กรณีศึกษา Samsung มองเห็นอะไร ในโทรศัพท์พับได้

กรณีศึกษา Samsung มองเห็นอะไร ในโทรศัพท์พับได้

กรณีศึกษา Samsung มองเห็นอะไร ในโทรศัพท์พับได้ / โดย ลงทุนแมน
หากให้เรานึกย้อนกลับไปเมื่อสมัยก่อน
โทรศัพท์รูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแบบหนึ่งก็คงหนีไม่พ้น โทรศัพท์แบบพับได้ ที่มีหน้าจออยู่ด้านบน และปุ่มอยู่ด้านล่าง
แต่เทคโนโลยีของมือถือก็มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จนทำให้โทรศัพท์รูปแบบนี้ค่อยๆ หายจากตลาดไป
มาวันนี้โทรศัพท์มือถือพับได้กำลังกลับมาอีกครั้งโดย “Samsung”
แต่ครั้งนี้จะเป็นการปรับเพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะการใช้งานมากขึ้น
เพราะสิ่งที่พับได้ก็คือ “หน้าจอ” นั่นเอง
แล้วทำไม Samsung ถึง พัฒนาโทรศัพท์พับได้ขึ้นมาอีกครั้ง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์มของแหล่งรวมนักคิด
ที่ช่วยอัปเดตสถานการณ์ ในรูปแบบบทความ วิดีโอ
รวมไปถึงพอดแคสต์ ที่มีให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
ลองใช้กันที่ Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จากเดิมที่สมัยก่อนโทรศัพท์มือถือนั้นมีไว้พูดคุยติดต่อสื่อสารกัน
ไม่ได้เน้นไปที่ฟังก์ชันการใช้งาน พิมพ์งานเอกสาร หรือดูสื่อออนไลน์ต่างๆ
ทำให้ไม่สะดวกในการใช้งานด้านอื่นๆเท่าไรนัก
แต่มาวันนี้คนให้ความสำคัญกับหน้าจอ
หน้าจอต้องมีขนาดใหญ่เพื่อใช้ในการทำงาน หรือรับชมคอนเทนต์ต่างๆ
อย่างไรก็ตามคนก็ให้ความสำคัญกับการพกพา
ซึ่งก็คงไม่สะดวกสำหรับบางคน ถ้าต้องพกพา Tablet ติดตัวไปสถานที่ต่างๆ
โทรศัพท์พับได้ของ Samsung จึงถือกำเนิดขึ้น
โดยที่เราสามารถใช้งานหน้าจอขนาดใหญ่ พร้อมกับการพกพาไปที่ต่างๆได้ง่าย
เหมือนพกสมาร์ตโฟน และ Tablet ในเวลาเดียวกัน
แล้วการพับสมาร์ตโฟนในรูปแบบปัจจุบันนี้ ใช้เทคโนโลยีอะไร?
คำถามแรกที่หลายๆ คนอาจจะนึกถึงเวลาที่ต้องพับก็คือ รอยต่อบริเวณที่พับที่อาจทำให้เมื่อกางหน้าจอออกมาแล้ว ไม่ต่อเนื่องกันเหมือนโทรศัพท์พับได้แบบสมัยก่อน
ซึ่งทาง Samsung ได้ใช้เทคนิคในการนำกระจกที่มีความบางกว่าเส้นผม มาทำเป็นหน้าจอ ทำให้หน้าจอช่วงบริเวณรอยต่อนั้นสามารถพับได้ โดยไม่แตกหัก และ ทำให้เวลากางหน้าจอออกมา จากสมาร์ตโฟนธรรมดา ก็จะกลายเป็น Tablet ขนาด 7.6 นิ้ว ที่ไร้รอยต่อ
โดยเทคโนโลยีนี้ก็ได้ถูกนำมาใช้ในรุ่น Galaxy Z Fold 2 ซึ่งก็ถือเป็นโมเดลแบบพับได้รุ่นที่ 3 แล้วนับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2019 ที่ผ่านมา
แล้วข้อดีของการมีสมาร์ตโฟน และ Tablet ในเวลาเดียวกันคืออะไร?
ปัจจุบัน จากผลสำรวจผู้ใช้งานสมาร์ตโฟนแบบพับได้ในเกาหลี และสหรัฐอเมริกาพบว่า
กว่า 79% พอใจกับการใช้งานแบบ Multi-task หรือการใช้งานหลายๆแอปพลิเคชันพร้อมกันมากขึ้น
ดังนั้นฟังก์ชันของ สมาร์ตโฟนพับได้นั้นจะทำให้เราสามารถใช้งานหลายๆ แอปพลิเคชันโดยไม่ต้องจับทุกอย่างไว้ในหน้าจอเล็กๆ หน้าจอเดียว ซึ่งเป็นขีดจำกัดของสมาร์ตโฟนที่มีหน้าจอขนาดเล็ก ที่ยากต่อการใช้งานหลายแอปพลิเคชันร่วมกัน
ที่น่าสนใจคือ นอกจากจะกางเป็น Tablet ได้แล้ว ยังสามารถพับแบบ 90 องศา ทำให้เหมือนใช้งาน Laptop ได้เช่นกัน โดยระบบจะแบ่งเป็นหน้าจออยู่ครึ่งบนและส่วนของคีย์บอร์ดอยู่ครึ่งล่างแบบอัตโนมัติ
แล้วตลาดของสมาร์ตโฟนประเภทนี้น่าสนใจอย่างไร?
หลายคนอาจจะมองว่า
สมาร์ตโฟนรูปแบบนี้ ค่อนข้างเป็นสิ่งใหม่ และอาจเหมาะกับการใช้งานเฉพาะกลุ่ม
แต่หากดูจาก แนวโน้มลักษณะการใช้งานของผู้ใช้งานสมาร์ตโฟนในปัจจุบัน ก็ทำให้เห็นว่าตลาดนี้เป็นตลาดที่มีโอกาสเติบโตอยู่ไม่น้อย
เพราะจากผลสำรวจยังพบอีกว่า
ผู้ใช้งานส่วนมากมองว่า สมาร์ตโฟนที่มีขนาดหน้าจอใหญ่ขึ้นจะทำให้พวกเขาทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
และกว่า 76% ของผู้ใช้งานยังเลือกที่จะพกพาดิไวซ์เดียวไปไหนมาไหน มากกว่าการต้องพกหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน
ซึ่งก็ต้องมาดูกันว่าในอนาคต Samsung จะสามารถเข้ามาตีตลาดนี้ได้สำเร็จหรือไม่
โดยตลาดในกลุ่มที่ใกล้เคียงกันที่ Samsung เองเคยทำสำเร็จ ก็คือ Galaxy Note
ต้องยอมรับว่าตลาดนี้ถือเป็นตลาดที่ค่อนข้างใหม่
แต่ก็ถือว่า Samsung มีความกล้า ที่จะมาเปิดและทดลองตลาดนี้ด้วยตนเอง..
----------------------
Blockdit เป็นแพลตฟอร์มของแหล่งรวมนักคิด
ที่ช่วยอัปเดตสถานการณ์ ในรูปแบบบทความ วิดีโอ
รวมไปถึงพอดแคสต์ ที่มีให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
ลองใช้กันที่ Blockdit.com/download
----------------------
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References:
-https://www.samsung.com/th/smartphones/galaxy-z-fold2/
-www.theverge.com/2020/2/19/21142728/samsung-foldable-glass-galaxy-z-flip-explained-schott-corning
-https://www.youtube.com/watch?v=TXRbFnRf4X4

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon