Automat เครื่องกดอาหาร “อัตโนมือ” ที่เป็นต้นกำเนิด McDonald’s

Automat เครื่องกดอาหาร “อัตโนมือ” ที่เป็นต้นกำเนิด McDonald’s

Automat เครื่องกดอาหาร “อัตโนมือ” ที่เป็นต้นกำเนิด McDonald’s /โดย ลงทุนแมน
ปัจจุบัน เราสามารถพบเห็นตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ ที่คอยอำนวยความสะดวกให้เรา
ตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น ตู้กดสินค้าของเซเว่น อีเลฟเว่น ที่เราสามารถเลือกกดอาหาร
และเครื่องดื่มได้ตามใจนั้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ปกติมากในเวลานี้
แต่รู้หรือไม่ว่า เมื่อ 100 ปีก่อน เคยมีตู้กดสินค้าที่มีลักษณะที่คล้าย ๆ กัน
และมีอาหารและเครื่องดื่มให้เลือกถึง 400 รายการด้วยกัน
เครื่องนี้มีชื่อว่า “Automat”
Automat ถือเป็นนวัตกรรมล้ำสมัยในยุคนั้นและเครื่องดังกล่าว
ยังส่งผลกระทบมาจนถึงอุตสาหกรรมอาหารในยุคของเราอีกด้วย
และมันมีความสำคัญต่อวงการอาหารขนาดไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Automat เป็นตู้ขายอาหารที่จะถูกติดตั้งไว้กับกำแพง มีลักษณะคล้ายกับช่องตู้ไปรษณีย์
เครื่องนี้จะมีตู้หลายช่อง และแต่ละช่องจะมีอาหารแตกต่างกัน ซึ่งต่างจากตู้กดสินค้าสมัยปัจจุบัน ที่จะมีช่องรับสินค้าอาหารเพียงช่องเดียว
Automat มีเมนูให้เลือกตั้งแต่อาหารโฮมเมดแบบร้อนและเย็น ของหวาน ไปจนถึงเครื่องดื่ม
ยกตัวอย่างเมนูก็เช่น สเต๊ก, มักกะโรนี, สลัด และพาย ซึ่งมีให้เลือกถึง 400 รายการเลยทีเดียว
สำหรับวิธีการใช้งาน เพียงแค่เราหยอดเหรียญเข้าไปในช่องอาหารที่เราสนใจ
เราก็สามารถรอรับอาหารที่เพิ่งปรุงมาเสร็จ พร้อมกับเครื่องดื่ม ได้ทันที
สิ่งที่ Automat เสนอคุณค่าให้แก่ลูกค้า นอกจากเรื่องความล้ำสมัยในยุคนั้นแล้ว
ยังมีเรื่องของความหลากหลาย ความรวดเร็ว และราคาที่ถูกอีกด้วย
ด้วยความที่มีอาหารและเครื่องดื่มถึง 400 รายการ
ครอบคลุมตั้งแต่กลุ่มเด็กไปจนถึงวัยสูงอายุ
ทำให้ใครหลายคนเลือกมาใช้บริการ
อีกอย่าง ลูกค้าไม่ต้องสั่งออร์เดอร์กับพนักงาน
ความล่าช้าและความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ก็ลดน้อยลง
พนักงานรับออร์เดอร์ก็ไม่ต้องมี ถือว่าเป็นการลดค่าใช้จ่ายเช่นกัน
Automat ปรากฏให้เห็นครั้งแรกบนโลกในปี 1895 หรือราว 126 ปีก่อน ณ กรุงเบอร์ลิน
และด้วยความที่ Automat ให้ประสบการณ์ที่แปลกใหม่สำหรับคนในยุคนั้น
จึงทำให้หลายบริษัทนำไอเดียนี้ไปประยุกต์ใช้ต่อกันอย่างแพร่หลาย
ในปี 1902 คุณโจเซฟ ฮอร์น และคุณแฟรงก์ ฮาร์ท สองเจ้าของร้านอาหาร Horn & Hardart
ได้นำ Automat มาใช้ที่ร้านอาหารของตัวเอง
ซึ่งก็นับเป็นครั้งแรกที่มีคนนำมาใช้ในสหรัฐอเมริกาและก็ไม่ต้องสงสัยเลยว่า
เครื่อง Automat ได้กลายมาเป็นที่นิยมสำหรับชาวอเมริกันโดยทันที
จนในปี 1950 Horn & Hardart ได้ขยายกิจการจนมีสาขามากถึง 100 แห่ง ในนิวยอร์ก
โดยร้านแห่งนี้มีผู้คนเข้ามารับประทานอาหารมากกว่า 800,000 คนต่อวัน และมีการบริโภคกาแฟถึง 90 ล้านแก้วต่อปี ส่งผลให้เวลานั้น Horn & Hardart กลายเป็นเชนร้านอาหารที่ใหญ่ที่สุดในโลก
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสิ่งที่ Automat ทำจะดูคล้ายกับระบบอัตโนมัติ
ก็ต้องบอกว่าเบื้องหลังของเครื่องนี้คือ “อัตโนมือ” หรือการทำงานด้วยมนุษย์ 100%
โดยอัตโนมือที่ว่านี้ประกอบไปด้วยพ่อครัวแม่ครัวที่ทำอาหารตามลูกค้าเลือก
และพนักงานที่นำอาหารไปเสิร์ฟลงบนเครื่อง Automat
ไปจนถึงพนักงานทำความสะอาดที่คอยล้างจาน
ด้วยราคาอาหารที่ถูกมากและกระบวนการทั้งหมดมาจากมนุษย์ จึงทำให้ทางร้านต้องไปกดค่าแรงงานพนักงาน จนนำไปสู่เหตุการณ์ประท้วงการใช้แรงงานที่ไม่เป็นธรรม
แต่ก็ใช่ว่า Automat จะมีแต่เรื่องเลวร้ายเสียทีเดียว
ด้วยไอเดียของ Automat ที่นำเสนอความรวดเร็วและราคาถูกนี้เอง
ทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกากลายเป็นผู้นำอุตสาหกรรมที่เรียกว่า “Fast Food”
โดยผู้ที่คิดค้นนวัตกรรมการบริการอาหาร Fast Food ได้เป็นคนแรก
คือ สองพี่น้อง McDonald's นั่นเอง
สิ่งที่ทำให้ Fast Food แตกต่างกับ Automat ก็คือรูปแบบอาหาร
Automat นำเสนออาหารที่เหมาะกับการนั่งทานในร้านอาหาร
แต่ Fast Food กลับนำเสนออาหารที่สามารถรับประทานที่ไหนก็ได้
ซึ่งในปี 1960 ช่วงเวลานั้นเอง ชาวอเมริกันเริ่มมีอัตราการใช้รถยนต์สูงขึ้น
จึงทำให้เกิดกระแสการรับประทานอาหารนอกร้านอาหารมากขึ้น
ก่อให้เกิดเป็นบริการไดร์ฟทรูในที่สุด
และแน่นอนว่า Fast Food ตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคในเวลานั้นได้มากกว่า
นอกจากนี้ Fast Food ยังปรับปรุงกระบวนการทำอาหารใหม่
โดยเริ่มจากลดเมนูอาหารให้น้อยลง เหลือเพียงไม่กี่เมนู
หลังจากนั้นก็เป็นการวางแผนผังพื้นที่ห้องครัวใหม่ ให้แต่ละส่วนทำงานได้สะดวกขึ้น
เช่น พื้นที่วางขนมปังต้องใกล้กับพื้นที่ทอดเนื้อ, พื้นที่ทอดเนื้อต้องใกล้กับพื้นที่วางผัก
ซึ่งรายละเอียดเล็ก ๆ นี้เอง ที่ช่วยให้การทำงานไหลลื่นมากขึ้น
ต่อมาก็เป็นการแบ่งหน้าที่อย่างชัดเจน
และกำหนดให้พนักงานแต่ละคนรับผิดชอบเป็นส่วน
ในขณะที่แต่ละเมนูอย่างเบอร์เกอร์ใส่มะเขือเทศกี่ชิ้น
ต้องใส่ซอสในปริมาณเท่าใด ก็ได้ถูกกำหนดไว้หมดแล้ว
ด้วยกระบวนการทั้งหมดเหล่านี้นี่เอง
ส่งผลให้ระยะเวลาในการทำอาหารรวดเร็วขึ้น
คุณภาพอาหารมีมาตรฐาน
และที่สำคัญ ขั้นตอนเหล่านี้ได้ช่วยลดต้นทุนทางธุรกิจได้อย่างมหาศาล
ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ McDonald’s และ Burger King จึงเข้ามาแทนที่
และกลายเป็นเชนร้านอาหารขนาดใหญ่ขึ้นมาแทน Horn & Hardart
ที่ได้ปิดตัวลงในปี 1991
แม้ว่าสุดท้ายแล้ว Automat จะหายไป
แต่สิ่งที่ Automat ฝากไว้ก็คือ “ก้าวสำคัญ”
ที่ได้ทำให้เกิดวิวัฒนาการทางวงการอาหาร ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
จนนำไปสู่ธุรกิจ Fast Food ที่วันนี้ มีมูลค่าระดับ 20 ล้านล้านบาท
และสร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนนับล้าน นั่นเอง..
หากใครยังไม่เคยเห็นภาพระบบการทำงานของ Automat
สามารถรับชมได้ที่ https://youtu.be/nTqjO-dHTmE
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://allthatsinteresting.com/automat
-https://www.alliedmarketresearch.com/fast-food-market
-https://www.history.com/news/the-automat-birth-of-a-fast-food-nation
-http://menus.nypl.org/menu_pages/52560
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon