รู้จัก กฎ 90/10 ลงทุนแบบนักลงทุนระดับโลก วอร์เรน บัฟเฟตต์
คุณปู่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนในตำนานชื่อดังที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก ผู้เป็นบุคคลที่มีความมั่งคั่งสุทธิ (Net Worth) มากกว่า 120 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 3.93 ล้านล้านบาท (ข้อมูลจาก Forbes ณ วันที่ 20 ก.ค. 2566)
แม้ปัจจุบันวอร์เรน บัฟเฟตต์ จะอายุ 93 ปีแล้ว แต่เขายังคงเป็นผู้ทรงอิทธิพลในวงการลงทุนไม่ว่าจะซื้อ-ขายหุ้นตัวไหน หรือมีการอัปเดตพอร์ตการลงทุนเมื่อไหร่ หุ้นตัวนั้นมักติดอันดับการซื้อขายมากกว่าปกติในช่วงเวลานั้น ๆ เสมอ
สไตล์การลงทุนของวอร์เรน บัฟเฟตต์ คือ เน้นลงทุนหุ้นคุณค่า หรือที่หลายคนเรียกกันว่า นักลงทุน VI (Value Investor) ซึ่งเป็นการลงทุนในหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็นของหุ้นนั้น ๆ โดยนักลงทุนกลุ่มนี้มักจะประเมินมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (Intrinsic Value) เพื่อตัดสินใจเข้าซื้อหรือขาย หากราคาหุ้นปัจจุบันสูงมากกว่ามูลค่าที่แท้จริงก็จะยังไม่ซื้อหุ้น จะเฝ้าติดตามรอจนกว่าราคาหุ้นนั้นลดลงมาถึงราคาที่เหมาะสม
นอกจากนี้ การลงทุนแบบ VI เป็นการลงทุนแบบระยะยาว ต้องอดทนรอซื้อ ถือรอหุ้นนั้นเติบโต โดยไม่สนใจราคาที่ผันผวนระหว่างทาง ซึ่งหลักการเรียบง่ายนี้ที่เราได้กล่าวไปข้างต้น ก็สามารถทำให้วอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จจนถึงปัจจุบันนี้
วิธีจัดพอร์ตการลงทุนแบบ 90/10 สไตล์ วอร์เรน บัฟเฟตต์
หลักการของกลยุทธ์การลงทุนแบบ 90/10 ของวอร์เรน บัฟเฟตต์ประกอบด้วยการแบ่งเงินลงทุนออกเป็น 2 ส่วน และนำเงินไปลงทุนใน 2 สินทรัพย์ ดังนี้
· ส่วนที่ 1 : 90% ลงทุนในกองทุนดัชนีหุ้นที่มีค่าธรรมเนียมต่ำ
วอร์เรน บัฟเฟตต์ แนะนำให้แบ่งเงิน 90% นำไปลงทุนในกองทุนหุ้นดัชนีที่มีค่าธรรมเนียมต่ำ เพราะการลงทุนในกองทุนที่มีค่าธรรมเนียมสูงจะส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนในระยะยาว และจะทำให้เราได้รับผลตอบแทนจากกองทุนน้อยลงเมื่อเทียบกับกองทุนที่มีค่าธรรมเนียมต่ำ
ซึ่งวอร์เรน บัฟเฟตต์ เคยพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ในระยะยาวกองทุนหุ้นดัชนีสามารถทำผลตอบแทนได้สูงกว่ากองทุน Active Fund โดยเขาได้เดิมพันกับอดีตผู้จัดการกองทุน Hedge Fund ว่า ภายใน 10 ปี กองทุนดัชนี S&P500 จะให้ผลตอบแทนสูงกว่ากองทุน Active Fund และเมื่อผ่านไป 10 ปี กองทุนดัชนี S&P500 ก็สามารถให้ผลตอบแทนสูงจริง ๆ
· ส่วนที่ 2 : 10% ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น
เงินส่วนนี้ที่นำไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น เพราะพันธบัตรรัฐบาลเป็นสินทรัพย์ที่มีอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ และราคาซื้อ-ขายมีความผันผวนน้อย จึงเหมาะกับเป็นเงินก้อนสำหรับเผื่อถอนเงินออกมาใช้ฉุกเฉิน และเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้พอร์ตลงทุน
หากเรานำเงินไปลงทุนหุ้นทั้งหมด และมีเหตุจำเป็นต้องถอนเงินออกมาใช้ในช่วงที่ตลาดหุ้นแย่ ก็อาจจะต้องยอมขายหุ้นที่ยังขาดทุนอยู่ออกมา แต่ถ้าเรามีการแบ่งเงินส่วนหนึ่งลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำสำรองไว้ก็จะมีโอกาสขาดทุนน้อยกว่า
ตัวอย่างการจัดพอร์ตตามกลยุทธ์การลงทุนแบบ 90/10
พอร์ตลงทุนที่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ แนะนำให้ลองไปทำตามคือพอร์ตของภรรยาของเขาที่ 90% ลงทุนใน S&P500 Index Fund และส่วนที่เหลืออีก 10% ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น
2 สินทรัพย์ที่กล่าวไปข้างต้นคืออะไร ต่างกันยังไง ?
1. S&P500 Index Fund หรือกองทุนดัชนี S&P500
เป็นกองทุนที่เน้นสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนี S&P500 มากที่สุด โดยจะกระจายลงทุนหุ้นของบริษัทเจ้าใหญ่ ๆ จำนวน 500 บริษัทในสหรัฐฯ เช่น Apple Inc., Johnson & Johnson, Visa, Facebook Inc., Microsoft Corporation, Alphabet, Berkshire Hathaway Inc., NVIDIA เป็นต้น จะเห็นได้ว่าแต่ละบริษัทที่ได้กล่าวไปนั้นเป็นบริษัทเจ้าใหญ่ มีความมั่นคง และมีชื่อเสียงดังทั่วโลก แต่ก็ยังจัดอยู่ในกลุ่มการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงจากการลงทุนในหุ้นที่ผลตอบแทนขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจ การบริโภค และปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย
เป็นกองทุนที่เน้นสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนี S&P500 มากที่สุด โดยจะกระจายลงทุนหุ้นของบริษัทเจ้าใหญ่ ๆ จำนวน 500 บริษัทในสหรัฐฯ เช่น Apple Inc., Johnson & Johnson, Visa, Facebook Inc., Microsoft Corporation, Alphabet, Berkshire Hathaway Inc., NVIDIA เป็นต้น จะเห็นได้ว่าแต่ละบริษัทที่ได้กล่าวไปนั้นเป็นบริษัทเจ้าใหญ่ มีความมั่นคง และมีชื่อเสียงดังทั่วโลก แต่ก็ยังจัดอยู่ในกลุ่มการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงจากการลงทุนในหุ้นที่ผลตอบแทนขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจ การบริโภค และปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย
2. พันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น
เป็นตราสารหนี้ที่ทำการออกโดยหน่วยงานของรัฐบาล เพื่อระดมเงินทุนมาใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ของรัฐบาล เช่น ตั๋วเงินคลัง จะมีอายุประมาณ 1 เดือน, 3 เดือน, 6 เดือน, หรือ 1 ปี เป็นต้น โดยหน่วยงานรัฐบาลจะมีสถานะเป็นลูกหนี้ ส่วนนักลงทุนจะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ จะได้รับผลตอบแทนจากดอกเบี้ยจากลูกหนี้ตามที่กำหนดไว้ เช่น จ่ายดอกเบี้ยทุก ๆ 6 เดือน นอกจากนี้ พันธบัตรรัฐบาลไม่มีความเสี่ยงเรื่องการผิดนัดชำระดอกเบี้ย และเงินต้น จึงถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ และปลอดภัยกับเงินของเรา
เป็นตราสารหนี้ที่ทำการออกโดยหน่วยงานของรัฐบาล เพื่อระดมเงินทุนมาใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ของรัฐบาล เช่น ตั๋วเงินคลัง จะมีอายุประมาณ 1 เดือน, 3 เดือน, 6 เดือน, หรือ 1 ปี เป็นต้น โดยหน่วยงานรัฐบาลจะมีสถานะเป็นลูกหนี้ ส่วนนักลงทุนจะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ จะได้รับผลตอบแทนจากดอกเบี้ยจากลูกหนี้ตามที่กำหนดไว้ เช่น จ่ายดอกเบี้ยทุก ๆ 6 เดือน นอกจากนี้ พันธบัตรรัฐบาลไม่มีความเสี่ยงเรื่องการผิดนัดชำระดอกเบี้ย และเงินต้น จึงถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ และปลอดภัยกับเงินของเรา
วิธีคำนวณผลตอบแทนแบบการลงทุน 90/10
เมื่อเราลงทุน 2 สินทรัพย์ขึ้นไปจะนับเป็นพอร์ตลงทุน ซึ่งจะมีขั้นตอนการคิดผลตอบแทนรวมทั้งพอร์ตลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น วิธีคำนวณผลตอบแทนโดยรวมของสินทรัพย์ที่ลงทุนทั้งหมดแบบง่าย ๆ ดังนี้
เมื่อเราลงทุน 2 สินทรัพย์ขึ้นไปจะนับเป็นพอร์ตลงทุน ซึ่งจะมีขั้นตอนการคิดผลตอบแทนรวมทั้งพอร์ตลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น วิธีคำนวณผลตอบแทนโดยรวมของสินทรัพย์ที่ลงทุนทั้งหมดแบบง่าย ๆ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 : คำนวณหาผลตอบแทนจากการลงทุนของแต่ละสินทรัพย์ก่อน
สูตรคำนวณ คือ ROI = (กำไรจากการลงทุน ÷ เงินต้นที่ลงทุนไปทั้งหมด) x 100%
สูตรคำนวณ คือ ROI = (กำไรจากการลงทุน ÷ เงินต้นที่ลงทุนไปทั้งหมด) x 100%
ขั้นตอนที่ 2 : การคำนวณผลตอบแทนของพอร์ตลงทุน
สูตรคำนวณ คือ Portfolio Return = (อัตราผลตอบแทน A x สัดส่วน A) + (อัตราผลตอบแทน B x สัดส่วน B) + (อัตราผลตอบแทน C x สัดส่วน C) + …
สูตรคำนวณ คือ Portfolio Return = (อัตราผลตอบแทน A x สัดส่วน A) + (อัตราผลตอบแทน B x สัดส่วน B) + (อัตราผลตอบแทน C x สัดส่วน C) + …
จากพอร์ตลงทุนของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ที่ลงทุนใน S&P500 Index Fund 90% และลงทุนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น 10% เมื่อไปดูผลตอบแทนย้อนหลังของ 2 สินทรัพย์นี้ พบว่า ผลตอบแทนย้อนหลังเฉลี่ย 10 ปีของ S&P500 Index อยู่ที่ 10.36% ต่อปี และผลตอบแทนย้อนหลังเฉลี่ย 10 ปีของพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น อยู่ที่ 0.78% ต่อปี
(แหล่งที่มา : S&P 500® Index Overview by SPGLOBAL)
(แหล่งที่มา : S&P 500® Index Overview by SPGLOBAL)
ดังนั้น พอร์ตลงทุนตามกลยุทธ์ 90/10 สามารถนำมาคิดผลตอบแทนได้ดังนี้
Portfolio Return = (10.36% x 0.9) + (0.78% x 0.1) = 9.402% ต่อปี
Portfolio Return = (10.36% x 0.9) + (0.78% x 0.1) = 9.402% ต่อปี
ทั้งนี้ ผลตอบแทนที่นำมาคำนวณเป็นผลตอบแทนในอดีตที่เกิดขึ้นจริง ๆ แต่ไม่ได้เป็นสิ่งยืนยัน หรือการันตีถึงผลตอบแทนในอนาคต และสามารถนำมาใช้ดูแนวโน้มผลตอบแทนในอนาคตได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้เลือกลงทุนในสินทรัพย์จากผลตอบแทนในอดีตที่ดีสุด แต่ควรจะดูปัจจัยอื่นประกอบการตัดสินใจร่วมด้วย
ทฤษฎีการจัดพอร์ตตามกลยุทธ์ 90/10 ไม่เหมาะกับใคร
ทฤษฎีนี้อาจจะไม่เหมาะกับนักลงทุน 2 ประเภทได้แก่
1. ผู้ที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ 2. คนวัยใกล้เกษียณที่เหลือเวลาออมเงินน้อย และต้องการรักษาเงินต้น เพราะเมื่อเปรียบกับนักลงทุนที่อายุน้อยกว่า หากเกิดสถานการณ์ที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยลงจนส่งผลกระทบกับตลาดหุ้น นักลงทุนที่มีอายุน้อยกว่ายังมีเวลาแก้ไขจัดการพอร์ตได้ก่อนวัยเกษียณอายุ เนื่องจากทฤษฎีนี้ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงอย่างหุ้นมากถึง 90% หากเรามีเงินลงทุนอยู่ในพอร์ตเป็นจำนวนมาก การแบ่งเงินไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นประมาณ 10% เพื่อเป็นสัดส่วนที่มีสภาพคล่องก็อาจจะเหมาะสมเพียงพอแล้ว ดังนั้น กลยุทธ์การจัดพอร์ต 90/10 จึงถือเป็นวิธีการจัดสรรสัดส่วนการลงทุนเบื้องต้นที่เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ปรับสัดส่วนให้เหมาะสมกับพอร์ตกองทุนรวม และเป้าหมายของตัวเราเองอีกที
1. ผู้ที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ 2. คนวัยใกล้เกษียณที่เหลือเวลาออมเงินน้อย และต้องการรักษาเงินต้น เพราะเมื่อเปรียบกับนักลงทุนที่อายุน้อยกว่า หากเกิดสถานการณ์ที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยลงจนส่งผลกระทบกับตลาดหุ้น นักลงทุนที่มีอายุน้อยกว่ายังมีเวลาแก้ไขจัดการพอร์ตได้ก่อนวัยเกษียณอายุ เนื่องจากทฤษฎีนี้ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงอย่างหุ้นมากถึง 90% หากเรามีเงินลงทุนอยู่ในพอร์ตเป็นจำนวนมาก การแบ่งเงินไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นประมาณ 10% เพื่อเป็นสัดส่วนที่มีสภาพคล่องก็อาจจะเหมาะสมเพียงพอแล้ว ดังนั้น กลยุทธ์การจัดพอร์ต 90/10 จึงถือเป็นวิธีการจัดสรรสัดส่วนการลงทุนเบื้องต้นที่เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ปรับสัดส่วนให้เหมาะสมกับพอร์ตกองทุนรวม และเป้าหมายของตัวเราเองอีกที
ทั้งนี้ ทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยงอยู่เสมอ เราจึงควรศึกษา และทำความเข้าใจรายละเอียดการลงทุนในสินทรัพย์นั้น ๆ ให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
สำหรับผู้ที่อยากลงทุนตามกลยุทธ์การจัดพอร์ตแบบ วอร์เรน บัฟเฟตต์ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นลงทุนยังไงดี จะจัดพอร์ตเลือกสินทรัพย์ลงทุนเองก็ยากเกินไป ทางธนาคารกรุงศรีฯ ก็มีให้บริการลงทุนในกองทุนรวม ซึ่งถือเป็นเครื่องมือการลงทุนที่เหมาะกับมือใหม่ที่อยากเริ่มต้นลงทุน เพราะจะมีผู้จัดการกองทุน หรือผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลให้อยู่เสมออีกทั้งคอยปรับพอร์ตการลงทุนให้ทันสถานการณ์เพื่อรับมือกับทุกสภาวะการลงทุน อย่าง กองทุน “ กรุงศรี The One ” ตัวช่วยจัดพอร์ตตามระดับความเสี่ยง ใช้เงินลงทุนไม่มาก เพียง 500 บาทก็เริ่มต้นลงทุนได้ ลงทุนผสมหลากหลายสินทรัพย์ทั้ง หุ้น ตราสารหนี้ สินทรัพย์ทางเลือก ผ่านกองทุนรวม หรือ กองทุน ETF ทั้งกองทุนรวมในประเทศ และกองทุนรวมต่างประเทศอย่างน้อย 2 กองทุน นอกจากนี้จะมีการปรับพอร์ตการลงทุน (Rebalance) อยู่สม่ำเสมอให้สอดคล้องกับภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สำหรับคนที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ตรงนี้เลย