
กรณีศึกษา โมเดลธุรกิจ ลูกชิ้นทิพย์พันล้าน
กรณีศึกษา โมเดลธุรกิจ ลูกชิ้นทิพย์พันล้าน / โดย ลงทุนแมน
การขายลูกชิ้นปิ้งอาจเป็นธุรกิจที่หลายคนมองข้าม
แต่เชื่อหรือไม่ว่าลูกชิ้นปิ้งที่ขายไม้ละ 5 บาท
สามารถสร้างรายได้มากถึงพันล้านบาท
สามารถสร้างรายได้มากถึงพันล้านบาท
เรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
หนึ่งในปัจจัยที่จะตัดสินว่าธุรกิจจะเติบโตได้มากแค่ไหนก็คือ ความสามารถใน “การสเกล” หรือทำขายในปริมาณมาก
ลองนึกภาพถึง Facebook ที่ลงทุนพัฒนาแอปพลิเคชันครั้งเดียว
แต่สามารถรองรับผู้ใช้งานหลายล้านคนทั่วโลก
แต่สามารถรองรับผู้ใช้งานหลายล้านคนทั่วโลก
ดังนั้นเวลาพูดถึงธุรกิจที่มีความสามารถในการสเกล
หลายคนจึงอาจนึกถึงสตาร์ตอัปที่พัฒนาแอปพลิเคชัน
หลายคนจึงอาจนึกถึงสตาร์ตอัปที่พัฒนาแอปพลิเคชัน
แต่เราอาจจะมองข้ามธุรกิจใกล้ตัวเราที่สามารถทำได้เหมือนกัน
ธุรกิจที่ลงทุนแมนพูดถึงก็คือ ธุรกิจลูกชิ้นปิ้ง
หนึ่งในแฟรนไชส์ลูกชิ้นที่พบเห็นได้ทั่วไปก็คือแบรนด์ “ลูกชิ้นทิพย์”
เจ้าของลูกชิ้นทิพย์คือ คุณศราลี พรอำนวย

จริงๆ แล้วก่อนหน้าที่จะมาจับธุรกิจลูกชิ้น
คุณศราลี ได้ผ่านการทำธุรกิจมาหลายอย่าง
คุณศราลี ได้ผ่านการทำธุรกิจมาหลายอย่าง
เริ่มจากการเปิดแผงหมู ก่อนจะหยุดกิจการเพื่อกลับมาดูแลคุณแม่สามีที่มีอายุมาก
แต่ด้วยความเป็นคนที่ไม่ชอบอยู่เฉย จึงเริ่มรับจ้างทำงานหลายๆ อย่าง
รวมถึงการรับเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปขายตามตลาดนัด
รวมถึงการรับเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปขายตามตลาดนัด
เรื่องนี้ทำให้คุณศราลีมีเงินเก็บมากพอจะเป็นทุนขยายธุรกิจ
เธอมีความคิดที่จะผลิตเสื้อผ้าของตัวเอง
แต่ด้วยความที่ไม่มีประสบการณ์ทำให้กิจการไปต่อไม่ได้
แต่ด้วยความที่ไม่มีประสบการณ์ทำให้กิจการไปต่อไม่ได้
หลังจากนั้นคุณศราลีก็ได้หันมาเปิดร้านเครปที่คิดสูตรเอง
ตอนแรกก็ขายดี แต่ต่อมากลับโดนโกงเนื่องจากคุมลูกน้องไม่ได้
ตอนแรกก็ขายดี แต่ต่อมากลับโดนโกงเนื่องจากคุมลูกน้องไม่ได้
คุณศราลีจึงเปลี่ยนโมเดลธุรกิจใหม่เป็นการขายแฟรนไชส์ร้านเครปแทน
ใช้เวลาไม่นาน แบรนด์ของเธอก็ติดตลาด
อย่างไรก็ตาม เครปกลับเป็นเหมือนสินค้าแฟชั่นที่ได้รับความนิยมเพียงชั่วคราวเท่านั้น
ทำให้ขายดีแค่ในช่วงแรก แต่พอคนเริ่มเบื่อ ยอดขายก็ตก
ใช้เวลาไม่นาน แบรนด์ของเธอก็ติดตลาด
อย่างไรก็ตาม เครปกลับเป็นเหมือนสินค้าแฟชั่นที่ได้รับความนิยมเพียงชั่วคราวเท่านั้น
ทำให้ขายดีแค่ในช่วงแรก แต่พอคนเริ่มเบื่อ ยอดขายก็ตก
คุณศราลีจึงเริ่มต้นในธุรกิจใหม่อีกครั้ง
รอบนี้เธอขายไอศกรีมกะทิใส่เครื่องแบบโบราณ ชื่อว่า “ทิพย์สุคนธ์”
โดยเลือกทำเลบริเวณห้างสรรพสินค้าเป็นหลัก
โดยเลือกทำเลบริเวณห้างสรรพสินค้าเป็นหลัก
ทุกอย่างดูเหมือนว่าจะเป็นไปอย่างราบรื่น
แต่อยู่ดีๆ ยอดขายสาขาแห่งหนึ่งกลับตกลงอย่างเห็นได้ชัด
แต่อยู่ดีๆ ยอดขายสาขาแห่งหนึ่งกลับตกลงอย่างเห็นได้ชัด
ตอนแรกเธอก็คิดว่าอาจจะโดนโกงอีกครั้ง
แต่เมื่อคุณศราลีไปดูที่ร้านสาขานั้น
กลับพบว่าเป็นเพราะมีร้านลูกชิ้นปิ้งมาเปิด
ลูกชิ้นปิ้งร้านนี้ขายดีมาก มีทั้งลูกค้าที่ยืนกิน และซื้อกลับบ้าน
ลูกชิ้นปิ้งร้านนี้ขายดีมาก มีทั้งลูกค้าที่ยืนกิน และซื้อกลับบ้าน
เรื่องนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้คุณศราลีสนใจในธุรกิจลูกชิ้นปิ้ง
เธอตั้งชื่อแบรนด์ว่า “ลูกชิ้นทิพย์”
แรกๆ ก็รับลูกชิ้นจากโรงงานมาปิ้งขายเอง
แรกๆ ก็รับลูกชิ้นจากโรงงานมาปิ้งขายเอง
พอแบรนด์ของเธอเริ่มติดตลาดก็มักจะมีคนมาขอซื้อลูกชิ้นไปขายต่อ
แต่เนื่องจากเธอไม่มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเองจึงทำให้ได้กำไรน้อย
แต่เนื่องจากเธอไม่มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเองจึงทำให้ได้กำไรน้อย
คุณศราลีจึงตัดสินใจลองผิดลองถูกพัฒนาสูตรลูกชิ้นของตัวเอง
จากนั้นจึงลงทุนสร้างโรงงาน โดยเริ่มจากพื้นที่อาคารพาณิชย์ 2 คูหาก่อน
จากนั้นจึงลงทุนสร้างโรงงาน โดยเริ่มจากพื้นที่อาคารพาณิชย์ 2 คูหาก่อน
เวลาผ่านไปไม่นาน สินค้าก็ได้รับความนิยมเกินคาด
จนกำลังการผลิตไม่เพียงพอ และต้องขยายโรงงานอีกหลายครั้ง
จนกำลังการผลิตไม่เพียงพอ และต้องขยายโรงงานอีกหลายครั้ง
ปัจจุบันลูกชิ้นทิพย์มีทั้งขายแฟรนไชส์ และขายส่ง
โดยเพียงแค่จำนวนร้านแฟรนไชส์ทั่วประเทศก็มีเกือบ 400 สาขาแล้ว
โดยเพียงแค่จำนวนร้านแฟรนไชส์ทั่วประเทศก็มีเกือบ 400 สาขาแล้ว
คุณศราลีได้จดทะเบียนธุรกิจลูกชิ้นทิพย์ภายใต้ 2 บริษัท
บริษัท พงษ์-ศรา แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด สำหรับส่วนผลิต
และบริษัท พงษ์-ศรา ดิสทริบิวชั่น จำกัด สำหรับจัดจำหน่าย
และบริษัท พงษ์-ศรา ดิสทริบิวชั่น จำกัด สำหรับจัดจำหน่าย
แล้วผลประกอบการของทั้ง 2 บริษัทนี้เป็นอย่างไร?
บริษัท พงษ์-ศรา แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
ปี 2559 รายได้ 413.8 ล้านบาท กำไร 43.2 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 471.8 ล้านบาท กำไร 65.0 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 977.0 ล้านบาท กำไร 57.4 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 471.8 ล้านบาท กำไร 65.0 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 977.0 ล้านบาท กำไร 57.4 ล้านบาท
บริษัท พงษ์-ศรา ดิสทริบิวชั่น จำกัด
ปี 2559 รายได้ 633.6 ล้านบาท กำไร 48.5 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 781.7 ล้านบาท กำไร 59.1 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 1,640.3 ล้านบาท กำไร 16.5 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 781.7 ล้านบาท กำไร 59.1 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 1,640.3 ล้านบาท กำไร 16.5 ล้านบาท
ใครจะไปคิดว่าธุรกิจผลิตลูกชิ้นจะมีรายได้เป็นพันล้านบาท

เรื่องนี้บอกอะไรกับเรา?
การทำธุรกิจในบางครั้งต้องดูที่โมเดล
ในบางครั้งการออกแรงหนึ่งครั้ง แล้วทำซ้ำ จะได้ผลปลายทางที่ยิ่งใหญ่กว่า ออกแรงแล้วทำซ้ำไม่ได้
โมเดลธุรกิจของการผลิตลูกชิ้น มีจุดเด่นคือ สามารถสเกลการผลิตได้ในปริมาณมาก โดยยังควบคุมคุณภาพได้ แม้ว่าจะผลิตเพิ่มขึ้น
ต่างจากธุรกิจอื่นอย่างร้านอาหาร ที่หากเปิดสาขาใหม่ คุณภาพก็อาจไม่เท่าเดิม
ที่น่าสนใจคือ ในบางครั้งการสเกลอาจไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งใหม่ที่น่าตื่นเต้น
แต่เป็นสิ่งพื้นฐานที่เรียบง่ายจนเราคิดไม่ถึง
แต่เป็นสิ่งพื้นฐานที่เรียบง่ายจนเราคิดไม่ถึง
เหมือนลูกชิ้นทิพย์ของคุณศราลี
ที่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน
เทคโนโลยีเปลี่ยนไป อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแค่ไหน
คนไทยก็น่าจะยังกินลูกชิ้นกันอยู่..
----------------------
อ่านลงทุนแมนสนุกขึ้น
อ่านในแอป blockdit
โหลดที่ http://www.blockdit.com
----------------------
References
-https://www.lookchinthip.com/?page_id=6872
-http://info.matichon.co.th/rich/rich.php?srctag=0714010959&srcday=&search=no
-กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ที่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน
เทคโนโลยีเปลี่ยนไป อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแค่ไหน
คนไทยก็น่าจะยังกินลูกชิ้นกันอยู่..
----------------------
อ่านลงทุนแมนสนุกขึ้น
อ่านในแอป blockdit
โหลดที่ http://www.blockdit.com
----------------------
References
-https://www.lookchinthip.com/?page_id=6872
-http://info.matichon.co.th/rich/rich.php?srctag=0714010959&srcday=&search=no
-กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
Tag: ลูกชิ้นทิพย์