สรุปประเด็นจากงาน LiVE Demo Day โอกาสใหม่ของ SMEs และ Startups บนเส้นทางตลาดทุน
สรุปประเด็นจากงาน LiVE Demo Day
โอกาสใหม่ของ SMEs และ Startups บนเส้นทางตลาดทุน
โอกาสใหม่ของ SMEs และ Startups บนเส้นทางตลาดทุน
รู้ไหมว่า ปัจจุบันประเทศไทยมี SMEs และ Startups รวมกันแล้วมากกว่า 3 ล้านราย
ก่อให้เกิดการจ้างงานถึง 13 ล้านคน และสร้างมูลค่าถึง 1 ใน 3 ของ GDP ประเทศไทย
ซึ่งนับว่า ธุรกิจขนาดเล็กและกลาง เป็นกลไกที่สำคัญของเศรษฐกิจประเทศไทย เลยทีเดียว
ก่อให้เกิดการจ้างงานถึง 13 ล้านคน และสร้างมูลค่าถึง 1 ใน 3 ของ GDP ประเทศไทย
ซึ่งนับว่า ธุรกิจขนาดเล็กและกลาง เป็นกลไกที่สำคัญของเศรษฐกิจประเทศไทย เลยทีเดียว
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจ SMEs และ Startups เหล่านี้ ยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอยู่มาก ทำให้ต้องอาศัยการกู้สถาบันการเงินหรือแหล่งเงินนอกระบบที่ให้วงเงินต่ำแต่ดอกเบี้ยสูง ซึ่งส่งผลให้บริษัทกลุ่มนี้เติบโตได้ลำบาก
นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้น ให้ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พัฒนา “LiVE Exchange” ซึ่งทำหน้าที่เป็นตลาดหลักทรัพย์สำหรับ SMEs และ Startups ที่ระดมทุนในวงกว้าง
และ “LiVE Platform” ที่ทำหน้าที่เป็น Education Platform ให้เหล่าผู้ประกอบการเริ่มต้นเข้ามาศึกษาหาความรู้ด้านธุรกิจและเตรียมความพร้อมในการระดมทุน
โดยมีเป้าหมายที่จะช่วยให้ธุรกิจ SMEs และ Startups มีช่องทางการระดมทุนใหม่ ผ่านกลไกตลาดทุน และเป็นตัวช่วยในการเตรียมความพร้อมพัฒนาธุรกิจอย่างรอบด้าน ให้กับทั้งผู้ประกอบการ SMEs และ Startups
แล้วรายละเอียดของ “LiVE Exchange” และ “LiVE Platform” เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะสรุปจากงาน LiVE Demo Day ให้ฟัง
ลงทุนแมนจะสรุปจากงาน LiVE Demo Day ให้ฟัง
หลายคนทราบกันดีว่า การที่จะนำบริษัทไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ว่าจะเป็นบนกระดาน SET หรือ mai นั้นต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน ใช้ทุนทรัพย์สูง และต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ หลายขั้นตอน
ทำให้การระดมทุนผ่านตลาดทุนนั้นกลายเป็นเรื่องยากสำหรับหลายบริษัท โดยเฉพาะบริษัทระดับ SMEs และ Startups
เพราะต้องบอกว่า ถึงแม้ว่าจะมีกระดาน mai ขึ้นมาแล้วก็ตาม แต่ก็ยังถือว่ามีกฎเกณฑ์สำหรับเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ยากเกินไปสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก
เช่น บริษัทต้องทำบัญชีตามมาตรฐาน PAEs เป็นระยะเวลา 3 ปีติดต่อกัน ทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาทขึ้นไป และต้องมีกำไรไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท
กฎเกณฑ์เหล่านี้ไม่ใช่แค่เป็นเรื่องที่ทำได้ยากเท่านั้น แต่ต้องใช้ระยะเวลาทำธุรกิจพอสมควร อย่างน้อย 4 ปีขึ้นไป จึงจะสามารถเข้าระดมทุนตามกฎเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมถึงมีค่าใช้จ่ายที่สูง
อย่างการทำบัญชีตามมาตรฐาน PAEs บริษัทต้องจ้างผู้ตรวจสอบบัญชี ปีละ 1-2 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษาทางการเงินอีก 5 ล้านบาท ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เก็บอีก 3% ของเงินที่ระดมทุน คิดรวมแล้วมีค่าใช้จ่ายจะถึง 10 กว่าล้านบาทเลยทีเดียว
จากเหตุผลเหล่านี้ ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ จำเป็นต้องพัฒนาแหล่งระดมทุนกระดานใหม่ขึ้นมา ที่มีชื่อเรียกว่า LiVE Exchange ซึ่งจะลดกฎเกณฑ์ ผ่อนปรนข้อกำหนดบางอย่างลง บนการดูแลนักลงทุนที่เหมาะสม
เช่น
- จากต้องทำบัญชีตามมาตรฐาน PAEs ถึง 3 ปี เหลือเพียงแค่ 1 ปี
- บริษัทมีทางเลือกว่าจะจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน Financial Advisor (FA) หรือไม่ก็ได้
เพื่อให้ SMEs และ Startups สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบตลาดทุนได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม
- จากต้องทำบัญชีตามมาตรฐาน PAEs ถึง 3 ปี เหลือเพียงแค่ 1 ปี
- บริษัทมีทางเลือกว่าจะจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน Financial Advisor (FA) หรือไม่ก็ได้
เพื่อให้ SMEs และ Startups สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบตลาดทุนได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม
อย่างไรก็ตาม ทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็พบปัญหาอีกว่า
บรรดาบริษัทขนาดเล็ก ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน เช่น ด้านการทำระบบบัญชีให้เป็นมาตรฐาน ความรู้ด้านกฎหมาย การจัดการระบบข้อมูลในองค์กร
บรรดาบริษัทขนาดเล็ก ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน เช่น ด้านการทำระบบบัญชีให้เป็นมาตรฐาน ความรู้ด้านกฎหมาย การจัดการระบบข้อมูลในองค์กร
นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้เกิด “LiVE Platform”
โดย LiVE Platform ทำหน้าที่เป็น Education Platform ให้เหล่าผู้ประกอบการเริ่มต้นเข้ามาศึกษาหาความรู้ด้านธุรกิจ ตั้งแต่การทำบัญชีการเงิน การตลาด การจัดการ จนไปถึงการระดมทุน ซึ่งปัจจุบันมีอยู่หลากหลายหลักสูตร และเปิดให้บริการเรียบร้อยแล้ว บนเว็บไซต์ https://www.live-platforms.com
โดย LiVE Platform ทำหน้าที่เป็น Education Platform ให้เหล่าผู้ประกอบการเริ่มต้นเข้ามาศึกษาหาความรู้ด้านธุรกิจ ตั้งแต่การทำบัญชีการเงิน การตลาด การจัดการ จนไปถึงการระดมทุน ซึ่งปัจจุบันมีอยู่หลากหลายหลักสูตร และเปิดให้บริการเรียบร้อยแล้ว บนเว็บไซต์ https://www.live-platforms.com
และเมื่อบริษัทมีความต้องการในการเข้าระดมทุน ก็สามารถเข้าสู่ “Scaling Up Platform” ซึ่งเป็นโปรแกรมการเตรียมธุรกิจให้พร้อมสำหรับการระดมทุน โดยมี 4 กระบวนการที่คอยช่วยเหลือคือ
1. Advanced Courses หรือหลักสูตรอบรมเชิงลึกจากบริษัทที่เชี่ยวชาญ
เช่น เรื่องของบัญชี ก็จะได้ PwC หนึ่งใน Big 4 หรือบริษัทผู้ตรวจสอบบัญชีรายใหญ่ระดับโลก เข้ามาแนะนำและให้ความรู้โดยตรง หรืออยากรู้เรื่องกฎหมาย ก็มี Baker McKenzie มาทำหลักสูตรให้
เช่น เรื่องของบัญชี ก็จะได้ PwC หนึ่งใน Big 4 หรือบริษัทผู้ตรวจสอบบัญชีรายใหญ่ระดับโลก เข้ามาแนะนำและให้ความรู้โดยตรง หรืออยากรู้เรื่องกฎหมาย ก็มี Baker McKenzie มาทำหลักสูตรให้
2. สนับสนุนเครื่องมือและระบบต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อธุรกิจ
เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการมากยิ่งขึ้น
เช่น บัญชี การควบคุมภายใน ระบบ ERP Back Office HR และอื่น ๆ อีกมากมาย
เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการมากยิ่งขึ้น
เช่น บัญชี การควบคุมภายใน ระบบ ERP Back Office HR และอื่น ๆ อีกมากมาย
3. ให้คำปรึกษาต่าง ๆ ผ่านโครงการและแพลตฟอร์มต่าง ๆ
อย่างเช่น LiVE Acceleration Program โครงการที่ให้เหล่าธุรกิจเข้าร่วม เพื่อรับการอบรมเชิงปฏิบัติการ และรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงได้เงินทุนสนับสนุนสูงสุด 1.5 ล้านบาทต่อบริษัท จากกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) เพื่อจ้างที่ปรึกษาหรือปรับปรุงระบบงาน
อย่างเช่น LiVE Acceleration Program โครงการที่ให้เหล่าธุรกิจเข้าร่วม เพื่อรับการอบรมเชิงปฏิบัติการ และรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงได้เงินทุนสนับสนุนสูงสุด 1.5 ล้านบาทต่อบริษัท จากกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) เพื่อจ้างที่ปรึกษาหรือปรับปรุงระบบงาน
โดยตัวอย่างบริษัทที่เคยเข้าร่วมคือ “Specialty Natural Products (SNP)” ซึ่งเป็น SMEs ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมจากสมุนไพรไทย
และ “Shippop” ซึ่งเป็น Startups ผู้ให้บริการจองขนส่ง เทียบราคาขนส่ง และจัดการการขนส่งพัสดุออนไลน์ครบวงจร
ผู้ประกอบการจากทั้งสองบริษัทเล่าให้ฟังว่า หลังจากเข้าร่วม LiVE Acceleration Program ก็ไม่เพียงแต่ได้รับความรู้และเงินสนับสนุนในการเตรียมความพร้อมเท่านั้น แต่ยังได้พันธมิตรมาเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจตนเองด้วย
4. สนับสนุนการพบปะเจรจากับผู้บริหารบริษัทรุ่นใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว เพื่อเปิดโอกาสในการต่อยอดธุรกิจร่วมกัน หรือสร้างความร่วมมือด้วยกัน
นอกจากนี้ LiVE Platform ยังได้ร่วมมือกับอีกหลายหน่วยงาน
เช่น มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่ได้ทำ MOU ร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดตัวโครงการ Embryo Incubation Program ที่ช่วยให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการระดมทุนใน LiVE Exchange
เช่น มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่ได้ทำ MOU ร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดตัวโครงการ Embryo Incubation Program ที่ช่วยให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการระดมทุนใน LiVE Exchange
นอกจากนั้นยังมีการร่วมมือกับอีกหลายองค์กรพันธมิตร ทั้งจากภาครัฐและเอกชน มากกว่า 25 ราย
เช่น สภาวิชาชีพบัญชีฯ, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย Baker Mckenzie และองค์กรชั้นนำอื่น ๆ อีกมากมาย
เช่น สภาวิชาชีพบัญชีฯ, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย Baker Mckenzie และองค์กรชั้นนำอื่น ๆ อีกมากมาย
อีกเรื่องที่น่าสนใจมาก ๆ ก็คือ บริการทั้งหมดบนเว็บไซต์ LiVE Platform นั้น “ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น”
เมื่อธุรกิจ SMEs และ Startups เตรียมความพร้อมเสร็จเรียบร้อยแล้ว และต้องการระดมทุนผ่านกลไกตลาดทุน ก็จะถูกส่งต่อไปที่ LiVE Exchange ตลาดสำหรับ SMEs และ Startups เพื่อระดมทุนในวงกว้าง ซึ่งจะเปิดให้บริการภายในปี 2021 นี้
ในเบื้องต้น ทางสำนักงาน ก.ล.ต. ได้อนุญาตให้นักลงทุน 5 ประเภท ที่มีความรู้ความเข้าใจ และรับความเสี่ยงจากการลงทุนในธุรกิจ SMEs และ Startups สามารถลงทุนในกระดาน LiVE Exchange ได้
โดยนักลงทุน 5 ประเภท ประกอบด้วย
1. ผู้ลงทุนสถาบัน
2. Venture Capital (VC) หรือธุรกิจเงินร่วมลงทุน
3. Angel Investor
4. Qualified Investor ตามเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. เห็นสมควรว่า สามารถรับความเสี่ยงได้และมีทักษะการลงทุนที่เพียงพอ ซึ่งจะดูจากขนาดสินทรัพย์ที่มี หรือรายได้ต่อปี หรือพอร์ตการลงทุน
5. กลุ่มคนคุ้นเคยของบริษัท เช่น พนักงาน
2. Venture Capital (VC) หรือธุรกิจเงินร่วมลงทุน
3. Angel Investor
4. Qualified Investor ตามเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. เห็นสมควรว่า สามารถรับความเสี่ยงได้และมีทักษะการลงทุนที่เพียงพอ ซึ่งจะดูจากขนาดสินทรัพย์ที่มี หรือรายได้ต่อปี หรือพอร์ตการลงทุน
5. กลุ่มคนคุ้นเคยของบริษัท เช่น พนักงาน
ซึ่งตรงนี้ต้องหมายเหตุเอาไว้ด้วยว่า ทางสำนักงาน ก.ล.ต. จะมีการประกาศรายละเอียด กฎเกณฑ์ในการพิจารณาผู้ลงทุนอย่างชัดเจนเต็มรูปแบบในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งทางลงทุนแมนก็จะสรุปมาเล่าให้ฟังกันอย่างแน่นอน
สรุปแล้ว LiVE Platform คือ ศูนย์รวมความรู้ด้านธุรกิจที่หลากหลาย สำหรับผู้ประกอบการ SMEs และ Startups ตั้งแต่การทำบัญชี การตลาด การจัดการ ไปจนถึงการเตรียมความพร้อมสู่การระดมทุนผ่านกลไกตลาดทุน
ส่วน LiVE Exchange คือ ตลาดสำหรับ SMEs และ Startups ที่ต้องการระดมทุนในวงกว้าง และช่วยเปิดโอกาสให้ธุรกิจ SMEs และ Startups สามารถยกระดับธุรกิจของตนให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น และเติบโตพร้อมระดมทุนต่อไป ใน SET หรือ mai
ซึ่งทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็เชื่อว่าทั้ง LiVE Platform และ LiVE Exchange จะสร้างองค์ความรู้ เตรียมความพร้อม เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อการพัฒนา SMEs และ Startups ให้เป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ เติบโตอย่างเข้มแข็ง และเป็นกลไกของเศรษฐกิจไทย
สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs และ Startups หรือนักลงทุน ที่สนใจในโครงการดี ๆ แบบนี้ ลองเข้าไปชมเว็บไซต์ www.live-platforms.com กันได้เลย