30 ปี EGCO Group ถึงยุคเปลี่ยนผ่าน และการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
30 ปี EGCO Group ถึงยุคเปลี่ยนผ่าน และการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
EGCO Group x ลงทุนแมน
EGCO Group x ลงทุนแมน
1 ใน 3 ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก มาจากภาคการผลิตไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
เรื่องนี้กำลังท้าทายการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมไฟฟ้าทั่วโลก ที่ต่างมุ่งไปสู่เป้าหมาย Net Zero หรือ Carbon Neutral และทางออกสำคัญก็คือ “พลังงานสะอาด”
โดยล่าสุด ประเทศไทยมีแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า ฉบับใหม่ ปี 2565-2580
ระบุว่า ระบบผลิตไฟฟ้าจะปรับเปลี่ยนจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ไปสู่พลังงานทดแทนมากขึ้น
และยังจำกัดปริมาณการปลดปล่อย CO2 เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
ระบุว่า ระบบผลิตไฟฟ้าจะปรับเปลี่ยนจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ไปสู่พลังงานทดแทนมากขึ้น
และยังจำกัดปริมาณการปลดปล่อย CO2 เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
ทั้งหมดนี้ กำลังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไฟฟ้าในประเทศไทย
หนึ่งในนั้นคือ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO Group ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่รายแรกของประเทศไทย (Independent Power Producer - IPP) ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2535
ซึ่งผ่านช่วงเวลาของการบุกเบิก ก่อร่างสร้างตัว ค่อย ๆ ขยายธุรกิจจากไทยไปในอาเซียนและเอเชียแปซิฟิก
หนึ่งในนั้นคือ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO Group ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่รายแรกของประเทศไทย (Independent Power Producer - IPP) ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2535
ซึ่งผ่านช่วงเวลาของการบุกเบิก ก่อร่างสร้างตัว ค่อย ๆ ขยายธุรกิจจากไทยไปในอาเซียนและเอเชียแปซิฟิก
จนถึงปัจจุบัน EGCO Group มีกำลังผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงหลากหลายชนิด ทั้งฟอสซิล และพลังงานหมุนเวียน (Renewable) รวมมากกว่า 6,000 เมกะวัตต์
จากการลงทุนใน 8 ประเทศ และตั้งเป้าหมายที่จะขยายธุรกิจ โดยไม่จำกัดพื้นที่การลงทุนอีกต่อไป
จากการลงทุนใน 8 ประเทศ และตั้งเป้าหมายที่จะขยายธุรกิจ โดยไม่จำกัดพื้นที่การลงทุนอีกต่อไป
แล้วความสำเร็จตลอด 30 ปีที่ผ่านมาของ EGCO Group จะช่วยผลักดันให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไป
ในขณะที่สังคมโลกกำลังเข้าสู่ยุคสังคมคาร์บอนต่ำได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ในขณะที่สังคมโลกกำลังเข้าสู่ยุคสังคมคาร์บอนต่ำได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ปฏิเสธไม่ได้ว่า อุตสาหกรรมไฟฟ้าและพลังงาน กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่
จากแรงกดดันที่เรียกว่า 4D+1E ซึ่งก็คือ
จากแรงกดดันที่เรียกว่า 4D+1E ซึ่งก็คือ
- Digitalization การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว
- Decarbonization การลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจก
- Decentralization การกระจายศูนย์ของแหล่งผลิตพลังงาน เช่น โซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน ทำให้คนทั่วไปสามารถผลิตไฟฟ้าได้เอง
- Deregulation การปรับปรุงกฎระเบียบในด้านต่าง ๆ เช่น การกำหนดมาตรการภาษี CO2
- Electrification ความนิยมใช้พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น
- Decarbonization การลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจก
- Decentralization การกระจายศูนย์ของแหล่งผลิตพลังงาน เช่น โซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน ทำให้คนทั่วไปสามารถผลิตไฟฟ้าได้เอง
- Deregulation การปรับปรุงกฎระเบียบในด้านต่าง ๆ เช่น การกำหนดมาตรการภาษี CO2
- Electrification ความนิยมใช้พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น
พอเป็นแบบนี้ สิ่งสำคัญที่ EGCO Group เลือกทำเป็นอันดับแรก ๆ
คือ การตั้งเป้าหมายใหม่ ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับสังคมคาร์บอนต่ำในอนาคต
คือ การตั้งเป้าหมายใหม่ ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับสังคมคาร์บอนต่ำในอนาคต
โดยภายในปี 2573 EGCO Group ตั้งเป้าสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นเป็น 30%
และลดการปล่อยปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยไฟฟ้าที่ผลิตได้ (Carbon Emission Intensity) 10%
และภายในปี 2593 EGCO Group จะเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutral อย่างเต็มตัว
และลดการปล่อยปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยไฟฟ้าที่ผลิตได้ (Carbon Emission Intensity) 10%
และภายในปี 2593 EGCO Group จะเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutral อย่างเต็มตัว
แล้ว EGCO Group ปรับตัวอย่างไร เพื่อไปสู่เป้าหมายเหล่านี้ ?
ข้อแรกคือ EGCO Group มุ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืน
ภายใต้แนวคิดองค์กร Cleaner, Smarter and Stronger to Drive Sustainable Growth
อธิบายง่าย ๆ ก็คือ
ภายใต้แนวคิดองค์กร Cleaner, Smarter and Stronger to Drive Sustainable Growth
อธิบายง่าย ๆ ก็คือ
- Cleaner คือ การมุ่งลงทุนในธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
และเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงาน เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน
- Smarter คือ การสร้างระบบไฟฟ้าที่มั่นคง
และการลงทุนในธุรกิจที่มีการเติบโตสูง หรือ New S-Curve ให้สอดรับกับ Digital Disruption
และเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงาน เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน
- Smarter คือ การสร้างระบบไฟฟ้าที่มั่นคง
และการลงทุนในธุรกิจที่มีการเติบโตสูง หรือ New S-Curve ให้สอดรับกับ Digital Disruption
- Stronger คือ การหาพันธมิตรทางธุรกิจ
เพื่อสร้างการเติบโตร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน และสร้างผลตอบแทนสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น
เพื่อสร้างการเติบโตร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน และสร้างผลตอบแทนสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น
ข้อต่อมาคือ การดำเนินธุรกิจด้วยกลยุทธ์ “4I” ครอบคลุมการทำงานรอบด้าน ประกอบไปด้วย
- Invest คือ การลงทุนในสินทรัพย์ที่เติบโตอย่างยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว
- Increase คือ การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการเงิน และพัฒนากระบวนการทำงานสู่สังคมดิจิทัล
- Improve คือ การปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และบริหารสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้มีความเป็นเลิศในระดับสากล
- Innovate คือ การขับเคลื่อนธุรกิจด้วยนวัตกรรมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน
- Increase คือ การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการเงิน และพัฒนากระบวนการทำงานสู่สังคมดิจิทัล
- Improve คือ การปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และบริหารสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้มีความเป็นเลิศในระดับสากล
- Innovate คือ การขับเคลื่อนธุรกิจด้วยนวัตกรรมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน
ถึงตรงนี้ พูดได้ว่า EGCO Group ปรับตัวครั้งใหญ่ ทั้งด้านแนวคิดขององค์กร และกลยุทธ์ในการทำธุรกิจจริง ๆ
ทีนี้ เราลองมาดูผลลัพธ์จากการปรับตัวของ EGCO Group กันบ้าง
ปัจจุบัน EGCO Group ขยายธุรกิจจาก “ผู้ผลิตไฟฟ้า” ไปเป็น “ธุรกิจพลังงานครบวงจร”
โดยแบ่งธุรกิจออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ
โดยแบ่งธุรกิจออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ
- ธุรกิจต้นน้ำ คือ ธุรกิจเชื้อเพลิงและสาธารณูปโภคที่เกี่ยวเนื่องกับพลังงาน
เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจหลัก ได้แก่ โครงการขยายระบบขนส่งน้ำมันทางท่อไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
“ทีพีเอ็น” การได้รับใบอนุญาตจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย และนิคมอุตสาหกรรมเอ็กโกระยอง
เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจหลัก ได้แก่ โครงการขยายระบบขนส่งน้ำมันทางท่อไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
“ทีพีเอ็น” การได้รับใบอนุญาตจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย และนิคมอุตสาหกรรมเอ็กโกระยอง
- ธุรกิจกลางน้ำ คือ ธุรกิจไฟฟ้า ซึ่งเป็นธุรกิจหลักและรากฐานความแข็งแกร่งของ EGCO Group
ปัจจุบัน EGCO Group มีกำลังผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้น รวมทั้งสิ้น 6,079 เมกะวัตต์ (รวมโรงไฟฟ้าที่เดินเครื่องเชิงพาณิชย์แล้ว และโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง)
โดยมีกำลังผลิตจากพลังงานหมุนเวียนรวมสูงถึง 1,424 เมกะวัตต์ ทั้งจากชีวมวล พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ และเซลล์เชื้อเพลิง
ใน 8 ประเทศ คือ ไทย, สปป.ลาว, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย, ออสเตรเลีย, เกาหลีใต้, ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา
ใน 8 ประเทศ คือ ไทย, สปป.ลาว, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย, ออสเตรเลีย, เกาหลีใต้, ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา
- ธุรกิจปลายน้ำ คือ ธุรกิจ Customer Solution & Startup เป็นการต่อยอดธุรกิจหลักด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงาน รวมถึงธุรกิจ New S-Curve ผ่านการลงทุนในบริษัทด้านการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรม “อินโนพาวเวอร์”
และบริษัทเทคโนโลยีด้านการเงิน “เพียร์ พาวเวอร์” เป็นต้น
และบริษัทเทคโนโลยีด้านการเงิน “เพียร์ พาวเวอร์” เป็นต้น
แม้ว่าในปัจจุบัน รายได้หลักของ EGCO Group จะมาจากธุรกิจโรงไฟฟ้าเป็นหลัก
แต่นั่นก็ทำให้ EGCO Group มีสภาพคล่องแข็งแกร่ง และมีกระแสเงินสดที่คาดการณ์ได้จากสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว ทั้งยังมีธุรกิจด้านการเดินเครื่องและบำรุงรักษา (O&M) และบริการด้านวิศวกรรมอย่างบริษัท เอ็กโก เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (เอสโก) ช่วยสร้างรายได้เสริม
แต่นั่นก็ทำให้ EGCO Group มีสภาพคล่องแข็งแกร่ง และมีกระแสเงินสดที่คาดการณ์ได้จากสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว ทั้งยังมีธุรกิจด้านการเดินเครื่องและบำรุงรักษา (O&M) และบริการด้านวิศวกรรมอย่างบริษัท เอ็กโก เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (เอสโก) ช่วยสร้างรายได้เสริม
ที่สำคัญ การเข้ามาของธุรกิจต้นน้ำ และธุรกิจปลายน้ำของ EGCO Group
ไม่เพียงแต่จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจหลักอย่างโรงไฟฟ้า
แต่ยังเป็นการเปิดโอกาสใหม่ ๆ เพื่อสร้าง New S-Curve ในอนาคตได้ อีกด้วย
ไม่เพียงแต่จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจหลักอย่างโรงไฟฟ้า
แต่ยังเป็นการเปิดโอกาสใหม่ ๆ เพื่อสร้าง New S-Curve ในอนาคตได้ อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การปรับตัวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำของ EGCO Group
นอกจากจะเพิ่มโอกาสทางธุรกิจแล้ว อีกหนึ่งเรื่องสำคัญคือ การทำเพื่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคม
นอกจากจะเพิ่มโอกาสทางธุรกิจแล้ว อีกหนึ่งเรื่องสำคัญคือ การทำเพื่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคม
หลายคนอาจจะไม่รู้ว่า EGCO Group ยึดถือแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ ESG (Environmental, Social, and Governance) ภายใต้ความเชื่อเรื่อง “ต้นทางดี…จะก่อกำเนิดผลลัพธ์ปลายทางที่ดี” มาโดยตลอดกว่า 30 ปี
EGCO Group จึงทำทุกอย่างโดยเริ่มที่ “ต้นทาง” ตั้งแต่
- การปลูกจิตสำนึกพนักงาน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นขององค์กร ให้คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย
- การดูแลคุณภาพชีวิตชุมชนรอบโรงไฟฟ้าในทุกพื้นที่ดำเนินกิจการ ซึ่งเป็นต้นทางของสังคม
- การดูแลคุณภาพชีวิตชุมชนรอบโรงไฟฟ้าในทุกพื้นที่ดำเนินกิจการ ซึ่งเป็นต้นทางของสังคม
- การส่งเสริมการเรียนรู้เรื่อง “พลังงาน” และ “สิ่งแวดล้อม” ในเยาวชน ซึ่งเป็นต้นทางอนาคตของประเทศ
- การอนุรักษ์ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศ และป่าต้นน้ำ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดพลังงาน และต้นทางของชีวิต
โดยมีตัวอย่างการดำเนินงานที่ผ่านมา เช่น
- พนักงานจิตอาสาริเริ่มโครงการคัดแยกขยะภายในองค์กร
เพื่อร่วมสร้าง EGCO Ecosystem ที่ดี ก่อนขยายผลไปยังชุมชน
เพื่อร่วมสร้าง EGCO Ecosystem ที่ดี ก่อนขยายผลไปยังชุมชน
- การปรับปรุงโรงไฟฟ้าที่หยุดเดินเครื่องเชิงพาณิชย์แล้ว ให้เป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนด้านพลังงานอย่าง “ศูนย์เรียนรู้โรงไฟฟ้าขนอม” และการพัฒนาหลักสูตรครูพลังงานออนไลน์
- การสำรวจและดูแลทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า
- การร่วมอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำสำคัญของประเทศ ผ่าน “มูลนิธิไทยรักษ์ป่า” ที่ดำเนินงานมากว่า 20 ปี
สุดท้ายแล้ว ถ้าถามว่า เราได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องราวของ EGCO Group ในครั้งนี้
คำตอบนอกเหนือจากการปรับตัวเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจอย่างต่อเนื่องแล้ว
คำตอบนอกเหนือจากการปรับตัวเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจอย่างต่อเนื่องแล้ว
ก็น่าจะเป็นข้อคิดที่ว่า นอกจาก “ตัวเลขรายได้” ธุรกิจของเราให้ความสำคัญกับ “สิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคม” บ้างหรือยัง…
สามารถอ่านบทความ “30 ปี EGCO Group จากผู้ผลิตไฟฟ้า สู่ผู้สร้างพลังงานครบวงจรอย่างยั่งยืน” ได้ที่ https://www.facebook.com/longtunman/posts/1425513461314591