กรณีศึกษา Nestlé ประเทศไทย กับ Roadmap เพื่อความยั่งยืน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

กรณีศึกษา Nestlé ประเทศไทย กับ Roadmap เพื่อความยั่งยืน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

กรณีศึกษา Nestlé ประเทศไทย กับ Roadmap เพื่อความยั่งยืน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
Nestlé X ลงทุนแมน
หากใครที่ติดตามข่าวสารแวดวงธุรกิจระดับโลก
คงเคยได้ยินข่าวของ Nestlé บริษัทผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มที่มีสินค้ากว่า 2,000 แบรนด์
ได้ประกาศแผนงานสู่เป้าหมาย Net Zero
หรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050
เหตุผลของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ก็เพราะตลอดเวลาที่ Nestlé ทำธุรกิจมานานกว่า 150 ปี
ได้มองเห็นสุขภาพของโลกใบนี้กำลังอ่อนแอลงเรื่อย ๆ
สังเกตได้จากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น จำนวนขยะที่มากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นต้น
ซึ่งเรื่องนี้ Nestlé ก็รู้ดีว่า หากต้องการจะเป็นบริษัทที่ยั่งยืนในอนาคต
ก็ต้องทำให้สังคมและสิ่งแวดล้อมมีการพัฒนาอย่างมั่นคงและแข็งแรงไปพร้อม ๆ กัน
เมื่อมีความคิดเช่นนี้ ก็เลยทำให้ Nestlé ตื่นตัว และได้วางเป้าหมายภายในปี 2050 ต้องการจะเป็นบริษัท Net Zero ซึ่งก็รวมถึง Nestlé ประเทศไทย ด้วยเช่นกัน
แล้วเรื่องนี้ ก็กำลังเกี่ยวข้องกับเราทุกคน
เพราะเชื่อว่า คนไทยหลายคนต่างเคยใช้สินค้าของ Nestlé ที่มีกว่า 40 แบรนด์
ตั้งแต่เครื่องดื่ม, อาหาร, ไอศกรีม, ขนม ไปจนถึงอาหารสัตว์เลี้ยง
อีกทั้ง Nestlé ก็ทำธุรกิจในประเทศไทยมานาน 128 ปี ย่อมสร้างความคุ้นเคยให้หลายคนเป็นอย่างดี
คำถามก็คือ แล้ว Nestlé ประเทศไทยจะใช้วิธีไหน
เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายNet Zero ภายในปี 2050
แล้วการดำเนินธุรกิจแบบนี้จะส่งผลดีกับตัวเราอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
รู้หรือไม่ว่า Roadmap Net Zero ของ Nestlé ประเทศไทย
เป็นการสร้างความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
หรือสรุปสั้น ๆ คือตั้งแต่จัดหาวัตถุดิบในการผลิต จนสินค้าถึงมือผู้บริโภค
โดยกระบวนการทุกอย่างเมื่อคำนวณรวมทั้งหมดแล้วต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิมีค่าเป็นศูนย์ ภายในปี 2050
คำถามก็คือแล้วมีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ?
คำตอบของ Nestlé ประเทศไทยคือมีอยู่ 4 เรื่องหลัก ๆ นั่นคือ
1. บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก
รู้หรือไม่ว่าในปี 2021 ทาง Nestlé ตั้งเป้าว่าจะสามารถลดการใช้พลาสติกผลิตใหม่ได้ถึง 470 ตัน
หลายคนคงสงสัยว่าแล้ว Nestlé มีวิธีไหนบ้างที่จะทำให้เรื่องนี้เป็นจริง
ซึ่งต้องบอกว่ามีหลายอย่างเลยทีเดียว
เช่น การลดปริมาณการใช้พลาสติกผลิตใหม่ในการผลิตขวดน้ำดื่ม และพลาสติกหุ้มแพค
หรือจะเป็นการเปลี่ยนจากหลอดพลาสติกมาเป็นหลอดกระดาษโค้งงอในกลุ่มสินค้า UHT
ที่จะลดการใช้หลอดพลาสติกมากกว่า 500 ล้านหลอดในปี 2021
ขณะเดียวกันก็ยังพัฒนาซองไอศกรีมเป็นแบบกระดาษไม่เคลือบพลาสติก
ซึ่งทำได้เป็นครั้งแรกในธุรกิจไอศกรีมในประเทศไทย
นอกจากนั้น Nestlé ยังคิดค้นนวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนให้บรรจุภัณฑ์สามารถรีไซเคิลได้ เช่น ซองแบบ monostructure ผลิตจากพลาสติกประเภทเดียวกัน สามารถนำไปรีไซเคิลได้
จนถึงกาแฟกระป๋องก็จะเป็นการใช้อะลูมิเนียมที่รีไซเคิลได้ 100%
ทำให้บรรจุภัณฑ์ทั้งหมดของ Nestlé ในประเทศไทยกว่า 90%
สามารถนำไปรีไซเคิลได้
2. ดูแลและจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน
ปัจจุบันภาพรวมการผลิตสินค้าของ Nestlé ในอัตรา 1 ตัน
จะสามารถลดการใช้น้ำได้ถึง 4.8% หากเทียบกับในปี 2018
เหตุผลก็เพราะทางบริษัทได้ลงทุนใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
และมีการจัดการน้ำในโรงงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง

ขณะเดียวกันโรงงานผลิตน้ำดื่มของ Nestlé 2 แห่ง
คือ โรงงานอยุธยาและสุราษฎร์ธานี ก็ได้การรับรองมาตรฐานดูแลจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน
ระดับสากลจาก Alliance for Water Stewardship (AWS)
ซึ่งเป็นโรงงานผลิตน้ำดื่มบริษัทเดียวในไทยที่ได้รับการรับรองจากสถาบันระดับโลกแห่งนี้
นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่ทำมานาน 7 ปีอย่าง “โครงการเยาวชนพิทักษ์สายน้ำ”
ที่เป็นการร่วมมือกับองค์กรภาคประชาสังคม โรงเรียน ส่วนปกครองท้องถิ่น และชุมชน
เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำให้สะอาดเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำต่าง ๆ
และให้ชุมชนสามารถนำน้ำไปใช้ในการอุปโภคและเกษตรกรรมได้ถึง 1.2 ล้านลูกบาศก์เมตร
3. จัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน
จริง ๆ แล้วเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ทาง Nestlé ประเทศไทย ให้ความสำคัญมานาน
เพราะหากต้นทางธุรกิจอยู่ในแนวคิดความยั่งยืน
ก็ย่อมส่งผลดีต่อกระบวนการผลิตสินค้าไปถึงมือผู้บริโภค
ยกตัวอย่างเช่น สินค้าของ Nestlé ใช้น้ำนมวัวและเมล็ดกาแฟโรบัสต้า
ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน (Sustainable sourcing) 100%
จนถึงโครงการ “Nescafé Plan” ที่นอกจากการกระจายต้นกล้ากาแฟสายพันธุ์ดี 3.5 ล้านต้น
ให้แก่ชาวสวนกาแฟตั้งแต่ปี 2006 แล้วนั้น ก็ยังมีการอบรมให้ความรู้ ในการปลูกกาแฟ
การฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ยังรวมไปถึงการสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟกว่า 2,500 คน
ให้ผ่านเกณฑ์การทำสวนกาแฟตามมาตรฐานสากล 4C
ส่วนในฝั่งฟาร์มโคนม ก็มีการอบรมสอนเทคนิคการให้อาหารวัวเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมดิบให้มากขึ้น
และมีคุณภาพดี รวมทั้งยกระดับฟาร์มให้ตรงตามมาตรฐานสากลด้านสิ่งแวดล้อม
4. ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
รู้หรือไม่ว่ารถไอศกรีมเนสท์เล่ ที่เราคุ้นเคยมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันได้นำร่องใช้เป็นรถสามล้อไฟฟ้า
และในอนาคตอันใกล้จะเปลี่ยนรถยนต์ผู้บริหารให้เป็นรถยนต์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลง ถึง 41% จากจำนวนรถทั้งหมด
และไม่ใช่แค่นั้น Nestlé ยังริเริ่มใช้รถในการขนส่งคิทแคท
เป็นรถพลังงานไฟฟ้าด้วยเช่นกัน
ที่น่าสนใจอีกเรื่องก็คือ โรงงานของ Nestlé ก็กำลังเริ่มหันมาใช้พลังงานหมุนเวียน
อย่างเช่น พลังงานแสงอาทิตย์ และมีการตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2025
ทุกโรงงานผลิตจะใช้พลังงานหมุนเวียน 100%
ขณะเดียวกัน Nestlé ก็ยังลงทุนกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ
เพื่อลดการใช้พลังงาน น้ำ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
อีกทั้งในปัจจุบันโรงงานทุกแห่งไม่มีขยะฝังกลบอีกด้วย
มาถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่าด้วย Roadmap Net Zero ของทาง Nestlé
สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ครบรอบด้าน
ตรงนี้เองที่ทำให้ Nestlé ประเทศไทย มั่นใจว่า ภารกิจการลดตัวเลขการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ในธุรกิจทั้งหมดของตัวเองจะสำเร็จอย่างแน่นอน ภายในปี 2050
ซึ่งเรื่องนี้ ก็เกี่ยวข้องกับเราทุกคนในประเทศเหมือนกัน
เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า ในชีวิตประจำวัน ตัวเราเองก็เป็นผู้ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก
ไม่ว่าจะการขับรถ, การใช้สินค้าที่มีแพ็กเกจจิงที่ไม่สามารถรีไซเคิลใหม่ได้ เป็นต้น
ทีนี้เมื่อ Nestlé กำลังพยายามไปสู่เป้าหมาย Net Zero
นั่นก็แปลว่า ในทุก ๆ วันที่เราใช้สินค้าในเครือ Nestlé
เราเองก็กำลังเป็นส่วนหนึ่งในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นั่นเอง..
Reference:
-เอกสารข่าวและข้อมูลบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จํากัด

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon