
ทำไม ไทยเงินเฟ้อต่ำ แต่หลายคนรู้สึกค่าครองชีพสูง ?
ทำไม ไทยเงินเฟ้อต่ำ แต่หลายคนรู้สึกค่าครองชีพสูง ?
ช่วงที่ผ่านมา ตามหน้าสื่อต่าง ๆ พูดถึงว่า เงินเฟ้อของไทยอยู่ในระดับต่ำมาก จนเข้าใกล้ภาวะเงินฝืด หรือเกือบติดลบ
ช่วงที่ผ่านมา ตามหน้าสื่อต่าง ๆ พูดถึงว่า เงินเฟ้อของไทยอยู่ในระดับต่ำมาก จนเข้าใกล้ภาวะเงินฝืด หรือเกือบติดลบ
หรือตามความหมายคือ ราคาสินค้าและบริการแทบไม่ปรับเพิ่มขึ้น
ซึ่งสวนทางกับความรู้สึกของใครหลายคนที่มองว่า
ค่าครองชีพเราสูงขึ้นอย่างมาก
ค่าครองชีพเราสูงขึ้นอย่างมาก
ทำไม หลายคนรู้สึกว่าค่าครองชีพสูง ทั้งที่ไทยเงินเฟ้อต่ำ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
เงินเฟ้อที่มักพูดถึงกันก็คือ การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการ เทียบกับปีก่อนหน้า
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
เงินเฟ้อที่มักพูดถึงกันก็คือ การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการ เทียบกับปีก่อนหน้า
ยกตัวอย่าง ถ้าในปี 2560 ราคาสินค้าโดยรวมอยู่ที่ 100 บาท
ในปี 2561 อยู่ที่ 102 บาท เท่ากับว่าเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 2%
ในปี 2561 อยู่ที่ 102 บาท เท่ากับว่าเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 2%
ทีนี้ ลองมาดูตัวเลขเงินเฟ้อของไทย ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
ปี 2558 : -0.9%
ปี 2559 : 0.2%
ปี 2560 : 0.7%
ปี 2561 : 1.1%
ปี 2562 : 0.7%
ปี 2563 : -0.8%
ปี 2564 : 1.2%
ปี 2565 : 6.1%
ปี 2566 : 1.2%
ปี 2567 : 0.4%
ปี 2559 : 0.2%
ปี 2560 : 0.7%
ปี 2561 : 1.1%
ปี 2562 : 0.7%
ปี 2563 : -0.8%
ปี 2564 : 1.2%
ปี 2565 : 6.1%
ปี 2566 : 1.2%
ปี 2567 : 0.4%
จะเห็นว่า เงินเฟ้อของไทยต่ำมาก โดย 5 ใน 10 ปี ที่ตัวเลขเงินเฟ้อของเราไม่ถึง 1%
แต่ถ้าดูกันอีกมุม ดัชนีราคาสินค้าและบริการ เทียบปี 2562 กับปี 2567 จะพบว่า ราคาสินค้าและบริการปรับเพิ่มขึ้น โดยรวมถึง 8%
เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น จากข้าวของที่เคยซื้อ 60 บาท วันนี้ต้องซื้อที่ 65 บาท
เชื่อว่าหลายคนอาจจะรู้สึกว่าแพงกว่านี้ ก็เป็นเพราะ ตัวเลข 8% เป็นแค่การเปลี่ยนแปลงโดยรวมของทุกสินค้าและบริการ
หมายความว่า บางสินค้าและบริการ จะมีราคาที่เพิ่มขึ้นมากกว่านี้
โดยเฉพาะในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งเป็นสินค้าจำเป็นสำหรับทุกคน มีราคาปรับเพิ่มขึ้นถึง 12%
หรือก็คือ จากอาหารจานละ 60 บาท กลายเป็น 67 บาท
ซึ่งตรงนี้เอง โดยเฉพาะคนมีรายได้น้อยอาจได้รับผลกระทบมากกว่า เพราะเป็นค่าใช้จ่ายหลักในการดำรงชีวิต
จึงรู้สึกถึงค่าครองชีพที่สูงขึ้นได้มากกว่า
จึงรู้สึกถึงค่าครองชีพที่สูงขึ้นได้มากกว่า
และสำหรับคนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ก็อาจจะรู้สึกว่ามันแพงขึ้นมากกว่านี้
นั่นก็เป็นเพราะ ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล อาหารและเครื่องดื่มแบบสำเร็จรูป มีราคาเพิ่มขึ้นมากกว่าพื้นที่อื่น โดยเพิ่มขึ้นถึง 16%
หรือก็คือจากอาหารจานละ 60 บาท กลายเป็น 70 บาท
ซึ่งเป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้เรารู้สึกว่าค่าครองชีพมันสูง ทั้งที่เงินเฟ้อที่ประกาศออกมาในแต่ละปีนั้นต่ำมาก
แล้วอะไรที่ทำให้ราคาสินค้าโดยรวม ปรับตัวขึ้นน้อยกว่าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ?
คำตอบคือ เพราะเรามีสินค้าบางกลุ่ม ที่ราคาลดลง หรือไม่เพิ่มขึ้นเลยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
ฟังดูแล้วดูไม่น่าเชื่อว่า จะมีสินค้าที่สามารถคงราคาเดิมได้นานถึงหลายปี ในภาวะที่ต้นทุนหลายอย่างเพิ่มขึ้น
นั่นก็เพราะสินค้านั้น ๆ ผลิตจากประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าบ้านเรา จึงสามารถคงราคาได้นาน ซึ่งเป็นตัวกดเงินเฟ้อของประเทศเราเอาไว้
ยกตัวอย่างกลุ่มสินค้าเหล่านี้ อย่างเช่น
- เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ราคาลดลง -0.35%
- เครื่องแต่งบ้านและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ราคาลดลง -2.5%
- สิ่งทอสำหรับใช้ในบ้าน ราคาทรงตัว +0%
- เครื่องแต่งบ้านและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ราคาลดลง -2.5%
- สิ่งทอสำหรับใช้ในบ้าน ราคาทรงตัว +0%
ซึ่งสินค้าเหล่านี้ ส่วนใหญ่ก็เป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากจีน นั่นเอง
สอดคล้องกับสถิติว่า ไทยนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจากจีนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มา 5 ปีติดต่อกันแล้ว และครองสัดส่วนมากถึง 40% ของการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหมดของไทย เลยทีเดียว
โดยการถาโถมของสินค้าจีนที่เข้ามาในไทย
เหตุผลหนึ่งมาจาก ความพยายามที่จะระบายสินค้าคงเหลือของจีน ที่โดนผลกระทบจากความต้องการภายในประเทศลดลง และการโดนกีดกันทางการค้าจากสหรัฐฯ
เหตุผลหนึ่งมาจาก ความพยายามที่จะระบายสินค้าคงเหลือของจีน ที่โดนผลกระทบจากความต้องการภายในประเทศลดลง และการโดนกีดกันทางการค้าจากสหรัฐฯ
นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่เป็นตัวกดเงินเฟ้อของเราเอาไว้ นั่นก็คือ ค่าเช่าที่พักอาศัย
รู้ไหมว่า 5 ปีที่ผ่านมา ภาพรวมค่าเช่าที่พักอาศัยของไทย เพิ่มขึ้นเพียง +0.05% เท่านั้น เรียกได้ว่าแทบจะไม่เพิ่มขึ้นเลย
ซึ่งก็เป็นผลมาจาก ปัญหาในภาคอสังหาฯ ทั้งกำลังซื้อของคนที่ลดลง หนี้ครัวเรือนที่สูงถึง 90% ของ GDP รวมถึงหนี้เสียที่พุ่งขึ้น
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่บั่นทอนกำลังซื้อของคนไทย
ทำให้ความต้องการซื้อน้อยกว่าความต้องการขาย เกิดภาวะสินค้าล้นตลาด ส่งผลให้ค่าเช่าอสังหาฯ แทบไม่ปรับเพิ่มขึ้นเลย ในช่วงที่ผ่านมา
ทำให้ความต้องการซื้อน้อยกว่าความต้องการขาย เกิดภาวะสินค้าล้นตลาด ส่งผลให้ค่าเช่าอสังหาฯ แทบไม่ปรับเพิ่มขึ้นเลย ในช่วงที่ผ่านมา
และอีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยกดเงินเฟ้อคือ แรงงานต่างด้าว
ที่เข้ามาเป็นแรงงานในบ้านเรา และรับค่าแรงขั้นต่ำเพียงวันละ 300 ถึง 400 บาท หรืออาจยอมรับค่าแรงที่น้อยกว่านั้น
ทั้งเข้ามาทำงานแบบถูกกฎหมาย และลักลอบเข้ามาแบบผิดกฎหมาย
ที่เข้ามาเป็นแรงงานในบ้านเรา และรับค่าแรงขั้นต่ำเพียงวันละ 300 ถึง 400 บาท หรืออาจยอมรับค่าแรงที่น้อยกว่านั้น
ทั้งเข้ามาทำงานแบบถูกกฎหมาย และลักลอบเข้ามาแบบผิดกฎหมาย
ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิต หรือบริการในบ้านเรา ยังต่ำอยู่ได้
ถึงตรงนี้คงเห็นภาพขึ้นแล้วว่า แม้เงินเฟ้อของไทยอยู่ในระดับต่ำอย่างมาก แต่ก็ไม่ใช่กับทุกสินค้าและบริการ
เพราะอย่างหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ก็ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าโดยรวม
และจริง ๆ แล้ว ก็ยังมีสินค้าในหมวดพลังงานด้วยเช่นกัน ที่มีราคาเพิ่มขึ้นถึง 23% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจ ที่เราจะได้ยินคนพูดกันมากว่า รู้สึกว่าค่าครองชีพสูงขึ้นมาก เพราะทั้งอาหารและพลังงาน ล้วนเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับแทบทุกคน
ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าใครต้องซื้อสินค้ากลุ่มนี้เป็นจำนวนมาก หรือเป็นค่าใช้จ่ายหลักในการดำรงชีวิต ก็จะยิ่งรู้สึกว่าค่าครองชีพเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดที่กล่าวไปนี้คือการพูดถึงแค่ในฝั่งของ “รายจ่าย”
แต่อย่าลืมว่า ยังมีฝั่ง “รายได้” ที่เราก็ควรดู เพราะเป็นสิ่งที่มีผลต่อความรู้สึกเรื่องค่าครองชีพเช่นกัน
โดยเมื่อดูสถิติรายได้ของคนไทยจะพบว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทั้งคนที่ทำงานอยู่ในภาคการผลิต ภาคการบริการ
รวมถึงคนที่ทำอาชีพอิสระ ล้วนมีรายได้เพิ่มขึ้นพอ ๆ กันที่ประมาณ 11%
รวมถึงคนที่ทำอาชีพอิสระ ล้วนมีรายได้เพิ่มขึ้นพอ ๆ กันที่ประมาณ 11%
โดยมีเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่มีรายได้เพิ่มขึ้นถึงกว่า 20%
จากตัวเลขนี้ก็เท่ากับว่า รายได้ของเราโตมากกว่าราคาสินค้าโดยรวมที่อยู่ที่ประมาณ 8% และโตพอ ๆ กับค่าอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งเพิ่มขึ้น 12% แต่ก็ยังแพ้ให้กับค่าพลังงานที่เพิ่มขึ้นถึง 23%
แต่ด้วยการที่ตัวเลขรายได้นี้เป็นค่าเฉลี่ย
นั่นหมายความว่า คนที่รายได้โตน้อยกว่าค่าเฉลี่ย ก็อาจจะรู้สึกว่าค่าครองชีพของเรามันเพิ่มขึ้นมาก ๆ ได้
นั่นหมายความว่า คนที่รายได้โตน้อยกว่าค่าเฉลี่ย ก็อาจจะรู้สึกว่าค่าครองชีพของเรามันเพิ่มขึ้นมาก ๆ ได้
เนื่องจากรายได้ของเราโตไม่เท่าราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น ทำให้ภาระค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับรายได้ มีมากกว่าเดิมนั่นเอง
และทั้งหมดนี้ ก็คือเหตุผลว่าทำไม ไทยเงินเฟ้อต่ำ แต่หลายคนกลับรู้สึกว่า ค่าครองชีพสูง..
╔═══════════╗
ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://index.tpso.go.th/cpi
-https://www.bot.or.th/th/home.html
-https://tradereport.moc.go.th/th
╔═══════════╗
ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://index.tpso.go.th/cpi
-https://www.bot.or.th/th/home.html
-https://tradereport.moc.go.th/th