หุ้นกู้ PTT เรทติ้ง AAA (tha) ที่หลายคนรอคอย
ผู้สนับสนุน..
หุ้นกู้ PTT เรทติ้ง AAA (tha) ที่หลายคนรอคอย
กรีนบอนด์อายุ 3 ปี ดอกเบี้ย 2.25% และหุ้นกู้อายุ 7 ปี ดอกเบี้ย 2.85% ต่อปี
เดินหน้าส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างประโยชน์แก่สังคม และชุมชน
หุ้นกู้ PTT เรทติ้ง AAA (tha) ที่หลายคนรอคอย
กรีนบอนด์อายุ 3 ปี ดอกเบี้ย 2.25% และหุ้นกู้อายุ 7 ปี ดอกเบี้ย 2.85% ต่อปี
เดินหน้าส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างประโยชน์แก่สังคม และชุมชน
เห็นบริษัทต่างๆ เสนอขายหุ้นกู้แก่ผู้ลงทุนประชาชนทั่วไปกันมากมาย นักลงทุนหลายคนก็รอลุ้นว่า บริษัทพลังงานข้ามชาติชั้นนำรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย อย่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. (PTT) จะเสนอขายหุ้นกู้เมื่อไร
ล่าสุดหลังจากประสบความสำเร็จในการเสนอขายหุ้นกู้แก่ผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา ปตท. ได้เปิดตัวหุ้นกู้ 2 รุ่นสำหรับเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนประชาชนทั่วไป รุ่นนึงเป็นหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือกรีนบอนด์ อายุ 3 ปี ดอกเบี้ย 2.25% ต่อปี กับอีกรุ่นเป็นหุ้นกู้อายุ 7 ปี ดอกเบี้ย 2.85% ต่อปี ซึ่งรุ่นนี้มีให้สิทธิกับผู้ถือหุ้นกู้เดิมของ ปตท. (8 รุ่น ที่ครบกำหนดไถ่ถอนไปแล้วระหว่างปี 2559 ถึง 2562) ด้วย โดยทั้ง 2 รุ่น กำหนดจ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน
ในด้านของอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ ปตท. นั้น หายห่วง เพราะบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศอันดับเครดิต หุ้นกู้ ปตท. เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2563 เป็นตราสารหนี้ที่ออกในประเทศไทยที่มีอันดับเครดิตสูงสุด คือ AAA (tha)
ฟิทช์ เรทติ้งส์ ระบุไว้ว่า อันดับเครดิตของ ปตท. สะท้อนถึงการดำเนินธุรกิจแบบครบวงจรของกลุ่ม ปตท. และความมีเสถียรภาพจากการที่ ปตท. ได้ถือหุ้นในบริษัทในเครือต่างๆ ตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ (Business Value Chain) ตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำ ที่มีขนาดใหญ่และมั่นคง อาทิ ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจโรงกลั่น และธุรกิจปิโตรเคมี และยังระบุถึงสถานะทางการเงินและสภาพคล่องที่แข็งแกร่งของ ปตท. ด้วยว่า ปตท. ได้รับประโยชน์จากกระแสเงินสดจากการดำเนินงานของธุรกิจตลอดห่วงโซ่ ที่มีความสม่ำเสมอ เนื่องจากอุปสงค์ของธุรกิจพลังงานค่อนข้างมีความมั่นคง
นอกจาก ปตท. จะเป็นบริษัทพลังงานไทยที่เทียบชั้นได้กับบริษัทใหญ่ๆ ระดับโลกแล้ว เรายังเห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะสร้างความสมดุลระหว่างการเติบโตทางธุรกิจ การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และการพยายามร่วมสร้างสังคมไทยให้แข็งแรง เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานและความมั่งคั่งให้กับเศรษฐกิจของประเทศ โดยในปี 2562 ที่ผ่านมา ปตท. ได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิกในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 ในกลุ่มดัชนีโลก (World Index) และดัชนีตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market Index) สะท้อนให้เห็นถึงการบริหารจัดการความยั่งยืนขององค์กรที่สามารถเทียบเคียงกับบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมเดียวกันทั่วโลก นำมาซึ่งความภาคภูมิใจสู่องค์กรและประเทศไทยที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
และเนื่องจากหุ้นกู้ ปตท. ที่ออกครั้งนี้มี “กรีนบอนด์” หรือหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย โดยที่ ปตท. ถือเป็นบริษัทแรกในประเทศไทยที่เสนอขายกรีนบอนด์ให้กับผู้ลงทุนประชาชนทั่วไป และได้รับประกาศนียบัตรจาก Climate Bonds Initiative (CBI) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม ที่มุ่งเน้นและให้ความสำคัญเรื่องการลงทุนและการระดมทุนที่สนับสนุนการนำไปสู่สังคมและเศรษฐกิจแบบ Low Carbon หรือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยโครงการเพื่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ ปตท. นั้น ถือเป็นโครงการแรกในโลกที่ได้รับประกาศนียบัตรจาก CBI ด้านการอนุรักษ์ป่าไม้ ซึ่งตอกย้ำถึงความเป็นผู้นำของ ปตท. ในการมุ่งเน้นเรื่องความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมที่แท้จริง เราจึงควรทำความรู้จักกับโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมของ ปตท. กันหน่อยว่า ที่บอกว่าเป็นโครงการเพื่อ “ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างประโยชน์แก่สังคม และชุมชน” นั้นเป็นอย่างไร
เริ่มจากปี 2537 ปตท. ได้รับอาสาภาครัฐปลูกป่า จำนวน 1 ล้านไร่ ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกทำลาย โดยมีพื้นที่เป้าหมายกระจายอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศ
ปัจจุบัน ผลจากการปลูกป่าดังกล่าวได้เติบโตและสร้างประโยชน์ให้กับประเทศ โดยการวิจัยของศูนย์วิจัยป่าไม้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่าป่าที่ ปตท. ได้ดำเนินการปลูกและดูแลรักษา สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้เฉลี่ย 2.14 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และมีการใช้ประโยชน์ของชุมชนด้านของป่าคิดมูลค่ารวมกว่า 280 ล้านบาทต่อปี (ข้อมูลจากงานวิจัยผลสัมฤทธิ์แปลงปลูกป่า ปตท. โดย ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2560 – 2561) และยังคงมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่า 82% ด้วยความร่วมใจดูแลรักษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า อีกทั้งเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมสร้างการพึ่งพาตัวเอง ส่งเสริมให้เกิดคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจที่ดีแก่ชุมชนโดยรอบพื้นที่แปลงปลูกป่า นอกจากนี้ยังเกิดเครือข่ายความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศมากมาย
จากโครงการปลูกป่าฯ สู่การจัดตั้งเป็นสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. ได้ทำหน้าที่ขยายผล ต่อยอดจากภารกิจโครงการปลูกป่าฯ 1 ล้านไร่ ผ่านการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ที่สำคัญจำนวน 3 ศูนย์ ซึ่งมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน ประกอบด้วย ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง และ ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์
ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี เป็นพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ป่าชายเลน 786 ไร่ ที่ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่แห่งนี้ได้รับการฟื้นฟูจากนากุ้งร้างสู่ความอุดมสมบูรณ์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนระดับประเทศและภูมิภาค รวมถึงเป็นพื้นที่ต้นแบบการบริหารจัดการพื้นที่ป่าอย่างยั่งยืนร่วมกับชุนชนและหน่วยงานภาครัฐ สร้างรายได้ให้ชุมชนจากการรับรองนักท่องเที่ยว และจากการจับสัตว์น้ำ
ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง เนื้อที่รวม 351 ไร่ มีแนวคิดการออกแบบที่คำนึงถึงระบบนิเวศและการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ซึ่งกระทบต่อธรรมชาติน้อยที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้และนวัตกรรมการฟื้นฟูป่ารูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะการฟื้นฟูป่าแบบบูรณาการในรูปแบบ “วนเกษตร” ที่ปลูกไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชสวน รวมถึงการทำนาแบบผสมผสาน ทั้งยังเป็นพื้นที่ปลูกป่าโครงการนำร่องที่เข้าร่วมโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ ตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand-Voluntary Emission and Reduction: T-VER) สาขาป่าไม้และพื้นที่สีเขียว
ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2558 โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิด และพระราชทานชื่อ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 12 ไร่ บนถนนสุขาภิบาล 2 เขตประเวศ กทม. เป็นแหล่งสะสมพันธุ์ไม้พื้นถิ่นต่างๆ ของกรุงเทพฯ ทั้งยังรวบรวมองค์ความรู้การปลูกและอนุรักษ์ป่าของ ปตท. ปัจจุบันเป็นหนึ่งในแหล่งกิจกรรมปลูกฝังเรื่องการอนุรักษ์ป่าและสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ชิดคนเมือง
ซึ่งนอกจากการมุ่งรักษาทรัพยากรควบคู่กับการสร้างความรู้แล้ว ขณะนี้ ปตท. ยังหวังยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรในเมืองผ่านแนวคิดแบบ Urban Green มากขึ้น อย่างที่ผ่านมาก็มีโครงการ Our Khung BangKachao ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนความร่วมมือในรูปแบบ social collaboration กับภาคีต่างๆ กว่า 65 หน่วยงาน เพื่อพัฒนาพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า จ.สมุทรปราการ ที่ถือว่าเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ในการผลิตออกซิเจนให้กับคนเมือง ให้สามารถเติบโตอย่างสมดุล เป็นพื้นที่สีเขียว ร่วมกับพัฒนาเศรษฐกิจ ปากท้อง ความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน
จะเห็นว่าโครงการปลูกป่าของ ปตท. ไม่ใช่แค่ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม แต่ยังส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติเพื่อความยั่งยืนในระยะยาว ด้วยการสร้างให้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ ปลูกสร้างจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมและการเพิ่มพื้นที่สีเขียวควบคู่กันไปด้วย ซึ่งจะตอบโจทย์นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมในระยะยาวต่อไป
กลับมาที่เรื่องหุ้นกู้ว่า ผู้ที่สนใจจะซื้อได้ที่ไหน เมื่อไร?
สำหรับหุ้นกู้ อายุ 7 ปี เสนอขายในวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 สำหรับผู้ถือหุ้นกู้เดิมของ ปตท. (8 รุ่น ที่ครบกำหนดไถ่ถอนไปแล้วระหว่างปี 2559 ถึง 2562) โดยกำหนดมูลค่าจองซื้อไม่เกิน 1,000,000 บาท/ราย/ธนาคาร และวันที่ 21-23 กรกฎาคม 2563 สำหรับผู้ลงทุนประชาชนทั่วไป
สำหรับกรีนบอนด์ (หุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม) อายุ 3 ปี เสนอขายระหว่างวันที่ 21 - 23 กรกฎาคม 2563 สำหรับผู้ลงทุนประชาชนทั่วไป โดยกำหนดมูลค่าจองซื้อกรีนบอนด์ไม่เกิน 1,000,000 บาท/ราย/ธนาคาร
หุ้นกู้ ปตท. จัดการจำหน่ายโดยธนาคารชั้นนำ 4 แห่ง ดังนี้
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-111-1111
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) โทร. 1572
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-888-8888 ต่อ 819 และ
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) โทร. 02-777-6784
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-111-1111
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) โทร. 1572
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-888-8888 ต่อ 819 และ
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) โทร. 02-777-6784
สามารถติดตามรายละเอียดจากหนังสือชี้ชวนการเสนอขายได้ที่ www.sec.or.th หรือสอบถามข้อมูลผ่านธนาคารพาณิชย์ ผู้ร่วมจัดการการจำหน่าย