ความยิ่งใหญ่ของ McDonald’s ที่จุดเริ่มต้นมาจาก “การหักหลัง”
ความยิ่งใหญ่ของ McDonald’s ที่จุดเริ่มต้นมาจาก “การหักหลัง” /โดย ลงทุนแมน
“McDonald’s” เป็นเชนร้านอาหารฟาสต์ฟูดที่มีจำนวนสาขามากเป็นอันดับ 2 ของโลก เป็นรองเพียง Subway โดยในปัจจุบัน McDonald’s มีมากกว่า 39,000 สาขา ในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก
McDonald’s ได้กลายเป็นหนึ่งในผู้เผยแพร่วัฒนธรรมอาหารฟาสต์ฟูดแบบอเมริกัน ให้กับคนทั่วโลก ผ่านการขยายสาขาด้วยวิธีการขายแฟรนไชส์เป็นหลัก ซึ่งปัจจุบัน รายได้จากการขายแฟรนไชส์ เป็นสัดส่วนราว 57% ของรายได้ทั้งหมด
แต่รู้หรือไม่ว่า ผู้ที่ร่ำรวยไปกับการเติบโตของร้าน McDonald’s กลับไม่ใช่ผู้ก่อตั้ง อย่างสองพี่น้องตระกูล McDonald แต่กลายเป็นชาย ที่มีชื่อว่า “Ray Kroc”
Kroc คือใคร
แล้วเขาเกี่ยวข้องกับร้าน McDonald’s อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปตั้งแต่จุดเริ่มต้นของสองพี่น้องตระกูล McDonald
แล้วเขาเกี่ยวข้องกับร้าน McDonald’s อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปตั้งแต่จุดเริ่มต้นของสองพี่น้องตระกูล McDonald
Richard และ Maurice McDonald เกิดและเติบโตในช่วงต้นทศวรรษ 1900s
ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในครอบครัวผู้อพยพจากไอร์แลนด์ ที่มีฐานะค่อนข้างยากจน
ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในครอบครัวผู้อพยพจากไอร์แลนด์ ที่มีฐานะค่อนข้างยากจน
พ่อของพวกเขา ทำงานเป็นคนจัดการตารางทำงานที่โรงงานผลิตรองเท้า
แต่พออายุได้ 42 ปี เขากลับถูกไล่ออก เพราะทางโรงงานบอกว่าเขาอายุเยอะเกินไป
และแม้ว่าเขาจะทำงานที่นี่มาอย่างยาวนาน แต่ทางบริษัทก็ไม่ได้มีเงินชดเชยใด ๆ
ให้กับคุณพ่อของ McDonald เลย
แต่พออายุได้ 42 ปี เขากลับถูกไล่ออก เพราะทางโรงงานบอกว่าเขาอายุเยอะเกินไป
และแม้ว่าเขาจะทำงานที่นี่มาอย่างยาวนาน แต่ทางบริษัทก็ไม่ได้มีเงินชดเชยใด ๆ
ให้กับคุณพ่อของ McDonald เลย
เรื่องนี้จึงเป็นแรงผลักดันให้พี่น้อง McDonald ตั้งใจว่าโตขึ้น
พวกเขาจะต้องมีชีวิตที่ดีกว่านี้ เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยกับสิ่งที่พ่อพวกเขาต้องเจอ
พวกเขาจะต้องมีชีวิตที่ดีกว่านี้ เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยกับสิ่งที่พ่อพวกเขาต้องเจอ
ทั้งคู่เลยตั้งเป้าหมายว่าจะต้องทำธุรกิจจนมีเงิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้ได้ก่อนอายุ 50 ปี
พอถึงช่วงทศวรรษ 1920s หลังเรียนจบมัธยม สองพี่น้องก็ออกจากบ้านไปสร้างตัว
พอถึงช่วงทศวรรษ 1920s หลังเรียนจบมัธยม สองพี่น้องก็ออกจากบ้านไปสร้างตัว
ด้วยความที่พวกเขาสนใจด้านการกำกับและผลิตภาพยนตร์ ทั้งคู่เลยเดินทางไปที่รัฐแคลิฟอร์เนียและได้เริ่มทำงานที่ “Columbia Movie Studios” โดยจะคอยรับผิดชอบงานรับจ้างทั่วไป
อย่างเช่น การจัดไฟและขับรถขนของ แลกกับเงินราว 25 ดอลลาร์สหรัฐต่อสัปดาห์
อย่างเช่น การจัดไฟและขับรถขนของ แลกกับเงินราว 25 ดอลลาร์สหรัฐต่อสัปดาห์
หลังจากเก็บเงินได้ก้อนหนึ่ง ทั้งคู่เลยลองเริ่มทำธุรกิจเองในปี 1932
เริ่มต้นจากการซื้อโรงภาพยนตร์เก่ามาปรับปรุงแล้วเปิดให้บริการในชื่อ The Beacon
เริ่มต้นจากการซื้อโรงภาพยนตร์เก่ามาปรับปรุงแล้วเปิดให้บริการในชื่อ The Beacon
แต่ในช่วงเวลานั้น ประเทศสหรัฐอเมริกากำลังเผชิญกับเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่
กิจการที่เกี่ยวข้องกับความบันเทิงอย่างโรงภาพยนตร์จึงแทบไม่มีรายได้
กิจการที่เกี่ยวข้องกับความบันเทิงอย่างโรงภาพยนตร์จึงแทบไม่มีรายได้
สองพี่น้อง McDonald จึงต้องใช้ชีวิตอย่างประหยัดด้วยการกินเพียงวันละมื้อ โดยมีเมนูประจำคือฮอตด็อกตรงรถเข็นที่ขายอยู่แถว The Beacon ซึ่งพวกเขาสังเกตเห็นว่าร้านฮอตด็อกเป็นกิจการไม่กี่อย่างที่ยังขายดีมากท่ามกลางวิกฤติ
หลังจากพ้นช่วงเศรษฐกิจตกต่ำไปแล้ว ในปี 1937 สองพี่น้องก็ตัดสินใจขายโรงภาพยนตร์
แล้วหันไปเดิมพันกับธุรกิจอาหารแทน โดยทั้งคู่ก็เริ่มจากขายฮอตด็อกแบบรถเข็น เช่นกัน
แล้วหันไปเดิมพันกับธุรกิจอาหารแทน โดยทั้งคู่ก็เริ่มจากขายฮอตด็อกแบบรถเข็น เช่นกัน
ผ่านไป 2 ปี ฮอตด็อกที่พวกเขาตระเวนขายด้วยรถเข็นก็ไปได้สวย ทั้งคู่เลยเริ่มหาสถานที่เพื่อเปิดเป็นร้านอาหารแบบลงหลักปักฐานในรัฐแคลิฟอร์เนีย จนในที่สุดก็ได้ทำเลที่เมืองซานเบอร์นาร์ดิโน
ในปี 1940 สองพี่น้อง เปิดร้านอาหารแบบไดรฟ์อินที่ชื่อว่า “McDonald’s Bar-B-Que” ซึ่งเป็นร้านอาหารที่ให้ลูกค้าขับรถมาจอดในลานจอดรถของร้านแล้วทานอาหารบนรถ โดยทางร้านก็จะมีพนักงานคอยรับออร์เดอร์และเสิร์ฟอาหารให้ถึงที่รถ ซึ่งเป็นที่นิยมมากในตอนนั้น
หลังจากนั้นไม่นาน McDonald’s Bar-B-Que ก็เริ่มเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นจนลานจอดรถเต็มตลอด ธุรกิจนี้เอง จึงทำให้สองพี่น้อง เริ่มสร้างตัวได้
แต่พอเข้าสู่ปีที่ 8 ก็มีเรื่องให้ทั้งคู่ต้องกลุ้มใจ เพราะแม้ร้านจะคนแน่นตลอด แต่ผลกำไรกลับไม่ได้เพิ่มขึ้นด้วย พวกเขาเลยคิดหาวิธีการเพิ่มกำไร จนได้ข้อสรุปว่าต้องทำทุกอย่างให้ได้เร็วขึ้น เพื่อเพิ่มจำนวนลูกค้าต่อวัน
ในปี 1948 สองพี่น้องเลยปิดร้านชั่วคราวเพื่อปรับปรุงและได้ตัดสินใจลดเมนูลงจาก 25 เมนูเหลือเพียง 3 เมนู โดยมีแฮมเบอร์เกอร์เป็นเมนูหลัก เพราะเป็นเมนูที่ขายดีสุด รวมถึงการปรับลดราคาขาย เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงง่ายขึ้น
นอกจากนี้ ทั้งสองพี่น้องยังมีการปรับระบบการทำงานในครัวใหม่ ตั้งแต่การเตรียมปรุงอาหารไว้จนพร้อมเสิร์ฟมากที่สุด เพื่อให้เวลาที่ลูกค้าสั่งอาหาร ขั้นตอนการปรุงจะได้มีไม่มาก
ซึ่งวิธีแบบนี้ ก็จะทำให้พวกเขาใช้เวลาตั้งแต่เริ่มทำอาหาร ไปจนถึงมือลูกค้า รวดเร็วที่สุด นั่นเอง
ซึ่งวิธีแบบนี้ ก็จะทำให้พวกเขาใช้เวลาตั้งแต่เริ่มทำอาหาร ไปจนถึงมือลูกค้า รวดเร็วที่สุด นั่นเอง
ในขณะเดียวกัน ระบบการทำงานในครัวก็เปลี่ยนมาเป็นระบบที่คล้ายกันกับสายพานการผลิตในโรงงาน คือพนักงาน 1 คนรับผิดชอบหน้าที่เพียงอย่างเดียว แล้วทำสิ่งนั้นซ้ำไปมา
ทั้งนี้ รูปแบบของร้านก็เปลี่ยนจากการมีพนักงานไปรับออร์เดอร์และเสิร์ฟที่รถ กลายมาเป็นให้ลูกค้าขับรถวนสั่งอาหารและรอรับอาหารแทน
โดยระบบร้านใหม่ที่สองพี่น้องช่วยกันคิดนี้ นอกจากจะช่วยลดจำนวนพนักงานลงได้เยอะเพราะไม่ต้องมีพนักงานเสิร์ฟแล้ว ที่สำคัญระบบดังกล่าวก็ได้ทำให้ลูกค้าแต่ละคนใช้เวลารอรับอาหารไม่ถึง 1 นาที
ผ่านไป 3 เดือน ร้านอาหารระบบด่วนแบบใหม่นี้ก็พร้อมให้บริการ โดยใช้ชื่อใหม่ที่ตัดคำว่า Bar-B-Que ออก เหลือเพียง “McDonald’s” และมีเมนูเหลือเพียง
แฮมเบอร์เกอร์ 15 เซนต์
ชีสเบอร์เกอร์ 19 เซนต์
เฟรนช์ฟรายส์ 10 เซนต์
มิลก์เชก 20 เซนต์
ชีสเบอร์เกอร์ 19 เซนต์
เฟรนช์ฟรายส์ 10 เซนต์
มิลก์เชก 20 เซนต์
จากการปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจทั้งหมดที่กล่าวมา ผลลัพธ์กลับกลายเป็นว่ารายได้ของร้านลดลงไปครึ่งหนึ่ง เนื่องจากลูกค้ากลุ่มเดิมส่วนใหญ่บอกว่าเมนูน้อยเกินไป รวมถึงลูกค้าบางคนพอเห็นว่าไม่มีบริการให้พนักงานมาเสิร์ฟอาหารที่รถก็เลยตัดสินใจไม่ใช้บริการ
แต่เมื่อเวลาผ่านไป McDonald’s ก็เริ่มกลับมาขายดีอีกครั้ง เพราะจุดเด่นเรื่องราคาที่เข้าถึงง่ายและเวลาที่ใช้รออาหารไม่ถึงนาที สามารถดึงดูดลูกค้าอีกกลุ่มหนึ่งได้แทน
ความนิยมของ McDonald’s ก็ทำให้ร้าน ได้เริ่มขายแฟรนไชส์ในแถบแคลิฟอร์เนียและแอริโซนา จนมี 21 สาขาในปี 1954
โดยหนึ่งในผู้ที่รับรู้ถึงความนิยมของ McDonald’s คือชายวัย 52 ปี
ที่ชื่อว่า “Ray Kroc” ที่เราได้กล่าวถึงไปตั้งแต่ต้นเรื่อง
แล้วเขาเป็นใคร ?
ที่ชื่อว่า “Ray Kroc” ที่เราได้กล่าวถึงไปตั้งแต่ต้นเรื่อง
แล้วเขาเป็นใคร ?
Kroc เป็นเซลส์ขายเครื่องทำมิลก์เชกมา 15 ปี ซึ่งในช่วงระหว่าง 2 ปีมานี้ เครื่องทำมิลก์เชกเริ่มขายได้ไม่ดีเท่าเมื่อก่อน
แต่ร้านที่ชื่อว่า McDonald’s กลับเป็นร้านที่ใช้เครื่องทำมิลก์เชกมากถึง 8 เครื่อง โดยแต่ละเครื่องสามารถทำมิลก์เชกได้ 5 แก้วต่อครั้ง นั่นหมายความว่าร้านนี้ สามารถทำมิลก์เชกพร้อมกันได้ถึง 40 แก้ว ซึ่งก็นับว่าสวนทางกับยอดขายเครื่องทำมิลก์เชก ที่ปรับตัวลดลง
แถมอยู่ ๆ ก็ได้มีคนติดต่อเขา เพื่อขอซื้อเครื่องทำมิลก์เชกพร้อม ๆ กัน และต้องการสินค้าที่เหมือนกับของร้าน McDonald’s
ด้วยความสงสัย Kroc เลยหาข้อมูลเกี่ยวกับร้านนี้ แล้วพอมีโอกาสไปทำธุระที่ลอสแอนเจลิส เขาเลยแวะไปดูร้าน McDonald’s
ภายนอกของร้าน McDonald’s แม้ว่าจะดูเหมือนร้านทั่วไป แต่กลับมีลูกค้าแน่นมาก
Kroc ใช้เวลาสำรวจร้านจนได้เห็นระบบการทำงานในครัวที่พนักงาน 1 คนรับผิดชอบ 1 หน้าที่ ทำให้ McDonald’s ใช้เวลาทำอาหารให้เสร็จได้ ในระยะเวลาเพียง 30 วินาที เท่านั้น
Kroc ใช้เวลาสำรวจร้านจนได้เห็นระบบการทำงานในครัวที่พนักงาน 1 คนรับผิดชอบ 1 หน้าที่ ทำให้ McDonald’s ใช้เวลาทำอาหารให้เสร็จได้ ในระยะเวลาเพียง 30 วินาที เท่านั้น
จากประสบการณ์ทำงานของ Kroc ทำให้เขาได้เห็นร้านอาหารมามากมาย แต่เขายังไม่เคยเจอร้านที่มีศักยภาพขนาดนี้มาก่อน ทำให้เขามองว่า McDonald’s สามารถขยายสาขาไปได้ทั่วประเทศ
Kroc เลยพูดคุยกับพี่น้อง McDonald เพื่อยื่นข้อเสนอขอเป็นตัวแทนขายแฟรนไชส์ให้กับ McDonald’s
แต่สองพี่น้องปฏิเสธ เพราะทั้งคู่ต้องการขยายกิจการแบบค่อยเป็นค่อยไป และพวกเขาก็พอใจกับความสำเร็จในระดับนี้แล้ว
อย่างไรก็ตาม Kroc ก็ไม่ยอมแพ้ เพราะในทันทีที่เขาเดินทางกลับไปที่ชิคาโก
เขาก็ได้เริ่มร่างสัญญาเพื่อขอสิทธิ์ขายแฟรนไชส์ McDonald’s ทั่วสหรัฐอเมริกา
เขาก็ได้เริ่มร่างสัญญาเพื่อขอสิทธิ์ขายแฟรนไชส์ McDonald’s ทั่วสหรัฐอเมริกา
โดยทุกแฟรนไชส์จะต้องเหมือนกันหมด ทั้งการใช้ชื่อ McDonald’s
รวมถึงโลโกตัว M สีเหลือง จะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เว้นแต่สองพี่น้องจะยินยอม
รวมถึงโลโกตัว M สีเหลือง จะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เว้นแต่สองพี่น้องจะยินยอม
และในสัญญายังระบุว่าเขาจะคิดส่วนแบ่ง 1.9% จากยอดขายของแฟรนไชส์แต่ละสาขา โดย 1.4% เป็นของ Kroc และอีก 0.5% เป็นของพี่น้อง McDonald โดยที่สองพี่น้องไม่ต้องทำอะไรเลย
ด้วยข้อเสนอแบบนี้ จึงทำให้ในท้ายที่สุดแล้ว ทั้งสองพี่น้องจึงยอมตกลงให้ Kroc เป็นตัวแทนขายแฟรนไชส์
ในปี 1955 Kroc ก็ได้เปิดแฟรนไชส์ McDonald’s สาขาแรกที่เมืองเดสเพลนส์ รัฐอิลลินอยส์
ผ่านไป 1 ปี Kroc ขายแฟรนไชส์ได้ 18 สาขา ทุกสาขาขายดี แต่ติดปัญหาว่าทำกำไรไม่ได้
ผ่านไป 1 ปี Kroc ขายแฟรนไชส์ได้ 18 สาขา ทุกสาขาขายดี แต่ติดปัญหาว่าทำกำไรไม่ได้
Harry Sonneborn ซึ่งเป็น CFO ที่ทำงานกับ Kroc ในตอนนั้นให้คำแนะนำว่า ธุรกิจจริง ๆ ของ McDonald’s ไม่ใช่การขายอาหาร แต่เป็นอสังหาริมทรัพย์
ปี 1956 Kroc จึงเปิดบริษัทย่อยด้านอสังหาริมทรัพย์ชื่อ Franchise Realty Corp. เพื่อเป็นเจ้าของที่ดินที่แฟรนไชส์สาขาใหม่ ๆ จะไปเปิด แล้วเรียกเก็บค่าเช่าที่จากผู้ขอแฟรนไชส์อีกทีหนึ่ง ซึ่งการเก็บค่าเช่านี้ ทำเงินให้ McDonald’s ได้มากกว่า ค่าส่วนแบ่งจากยอดขายเสียอีก
โมเดลนี้ก็ทำให้ McDonald’s ที่คุณ Kroc รับผิดชอบมีรายได้และกำไรเติบโตอย่างก้าวกระโดด จนในปี 1960 Kroc ขยายแฟรนไชส์ไปได้กว่า 200 สาขา
แต่ความเร็วในการขยายสาขาระดับนี้ ก็ยังไม่อยู่ในระดับที่ Kroc พอใจ แถมเขากับสองพี่น้อง McDonald ยังมีวิสัยทัศน์การทำธุรกิจที่ไม่เหมือนกัน ทำให้พวกเขาขัดแย้งกันบ่อยครั้ง Kroc เลยเริ่มคิดที่จะเป็นเจ้าของ McDonald’s แต่เพียงผู้เดียว
ปี 1961 Kroc เลยขอซื้อกิจการ McDonald’s มาจากสองพี่น้องในราคา 2.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สองพี่น้องตกลงขายแบรนด์ McDonald’s และขอส่วนแบ่งรายได้ 1.9% ของยอดขายร้าน McDonald’s ทุกสาขาตลอดไป
มาถึงตรงนี้ ความฝันของพี่น้อง McDonald ที่จะมีเงิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในอายุ 50 ปี ก็เป็นจริงแล้ว แถมพวกเขายังจะมีเงินเข้ากระเป๋าจากส่วนแบ่งยอดขายไปตลอด โดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่า Kroc ได้ตอบตกลงเรื่องส่วนแบ่งรายได้ แต่มันก็เป็นสัญญาแบบปากเปล่า เท่านั้น โดยอ้างเหตุผลว่าถ้าระบุเงื่อนไขนี้ในสัญญาแบบลายลักษณ์อักษร จะทำให้เขาขายแฟรนไชส์ได้ยากขึ้น
สุดท้ายแล้ว คำสัญญานั้นก็ลอยหายไปกับอากาศ เพราะ Kroc ตั้งใจแต่แรกแล้วว่าจะไม่ให้ส่วนแบ่ง
สองพี่น้อง McDonald จึงได้เพียงเงิน 2.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ..
อย่างไรก็ตาม ในสัญญาขายร้าน McDonald’s กลับไม่ได้รวมร้าน McDonald’s สาขาแรกไว้ด้วย
ซึ่งสองพี่น้องตั้งใจว่าจะเป็นเจ้าของสาขานี้เองต่อไป แต่จะเปลี่ยนชื่อร้านเป็น The Big M แทน
ซึ่งสองพี่น้องตั้งใจว่าจะเป็นเจ้าของสาขานี้เองต่อไป แต่จะเปลี่ยนชื่อร้านเป็น The Big M แทน
Kroc เพิ่งมารู้เรื่องนี้ทีหลัง ทำให้เขาโกรธสองพี่น้อง McDonald มาก
Kroc เลยมาเปิดร้าน McDonald’s ใกล้กับร้าน The Big M
จนในที่สุดร้านของสองพี่น้องก็ต้องปิดตัวหลังจากนั้น 6 ปี..
Kroc เลยมาเปิดร้าน McDonald’s ใกล้กับร้าน The Big M
จนในที่สุดร้านของสองพี่น้องก็ต้องปิดตัวหลังจากนั้น 6 ปี..
หลังจากนั้น พี่น้อง McDonald ก็ไม่เคยได้เงินจากร้านอาหารที่พวกเขาปลุกปั้นมา อีกเลย
ในปี 1965 McDonald’s ขายแฟรนไชส์ได้กว่า 700 สาขา และทำกำไรได้มากมายจากโมเดลเก็บค่าเช่าที่ โดยในปีนั้น Kroc ก็ได้นำ McDonald’s เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ปัจจุบัน McDonald’s มีมูลค่าบริษัทกว่า 1.85 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 6.2 ล้านล้านบาท มากกว่ามูลค่าที่ Kroc ซื้อกิจการมาจากสองพี่น้องกว่า 68,000 เท่า
และร้าน McDonald’s ได้กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมฟาสต์ฟูดแบบอเมริกัน ที่คนทั่วโลกรู้จักเป็นอย่างดี
ถึงตรงนี้ ถ้าจะให้สรุปว่าความยิ่งใหญ่ของ McDonald’s ในวันนี้ เกิดขึ้นได้เพราะใคร
เราก็คงต้องยกความดีความชอบให้กับทั้งผู้ริเริ่มโมเดลร้านอาหารฟาสต์ฟูด อย่างสองพี่น้อง McDonald
อีกส่วนหนึ่ง ก็น่าจะมาจาก Kroc ผู้ที่เห็นศักยภาพของร้าน McDonald’s มากกว่าใคร และรักษาผลประโยชน์สูงสุดของกิจการ จนถึงขั้นต้องหักหลัง ไม่แบ่งรายได้ให้ ผู้ก่อตั้งที่เริ่มก่อร่างสร้างร้านมาตั้งแต่วันแรก แม้ว่าจะมีสัญญาปากเปล่ากันแล้ว นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.nytimes.com/1998/07/16/business/richard-mcdonald-89-fast-food-revolutionary.html
-https://www.mashed.com/147897/the-tragic-real-life-story-of-the-mcdonald-brothers/
-https://www.theatlantic.com/business/archive/2017/01/ray-kroc-mcdonalds-america/514538/
-https://www.inc.com/jeff-haden/64-years-ago-ray-kroc-made-a-decision-that-completely-transformed-mcdonalds-rest-is-history.html
-https://www.kcet.org/food-living/the-real-mcdonalds-the-san-bernardino-origins-of-a-fast-food-empire
-https://www.entrepreneur.com/article/197544
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.nytimes.com/1998/07/16/business/richard-mcdonald-89-fast-food-revolutionary.html
-https://www.mashed.com/147897/the-tragic-real-life-story-of-the-mcdonald-brothers/
-https://www.theatlantic.com/business/archive/2017/01/ray-kroc-mcdonalds-america/514538/
-https://www.inc.com/jeff-haden/64-years-ago-ray-kroc-made-a-decision-that-completely-transformed-mcdonalds-rest-is-history.html
-https://www.kcet.org/food-living/the-real-mcdonalds-the-san-bernardino-origins-of-a-fast-food-empire
-https://www.entrepreneur.com/article/197544