เหตุผลที่ ไทยเป็น 1 ใน 2 ประเทศอาเซียน ที่ไม่กู้เงินจีน
เหตุผลที่ ไทยเป็น 1 ใน 2 ประเทศอาเซียน ที่ไม่กู้เงินจีน /โดย ลงทุนแมน
รู้หรือไม่ว่า ในตอนนี้ ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนของเรา กำลังติดหนี้เงินกู้จากจีนกันแทบทุกประเทศ และเป็นจำนวนเงินมหาศาล
รู้หรือไม่ว่า ในตอนนี้ ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนของเรา กำลังติดหนี้เงินกู้จากจีนกันแทบทุกประเทศ และเป็นจำนวนเงินมหาศาล
ไม่ว่าจะเป็น
- อินโดนีเซีย ที่ติดหนี้จีนอยู่ถึง 770,000 ล้านบาท
- เวียดนาม 520,000 ล้านบาท
- ลาว 400,000 ล้านบาท
- มาเลเซีย 300,000 ล้านบาท
- อินโดนีเซีย ที่ติดหนี้จีนอยู่ถึง 770,000 ล้านบาท
- เวียดนาม 520,000 ล้านบาท
- ลาว 400,000 ล้านบาท
- มาเลเซีย 300,000 ล้านบาท
โดยเฉพาะลาว เป็นประเทศที่ต้องแบกรับภาระหนี้จีนมากที่สุด เพราะติดหนี้จีน ถึง 65% ของ GDP
แต่ในอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ มีเพียง 2 ประเทศเท่านั้น ที่ไม่ติดหนี้จีน ซึ่งได้แก่ สิงคโปร์ และ ไทย
แล้วทำไมไทยถึงไม่ติดหนี้จีน ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านเรากลายเป็นลูกหนี้ของธนาคารจีนหลายแสนล้านบาท ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
หนี้ที่จีนปล่อยให้ประเทศเพื่อนบ้านกู้ ไม่ได้มาในรูปของเงินสดเสียทีเดียว แต่อยู่ในรูปของเมกะโปรเจกต์ที่ชื่อว่า Belt and Road Initiative หรือ BRI
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
หนี้ที่จีนปล่อยให้ประเทศเพื่อนบ้านกู้ ไม่ได้มาในรูปของเงินสดเสียทีเดียว แต่อยู่ในรูปของเมกะโปรเจกต์ที่ชื่อว่า Belt and Road Initiative หรือ BRI
โครงการนี้มีชื่อไทยว่า หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ซึ่งริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2556 โดยเน้นไปที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะการขนส่งทางราง
จุดประสงค์ก็เพื่อเชื่อมโยงการค้าระหว่างประเทศจีนและประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย ยุโรป และแอฟริกา ซึ่งช่วยให้จีนสามารถส่งออกสินค้าได้มากขึ้น
และด้วยหัวใจหลักของโครงการคือ การขนส่งทางราง ที่สะดวก รวดเร็ว และมีต้นทุนการขนส่งต่ำ ซึ่งจะช่วยในการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างมาก จึงมีหลายประเทศตอบรับการเป็นส่วนหนึ่งในโครงการนี้
แต่เนื่องจากว่าโครงการแต่ละแห่ง มีมูลค่ามหาศาลนับหมื่นนับแสนล้านบาท ประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่ที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา จึงมีเงินไม่พอที่จะลงทุน
รัฐบาลจีนจึงได้มีการปล่อยกู้ให้แก่ประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนมากมาย เพื่อให้นำไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ยกตัวอย่างเช่น โครงการรถไฟลาว-จีน ที่เชื่อมโยงระหว่างเวียงจันทน์ เมืองหลวงของประเทศลาว กับคุนหมิง เมืองหลวงของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน
ซึ่งโครงการนี้ทำให้ลาวต้องติดหนี้ธนาคารของจีนถึง 54,000 ล้านบาท
การกู้เงินจากจีน อาจเป็นเรื่องดีที่ทำให้ประเทศได้มีเงินเพื่อใช้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ดีขึ้น แต่ก็ต้องแลกมากับภาระหนี้ที่ค่อนข้างหนัก
ส่วนสาเหตุที่ต้องกู้เงินจากจีน เนื่องจาก แม้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่จีนปล่อยกู้ให้กับประเทศต่าง ๆ จะสูงถึง 3.6% สูงกว่าดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารโลก ซึ่งอยู่ที่เพียง 2.8% เท่านั้น
อีกทั้งยังมีการเรียกร้องหลักทรัพย์ประกันที่ค่อนข้างจะไม่ธรรมดา เช่น รายได้จากการขายทรัพยากรในประเทศ ความเป็นเจ้าของในโครงการที่ร่วมกันลงทุน
แต่โดยรวมแล้ว การกู้เงินจากจีน ก็มีเงื่อนไขน้อยกว่าธนาคารโลกอยู่มาก อีกทั้งบางโครงการอาจไม่เข้าเงื่อนไขการปล่อยกู้ของธนาคารโลกนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้แทบทุกประเทศในอาเซียนจะยอมรับเงื่อนไขต่าง ๆ และกู้เงินจากจีน
แต่ไทยก็เป็น 1 ใน 2 ประเทศในอาเซียนที่เป็นส่วนหนึ่งใน BRI แต่ไม่ยอมรับเงื่อนไข และไม่กู้เงินจากจีนเลย
แล้วทำไมไทย ถึงไม่จำเป็นต้องกู้เงินจากจีน ?
เรื่องแรกคือ เรามีวินัยทางการคลังที่เข้มงวด ซึ่งเรียนรู้มาจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 หรือ วิกฤติต้มยำกุ้ง
ซึ่งจุดอ่อนของประเทศไทยในครั้งนั้น ก็คือ การกู้เงินจากต่างชาติมากเกินไป
ทำให้เมื่อค่าเงินบาทอ่อนตัวลงอย่างหนัก จากประมาณ 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ กลายเป็น 50 กว่าบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงเท่าตัว
ผู้ที่กู้เงินจากต่างประเทศมาเยอะ ก็ต้องใช้หนี้คืนในรูปของเงินสกุลต่างประเทศ จึงต้องแบกรับภาระหนี้ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว และสุดท้ายก็กลายเป็นวิกฤติเศรษฐกิจในที่สุด
เหตุการณ์ในครั้งนั้นถือเป็นบทเรียนชั้นดี ที่ทำให้เราระมัดระวังในการกู้เงินจากต่างประเทศมากขึ้น
โดยในปัจจุบัน ประเทศไทยมีหนี้สาธารณะอยู่ที่ 10.7 ล้านล้านบาท แต่เป็นหนี้ต่างประเทศเพียง 0.17 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นเพียง 1.6% เท่านั้น ซึ่งถือว่าต่ำกว่าในอดีตมาก
ปัจจัยต่อมาที่ทำให้เราพึ่งพาเงินกู้จากต่างประเทศน้อย คือ เรามีสถาบันการเงินที่แข็งแกร่ง และเป็นแหล่งเงินกู้ชั้นดีภายในประเทศอยู่แล้ว
ไม่ว่าจะเป็น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทประกัน หรือแม้แต่ประชาชนทั่วไปอย่างเรา ๆ ที่ปล่อยกู้ให้รัฐด้วยการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล
ซึ่งแหล่งเงินกู้ภายในประเทศ มีเงื่อนไขและความเสี่ยงน้อยกว่าแหล่งเงินกู้จากต่างประเทศ
ปัจจัยสุดท้าย นอกจากเรื่องเงินแล้ว ก็คือ อุตสาหกรรมก่อสร้างในบ้านเรา มีศักยภาพมากพอในการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ได้เอง
ต่างจากชาติอื่น ๆ ในอาเซียน ที่ต้องพึ่งพาบริษัทจากจีนเข้ามารับเหมางาน จึงยากต่อการควบคุมต้นทุนของโครงการ
และด้วยเหตุผลต่าง ๆ ที่กล่าวไป ทำให้เรามีทางเลือกและมีแต้มต่อ ในการต่อรองกับจีนมากขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ที่ในตอนแรกจีนเสนอตัวที่จะมาลงทุนร่วมกับไทย
ซึ่งนอกจากเรื่องของสัดส่วนการลงทุนแล้ว จีนยังพ่วงเงื่อนไขการแบ่งสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่น การแบ่งค่าตอบแทนจากค่าตั๋วโดยสาร สิทธิจัดการบริหารการเดินรถ หรือแม้แต่สิทธิบริหารพื้นที่สองข้างทางของโครงการ
ซึ่งสุดท้ายแล้วด้วยความพร้อมของไทย ทำให้เราสามารถเริ่มโครงการได้ โดยปฏิเสธข้อเสนอของจีน และตัดสินใจลงทุนด้วยเงินภายในประเทศไทยทั้งหมด โดยใช้ผู้รับเหมาในประเทศเป็นผู้ก่อสร้าง
แม้บางฝ่ายจะมองว่า โครงการนี้ควรให้จีนช่วยลงทุนด้วย เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงด้านการเงิน และช่วยประหยัดงบประมาณแผ่นดิน
แต่ด้วยประสบการณ์ในอดีต ที่คอยย้ำเตือนถึงผลลัพธ์จากการก่อหนี้เกินตัว รวมถึงความพร้อมที่เรามีทั้งด้านการเงินและทรัพยากร
จึงทำให้ไทย มีแต้มต่อในการเจรจา และเข้าร่วม BRI ได้
โดยมีสถานะเป็นคู่ค้า
โดยมีสถานะเป็นคู่ค้า
ต่างจากชาติอื่น ๆ ที่เข้าร่วม BRI เหมือนกัน แต่ต้องแลกมาด้วยการเป็นลูกหนี้ของจีน ไปอีกหลายสิบปีเลยทีเดียว..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.iseas.edu.sg/wp-content/uploads/2022/08/ISEAS_Perspective_2022_88.pdf
-https://docs.aiddata.org/ad4/pdfs/Banking_on_the_Belt_and_Road__Insights_from_a_new_global_dataset_of_13427_Chinese_development_projects.pdf
-https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=39&language=th
-https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=81&language=th
-https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=41&language=TH
-https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220802141045445
-https://www.biia.com/charts-of-the-day-china-looms-large-in-laos-debt-crisis/
-https://www.pdmo.go.th/th/public-debt/debt-outstanding
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.iseas.edu.sg/wp-content/uploads/2022/08/ISEAS_Perspective_2022_88.pdf
-https://docs.aiddata.org/ad4/pdfs/Banking_on_the_Belt_and_Road__Insights_from_a_new_global_dataset_of_13427_Chinese_development_projects.pdf
-https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=39&language=th
-https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=81&language=th
-https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=41&language=TH
-https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220802141045445
-https://www.biia.com/charts-of-the-day-china-looms-large-in-laos-debt-crisis/
-https://www.pdmo.go.th/th/public-debt/debt-outstanding