ผู้สนับสนุน.. กรณีศึกษา การร่วมมือกันของ AYUD และ อลิอันซ์
ผู้สนับสนุน..
กรณีศึกษา การร่วมมือกันของ AYUD และ อลิอันซ์ / โดย ลงทุนแมน
กรณีศึกษา การร่วมมือกันของ AYUD และ อลิอันซ์ / โดย ลงทุนแมน
Alone we can do so little; together we can do so much. - Helen Keller
ประโยคนี้คงจะเป็นสิ่งที่เป็นตัวแทนของเรื่องนี้ได้ดี
ประโยคนี้คงจะเป็นสิ่งที่เป็นตัวแทนของเรื่องนี้ได้ดี
ในบางครั้งการที่เราทำอะไรด้วยตัวเองคนเดียว มันเทียบไม่ได้เลยกับการร่วมมือกันสร้างสิ่งที่ใหญ่ขึ้น
แล้วการร่วมมือกันของ สองบริษัทนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ย้อนกลับไปเมื่อ 16 ปีที่แล้ว..
บมจ. ศรีอยุธยา แคปปิตอล (AYUD) ที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือ กลุ่มรัตนรักษ์ ได้เข้าลงทุนใน บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต
ในตอนนั้นคงมีไม่กี่คนที่คิดว่าธุรกิจประกันชีวิต จะกลายเป็นธุรกิจสำคัญของคนส่วนใหญ่ในประเทศไทยในปัจจุบัน เพราะประเทศไทยกำลังจะก้าวสู่สังคมสูงอายุอย่างเต็มตัว
ตั้งแต่ตอนนั้นจนถึงตอนนี้ บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ก็ได้เติบโตขึ้นจนมีส่วนแบ่งตลาดเบี้ยรับในธุรกิจประกันชีวิตอยู่ใน 10 อันดับแรก
ชื่อบริษัทที่มีคำว่า อลิอันซ์ กับ อยุธยา หลายคนก็คงจะเดาได้ว่าเป็นการร่วมมือของ 2 กลุ่มหลัก
แต่คงมีหลายคนสงสัยว่า สัดส่วนการถือหุ้นของทั้งคู่ในตอนนี้เป็นอย่างไร?
สัดส่วนการถือหุ้นใน บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต
บมจ. ศรีอยุธยา แคปปิตอล ถือหุ้นประมาณ 20.2%
ส่วน กลุ่มอลิอันซ์ และ CPRNT ถือหุ้นประมาณ 62.7%
บมจ. ศรีอยุธยา แคปปิตอล ถือหุ้นประมาณ 20.2%
ส่วน กลุ่มอลิอันซ์ และ CPRNT ถือหุ้นประมาณ 62.7%
ความร่วมมือของทั้ง 2 บริษัทในปัจจุบัน อาจจะยังไม่ได้ถือว่าเป็นการร่วมมือกันเต็มที่นัก
เพราะจริงๆแล้วยังมีอีกธุรกิจหนึ่งที่ต่างฝ่ายต่างก็มีบริษัทเป็นของตัวเอง นั่นก็คือ “ธุรกิจประกันวินาศภัย”
บมจ. ศรีอยุธยา แคปปิตอล มีธุรกิจประกันวินาศภัยของตัวเองในชื่อ บมจ. ศรีอยุธยา เจนเนอรัล ประกันภัย (SAGI)
ส่วนกลุ่มอลิอันซ์ มีธุรกิจประกันวินาศภัยในชื่อ บมจ. อลิอันซ์ ประกันภัย (AZTH)
พอวันเวลาผ่านไป ทั้ง 2 ฝ่ายมีภาพในหัวที่ชัดเจนขึ้น ก็กลับมาคุยกันอีกครั้ง
จึงทำให้เกิดเป็นดีลใหม่ขึ้นมาที่น่าสนใจ
จึงทำให้เกิดเป็นดีลใหม่ขึ้นมาที่น่าสนใจ
โดยดีลนี้จะเป็นการรวมกลุ่มธุรกิจ อลิอันซ์ และ AYUD เข้าด้วยกัน ทั้งด้านประกันวินาศภัย และ ประกันชีวิต
รายละเอียดของดีลเป็นอย่างไร?
เรื่องแรกคือธุรกิจประกันวินาศภัย..
บมจ. ศรีอยุธยา เจนเนอรัล ประกันภัย จะซื้อและรับโอนกิจการทั้งหมดของ บมจ. อลิอันซ์ ประกันภัย
เรื่องนี้จะทำให้กิจการประกันภัยของทั้ง 2 ฝ่ายดำเนินงานอยู่ภายใต้บริษัทเดียว
บมจ. ศรีอยุธยา เจนเนอรัล ประกันภัย จะซื้อและรับโอนกิจการทั้งหมดของ บมจ. อลิอันซ์ ประกันภัย
เรื่องนี้จะทำให้กิจการประกันภัยของทั้ง 2 ฝ่ายดำเนินงานอยู่ภายใต้บริษัทเดียว
เรื่องสองคือธุรกิจประกันชีวิต
บมจ. ศรีอยุธยา แคปปิตอล จะซื้อหุ้นใน บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จากกลุ่มอลิอันซ์ และ CPRNT เพิ่มขึ้นจากประมาณ 20.2% เป็นประมาณ 32.0% ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นใน บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จะเปลี่ยนไปเป็น
บมจ. ศรีอยุธยา แคปปิตอล จะซื้อหุ้นใน บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จากกลุ่มอลิอันซ์ และ CPRNT เพิ่มขึ้นจากประมาณ 20.2% เป็นประมาณ 32.0% ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นใน บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จะเปลี่ยนไปเป็น
บมจ. ศรีอยุธยา แคปปิตอล ถือหุ้นประมาณ 32.0%
ส่วน กลุ่มอลิอันซ์ และ CPRNT ถือหุ้นประมาณ 50.9%
ส่วน กลุ่มอลิอันซ์ และ CPRNT ถือหุ้นประมาณ 50.9%
เรื่องนี้น่าสนใจตรงที่ว่าดีลนี้ บมจ. ศรีอยุธยา แคปปิตอล จะได้สัดส่วนการถือหุ้นในธุรกิจประกันชีวิตเพิ่มขึ้น และ ได้รับโอนกิจการประกันวินาศภัยมาทั้งบริษัทจากกลุ่มอลิอันซ์ โดยที่ไม่ต้องจ่ายเงินสด แต่เป็นการแลกหุ้น หรือเรียกว่า Equity Swap
โดยสิ่งตอบแทนที่จะให้กลุ่มอลิอันซ์ก็คือ หุ้นเพิ่มทุนของ บมจ. ศรีอยุธยา แคปปิตอล
หากดีลนี้สำเร็จ หลังการออกหุ้นเพิ่มทุนจะทำให้กลุ่มอลิอันซ์ กลายมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดของ บมจ. ศรีอยุธยา แคปปิตอล
สรุปแล้วความร่วมมือนี้ก็น่าจะทำให้ธุรกิจด้านประกันวินาศภัยของ บมจ. ศรีอยุธยา เจนเนอรัล ประกันภัย มีขนาดใหญ่ขึ้น แข่งขันได้มากขึ้น
ส่วนด้านธุรกิจประกันชีวิต
จริงๆแล้วกลุ่มอลิอันซ์มีความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจประกันอยู่แล้ว เป็นบริษัทระดับโลกในด้านนี้ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศเยอรมนี
จริงๆแล้วกลุ่มอลิอันซ์มีความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจประกันอยู่แล้ว เป็นบริษัทระดับโลกในด้านนี้ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศเยอรมนี
แต่อย่างไรก็ตาม การทำธุรกิจนอกจากความเก่งแล้ว ต้องอาศัยฐานลูกค้า และความสัมพันธ์กับลูกค้าภายในประเทศนั้นๆด้วย ซึ่ง AYUD ก็มีจุดแข็งทางด้านนี้
ทั้งนี้หลังจากดีลนี้ บมจ. ศรีอยุธยา แคปปิตอล ก็จะมีบทบาทมากขึ้นในธุรกิจประกันชีวิต เพราะจะถือหุ้นในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อน
สรุปแล้วดีลนี้ก็น่าจะทำให้ win-win ทั้งคู่ ถ้าราคาหุ้นที่แลกกันมีความเหมาะสม..
แล้วราคาที่ใช้ในการแลกหุ้นเป็นอย่างไร?
จากความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ ซึ่ง บริษัท ที่ปรึกษา เอเซีย พลัส เป็นผู้จัดทำ
มูลค่าของ บมจ. อลิอันซ์ ประกันภัย ทั้งบริษัท รวมกับ หุ้น 11.8% ของ บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จะอยู่ในช่วงราคา 3,936 ล้านบาท ถึง 4,689 ล้านบาท
ในขณะที่ มูลค่าที่ประเมินของ บมจ. ศรีอยุธยา แคปปิตอล จะอยู่ในช่วงราคา 18,341 ล้านบาท ถึง 19,995 ล้านบาท
เมื่อคำนวณหาอัตราที่เหมาะสมในการแลกหุ้นแล้ว ก็จะอยู่ในช่วง 0.20 ถึง 0.26 เท่า
หมายความว่า ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ในช่วงนี้ก็จะถือว่าเหมาะสม
ซึ่งดีลนี้ทั้งคู่ตกลงให้ อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 0.24 เท่า ซึ่งถือว่าอยู่ช่วงที่เหมาะสมของความเห็นที่ปรึกษาทางการเงิน
อย่างไรก็ตามดีลนี้ยังไม่เกิดขึ้น ถ้าไม่ได้รับมติที่เห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ AYUD
การพิจารณาอนุมัติจะมาจากการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นทั้งหมดอีกครั้ง โดยการประชุมจะจัดในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2561
มติจากผู้ถือหุ้นสำคัญอย่างไร และ ผู้ถือหุ้นจะได้อะไร?
โดยปกติแล้ว ผู้ถือหุ้นจะได้ผลประโยชน์ตามสัดส่วนการถือหุ้น เรียกได้ว่า การเป็นผู้ถือหุ้นก็คือ “การร่วมเป็นเจ้าของบริษัท” เมื่อธุรกิจมีความแข็งแกร่งขึ้น ทำกำไรได้มากขึ้น เมื่อคำนวณออกมาแล้ว กำไรต่อหุ้นก็จะมากขึ้น ซึ่งสุดท้ายแล้วก็จะส่งผลไปที่เงินปันผลที่จะให้กับผู้ถือหุ้นที่มากขึ้นนั่นเอง
ดังนั้นเมื่อมีประชุมผู้ถือหุ้นในประเด็นที่สำคัญอย่างนี้ ผู้ถือหุ้นก็ควรต้องติดตาม และมีส่วนร่วมในการออกเสียงลงมติ เพื่อกำหนดทิศทางของบริษัทในอนาคต
ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า ดีลนี้จะสำเร็จหรือไม่
เรื่องนี้เป็นกรณีศึกษาให้เราได้เรียนรู้ว่า
ในบางครั้งการที่เราทำธุรกิจเองด้วยตัวคนเดียวก็น่าจะดี
แต่คงดีกว่าถ้ามีพันธมิตรมาร่วมกันทำให้ใหญ่ขึ้น
ในบางครั้งการที่เราทำธุรกิจเองด้วยตัวคนเดียวก็น่าจะดี
แต่คงดีกว่าถ้ามีพันธมิตรมาร่วมกันทำให้ใหญ่ขึ้น
เหมือนในกรณีนี้ ที่ทั้งสองบริษัทประกันรวมกันทำให้ธุรกิจมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถแข่งขันกับคนอื่นได้ดีขึ้น
และประเด็นที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งก็คือ
การรวมกันในบางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องใช้เงินสดซื้อธุรกิจเสมอไป
การแลกหุ้นกัน และร่วมกันถือหุ้นในบริษัท ก็ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้ทั้งคู่เติบโตไปด้วยกันได้..
การรวมกันในบางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องใช้เงินสดซื้อธุรกิจเสมอไป
การแลกหุ้นกัน และร่วมกันถือหุ้นในบริษัท ก็ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้ทั้งคู่เติบโตไปด้วยกันได้..