้ license กับธนาคารนอกรัฐ California เพื่อรับมือกับคู่แข่งเกิดใหม่ อย่าง Interbank Card Association ที่ออกบัตร MasterCharge (หรือ MasterCard ในปัจจุบัน) มาแข่งกับ BankAmericard ซึ่งทาง Interbank ก็ก่อตั้งขึ้นจากการรวมตัวกันของธนาคารในรัฐ
นอกจากนี้ ก็ได้เริ่มให้ license กับธนาคารอื่นๆ ในต่างประเทศด้วย เช่น ประเทศแคนาดา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น อังกฤษ และสเปน
อย่างไรก็ตาม เมื่อเครือข่ายมีขนาดใหญ่ขึ้น มีธนาคารที่ออกบัตรได้มากขึ้น ทำให้เริ่มเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา จนในที่สุดก็ต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบและวิเคราะห์ปัญหาเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด
และในปี 1970 โครงการ BankAmericard ก็ได้แยกตัวออกจาก Bank of America โดยคนที่เข้ามารับช่วงต่อ ก็คือเหล่าธนาคารในอเมริกาที่ถือ license อยู่นั่นเอง โดยมีนาย Dee Hock ขึ้นนั่งเป็นประธานบริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่ ชื่อ BankAmericard Inc. (VISA USA)
อีก 4 ปีต่อมา เครือข่ายของ BankAmericard ในต่างประเทศ ที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน ก็รวมตัวกันก่อตั้งบริษัท International Bankcard Company (VISA International) ขึ้น เพื่อดูแลธุรกิจบัตรในต่างประเทศโดยเฉพาะ
ปี 1976 บริษัทเกิดความคิดที่ต้องการรวมเครือข่ายในประเทศต่างๆ เข้าด้วยกัน ภายใต้ชื่อบริษัทเดียวกัน แต่ก็มีหลายๆ ประเทศ ที่ไม่ค่อยอยากได้บัตรเครดิตที่ดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกับ Bank of America เท่าไหร่
ทำให้ได้ผลสรุปว่า บัตรเครดิตของธนาคารในกลุ่มพันธมิตร ไม่ว่าจะเป็น BankAmericard, Barclaycard, Carte Bleue, Chargex, Sumitomo Card และธนาคารอื่นๆ ที่เหลือทั้งหมด จะใช้ชื่อบัตรเดียวกันว่า “VISA”
ปัจจุบัน VISA ให้บริการอยู่ในทุกทวีปทั่วโลก (ยกเว้นใน แอนตาร์กติกา) และมีบัตร VISA หมุนเวียนอยู่ในระบบกว่า 3,000 ล้านใบ
VISA มีรายได้เท่าไหร่?
บริษัท VISA จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ค (NYSE) มีชื่อย่อหุ้นว่า V มีมูลค่าตลาด 248,400 ล้านเหรียญ หรือราว 8.2 ล้านล้านบาท
ปี 2014 มีรายได้ 422,529 ล้านบาท กำไร 180,323 ล้านบาท
ปี 2015 มีรายได้ 461,788 ล้านบาท กำไร 209,934 ล้านบาท
ปี 2016 มีรายได้ 501,712 ล้านบาท กำไร 196,658 ล้านบาท
มีอัตรากำไรสุทธิเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 42.5%
ปี 2015 มีรายได้ 461,788 ล้านบาท กำไร 209,934 ล้านบาท
ปี 2016 มีรายได้ 501,712 ล้านบาท กำไร 196,658 ล้านบาท
มีอัตรากำไรสุทธิเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 42.5%
จะเห็นได้ว่ากว่าจะมาเป็น VISA ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ มีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมาย และคนคิดค้นจริงๆแล้วก็เจอปัญหาเช่นกัน
เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ถ้าเราคิดการใหญ่ แล้วเจออุปสรรคเมื่อเริ่มต้น ต้องบอกกับตัวเองไว้ ว่ามันเป็นเรื่องธรรมดามาก ใครๆก็ต้องเจอมาแล้วทั้งนั้น
ประเด็นคือ ถ้าเราผ่านมันไปได้ ค่อยๆสร้างตัว ค่อยๆขยายตัว แก้ปัญหาไปเรื่อยๆ สิ่งที่เราค่อยๆทำจะกลับกลายเป็นเกราะกำบัง ป้องกันคู่แข่งไม่ให้เข้ามา
สุดท้าย จนถึงตอนนี้ ต่อให้ใครมีเงินทุนมากขนาดไหน ก็คงยากที่จะเข้ามาแข่งกับ VISA..
----------------------
<ad> ปวดหัวกับเรื่องบัญชี? ใครมีกิจการเป็นของตัวเอง แต่วุ่นวายกับเอกสาร invoice ภาษี.. ปัญหานี้จะหมดไปด้วยระบบ E-tax invoice ของ BUILD SME ปรึกษาฟรีที่ fb.com/buildsme
----------------------
----------------------
<ad> ปวดหัวกับเรื่องบัญชี? ใครมีกิจการเป็นของตัวเอง แต่วุ่นวายกับเอกสาร invoice ภาษี.. ปัญหานี้จะหมดไปด้วยระบบ E-tax invoice ของ BUILD SME ปรึกษาฟรีที่ fb.com/buildsme
----------------------