เส้นทางสู่ Best CEO “คุณศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์” ผู้ขับเคลื่อน TISCO สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
เส้นทางสู่ Best CEO “คุณศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์” ผู้ขับเคลื่อน TISCO สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
TISCO x ลงทุนแมน
TISCO x ลงทุนแมน
‘ชีวิตเปรียบเสมือนการเดินทางผ่าน ‘สามวงแห่งความสำเร็จ’ ที่มาบรรจบกัน ถ้าเราต้องการความสำเร็จที่แท้จริง
- วงแรกคือ Passion หรือความหลงใหลและรักในสิ่งที่ทำ เพื่อผลักดันเราไปข้างหน้าไม่รู้จบ
- วงที่สองคือ Professional หรือความเชี่ยวชาญในสิ่งที่เลือก เป็นมืออาชีพที่เก่งที่สุด จนเป็นที่ยอมรับ
- วงสุดท้ายคือ Planet โลกที่ต้องการเรา งานที่ทำต้องมีคุณค่า ตอบโจทย์สังคม สร้างประโยชน์ต่อผู้คน
“ความสำเร็จที่เกิดขึ้น ไม่เพียงตอบสนองความฝันเรา แต่ยังส่งผลดีต่อโลกใบนี้ด้วย ในแง่มุมธุรกิจเอง ธุรกิจก็ต้องสร้างคุณค่า และวัฒนาสู่สังคม ไปพร้อมกัน”
- วงที่สองคือ Professional หรือความเชี่ยวชาญในสิ่งที่เลือก เป็นมืออาชีพที่เก่งที่สุด จนเป็นที่ยอมรับ
- วงสุดท้ายคือ Planet โลกที่ต้องการเรา งานที่ทำต้องมีคุณค่า ตอบโจทย์สังคม สร้างประโยชน์ต่อผู้คน
“ความสำเร็จที่เกิดขึ้น ไม่เพียงตอบสนองความฝันเรา แต่ยังส่งผลดีต่อโลกใบนี้ด้วย ในแง่มุมธุรกิจเอง ธุรกิจก็ต้องสร้างคุณค่า และวัฒนาสู่สังคม ไปพร้อมกัน”
นี่คือแนวคิดของคุณศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์ จากวิศวกรสู่ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มทิสโก้ และการได้รับรางวัล Best CEO Awards 2024 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
เส้นทางสู่ความสำเร็จของคุณศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์ น่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
คุณศักดิ์ชัยถือเป็นซีอีโอไทยคนที่ 5 ของ TISCO ตลอดเวลากว่า 31 ปี ที่ร่วมงานกับองค์กร คุณศักดิ์ชัยได้นำประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในหลากหลายบทบาทมาทุ่มเทพัฒนา TISCO อย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะด้านกลยุทธ์องค์กรในการบริหารทุก Key Stakeholders และการขยายธุรกิจสินเชื่อรายย่อยที่เติบโตอย่างโดดเด่น รวมถึงหัวใจขององค์กรอย่างการบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งล้วนเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มทิสโก้จนถึงปัจจุบัน
ในปี 2536 คุณศักดิ์ชัยเริ่มต้นทำงานกับทิสโก้ในตำแหน่ง Executive Trainee หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ (Executive MBA in International Business) จาก University of Hawaii, Manoa
ก่อนที่จะได้รับมอบหมายให้ดูแลบริษัท ไฮเวย์ จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทในเครือของ TISCO ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์รายแรก ๆ ของไทย ทำให้คุณศักดิ์ชัยมองเห็นภาพรวมของธุรกิจสินเชื่อรายย่อยอย่างครบวงจร
จากนั้น คุณศักดิ์ชัยมีโอกาสได้เรียนรู้การร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติ ทั้ง ITOCHU Corporation จากญี่ปุ่น และ Volkswagen Financial Services จากเยอรมัน และเมื่อความร่วมมือนี้ประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม ทำให้ได้รับโอกาสในการดูแลธุรกิจหลัก
ของกลุ่มทิสโก้ในด้าน Retail ซึ่งกลายมาเป็นรากฐานสำคัญของการเติบโตอย่างยั่งยืน และสร้าง Portfolio Mix จนเติบโตจากสัดส่วนเพียง 10% ของบริษัท กลายเป็น 70% ในที่สุด
ของกลุ่มทิสโก้ในด้าน Retail ซึ่งกลายมาเป็นรากฐานสำคัญของการเติบโตอย่างยั่งยืน และสร้าง Portfolio Mix จนเติบโตจากสัดส่วนเพียง 10% ของบริษัท กลายเป็น 70% ในที่สุด
อีกหนึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญในเส้นทางอาชีพคือ การเข้ามาดูแลด้านทรัพยากรบุคคล (HR) ของบริษัทแม่ ซึ่งคุณศักดิ์ชัยได้ร่วมพัฒนาระบบ HR ให้ทันสมัยขึ้น โดยผสานการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล (HR Management) เข้ากับการพัฒนาบุคลากร (HR Development) สู่เป้าหมายของการพัฒนาองค์กร (Organization Development)
เพื่อสนับสนุนศักยภาพของพนักงาน และเป็นช่วงเวลาที่ทิสโก้ได้รับรางวัล Best Employer in Thailand และ Best Employer in Asia ส่งผลให้ทิสโก้ได้รับการยอมรับในฐานะองค์กรที่ดูแลบุคลากรและเป็นที่น่าทำงานด้วย
นอกจากนี้ คุณศักดิ์ชัยยังมีบทบาทสำคัญในการขยายธุรกิจของ TISCO โดยทำหน้าที่เป็น Project Leader ในการเข้าซื้อกิจการสำคัญ เช่น GMAC และ Primus Leasing ทำให้ทิสโก้ได้สิทธิ์ในการบริหาร Captive Finance ของ Ford และ Mazda
รวมถึงการซื้อธุรกิจ Retail Banking จากธนาคาร Standard Chartered - Thailand ที่เสริมแกร่งให้ TISCO ด้วยบริการ ‘Open Architecture’ ซื้อขายผลิตภัณฑ์กองทุน-ประกันจากหลากหลายค่ายให้แก่ลูกค้าในจุดเดียว และยังช่วยขยายขอบเขตธุรกิจในด้านสินเชื่อบ้านและการบริหารลูกค้าธนบดี (Wealth Management) ได้อย่างมีนัยสำคัญ
ด้วยความสามารถและผลงานที่โดดเด่น คุณศักดิ์ชัยจึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญใน TISCO มาโดยตลอด นับตั้งแต่ปี 2553 ตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
ต่อมาในปี 2559 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) และควบตำแหน่งกรรมการอำนวยการ (COO) ของบริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ในปี 2560
จนในที่สุด คุณศักดิ์ชัยก็ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งซีอีโอของกลุ่มทิสโก้อย่างเต็มภาคภูมิในปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่ต้องฝ่ามรสุมของวิกฤติ Covid
คุณศักดิ์ชัย เล่าถึง 5 ทศวรรษที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลง TISCO ว่า
- ช่วงปี 2512 – 2522 : A Decade of New Idea เป็นยุคการก่อตั้ง TISCO เป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์แห่งแรกของประเทศไทย โดยมี Bankers Trust New York เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
ช่วงนั้น TISCO ริเริ่มผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินใหม่ ๆ มากมาย เช่น บริการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ครั้งแรกในไทย, คิดค้นการคำนวณดัชนีราคาหุ้นตัวแรก และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ช่วงปี 2523 – 2532 : Commitment to Excellence เป็นยุคแห่งการมุ่งเน้นสู่ความเป็นเลิศในธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญ โดยในยุคนี้ TISCO ขยายตัวต่อเนื่องในทุกกลุ่มธุรกิจ เช่น การก้าวขึ้นเป็นอันดับ 1 ในอุตสาหกรรมเงินทุนหลักทรัพย์ ทั้งในด้านสินทรัพย์ กำไร และเงินกองทุน
- ช่วงปี 2533 - 2542 : Surviving the Crisis เป็นยุคการฝ่าฟันให้พ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจ และวิกฤติความเชื่อมั่นของนักลงทุน และประชาชน โดยมี CDIB จากไต้หวัน และกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น
ระหว่างนี้ TISCO ปรับตัวสู่การสร้างรายได้จากธุรกิจบริหารจัดการและปรับปรุงโครงสร้างหนี้ทดแทนธุรกิจสินเชื่อที่อยู่ในภาวะซบเซา อีกทั้งผู้บริหารและพนักงานทุกคนต่างร่วมแรงร่วมใจกันรัดเข็มขัดอย่างเต็มที่ จนในที่สุดก็เริ่มฟื้นตัว และเป็นสถาบันการเงินแห่งแรกที่กลับมามีกำไร
- ช่วงปี 2543 - 2552 : A Bold Step Forward เป็นยุคการเปลี่ยนสถานะเป็นธนาคารพาณิชย์ และปรับโครงสร้างเป็นบริษัทโฮลดิ้งของกลุ่มการเงินแห่งแรกของไทย เพื่อให้มีการกำกับดูแลกิจการแบบรวมกลุ่ม (Consolidated Supervision)
สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ, ลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน และเอื้อต่อการขยายธุรกิจได้ดีขึ้น
สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ, ลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน และเอื้อต่อการขยายธุรกิจได้ดีขึ้น
- ช่วงปี 2553 – 2562 : Wealth of Possibilities เป็นยุคของการขยายธุรกิจใหม่ ๆ เช่น การริเริ่มบริการ TISCO Wealth เพิ่มศักยภาพการให้บริการลูกค้ากลุ่มธนบดี, การขยายธุรกิจไมโครไฟแนนซ์ “สมหวัง เงินสั่งได้”
- ช่วงปี 2563 - ปัจจุบัน : Sustainable Growth เป็นยุคของการเติบโตอย่างรับผิดชอบและยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับคุณภาพของการเติบโต ควบคู่กับการดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล และมุ่งเน้นการกำกับดูแลกิจการที่ดี
นอกจากนี้ ยังเป็นยุคของการปรับตัวสู่ดิจิทัล ทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ, พัฒนาทรัพยากรบุคคล, การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ยืดหยุ่น และการเปิดรับความเปลี่ยนแปลง
แล้วกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี เป็นอย่างไร ?
คุณศักดิ์ชัยตอบว่า “หลายคนอาจมองว่า ESG ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับวัฒนธรรมองค์กร
แต่สำหรับ TISCO การสร้างสังคมที่ยั่งยืน การใส่ใจสิ่งแวดล้อม และการมีธรรมาภิบาลที่เข้มแข็ง ถือเป็นหัวใจของวัฒนธรรมองค์กรที่ดี
โดยวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งและยั่งยืนของ TISCO เริ่มต้นจาก
-การรักษาความแข็งแกร่งในการบริหารจัดการความเสี่ยง ที่คำนึงถึงหลัก Risk-Return ในการทำธุรกิจเสมอ
-การให้ความสำคัญกับจรรยาบรรณในการทำธุรกิจและธรรมาภิบาลที่ดีในองค์กร
- การเอาใจไปใส่ไว้ในใจลูกค้า โดยนึกเสมอว่าหาก “เป็นเรา” จะอยากใช้บริการนี้ หรือกล้าแนะนำให้คนใกล้ชิดมาใช้หรือไม่
- การส่งเสริมนวัตกรรม เพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการเงิน และพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ
ในส่วนของธุรกิจ คุณศักดิ์ชัย ได้ปรับโครงสร้างองค์กรให้มีความคล่องตัว ด้วยการแบ่งธุรกิจออกเป็นหน่วยงานธุรกิจเชิงกลยุทธ์ หรือ Strategic Business Unit (SBU) ทั้งหมด 13 SBU
- การเอาใจไปใส่ไว้ในใจลูกค้า โดยนึกเสมอว่าหาก “เป็นเรา” จะอยากใช้บริการนี้ หรือกล้าแนะนำให้คนใกล้ชิดมาใช้หรือไม่
- การส่งเสริมนวัตกรรม เพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการเงิน และพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ
ในส่วนของธุรกิจ คุณศักดิ์ชัย ได้ปรับโครงสร้างองค์กรให้มีความคล่องตัว ด้วยการแบ่งธุรกิจออกเป็นหน่วยงานธุรกิจเชิงกลยุทธ์ หรือ Strategic Business Unit (SBU) ทั้งหมด 13 SBU
จากโครงสร้างธุรกิจของ TISCO ที่แบ่งออกเป็น 3 สายงานหลัก ได้แก่
1. ธุรกิจ Corporate
บริการ Total Solution สำหรับลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจพลังงาน พลังงานทดแทน และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ที่มีความชำนาญ และมีศักยภาพในการเติบโตสูง
บริการ Total Solution สำหรับลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจพลังงาน พลังงานทดแทน และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ที่มีความชำนาญ และมีศักยภาพในการเติบโตสูง
2. ธุรกิจ Wealth
บริการคำปรึกษาทางการเงินแบบองค์รวม (Holistic Financial Advisory) สำหรับลูกค้ากลุ่ม Mass Affluent และกลุ่ม Wealth ที่มีเงินฝากเงินลงทุนสูง ครอบคลุมทั้งการลงทุน การวางแผนประกันคุ้มครองชีวิตและสุขภาพ การวางแผนเกษียณ เพื่อตอบโจทย์ความมั่งคั่งอย่างมั่นคง และเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้าในยุคปัจจุบัน
บริการคำปรึกษาทางการเงินแบบองค์รวม (Holistic Financial Advisory) สำหรับลูกค้ากลุ่ม Mass Affluent และกลุ่ม Wealth ที่มีเงินฝากเงินลงทุนสูง ครอบคลุมทั้งการลงทุน การวางแผนประกันคุ้มครองชีวิตและสุขภาพ การวางแผนเกษียณ เพื่อตอบโจทย์ความมั่งคั่งอย่างมั่นคง และเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้าในยุคปัจจุบัน
3. ธุรกิจ Retail
บริการสินเชื่อรายย่อยที่มีหลักประกัน โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อ และธุรกิจจำนำทะเบียน ผ่านบริการทิสโก้ ออโต้แคช และช่องทาง “สมหวัง เงินสั่งได้” ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงยังมีสินเชื่อเช่าซื้อรถมือสอง สินเชื่อบ้าน Mortgage Saver โปะได้ถอนออกใหม่ได้ เป็นต้น
บริการสินเชื่อรายย่อยที่มีหลักประกัน โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อ และธุรกิจจำนำทะเบียน ผ่านบริการทิสโก้ ออโต้แคช และช่องทาง “สมหวัง เงินสั่งได้” ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงยังมีสินเชื่อเช่าซื้อรถมือสอง สินเชื่อบ้าน Mortgage Saver โปะได้ถอนออกใหม่ได้ เป็นต้น
ข้อดีของการจัดโครงสร้างแบบหน่วยธุรกิจเชิงกลยุทธ์ (SBU) คือช่วยให้แต่ละหน่วยธุรกิจมีอิสระในการกำหนดกลยุทธ์และตอบสนองต่อโอกาสทางการตลาดได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มความแม่นยำในการตัดสินใจ เนื่องจากว่า TISCO มีการกำกับดูแลแบบรวมกลุ่ม จึงต้องทำให้การรวมกลุ่มนี้มีความคล่องตัวด้วย
โดยคุณศักดิ์ชัย ได้สร้าง “Virtual CEO” หรือ “ซีอีโอย่อย” 13 คน ที่เสมือนเป็นซีอีโอมาคอยดูแลรับผิดชอบบริษัท หรือ หน่วยงานธุรกิจ ทั้ง 13 SBU ของตัวเอง
บทบาทของซีอีโอย่อย ครอบคลุมตั้งแต่การวางกลยุทธ์เชิงรุกในการสร้างรายได้ (Top Line) การควบคุมและบริหารค่าใช้จ่าย (Middle Line) และการทำให้เกิดผลกำไรที่ยั่งยืน (Bottom Line)
โดยที่ทั้ง 13 ซีอีโอย่อยนี้ จะได้รับการสนับสนุนจาก Virtual CTO (Chief Technology Officer: ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี) มาช่วยดูแลด้านไอทีและเทคโนโลยีอย่างใกล้ชิด เพื่อเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงาน ให้ตอบสนองรวดเร็วและมีความยืดหยุ่นสูง
นอกจากนี้ ยังเน้นการเสริมทักษะการทำงานร่วมกัน และสร้างความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างทีม เรียกว่า New Way of Work (N-WOW)
ตัวอย่างเช่น ทีมเทคฯ เดิมทำหน้าที่เพียงแค่พัฒนาแพลตฟอร์มให้เสร็จแล้วส่งมอบ ปัจจุบันจะต้องพัฒนาและติดตามประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า (UX/UI) ร่วมกับทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ จนสามารถได้ใจลูกค้า และมี Net Promoter Score ที่สูงด้วย
โครงสร้างนี้ยังเปิดโอกาสให้ทีมงานมีความเป็นเจ้าของ (Ownership) ทำให้พนักงานทุกคนเข้าใจภาพรวมของธุรกิจอย่างลึกซึ้ง
ส่งผลให้การตัดสินใจในแต่ละระดับเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบโจทย์ในยุคที่มีการแข่งขันสูงและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว”
มาถึงตรงนี้ เราคงพอเห็นถึงภาพรวมของ TISCO ได้อย่างชัดเจน
แล้วคุณศักดิ์ชัยรู้สึกอย่างไร ที่ได้รับรางวัล Best CEO Awards 2024 จากตลาดหลักทรัพย์ฯ หลังจากที่ไม่มี CEO ภาคธนาคารได้รับรางวัลนี้เลยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ในยุค VUCA และ Disruption นี้
คุณศักดิ์ชัยกล่าวว่า “รางวัลนี้ไม่ใช่เพียงความสำเร็จส่วนตัว แต่เกิดจากวัฒนธรรมองค์กรที่ดีที่สร้างและสั่งสมมาอย่างต่อเนื่อง มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีจากคณะกรรมการบริษัท ที่สำคัญคือ ความร่วมมือและความทุ่มเทของพนักงานทุกคน เพราะทิสโก้จะเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จ เป็น Best Company Performance และเป็น Best Employer ไม่ได้ ถ้าไม่มี Best Employees ที่มีความมุ่งมั่นและภาคภูมิใจในการทำงานร่วมกัน
รางวัลนี้สะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่ทุกฝ่ายมีต่อ TISCO ว่า สามารถสร้างการเติบโตแบบยั่งยืน ภายใต้กลยุทธ์ Sustainable Focus ที่มี ESG เป็นแนวทาง ไม่ว่าจะเป็น Mobilization of Green Financing , Financial Inclusion for Social Well-being และ Highest Standard of Corporate Governance
และถ้าพูดถึงรางวัล ในปีนี้จากตลาดหลักทรัพย์ ฯ ที่รวมถึง Best Company Performance, Outstanding Investor Relations และ Outstanding Securities ก็สะท้อนถึงความสำเร็จในการสื่อสารที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพระหว่างองค์กรกับนักลงทุน”
ท้ายนี้ คุณศักดิ์ชัยเน้นถึงความมุ่งมั่นของ TISCO ที่ยึดมั่นในมาตรฐานที่ดี เพื่อก้าวสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน พร้อมแบ่งปันคำแนะนำในการสื่อสารที่แฝงด้วยแนวคิดเชิงลึกว่า
อย่าทำให้นักลงทุนผิดหวัง สิ่งที่เราควรสื่อสารคือ สัญญาให้น้อย แต่ทำให้เกินความคาดหวัง (Under Promise but Over Deliver) พิสูจน์ด้วยผลงาน ไม่ต้องพูดมาก แต่ลงมือทำจริง เมื่อทำสำเร็จแล้วค่อยบอก หรือให้ผู้อื่นเป็นผู้บอก
ในอีก 4 ปีข้างหน้า ยุคต่อไปของ TISCO จะมุ่งเน้นการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน ควบคู่ไปกับการสร้างความสำเร็จทางการเงิน
‘การใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ ในยุคสังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ (Super Aged) และหนี้ครัวเรือนสูง จำเป็นต้องมีการวางแผนการเงินอย่างจริงจัง
TISCO จึงสร้างจุดร่วมของผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลายจากทั้งกลุ่มบริษัทมาดูแลลูกค้า เพื่อช่วยให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมายความมั่งคั่งและมั่นคงในระยะยาว
ครอบคลุม Life Span การมีอายุขัยที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพ, Health Span การส่งเสริมให้ผู้คนมีสุขภาพที่แข็งแรง และ Wealth Span การสร้างความมั่งคั่งทางการเงิน ถือเป็นเป้าหมายสำคัญที่ TISCO ยึดมั่นและมุ่งมั่น’
ไม่เพียงเท่านี้ การดูแลพนักงานภายในองค์กรให้มีความเป็นอยู่ที่ดี ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของความสำเร็จ
โดย TISCO มีโครงการที่เรียกว่า “ปลดหนี้มีออม” เพื่อส่งเสริมการออม การวางแผนการเงินส่วนบุคคล และการจัดสวัสดิการที่ช่วยให้พนักงานเพิ่มพูนความมั่งคั่งในระยะยาว”
ทั้งหมดนี้ สะท้อนถึงวิสัยทัศน์ของคุณศักดิ์ชัย ที่ต้องการให้ TISCO เป็นองค์กรที่ไม่เพียงมุ่งเน้นความสำเร็จทางธุรกิจ แต่ยังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมอย่างแท้จริง
Reference:
- สัมภาษณ์โดยตรง คุณศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์ โดย ลงทุนแมน
- สัมภาษณ์โดยตรง คุณศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์ โดย ลงทุนแมน