มหากาพย์ “Trip” ธุรกิจ 8 ชีวิต มูลค่า 800,000 ล้าน

มหากาพย์ “Trip” ธุรกิจ 8 ชีวิต มูลค่า 800,000 ล้าน

มหากาพย์ “Trip” ธุรกิจ 8 ชีวิต มูลค่า 800,000 ล้าน /โดย ลงทุนแมน
หลายคนน่าจะคุ้นหูกับสำนวนแมว 9 ชีวิต
หากเทียบเป็นธุรกิจ บริษัทที่ชื่อว่า “Trip.com Group Limited” จะมีความใกล้เคียงกับประโยคนี้มาก ๆ
Trip เป็นแพลตฟอร์มจองที่พัก ตั๋วเครื่องบิน ถูกเปลี่ยนมือมาแล้ว 8 ครั้ง..
ล่าสุด มีเจ้าของเป็นคนจีน จดทะเบียนอยู่ทั้งในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา มีมูลค่า 840,000 ล้านบาท
แล้วเรื่องราวของธุรกิจ 8 ชีวิต
ที่ชื่อว่า Trip มีที่มาอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
จริง ๆ แล้ว ที่ Trip ถูกเปลี่ยนมือ ชุบชีวิตขึ้นมาหลายครั้งขนาดนี้ เหตุผลสั้น ๆ เลยก็เพราะว่า “ชื่อดี”
หากเล่าเป็นเรื่องเป็นราว ก็จะย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นของคำคำนี้ มาจาก Travis Katz และ Ori Zaltzman เริ่มก่อตั้งเว็บไซต์ ที่ช่วยคำนวณแผนการเดินทางแบบง่าย ๆ ขึ้นมา
แต่สิ่งที่ไม่ธรรมดาคือชื่อโดเมน ที่พวกเขาใช้อย่างเว็บไซต์ Trip ซึ่งเป็นชื่อที่เข้าใจง่าย สื่อสารได้ชัดเจน
ซึ่งหลังจากที่เริ่มมีผู้ใช้งานมากขึ้น
มหากาพย์หมุนมือของ Trip ก็ได้เริ่มขึ้นทันที
- โดยคนแรกที่เข้ามาขอซื้อโดเมนเว็บไซต์
คือ Trip Software Systems
แต่กลายเป็นว่าหลังจากที่ซื้อมา Trip Software Systems ดันกั๊กไว้ ไม่ได้ใช้โดเมนนี้ทำอะไรให้เกิดประโยชน์ต่อ
- คนที่ 2 คือ Antoine Toffa ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ TheTrip
เขาสนใจ และได้ทำการซื้อโดเมนเว็บไซต์ Trip มาในราคา 180,000 บาท
โดยหลังจากที่เขาซื้อ Trip มาแล้ว สิ่งที่เขาทำในตอนนั้นคือ นำมาเปิดใช้งานเป็นแพลตฟอร์มจองที่พัก เที่ยวบิน โรงแรม และขายดีลต่าง ๆ
- คนที่ 3 คือ Galileo International บริษัทจัดเก็บข้อมูลยอดจองด้านการท่องเที่ยว
เข้าซื้อหุ้น Trip จนมีสัดส่วน 19% ก่อนจะตัดสินใจซื้อหุ้นที่เหลือทั้งหมด ในราคา 7,700 ล้านบาท เพื่อเป็นเจ้าของกิจการ
ซึ่งในตอนนั้น Trip มีผู้ใช้งานมากถึง 3,500,000 ราย เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
- คนที่ 4 คือ Cendant บริษัทพัฒนาโรงแรมและอสังหาริมทรัพย์
Cendant กำลังอยู่ในช่วงที่บริษัทไล่ซื้อกิจการที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มจองที่พักต่าง ๆ
โดยแพลตฟอร์มที่ Cendant ซื้อเข้ามาในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ก็จะมี
- CheapTickets และ Orbitz
ทั้งคู่เป็นบริษัทจองที่พักและตั๋วเครื่องบิน สัญชาติอเมริกัน
- Galileo International เจ้าของ Trip ในตอนนั้น
จากนั้น Cendant ได้ทำการปรับโครงสร้างบริษัทใหม่
โดยรวมธุรกิจแพลตฟอร์มการท่องเที่ยวของบริษัททั้งหมดไว้ในบริษัทเดียว มีชื่อว่า “Travelport”
สรุปสั้น ๆ กันอีกที มาถึงตรงนี้ Trip ได้กลายร่างมาเป็นส่วนหนึ่งของ Travelport แล้วเรียบร้อย
ช่วงเวลานี้ จะเป็นในปี 2001 ถึงปี 2006 เท่ากับว่า Trip โดนควบรวม และหายไปจากโลกนี้เป็นเวลา 6 ปี..
- เรื่องราวดำเนินมาถึง ผู้ซื้อคนที่ 5 ซึ่งก็คือ Blackstone
บริษัทจัดการสินทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา ที่มีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการมากถึง 30 ล้านล้านบาท
ได้เข้าซื้อ Travelport มาในราคา 150,000 ล้านบาท และแยกเอาธุรกิจ Orbitz เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ในชื่อ Orbitz Worldwide
จุดนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งจุดสำคัญ เนื่องจากหลังจากเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว Orbitz Worldwide ได้นำโดเมน Trip กลับมาใช้อีกครั้ง
- คนที่ 6 คือ Expedia แพลตฟอร์มจองที่พักใหญ่สุดอันดับ 4 ของโลก
ซึ่ง Expedia ได้ทำการไล่ซื้อหุ้นของ Orbitz Worldwide ทั้งจากตลาดหลักทรัพย์ และซื้อต่อมาจากผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง Blackstone
การที่ Expedia เข้าซื้อ Orbitz Worldwide ต่อจาก Blackstone เท่ากับว่าในตอนนี้ Expedia ได้ Trip มาด้วย
- คนที่ 7 คือ Gogobot แพลตฟอร์มจองที่พัก สัญชาติอเมริกัน
ซื้อ Trip ต่อจาก Expedia เพื่อนำชื่อแบรนด์ Trip มาใช้แทนแบรนด์เดิมของตัวเอง
แต่ไม่นาน บริษัท Gogobot ที่รีแบรนด์เป็น Trip แล้ว ก็ได้ถูกซื้อไป โดยผู้ซื้อคนที่ 8
- คนที่ 8 คือ CTrip แพลตฟอร์มจองที่พักใหญ่สุดในจีน..
ซื้อ Trip มาบริหารต่อ จากนั้นทำการเปลี่ยนชื่อบริษัทของตัวเองจาก CTrip เป็น “Trip.com Group Limited”
ปัจจุบัน Trip.com เป็นแพลตฟอร์ม
ที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 400 ล้านราย
ส่วนบริษัทเจ้าของแพลตฟอร์มอย่าง Trip.com Group Limited ก็กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากถึง 840,000 ล้านบาท..
อ่านมาถึงตรงนี้ เราจะเห็นว่าจากความแข็งแกร่งของแบรนด์ Trip ที่มีฐานผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
ทำให้เหล่านักลงทุนและนักธุรกิจ ต่างสนใจ Trip อยู่เสมอ
ซึ่งถ้าถามว่าใครคือคนที่ได้กำไร
จากการเปลี่ยนมือในครั้งนี้มากที่สุด ?
คำตอบคือ Antoine Toffa
ซึ่งเป็นผู้ซื้อโดเมนเว็บไซต์
มาปั้นให้เกิดเป็นธุรกิจแพลตฟอร์มขึ้นมา
โดยเขาได้กำไรจากดีลนี้
ไปมากถึง 7,699 ล้านบาท
หรือคิดเป็นผลตอบแทน 42,000 เท่าเลยทีเดียว
และอีกเรื่องที่เราได้ข้อคิดจากเรื่องนี้เลย
ก็คือ คิดชื่อแบรนด์ดี มีชัยไปกว่าครึ่งเลยนะ..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://skift.com/2019/09/18/trip-coms-nearly-quarter-century-odyssey-as-a-cant-lose-travel-domain-right/
-https://www.statista.com/statistics/1218023/china-leading-online-travel-apps-based-on-monthly-active-users/
-https://www.swfinstitute.org/fund-manager-rankings/asset-manager

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

“แอสเซทไวส์” ลุยเติมจิ๊กซอว์พอร์ตแนวราบ จับดีมานด์พุ่งตลาด “บ้านตากอากาศ” ส่งแบรนด์ใหม่ “ฌาน เดอะ ริเวอร์ไซด์ บรมราชชนนี” บ้านเดี่ยวริมแม่น้ำท่าจีน-ใกล้กรุงเทพฯ มูลค่า 1,800 ล้านบาท ส่องศักยภาพไพร์มโลเคชัน “นครปฐม” โตต่อเนื่อง ชี้ที่ดินราคาพุ่ง 82%

บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ ลุยเสริมแกร่งพอร์ตอสังหาฯ แนวราบบนทำเลศักยภาพเพื่อป้อนเรียลดีมานด์ต่อเนื่อง ล่าสุดเขย่าวงการอสังหาฯ เปิดตัวโครงการบ้านเดี่ยว 2 ชั้น ริมแม่น้ำโครงการแรกของบริษัทฯ ภายใต้แบรนด์ใหม่ “ฌาน เดอะ ริเวอร์ไซด์ บรมราชชนนี” (CHANN The Riverside Boromratchachonnani)
SPONSORED
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon