จีนจะเข้ามา "กินรวบ" ไทย?
จีนจะเข้ามา "กินรวบ" ไทย? / โดย ลงทุนแมน
ถ้าเราตกใจกับเรื่อง
แจ๊คหม่าขายทุเรียนได้ 80,000 ลูกภายใน 1 นาที
ถ้าเราได้อ่านข้อมูลนี้จะตกใจมากขึ้น
ว่าอาณาจักร อาลีบาบา ใหญ่แค่ไหน
ถ้าเราตกใจกับเรื่อง
แจ๊คหม่าขายทุเรียนได้ 80,000 ลูกภายใน 1 นาที
ถ้าเราได้อ่านข้อมูลนี้จะตกใจมากขึ้น
ว่าอาณาจักร อาลีบาบา ใหญ่แค่ไหน
เว็บไซต์ Tmall ตั้งราคาขายทุเรียนลูกละ 990 บาท ก็แปลว่ามูลค่าทุเรียนที่ขายได้คือ 80 ล้านบาทภายใน 1 นาที
จริงๆแล้วอาลีบาบาเคยขายได้เร็วสุดขนาดไหน?
ปีที่แล้วโปรโมชั่นในวันคนโสดจีน อาลีบาบาขายสินค้ารวมกันได้ 30,000 ล้านบาท ภายใน 2 นาที..
ยอดขาย 30,000 ล้านบาท ห้างสรรพสินค้าบางแห่งของไทยขายทั้งปียังไม่ได้เท่านี้
แล้วทั้งปีอาลีบาบาขายสินค้าได้เท่าไร?
ปี 2017 อาลีบาบาขายสินค้าในประเทศจีนได้ทั้งหมด 18.7 ล้านล้านบาท มากกว่า GDP ไทยทั้งประเทศที่ 14 ล้านล้านบาท
ที่น่าสนใจต่อมา ทั้งหมดเป็นธุรกรรมที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์..
และ 79% เป็นการซื้อผ่านมือถือ ส่วนที่เหลืออีกแค่ 21% เป็นการซื้อผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์
คนไทยกำลังตื่นเต้นกับเงิน 11,000 ล้านบาท ที่อาลีบาบาเข้ามาลงทุนในไทย
แต่ปีที่แล้วอาลีบาบามีกำไร 200,000 ล้านบาท ก็เท่ากับว่าอาลีบาบาเจียดเงินแค่ 5% ของกำไรปีที่แล้วเข้ามาลงทุนในไทยครั้งนี้
ถ้าถามว่าการลงทุนในครั้งนี้จะดูดีในสายตาบางคน แต่ในอีกแง่มุมก็อาจมีคนเสียประโยชน์
ใครได้ประโยชน์ และ ใครเสียประโยชน์?
คนที่ได้ประโยชน์ก็คือ
1) ผู้บริโภค ทั้งคนไทยและคนจีน เมื่อทุกอย่างเชื่อมถึงกัน สินค้าราคาถูกจากจีนก็จะถูกนำเข้ามา สินค้าราคาถูกจากไทยก็ส่งออกไป สุดท้ายผู้บริโภคทั้ง 2 ประเทศจะซื้อของได้ถูกลง
2) จะเกิดการจ้างงานในธุรกิจที่เกี่ยวกับ e-commerce เป็นจำนวนมาก และจะมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องใหม่ๆเกิดขึ้น เช่นการขนส่งพัสดุ การสร้างคลังสินค้า
3) ธุรกิจ SME โรงงาน ผู้ผลิต ที่สามารถนำเสนอสินค้าแปลกใหม่ จากเดิมไม่รู้จะเข้าถึงตลาดยังไง แต่ตอนนี้จะเข้าถึงตลาดได้มากขึ้นเป็นร้อยล้านคน
4) แพลตฟอร์มคนกลางก็จะได้ประโยชน์ เพราะจะกินส่วนแบ่งจากสินค้าที่ขายได้ ซึ่งก็คือ อาลีบาบานั่นเอง
ใครเสียประโยชน์?
1) เจ้าของกิจการค้าปลีกดั้งเดิมในไทย จะสู้สินค้าออนไลน์ที่ต้นทุนต่ำกว่า มีราคาสินค้าถูกกว่าไม่ได้
2) พ่อค้าคนกลาง หรือ ผู้ส่งออก ผู้นำเข้า จะถูกตัดออกไป ถ้าอยากอยู่ได้ก็ต้องมาขายสินค้าในอาลีบาบา
3) ธุรกิจ SME โรงงาน ผู้ผลิต ที่ผลิตสินค้าที่ทับซ้อนกับคนจีน บางรายจะแข่งเรื่องต้นทุนไม่ได้ ทำให้ถูกแย่งตลาด
เรื่องนี้อาจจะดูน่ากลัว แต่จริงๆแล้วเราควรจะกลัวมานานแล้ว
เพราะถึงไม่มีเรื่องนี้
อาลีบาบาก็เข้ามาประเทศไทยได้ซักพักแล้ว โดยที่เราไม่รู้ตัว..
นั่นก็คือ ลาซาด้า (LAZADA)
เรามาดูงบการเงินของลาซาด้ากันว่าเขาทำธุรกิจอย่างไร
ปี 2557 บริษัทลาซาด้า ขาดทุน 863 ล้านบาท
ปี 2558 บริษัทลาซาด้า ขาดทุน 1,959 ล้านบาท
ปี 2559 บริษัทลาซาด้า ขาดทุน 2,115 ล้านบาท
ปี 2560 บริษัทลาซาด้า ขาดทุน 568 ล้านบาท
ทำไมลาซาด้ายอมขาดทุนปีละพันล้าน?
คำตอบคือ ตอนแรกลาซาด้ายอมขายของขาดทุนเพื่อแย่งให้คนมาซื้อในโลกออนไลน์
แต่เรื่องนี้มีอะไรซ่อนอยู่
เมื่อถึงจุดหนึ่งที่ขายได้ปริมาณที่มากพอ ณ จุดนั้น การขายสินค้าบนโลกจริงจะมีต้นทุนที่สู้ในโลกออนไลน์ไม่ได้ ไม่มีทางเลยที่เราจะมีร้านขายทุเรียนที่ไม่มีพนักงานขาย แต่ขายได้ 80,000 ลูกใน 1 นาที
และสิ่งที่อาลีบาบากำลังเข้ามาลงทุนก็คงหนีไม่พ้นการเข้ามาเสริม Scale ให้เข้าถึงจุดคุ้มทุนได้เร็วขึ้น..
เหตุการณ์ในครั้งนี้ก็คงไม่ต่างจากสมัยพระนารายณ์เลือกทำการค้ากับชาวต่างประเทศมากมาย
สมัยก่อนอาจจะเป็นฝรั่งหัวทอง
แต่ตอนนี้ต้องยอมรับว่าเรื่องราวต่างจากเดิมคือ เปลี่ยนเป็นคนจีนหัวดำ
สุดท้ายการค้าจะคึกคักขึ้น มีสินค้าไทยส่งออกไปต่างประเทศมากมาย
สมัยก่อนเป็นงาช้าง แต่สมัยนี้อาจเป็นทุเรียน
แต่ที่จะไม่เปลี่ยนไปเลย คือ
เรื่องนี้ จะมีคนที่ได้ประโยชน์จำนวนมาก
และก็จะมีคนที่เสียประโยชน์จำนวนมากเช่นกัน..
-----
ติดตามบทความลงทุนแมน ได้ที่
-แอปลงทุนแมน longtunman.com/app
-อินสตาแกรม instagram.com/longtunman
-ทวิตเตอร์ twitter.com/longtunman
-ไลน์ line.me/R/ti/p/%40longtunman
-----
ติดตามบทความลงทุนแมน ได้ที่
-แอปลงทุนแมน longtunman.com/app
-อินสตาแกรม instagram.com/longtunman
-ทวิตเตอร์ twitter.com/longtunman
-ไลน์ line.me/R/ti/p/%40longtunman
-----
Tag: อาลีบาบา