ทำไม “Warren Buffett” มองว่า Passive Investment เป็นสุดยอดการลงทุน
ในยุคที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ำ และค่าครองชีพในประเทศสูงแบบนี้ การเริ่มต้นลงทุนใน “กองทุนรวม” อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ในระยะยาวอย่างมั่นคงในบรรดาเครื่องมือการลงทุนทั้งหมดก็เป็นได้
แต่เดี๋ยวก่อน! ถึงแม้กองทุนรวมจะจัดว่าเป็นสินทรัพย์ที่สร้างผลตอบแทนในระยะยาวได้ สุดท้ายแล้วการที่เราจะลงทุนในกองทุนรวมแล้วมีกำไรได้นั้น อาจต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในระดับหนึ่ง และนอกจากนี้สำหรับใครที่อยากเริ่มต้นลงทุนในกองทุนรวม เพื่อให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่เราสามารถรับได้แล้ว อีกเรื่องที่นักลงทุนมือใหม่ควรรู้ คือ ความแตกต่างระหว่าง ‘Active Fund’ และ ‘Passive Fund’ ทั้งสองกลยุทธ์การลงทุนดังกล่าวคืออะไร และมีจุดมุ่งหมายในการลงทุนอย่างไรบ้าง วันนี้เราจะพาทุกคนไปไขคำตอบเรื่องนี้กัน
‘Active Fund’ และ ‘Passive Fund’ ต่างกันอย่างไร
ลงทุนแบบ Active Fund
Active Fund เป็นกลยุทธ์กองทุนแบบเชิงรุก มีจุดมุ่งหมายการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนให้สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้วัดผลการดำเนินงาน (Benchmark) ที่ตั้งไว้ อย่างเช่น เลือกลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุนไทย จากบริษัทใหญ่ ๆ ที่มีความยั่งยืน และสามารถสร้างผลตอบแทนอย่างมั่นคง มีอัตราการเติบโตสูง ’ เพื่อให้เอาชนะค่าดัชนี SET, SET50 ที่ถือว่าเป็น Benchmark ของกองทุน เป็นต้น ซึ่ง Active Fund ที่ทำผลตอบแทนได้มากกว่า Benchmark เท่าไหร่ ก็นับเป็นกองทุนที่ดีมากเท่านั้น จึงทำให้นักลงทุนหลายคนเลือกลงทุนในรูปแบบ Active Fund เพราะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูง
Active Fund เป็นกลยุทธ์กองทุนแบบเชิงรุก มีจุดมุ่งหมายการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนให้สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้วัดผลการดำเนินงาน (Benchmark) ที่ตั้งไว้ อย่างเช่น เลือกลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุนไทย จากบริษัทใหญ่ ๆ ที่มีความยั่งยืน และสามารถสร้างผลตอบแทนอย่างมั่นคง มีอัตราการเติบโตสูง ’ เพื่อให้เอาชนะค่าดัชนี SET, SET50 ที่ถือว่าเป็น Benchmark ของกองทุน เป็นต้น ซึ่ง Active Fund ที่ทำผลตอบแทนได้มากกว่า Benchmark เท่าไหร่ ก็นับเป็นกองทุนที่ดีมากเท่านั้น จึงทำให้นักลงทุนหลายคนเลือกลงทุนในรูปแบบ Active Fund เพราะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูง
ลงทุนแบบ Passive Fund
Passive Fund เป็นกลยุทธ์กองทุนแบบเชิงรับ เป็นการลงทุนพยายามให้ผลตอบแทนใกล้เคียงเกณฑ์มาตรฐานมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จึงทำให้ Passive Fund มีโอกาสที่ผลตอบแทนอาจจะทำได้สูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานได้เนื่องจากสินทรัพย์ที่กองทุนไปลงทุนอยู่อาจมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ จากอัตราแลกเปลี่ยน หรือความเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
Passive Fund เป็นกลยุทธ์กองทุนแบบเชิงรับ เป็นการลงทุนพยายามให้ผลตอบแทนใกล้เคียงเกณฑ์มาตรฐานมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จึงทำให้ Passive Fund มีโอกาสที่ผลตอบแทนอาจจะทำได้สูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานได้เนื่องจากสินทรัพย์ที่กองทุนไปลงทุนอยู่อาจมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ จากอัตราแลกเปลี่ยน หรือความเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
ใครที่กำลังชั่งใจอยู่ว่าจะเลือกลงทุนกับกองทุนรวมประเภท Active Fund หรือว่า Passive Fund ดีกว่ากัน ลองมาฟังความคิดเห็นของนักลงทุนคนหนึ่งที่ถือว่าเป็นต้นแบบการลงทุนรูปแบบ Value Investor (VI) ของโลกเลยก็คือ วอร์เรน บัฟเฟตต์ บุคคลผู้เป็นไอดอลในด้านการลงทุนของนักลงทุนทั่วโลก
ปู่วอร์เรนได้เปิดเผยว่า “ไม่มีนักลงทุนคนไหนที่สามารถเอาชนะตลาดในระยะยาวได้” และสิ่งที่เป็นอุปสรรคของนักลงทุนมากที่สุดก็คือ ‘ค่าใช้จ่าย’ และ ‘อารมณ์’ เมื่อเห็นไอเดียที่ปู่วอร์เรนได้นำเสนอไปเลยเข้าใจได้โดยทันทีว่าศึกการลงทุนครั้งนี้ ปู่วอร์เรนเลือกที่จะลงทุนแบบ Passive Investment หรือกองทุนดัชนีมากว่า จากคำกล่าวข้างต้นเรามาดูกันดีกว่าเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังที่ปู่วอร์เรนนำเสนอไว้คืออะไร และมีความน่าสนใจอย่างไรบ้างตามไปดูกัน
ในมุมมองของปู่วอร์เรนได้กล่าว่า กองทุน Active Fund ที่ดีจะต้องสร้างผลตอบแทนได้มากกว่าดัชนีหรือตลาด และที่สำคัญต้องสร้างผลตอบแทนได้ในระยะยาวเพราะปู่วอร์เรนเชื่อว่าการทำกำไรมากกว่าตลาดในระยะสั้นเป็นเรื่องที่ใคร ๆ ก็สามารถทำได้ แต่การทำได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาวเป็นเรื่องที่ยากจะทำสำเร็จ โดยเฉพาะตลาดหุ้นขนาดใหญ่อย่างตลาดหุ้นอเมริกา ที่มีนักลงทุนหลายล้านคน และมีเม็ดเงินจำนวนมากที่พร้อมจะเข้ามาลงทุน รวมถึงในปัจจุบันนักลงทุนทุกคนก็แทบจะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทุกประเภทได้อย่างเท่าเทียมกันแล้ว หรือในทางทฤษฎีที่เราเรียกว่าตลาดที่มีประสิทธิภาพ (Efficient Market) นั่นเอง
แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือเรื่องของ ‘อารมณ์ นักลงทุนส่วนใหญ่มักจะเผลอคิดว่าตัวเองเก่ง และฉลาด หรือไม่ก็คิดว่าตัวเองสามารถเอาชนะตลาดได้ ด้วยปัจจัยทางด้านอารมณ์ดังกล่าว จึงทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ขาดทุน ไม่ว่าจะเป็นจากการซื้อหุ้นตามเพื่อนมั่นในใจการลงทุนจนเทหมดหน้าตักลงไปในหุ้นไม่กี่ตัว ไม่กล้าซื้อตอนหุ้นที่ดีปรับตัวลงมาแรง หรือไม่กล้าตัดขาดทุนเมื่อหุ้นลงมาถึงจุดที่เรากำหนดตัดขาดทุนไว้ ซึ่งสาเหตุที่กล่าวมาทั้งหมดหมดนี้ก็เป็นเรื่องของ ‘อารมณ์’ ด้วยกันทั้งสิ้นที่ทำให้นักลงทุนไม่มีวินัยในการลงทุนและพ่ายแพ้ต่อตลาดไปในที่สุด
กองทุนแบบ ACTIVE VS PASSIVE แบบไหนดีกว่ากัน
ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ วอร์เรน บัฟเฟตต์ จึงมองว่าการลงทุนแบบ Active Fund เป็นประเภทกองทุนที่นักลงทุนต้องอาศัยความพยายามอย่างมากเพื่อเอาชนะตลาด และยังหักผลตอบแทนที่ทำได้จากนักลงทุน รวมไปถึงเก็บค่าธรรมเนียมในการลงทุนสูงกว่ากองทุนแบบ Passive Fund ซึ่งถึงแม้ว่ากองทุนนี้จะเป็นกองทุนรวมดัชนีที่ไม่พยายามเอาชนะตลาด และสร้างผลตอบแทนที่ดีในบางช่วงเวลา แต่เชื่อว่าหากลงทุนในระยะยาวจะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ชนะกว่า Active Fund แน่นอน
โดยสรุปแล้วจะเห็นได้ว่าไอเดียการลงทุนที่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ พูดมาทั้งหมดเป็นตลาดหุ้นที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขของ Efficient Market Theory หรือตลาดที่มีประสิทธิภาพ มีผู้เล่นมากรายและผู้เล่นทุกคนเข้าถึงข้อมูลได้เท่าเทียมกัน แต่ถ้ามองย้อนกลับมาในตลาดหุ้นของประเทศไทย ที่มีขนาดเล็กและมีผู้เล่นน้อยรายกว่ามากแล้ว จากสถิติค่อนข้างชัดเจนว่ายังมี Active Fund ที่ยังสามารถทำผลตอบแทนที่มากกว่าตลาดได้อยู่ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับสไตล์การลงทุนของนักลงทุนแต่ละบุคคลแล้วว่าตนเองมีความชอบ ความถนัด ที่อยากจะลงทุนในประเภทสินทรัพย์ หรือผลิตภัณฑ์เพื่อการลงทุนแบบไหนมากกว่ากัน