
เวียดนาม ตามรอยญี่ปุ่น ลดหน่วยงานรัฐ ลดข้าราชการ เพื่อดัน GDP ให้โต
เวียดนาม ตามรอยญี่ปุ่น ลดหน่วยงานรัฐ ลดข้าราชการ เพื่อดัน GDP ให้โต /โดย ลงทุนแมน
หลายคนมองว่า เศรษฐกิจเวียดนาม มีการเติบโตสูงมาก โดยในปี 2567 ที่ผ่านมา เติบโตมากถึง 7%
หลายคนมองว่า เศรษฐกิจเวียดนาม มีการเติบโตสูงมาก โดยในปี 2567 ที่ผ่านมา เติบโตมากถึง 7%
แต่สำหรับรัฐบาลเวียดนามแล้ว คงมองว่าระดับการเติบโตที่ผ่านมาเท่านี้คงยังไม่พอ..
เพราะมีการตั้งเป้าหมาย การเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2568 อย่างน้อยที่ 8%
แม้ล่าสุดจะโดนสหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากเวียดนามสูงถึง 46%
แต่รัฐบาลเวียดนาม ยังคงยืนยันเป้าหมายการเติบโตของ GDP ปีนี้ที่ 8%
แต่รัฐบาลเวียดนาม ยังคงยืนยันเป้าหมายการเติบโตของ GDP ปีนี้ที่ 8%
โดยเมื่อวาน รัฐบาลเวียดนาม ได้โทรไปเจรจาเรื่องภาษีกับทรัมป์ ว่าเวียดนาม พร้อมที่จะลดภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ เหลือ 0% ถ้าสามารถบรรลุดีลกับสหรัฐฯ ได้ ซึ่งทางทรัมป์ ก็บอกว่า ยินดีที่จะเจรจาด้วยในเร็ว ๆ นี้
กลับมาที่เรื่อง นโยบายการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม หนึ่งในแผนสำคัญ ที่จะขับเคลื่อนเป้าหมายนี้ คือ การปฏิรูปหน่วยงานราชการครั้งใหญ่ ในรอบหลายสิบปี
อย่างเช่น
- ยุบ 5 กระทรวง
- ลดจำนวนจังหวัดลง 50% หรือครึ่งหนึ่ง
- ลดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ภาครัฐลง 20%
- ยุบ 5 กระทรวง
- ลดจำนวนจังหวัดลง 50% หรือครึ่งหนึ่ง
- ลดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ภาครัฐลง 20%
ทำไม การปฏิรูปหน่วยงานราชการครั้งใหญ่
ถึงเป็นกุญแจสำคัญ ในการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ถึงเป็นกุญแจสำคัญ ในการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน หลายประเทศที่สามารถยกระดับเป็นประเทศพัฒนาได้ ต่างก็เริ่มจากตัวหน่วยงานรัฐเอง ที่จะต้องบริหารทรัพยากร หรืองบประมาณนั้นให้มีประสิทธิภาพ
ยกตัวอย่างประเทศญี่ปุ่น ในช่วงที่กำลังสร้างชาติ
ก็ได้ทำแบบเดียวกับที่ประเทศเวียดนาม กำลังทำในตอนนี้
ก็ได้ทำแบบเดียวกับที่ประเทศเวียดนาม กำลังทำในตอนนี้
ญี่ปุ่น ได้ลดหน่วยงานรัฐท้องถิ่น มาแล้ว 3 รอบใหญ่ ๆ นั่นคือ
- ครั้งที่ 1 สมัยเมจิ เมื่อ 130 กว่าปีก่อน
โดยควบรวมหมู่บ้านให้รวมกันเป็นเมืองเดียว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารท้องถิ่น ทำให้จากเดิม ที่มีเทศบาลมากกว่า 71,000 แห่ง
ก็ลดลงเหลือเพียง 15,859 แห่ง หรือลดลงเหลือเพียง 1 ใน 5
ก็ลดลงเหลือเพียง 15,859 แห่ง หรือลดลงเหลือเพียง 1 ใน 5
- ครั้งที่ 2 สมัยโชวะ ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ประมาณปี 2488-2503)
ซึ่งเป็นช่วงที่ญี่ปุ่น ต้องการจัดสรรงบประมาณให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ และโครงสร้างพื้นฐานที่เสียหายอย่างหนัก
ดังนั้น จึงต้องมีการควบรวมเทศบาลครั้งใหญ่
โดยให้เมืองเล็กหลายเมือง รวมกันเป็นเมืองใหญ่เมืองเดียว เพื่อให้สามารถฟื้นฟูและพัฒนาเมืองต่าง ๆ หลังสงครามโลกได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยให้เมืองเล็กหลายเมือง รวมกันเป็นเมืองใหญ่เมืองเดียว เพื่อให้สามารถฟื้นฟูและพัฒนาเมืองต่าง ๆ หลังสงครามโลกได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อย่างเช่น การวางผังเมืองใหม่ การสร้างถนน ทำระบบโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ และระบบขนส่งสาธารณะแบบบูรณาการกัน
เพื่อให้เป็นระบบระเบียบ และบริหารจัดการได้ง่าย ภายใต้เทศบาลท้องถิ่นเดียว
ทำให้ในสมัยนั้น จำนวนเทศบาลท้องถิ่น จากเดิมมี 9,868 แห่ง ลดลงเหลือเพียง 3,472 แห่ง เท่านั้น
หรือหน่วยงานเทศบาลถูกลดลงไปอีก เหลือเพียงแค่ราว 1 ใน 3
ทำให้ในสมัยนั้น จำนวนเทศบาลท้องถิ่น จากเดิมมี 9,868 แห่ง ลดลงเหลือเพียง 3,472 แห่ง เท่านั้น
หรือหน่วยงานเทศบาลถูกลดลงไปอีก เหลือเพียงแค่ราว 1 ใน 3
ซึ่งผลจากการยุบรวมเทศบาล ให้กลายเป็นเมืองที่ใหญ่ขึ้น ก็ทำให้เมืองนั้น สามารถใช้นโยบายเดียวกันในการบริหารจัดการเมือง
ที่สำคัญ เมื่อเมืองมีขนาดใหญ่ขึ้น และสามารถจัดเก็บภาษีได้มากขึ้น ก็ทำให้เมืองนั้นมีอิสระในการบริหาร
ผู้บริหารท้องถิ่น จึงสามารถตัดสินใจ วางแผนนโยบายต่าง ๆ เพื่อพัฒนาเมือง พัฒนาเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่เดียวกัน ได้อย่างอิสระ
โดยที่ไม่ต้องไปรองบประมาณ หรือการตัดสินใจ จากรัฐบาลกลาง
โดยที่ไม่ต้องไปรองบประมาณ หรือการตัดสินใจ จากรัฐบาลกลาง
- ครั้งที่ 3 สมัยเฮเซ ซึ่งเป็นช่วงประมาณปี 2542-2553
โดยรัฐบาลญี่ปุ่น ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ผ่านโครงการ Heisei Municipal Mergers
ซึ่งเป็นการลดหน่วยงานท้องถิ่นให้เหลือน้อยลงอีกครั้ง ด้วยการควบรวมเมืองต่าง ๆ เข้าด้วยกันอีกรอบ
เพื่อรองรับโครงสร้างประชากรของญี่ปุ่น
ที่กำลังมีประชากรวัยทำงานลดน้อยลง กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ
เพื่อรองรับโครงสร้างประชากรของญี่ปุ่น
ที่กำลังมีประชากรวัยทำงานลดน้อยลง กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ
การรวมเทศบาลให้เป็นเมืองที่ใหญ่ขึ้นครั้งนี้
จะทำให้เมืองนั้นมีประชากรวัยทำงานมากขึ้น
และก็จะทำให้เศรษฐกิจภายในเมืองคึกคักขึ้น
จะทำให้เมืองนั้นมีประชากรวัยทำงานมากขึ้น
และก็จะทำให้เศรษฐกิจภายในเมืองคึกคักขึ้น
และรัฐบาลเองก็จะจัดเก็บภาษีท้องถิ่นเพื่อพัฒนาพื้นที่ได้มากขึ้นอีกด้วย
ซึ่งในยุคสมัยนี้ ทำให้หน่วยงานเทศบาลท้องถิ่นของญี่ปุ่น ลดลงจากเดิม 3,232 แห่ง เหลือเพียง 1,718 แห่ง หรือลดน้อยลงเหลือเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น
ปัจจุบันในปี 2567 ประเทศญี่ปุ่น มีหน่วยงานเทศบาลท้องถิ่นอยู่เพียง 1,741 แห่ง แบ่งออกเป็น
- 23 เขตพิเศษในกรุงโตเกียว (Wards)
- 20 เมืองขนาดใหญ่ (Designated City)
คือมีสถานะเทียบเท่าจังหวัด อย่าง โอซากา นาโกยะ ซัปโปโระ และฟูกูโอกะ
- 772 เมือง (City)
- 743 ตำบล (Town)
- 183 หมู่บ้าน (Village)
- 20 เมืองขนาดใหญ่ (Designated City)
คือมีสถานะเทียบเท่าจังหวัด อย่าง โอซากา นาโกยะ ซัปโปโระ และฟูกูโอกะ
- 772 เมือง (City)
- 743 ตำบล (Town)
- 183 หมู่บ้าน (Village)
จะเห็นได้ว่า จากเมื่อประมาณ 130 กว่าปีก่อน
ที่มีจำนวนเทศบาลอยู่กว่า 71,314 แห่ง ก็เหลือเทศบาลอยู่เพียง 1,741 แห่ง
ที่มีจำนวนเทศบาลอยู่กว่า 71,314 แห่ง ก็เหลือเทศบาลอยู่เพียง 1,741 แห่ง
ถือว่าประเทศญี่ปุ่นสามารถควบรวมหน่วยงานเทศบาล ให้สามารถลดลงเหลือเพียง 2.4%
ของจำนวนเทศบาลทั้งหมด เมื่อ 130 กว่าปีก่อน
ของจำนวนเทศบาลทั้งหมด เมื่อ 130 กว่าปีก่อน
แต่ก็สามารถพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมท้องถิ่นให้เติบโต จนกลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วได้
ทีนี้มาที่ฝั่งของเวียดนามบ้าง
ทำไมเวียดนาม ต้องพยายามลดขนาดของระบบราชการ ?
ทำไมเวียดนาม ต้องพยายามลดขนาดของระบบราชการ ?
ต้องบอกว่า ตั้งแต่ที่เวียดนาม ได้นำแนวทางการปฏิรูปที่เรียกว่า “โด่ย เหมย” มาใช้ในปี 2529 หรือเมื่อ 39 ปีก่อน
ซึ่งแนวคิด “โด่ย เหมย” เป็นแนวทางปฏิรูปเศรษฐกิจของเวียดนาม ส่งเสริมการแข่งขันในเวทีโลก กระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ
ภายหลังจากการปฏิรูปโด่ย เหมย เวียดนามก็ได้มีการกระจายอำนาจการบริหารราชการ
ที่แต่เดิมจะรวมศูนย์อยู่กับส่วนกลาง ให้มีการกระจายอำนาจไปยังระดับท้องถิ่น เพื่อให้การบริหารจัดการคล่องตัวขึ้น
นอกจากนี้ เวียดนามยังปฏิรูปองค์กรราชการบางส่วน ให้เป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งก็คือเป็นรูปแบบเอกชน โดยมีรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
ดังนั้น นับตั้งแต่การปฏิรูปโด่ย เหมย ก็ทำให้ขนาดของระบบราชการส่วนกลางในเวียดนามเล็กลง
แต่ก็แลกมากับ หน่วยงานระดับท้องถิ่นมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานระดับจังหวัด อำเภอ หรือตำบล
ทำให้หลายพื้นที่ มีข้าราชการท้องถิ่นที่มากเกินความจำเป็น
โดยในตอนนี้ เวียดนามแบ่งการปกครองออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
- ระดับจังหวัดและเมืองใหญ่ มีทั้งหมด 63 แห่ง
ประกอบด้วย 57 จังหวัด และ 6 เมืองใหญ่ที่มีสถานะเทียบเท่าจังหวัด เช่น ฮานอย โฮจิมินห์ และดานัง
ประกอบด้วย 57 จังหวัด และ 6 เมืองใหญ่ที่มีสถานะเทียบเท่าจังหวัด เช่น ฮานอย โฮจิมินห์ และดานัง
- ระดับอำเภอ มีทั้งหมด 696 แห่ง
- ระดับตำบล มีทั้งหมด 10,035 แห่ง
ซึ่งการมีหน่วยงานบริหารระดับตำบลที่มากขนาดนี้ ทำให้เวียดนามจำเป็นต้องจัดสรรงบประมาณที่มีการกระจายไปให้ท้องถิ่นมากขึ้น
เมื่อเป็นแบบนี้ จึงทำให้รัฐบาลเวียดนาม มีแผนที่จะปรับโครงสร้างของระบบราชการให้เล็กลง ไล่ตั้งแต่
1. ลดจังหวัดลงครึ่งหนึ่ง จากเดิมที่มีอยู่ถึง 63 จังหวัด ให้เหลือเพียง 34 จังหวัด และลดหน่วยงานระดับตำบลลงถึง 70%
โดยรัฐบาลเวียดนาม จะมีการควบรวมท้องถิ่นระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบลหลาย ๆ แห่งเข้าด้วยกัน
โดยจังหวัดเล็ก ๆ ก็จะรวมกันให้เป็นจังหวัดที่ใหญ่ขึ้น
เพื่อให้สามารถพัฒนาเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมของแต่ละพื้นที่ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
จนทำให้เมืองบางเมืองที่เป็นศูนย์กลางของจังหวัดนั้น มีขนาดใหญ่มากขึ้น
เพื่อให้สามารถพัฒนาเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมของแต่ละพื้นที่ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
จนทำให้เมืองบางเมืองที่เป็นศูนย์กลางของจังหวัดนั้น มีขนาดใหญ่มากขึ้น
นอกจากนี้ การรวมเป็นจังหวัดเดียว พื้นที่เดียว ก็จะทำให้การพัฒนาพื้นที่ในภาพใหญ่ มีความเป็นเอกเทศหรือคล่องตัวมากขึ้น
เพราะการตัดสินใจในด้านนโยบายต่าง ๆ นั้น
ก็จะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้นำจังหวัด หรือผู้นำพื้นที่เพียงแค่คนเดียว เช่นเดียวกับที่ญี่ปุ่นได้ทำ
ก็จะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้นำจังหวัด หรือผู้นำพื้นที่เพียงแค่คนเดียว เช่นเดียวกับที่ญี่ปุ่นได้ทำ
2. ลดจำนวนกระทรวงจาก 18 กระทรวง เหลือ 14 กระทรวง
โดยกระทรวงไหน ที่มีภารกิจ หรือขอบเขตงานที่ใกล้เคียงกัน และสามารถทำงานร่วมกันได้ ก็ให้ยุบเหลือเพียงแค่กระทรวงเดียว อย่างเช่น
- ยุบกระทรวงวางแผนและการลงทุน ไปรวมกับกระทรวงการคลัง เพราะเกี่ยวข้องกับการเงินเหมือนกัน
- ยุบกระทรวงขนส่ง ให้ไปรวมกับกระทรวงก่อสร้าง
เพราะเกี่ยวข้องกับการวางผังเมืองและการคมนาคมที่ต้องทำงานร่วมกัน
เพราะเกี่ยวข้องกับการวางผังเมืองและการคมนาคมที่ต้องทำงานร่วมกัน
- ยุบกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เข้ากับกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท เพราะเกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรของประเทศ
- ยุบกระทรวงสารสนเทศและการสื่อสาร เข้ากับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพราะเกี่ยวข้องกับเรื่องวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมโดยตรง
จะเห็นได้ว่า การยุบบางกระทรวงออกไปนั้น
ทำให้รัฐบาลเวียดนาม สามารถลดความซ้ำซ้อนของหน่วยงาน ที่มีหน้าที่ หรือภารกิจในการทำงานที่คล้ายกัน
ทำให้รัฐบาลเวียดนาม สามารถลดความซ้ำซ้อนของหน่วยงาน ที่มีหน้าที่ หรือภารกิจในการทำงานที่คล้ายกัน
แถมยังช่วยลดความขัดแย้งในการทำงาน ระหว่างกระทรวงต่าง ๆ อีกด้วย
3. ปลดพนักงานของรัฐ 20% ภายในเวลา 5 ปี
ปัจจุบัน เวียดนาม มีพนักงานของรัฐทั้งหมด 2,000,000 ตำแหน่ง และมีแผนจะลดจำนวนพนักงานที่มากเกินความจำเป็นของรัฐลง 400,000 ตำแหน่ง ภายในปี 2573
ซึ่งผลจากการที่เวียดนาม ปฏิรูประบบราชการทั้ง 3 ข้อ ก็ทำให้รัฐบาลของเวียดนาม สามารถประหยัดงบประมาณในการบริหารประเทศ และสามารถนำงบนั้น
- ไปพัฒนาโครงการเมกะโปรเจกต์ระดับประเทศ
อย่างเช่น การสร้างนิคมอุตสาหกรรม สร้างทางด่วน และสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมฮานอย-โฮจิมินห์
อย่างเช่น การสร้างนิคมอุตสาหกรรม สร้างทางด่วน และสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมฮานอย-โฮจิมินห์
- เพิ่มเงินเดือน ให้กับข้าราชการ ที่มีความสามารถ และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การที่เวียดนามต้องขึ้นเงินเดือนให้กับข้าราชการแบบนี้ ก็เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจ และดึงดูดคนเก่ง ๆ ให้เข้ามาทำงานราชการในประเทศเวียดนามมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาประเทศโดยตรง
ถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่า แผนการลดขนาดของระบบราชการในเวียดนาม ก็จะมีโมเดลคล้าย ๆ กับญี่ปุ่น
นั่นคือ การควบรวมหน่วยงานต่าง ๆ
รวมถึงควบรวมหน่วยงานระดับท้องถิ่น อย่างจังหวัด เมือง หรือควบรวมตำบลต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
รวมถึงควบรวมหน่วยงานระดับท้องถิ่น อย่างจังหวัด เมือง หรือควบรวมตำบลต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
แล้วบริหารด้วยกัน เพื่อให้การทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และนโยบายเดียวกัน
นอกจากนี้ การบริหารระบบราชการที่มีประสิทธิภาพ
ก็ทำให้สามารถใช้งบที่มีอยู่อย่างจำกัด ไปลงทุนในโครงการสำคัญต่าง ๆ ได้มากขึ้น
ก็ทำให้สามารถใช้งบที่มีอยู่อย่างจำกัด ไปลงทุนในโครงการสำคัญต่าง ๆ ได้มากขึ้น
เกิดประโยชน์ต่อประชาชน และเศรษฐกิจ ซึ่งเพิ่มโอกาสสร้างการเติบโตของ GDP เวียดนาม ให้มากขึ้นในระยะยาว เหมือนกับที่ญี่ปุ่นได้ทำเมื่อ 70 ปีก่อนนั่นเอง..
References
-https://spacebar.th/world/vietnam-to-reduce-provincial-level-administrative-units-by-50-percent
-การปกครองส่วนท้องถิ่นของญี่ปุ่น
โดย สุมิทธิ์ เกศวพิทักษ์ นักพัฒนาระบบราชการ ชำนาญการพิเศษ สำนักงาน ก.พ.ร
-บทเรียนจากการควบรวมรัฐบาลท้องถิ่นในต่างประเทศ โดย กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น และกลุ่มวิจัยการบริหารกิจการท้องถิ่น
-https://spacebar.th/world/vietnam-to-reduce-provincial-level-administrative-units-by-50-percent
-การปกครองส่วนท้องถิ่นของญี่ปุ่น
โดย สุมิทธิ์ เกศวพิทักษ์ นักพัฒนาระบบราชการ ชำนาญการพิเศษ สำนักงาน ก.พ.ร
-บทเรียนจากการควบรวมรัฐบาลท้องถิ่นในต่างประเทศ โดย กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น และกลุ่มวิจัยการบริหารกิจการท้องถิ่น