ทำไม TAL Education มูลค่าหายไป 1.8 ล้านล้านบาท ในปีเดียว
ทำไม TAL Education มูลค่าหายไป 1.8 ล้านล้านบาท ในปีเดียว /โดย ลงทุนแมน
การแข่งขันทางการศึกษาในประเทศจีนถือว่ามีความเข้มข้นอันดับต้น ๆ ของโลก
ถึงขนาดที่ว่าสามารถทำให้ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาในประเทศอย่าง “TAL Education”
ขึ้นแท่นเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากถึง 1,940,000 ล้านบาท ในช่วงต้นปี 2021
เติบโตขึ้นเป็น 33 เท่าหลังจากการจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้เพียง 11 ปี
ขึ้นแท่นเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากถึง 1,940,000 ล้านบาท ในช่วงต้นปี 2021
เติบโตขึ้นเป็น 33 เท่าหลังจากการจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้เพียง 11 ปี
แต่รู้หรือไม่ มูลค่าบริษัท TAL Education ในวันนี้ กลับเหลือเพียง 74,000 ล้านบาท
หรือร่วงจากจุดสูงสุดมากกว่า 95% ซึ่งเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นในระยะเวลาเพียงปีเดียว..
หรือร่วงจากจุดสูงสุดมากกว่า 95% ซึ่งเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นในระยะเวลาเพียงปีเดียว..
TAL Education เริ่มต้นธุรกิจมาอย่างไร
มันเกิดอะไรขึ้นกับบริษัทแห่งนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 2 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
TAL Education หรือ Tomorrow Advancing Life Education คือหนึ่งในธุรกิจกวดวิชารายใหญ่ในประเทศจีน ได้ก่อตั้งธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2003
มันเกิดอะไรขึ้นกับบริษัทแห่งนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 2 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
TAL Education หรือ Tomorrow Advancing Life Education คือหนึ่งในธุรกิจกวดวิชารายใหญ่ในประเทศจีน ได้ก่อตั้งธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2003
โดยคุณ Zhang Bangxin ที่ในช่วงแรกรับงานพาร์ตไทม์ด้วยการติวหนังสือให้แก่เด็กนักเรียน และเห็นโอกาสจากการแข่งขันทางการศึกษาที่สูงมากในประเทศจีน
จึงได้ก่อตั้งบริษัทติวเตอร์ที่มีชื่อว่า “Xueersi” และเปิดให้บริการสาขาแรกที่กรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของประเทศจีน
จากการใส่ใจในคุณภาพการสอนเป็นหลัก ด้วยการปรับปรุงรูปแบบการสอน และประเมินคุณภาพการสอนของบุคลากรอยู่ตลอดเวลา
อีกทั้งยังมีหลักสูตรการสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ไปจนถึงชั้นมัธยม
รวมถึงคลาสเรียนมากกว่า 9 วิชา ซึ่งมีทั้งการสอนแบบออนไลน์และออฟไลน์
รวมถึงคลาสเรียนมากกว่า 9 วิชา ซึ่งมีทั้งการสอนแบบออนไลน์และออฟไลน์
ทำให้ Xueersi เติบโตอย่างรวดเร็ว และสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กได้สำเร็จในปี 2010
ก่อนที่ในเวลาต่อมา จะเปลี่ยนชื่อเป็น “TAL Education Group” ในปี 2013
หลังจากนั้นเพียง 7 ปี TAL ก็มีสถาบันกวดวิชากว่า 936 สาขาทั่วประเทศจีน
ทำให้บริษัทมีรายได้และกำไรเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด
จนในช่วงต้นปี 2021 มีมูลค่ามากถึง 1,940,000 ล้านบาท
หลังจากนั้นเพียง 7 ปี TAL ก็มีสถาบันกวดวิชากว่า 936 สาขาทั่วประเทศจีน
ทำให้บริษัทมีรายได้และกำไรเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด
จนในช่วงต้นปี 2021 มีมูลค่ามากถึง 1,940,000 ล้านบาท
แต่แล้วอยู่ดี ๆ TAL Education ก็ได้เผชิญเข้ากับปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้
ปัจจัยที่ว่านั้น มีชื่อว่า “รัฐบาลจีน” ที่ได้เข้ามาควบคุมและออกนโยบายสำหรับธุรกิจการศึกษาครั้งใหญ่
ปัจจัยที่ว่านั้น มีชื่อว่า “รัฐบาลจีน” ที่ได้เข้ามาควบคุมและออกนโยบายสำหรับธุรกิจการศึกษาครั้งใหญ่
แล้วทำไมรัฐบาลจีนต้องมาควบคุมอุตสาหกรรมนี้ ?
เราคงจะเคยได้ยินว่าในสมัยก่อน รัฐบาลจีนได้ออกกฎหมายที่กำหนดให้ครอบครัวจีนแต่ละบ้านสามารถมีลูกได้ไม่เกิน 1 คน เนื่องจากประเทศเผชิญกับภาวะอดอยากครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของจีน หรือ “Great Chinese Famine” ในช่วงปี 1959 ถึงปี 1961 ซึ่งคาดกันว่ามีชาวจีนต้องอดตายสูงถึง 55 ล้านคน
เหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ประเทศจีนภายใต้การนำของเติ้ง เสี่ยวผิง ได้ออกนโยบายลูกคนเดียวมาใช้ครั้งแรกในปี 1978
เพื่อควบคุมจำนวนประชากรที่มีมากเกินกว่าทรัพยากรภายในประเทศ ซึ่งในเวลาต่อมา ก็ได้ทำให้จำนวนเด็กเกิดใหม่ในแต่ละปีมีจำนวนลดลง
แต่ผลข้างเคียงจากนโยบายดังกล่าว ก็ได้ทำให้ประเทศจีนมีสัดส่วนของผู้สูงอายุต่อจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่คนวัยทำงานก็กำลังเข้าสู่วัยเกษียณ
เมื่อจำนวนคนหนุ่มสาวที่มี ดูเหมือนจะไม่สามารถทดแทนแรงงานที่กำลังหายไปจากระบบได้
ประกอบกับปัญหาของสังคมผู้สูงอายุ อย่างที่กำลังเกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน
ในที่สุด รัฐบาลจีนจึงกลับมาอนุญาตให้ชาวจีนมีลูกได้ครอบครัวละ 3 คน
ประกอบกับปัญหาของสังคมผู้สูงอายุ อย่างที่กำลังเกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน
ในที่สุด รัฐบาลจีนจึงกลับมาอนุญาตให้ชาวจีนมีลูกได้ครอบครัวละ 3 คน
แต่ดูเหมือนว่าปัญหาหลักของจำนวนประชากรที่ลดลง ไม่ได้มาจากเพียงนโยบายของรัฐ
แต่ยังมาจากค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตร ที่สูงมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะ “ค่าใช้จ่ายทางการศึกษา”
แต่ยังมาจากค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตร ที่สูงมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะ “ค่าใช้จ่ายทางการศึกษา”
เนื่องจากสังคมจีนมีการแข่งขันทางการศึกษามายาวนาน เช่น การสอบเข้ารับราชการ ทำให้ชาวจีนเชื่อว่า เด็กที่เรียนดี ก็จะมีอาชีพการงานที่ดีตามไปด้วย
ความเชื่อดังกล่าวก็ได้ทำให้การแข่งขันทางการศึกษาของจีนมีความเข้มข้นอย่างมาก
บรรดาพ่อแม่ ผู้ปกครองต่างก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก เพื่อให้ลูกได้เรียนพิเศษเพิ่มเติมนอกเวลา
เพื่อที่จะแย่งชิงที่นั่งในสถานศึกษาชั้นนำของประเทศ ทำให้นักเรียนชาวจีนหลายคนอาจจะต้องใช้เวลาไปกับการเรียนทั้งในและนอกโรงเรียนไปกว่า 17 ชั่วโมงต่อวัน
เพื่อที่จะแย่งชิงที่นั่งในสถานศึกษาชั้นนำของประเทศ ทำให้นักเรียนชาวจีนหลายคนอาจจะต้องใช้เวลาไปกับการเรียนทั้งในและนอกโรงเรียนไปกว่า 17 ชั่วโมงต่อวัน
โดยบรรดาพ่อแม่อาจจะต้องจ่ายค่าเรียนพิเศษให้กับลูก 1 คน เฉลี่ย 63,000 บาทต่อปี
และสำหรับครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวย อาจจะจ่ายค่าเรียนพิเศษสูงถึง 1,600,000 บาทต่อปี
และสำหรับครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวย อาจจะจ่ายค่าเรียนพิเศษสูงถึง 1,600,000 บาทต่อปี
ซึ่งมีรายงานว่า ครอบครัวยากจนในบางเขตของเซี่ยงไฮ้มีรายได้ต่อปีเฉลี่ย 260,000 บาท
แต่กลุ่มคนเหล่านี้ กลับต้องจ่ายเงิน 70% ของรายได้ไปกับการเลี้ยงดูบุตร 1 คน
หรือคิดเป็นจำนวนเงินกว่า 182,000 บาทต่อปี เลยทีเดียว..
แต่กลุ่มคนเหล่านี้ กลับต้องจ่ายเงิน 70% ของรายได้ไปกับการเลี้ยงดูบุตร 1 คน
หรือคิดเป็นจำนวนเงินกว่า 182,000 บาทต่อปี เลยทีเดียว..
ด้วยค่าใช้จ่ายที่สูง รวมทั้งการเกิดมาเป็นลูกคนเดียวของครอบครัว และยังมีภาระที่ต้องเลี้ยงดูพ่อแม่อีกในอนาคต ทำให้คนหนุ่มสาวในจีนเลือกที่จะไม่มีลูก เนื่องจากแบกรับค่าใช้จ่ายไม่ไหว
เมื่อเรื่องเป็นแบบนี้ รัฐบาลจีนจึงเข้ามากำกับดูแลภาคการศึกษาของจีน
โดยเฉพาะอุตสาหกรรมติวเตอร์ ที่ดูดเวลานอกโรงเรียนจากเด็ก ๆ ไปหลายชั่วโมงต่อสัปดาห์
โดยเฉพาะอุตสาหกรรมติวเตอร์ ที่ดูดเวลานอกโรงเรียนจากเด็ก ๆ ไปหลายชั่วโมงต่อสัปดาห์
โดยสิ่งที่รัฐบาลทำก็คือการออกกฎต่าง ๆ เข้ามาควบคุม
โดยให้เหตุผลว่าเพื่อสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา
และลดความเครียดของเด็ก ๆ ชาวจีน ที่ควรจะเอาเวลาไปทำกิจกรรมอย่างอื่นบ้าง
โดยให้เหตุผลว่าเพื่อสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา
และลดความเครียดของเด็ก ๆ ชาวจีน ที่ควรจะเอาเวลาไปทำกิจกรรมอย่างอื่นบ้าง
ตัวอย่างข้อห้ามที่เกิดขึ้นก็เช่น
- ห้ามสอนพิเศษในวันเสาร์-อาทิตย์
- ไม่ออกใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบการรายใหม่ ที่จะสอนหลักสูตรเดียวกับในโรงเรียนปกติ
- สั่งยกเลิกคอร์สเรียนสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ทั้งหมด
- ไม่ออกใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบการรายใหม่ ที่จะสอนหลักสูตรเดียวกับในโรงเรียนปกติ
- สั่งยกเลิกคอร์สเรียนสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ทั้งหมด
และยังมีการตรวจสอบโรงเรียนกวดวิชาที่เปิดดำเนินการอยู่แล้วอย่างเข้มงวดให้ปรับหลักสูตรและตารางการสอนตามที่รัฐกำหนด
รวมถึงการห้ามระดมทุนหรือจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นการปิดโอกาสแจ้งเกิดของบรรดาโรงเรียนกวดวิชาจำนวนมากในประเทศจีน
นอกจากโรงเรียนกวดวิชาแล้ว บรรดาติวเตอร์รายย่อยก็โดนข้อห้ามไปด้วย
อย่างเช่น การห้ามติวเตอร์สอนออนไลน์ หรือนัดสอนตามคาเฟ และต้องสอนในสถานที่ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
อย่างเช่น การห้ามติวเตอร์สอนออนไลน์ หรือนัดสอนตามคาเฟ และต้องสอนในสถานที่ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
พูดง่าย ๆ ก็คือ อุตสาหกรรมโรงเรียนกวดวิชา จะถูกรัฐควบคุมทุกส่วนของกิจการ
ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรการสอน บุคลากร หรือแม้แต่ผู้ประกอบการรายใหญ่
ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรการสอน บุคลากร หรือแม้แต่ผู้ประกอบการรายใหญ่
ซึ่งมีแนวโน้มว่า รัฐบาลจีนพยายามที่จะผลักดันให้ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชา
กลายเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรอีกด้วย
กลายเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรอีกด้วย
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาจึงได้รับผลกระทบทันที
ซึ่งมันก็ได้สะท้อนไปยังบริษัทติวเตอร์จีน ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์
หนึ่งในนั้นก็คือ TAL ที่ได้มีมูลค่าลดลงจากจุดสูงสุดที่ราว 1,940,000 ล้านบาท
เหลือเพียง 74,000 ล้านบาท หรือลดลงกว่า 95%
ซึ่งมันก็ได้สะท้อนไปยังบริษัทติวเตอร์จีน ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์
หนึ่งในนั้นก็คือ TAL ที่ได้มีมูลค่าลดลงจากจุดสูงสุดที่ราว 1,940,000 ล้านบาท
เหลือเพียง 74,000 ล้านบาท หรือลดลงกว่า 95%
และแน่นอนว่าเรื่องแบบนี้ก็เกิดขึ้นกับหุ้นโรงเรียนกวดวิชารายอื่น ๆ ที่ประกอบธุรกิจในจีน ยกตัวอย่างเช่น
- New Oriental Education & Technology Group ที่มูลค่าลดลง 90% จากจุดสูงสุด
- Koolearn Technology Holding มูลค่าลดลง 88% จากจุดสูงสุด
- Koolearn Technology Holding มูลค่าลดลง 88% จากจุดสูงสุด
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้ก็ถือเป็นอีกกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
ทั้งในมุมของการเป็นนักลงทุนและผู้ประกอบการ
ทั้งในมุมของการเป็นนักลงทุนและผู้ประกอบการ
เพราะมันแสดงให้เห็นถึงเหตุการณ์ไม่คาดฝันและผลกระทบจากปัจจัยภายนอก
ที่ถึงแม้ว่าเราคิดว่าตัวเองศึกษาและทำการบ้าน มาดีขนาดไหน
หรือธุรกิจจะมีความแข็งแกร่ง และกำลังอยู่ในยุครุ่งเรืองมากเพียงใด
แต่ก็สามารถพังทลายลงได้ ถ้ามันขัดแย้งกับกฎระเบียบของภาครัฐ..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 2 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.abc.net.au/news/2021-08-20/china-crackdown-private-tutoring/100392352
-https://www.reuters.com/world/china/cost-having-child-china-2021-06-01/
-https://www.longtunman.com/30197
-https://www.forbes.com/sites/graisondangor/2021/07/24/china-bans-for-profit-tutoring-in-reforms-aimed-at-boosting-the-birth-rate/?sh=266e42a453a5
-https://finance.yahoo.com/quote/TAL/financials?p=TAL
-https://www.longtunman.com/27291
-https://ir.100tal.com/static-files/8e3b644a-8b55-41dc-841a-0354574f08e7
ที่ถึงแม้ว่าเราคิดว่าตัวเองศึกษาและทำการบ้าน มาดีขนาดไหน
หรือธุรกิจจะมีความแข็งแกร่ง และกำลังอยู่ในยุครุ่งเรืองมากเพียงใด
แต่ก็สามารถพังทลายลงได้ ถ้ามันขัดแย้งกับกฎระเบียบของภาครัฐ..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 2 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.abc.net.au/news/2021-08-20/china-crackdown-private-tutoring/100392352
-https://www.reuters.com/world/china/cost-having-child-china-2021-06-01/
-https://www.longtunman.com/30197
-https://www.forbes.com/sites/graisondangor/2021/07/24/china-bans-for-profit-tutoring-in-reforms-aimed-at-boosting-the-birth-rate/?sh=266e42a453a5
-https://finance.yahoo.com/quote/TAL/financials?p=TAL
-https://www.longtunman.com/27291
-https://ir.100tal.com/static-files/8e3b644a-8b55-41dc-841a-0354574f08e7