
กรณีศึกษา การแก้ไขปัญหา “รถเก่า” ของไทย เทียบกับ ต่างประเทศ
กรณีศึกษา การแก้ไขปัญหา “รถเก่า” ของไทย เทียบกับ ต่างประเทศ / โดย ลงทุนแมน
ปฏิเสธไม่ได้ว่า “รถเก่า” ที่มีอายุการใช้งานนานๆ
เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาความปลอดภัยบนท้องถนน
และปัญหามลพิษทางอากาศ อย่างฝุ่น PM2.5 ที่เริ่มกลับมาเกินค่ามาตรฐานอีกครั้ง
เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาความปลอดภัยบนท้องถนน
และปัญหามลพิษทางอากาศ อย่างฝุ่น PM2.5 ที่เริ่มกลับมาเกินค่ามาตรฐานอีกครั้ง
พอเป็นแบบนี้ รัฐบาลในหลายประเทศจึงเริ่มตั้งคำถามว่า
จะทำอย่างไร ให้รถเก่าที่วิ่งบนท้องถนนมีจำนวนลดลง
จะทำอย่างไร ให้รถเก่าที่วิ่งบนท้องถนนมีจำนวนลดลง
แล้วภาครัฐของไทย กับ หลายๆ ประเทศ มีวิธีรับมือและแก้ไขปัญหาเรื่องนี้กันอย่างไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จากสถิติการขนส่ง ปี 2562 ของกรมการขนส่งทางบก
ประเทศไทยมีจำนวนรถยนต์ส่วนบุคคล คือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง และรถบรรทุกส่วนบุคคล (Pick-up) ที่ใช้งานอยู่บนท้องถนน รวมทั้งสิ้น 16.8 ล้านคัน
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จากสถิติการขนส่ง ปี 2562 ของกรมการขนส่งทางบก
ประเทศไทยมีจำนวนรถยนต์ส่วนบุคคล คือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง และรถบรรทุกส่วนบุคคล (Pick-up) ที่ใช้งานอยู่บนท้องถนน รวมทั้งสิ้น 16.8 ล้านคัน
ที่น่าสนใจก็คือ ในจำนวน 16.8 ล้านคัน
เป็น “รถยนต์เก่า” ที่มีอายุมากกว่า 15 ปี
เป็นจำนวนมากกว่า 4 ล้านคัน หรือคิดเป็นกว่า 24% ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่ไม่น้อยเลยทีเดียว
เป็น “รถยนต์เก่า” ที่มีอายุมากกว่า 15 ปี
เป็นจำนวนมากกว่า 4 ล้านคัน หรือคิดเป็นกว่า 24% ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่ไม่น้อยเลยทีเดียว
ปัญหานี้ หลายๆ ประเทศก็เจอเหมือนกัน
และแต่ละประเทศก็มีโครงการหรือนโยบายในการควบคุมและแก้ไขที่ต่างกันไป
และแต่ละประเทศก็มีโครงการหรือนโยบายในการควบคุมและแก้ไขที่ต่างกันไป
ยกตัวอย่างเช่น
- สหรัฐอเมริกา
เคยมีโครงการ ชื่อว่า Car Allowance Rebate System (CARS)
โดยรัฐบาลจะมอบหมายให้บริษัทตัวแทน เป็นผู้รับซื้อรถเก่าที่เป็นไปตามเงื่อนไข
ซึ่งเงื่อนไขหลักๆ คือ มีอายุการใช้งานมากกว่า 25 ปี และอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้
เคยมีโครงการ ชื่อว่า Car Allowance Rebate System (CARS)
โดยรัฐบาลจะมอบหมายให้บริษัทตัวแทน เป็นผู้รับซื้อรถเก่าที่เป็นไปตามเงื่อนไข
ซึ่งเงื่อนไขหลักๆ คือ มีอายุการใช้งานมากกว่า 25 ปี และอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้
โดยเจ้าของรถจะได้รับเงินจากการนำรถเก่ามาเข้าร่วมโครงการ
เฉลี่ยประมาณ 70,000 - 150,000 บาท ต่อคัน
แล้วตัวแทน จึงค่อยส่งเรื่องเพื่อขอรับเงินจากรัฐบาลในภายหลัง
เฉลี่ยประมาณ 70,000 - 150,000 บาท ต่อคัน
แล้วตัวแทน จึงค่อยส่งเรื่องเพื่อขอรับเงินจากรัฐบาลในภายหลัง
- ญี่ปุ่น
เคยมีโครงการชื่อว่า The “Green” Vehicle Purchasing Promotion Measures
คือสนับสนุนให้ประชาชนนำรถเก่า อายุไม่ต่ำกว่า 13 ปี มาแลกซื้อรถใหม่
โดยถ้ารถยนต์ที่ต้องการซื้อ เป็นรถยนต์ขนาดเล็ก
ผู้ร่วมโครงการจะมีสิทธิ์ได้รับเงินส่วนลดประมาณ 87,000 บาท
ส่วนรถขนาดเล็กกว่านั้น จะได้รับส่วนลดประมาณ 43,000 บาท
เคยมีโครงการชื่อว่า The “Green” Vehicle Purchasing Promotion Measures
คือสนับสนุนให้ประชาชนนำรถเก่า อายุไม่ต่ำกว่า 13 ปี มาแลกซื้อรถใหม่
โดยถ้ารถยนต์ที่ต้องการซื้อ เป็นรถยนต์ขนาดเล็ก
ผู้ร่วมโครงการจะมีสิทธิ์ได้รับเงินส่วนลดประมาณ 87,000 บาท
ส่วนรถขนาดเล็กกว่านั้น จะได้รับส่วนลดประมาณ 43,000 บาท
- มหานครปักกิ่งของ จีน
เนื่องจากจีน เป็นประเทศที่มีปัญหามลภาวะเป็นพิษอย่างหนักโดยเฉพาะในปักกิ่ง
ทำให้เทศบาลมหานครปักกิ่งออกนโยบายกำจัดรถยนต์ที่เก่าเกินกว่า 6 ปี
โดยการให้เงินสนับสนุน 2,500 - 14,500 หยวน หรือประมาณ 12,500 - 72,500 บาท แก่เจ้าของรถเก่า ที่สมัครใจซื้อรถใหม่
เนื่องจากจีน เป็นประเทศที่มีปัญหามลภาวะเป็นพิษอย่างหนักโดยเฉพาะในปักกิ่ง
ทำให้เทศบาลมหานครปักกิ่งออกนโยบายกำจัดรถยนต์ที่เก่าเกินกว่า 6 ปี
โดยการให้เงินสนับสนุน 2,500 - 14,500 หยวน หรือประมาณ 12,500 - 72,500 บาท แก่เจ้าของรถเก่า ที่สมัครใจซื้อรถใหม่
สำหรับรถที่ไม่เข้าร่วมโครงการแต่อยู่ในเกณฑ์ที่ควรกำจัด จะได้รับป้ายเหลือง ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถเข้าไปวิ่งในเขตที่ทางเทศบาลจำกัดไว้ได้
สำหรับประเทศไทย
ช่วงเดือนที่ผ่านมา มีการเผยรายละเอียดเบื้องต้นของโครงการรถเก่าแลกรถใหม่ 100,000 คัน
คือให้นำรถเก่าที่มีอายุการใช้งาน “12 ปีขึ้นไป”
มาแลกซื้อเป็นรถใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เช่น รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (HEV), รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (PHEV)
หรือรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV)
ช่วงเดือนที่ผ่านมา มีการเผยรายละเอียดเบื้องต้นของโครงการรถเก่าแลกรถใหม่ 100,000 คัน
คือให้นำรถเก่าที่มีอายุการใช้งาน “12 ปีขึ้นไป”
มาแลกซื้อเป็นรถใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เช่น รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (HEV), รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (PHEV)
หรือรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV)
โดยค่าใช้จ่ายในการซื้อรถใหม่
จะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้ ได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อคัน
(แต่ล่าสุด โครงการนี้ถูกเลื่อนออกไปก่อน ด้วยความไม่พร้อมในหลายประเด็น)
จะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้ ได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อคัน
(แต่ล่าสุด โครงการนี้ถูกเลื่อนออกไปก่อน ด้วยความไม่พร้อมในหลายประเด็น)
ถึงตรงนี้ หลายคนอาจตั้งคำถามว่า แล้วซากรถเก่า จะถูกนำไปทำอะไรต่อ?
คำตอบก็คือ ซากรถเก่าเหล่านี้ ก็จะต้องเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลกำจัดซากอย่างถูกวิธี
ในหลายประเทศ เช่น เมืองคิตะกีวชู ประเทศญี่ปุ่น ที่เป็นเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ได้มีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเพื่อกำจัดขยะและของเสียขึ้นมา เพื่อทำการรีไซเคิลของเก่า รวมถึงซากรถเก่า
ในบรรดาซากของเก่า ซากรถเก่าถือว่ามีศักยภาพสูงในการนำกลับมาใช้ใหม่ และการแยกชิ้นส่วนรถยนต์ก่อนรีไซเคิล เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในการจัดการซากรถ
โดยซากรถเก่าหนึ่งคัน จะมีโลหะที่เป็นเหล็กประมาณ 69%
เหล็กเหล่านั้นจะถูกคัดแยกเพื่อนำมาหลอม และปรุงแต่งให้มีความบริสุทธิ์ก่อนนำกลับมาใช้ใหม่
เหล็กเหล่านั้นจะถูกคัดแยกเพื่อนำมาหลอม และปรุงแต่งให้มีความบริสุทธิ์ก่อนนำกลับมาใช้ใหม่
ส่วนอะไหล่และเครื่องยนต์ ที่มีสภาพสมบูรณ์ จะถูกคัดแยกและนำกลับมาใช้ใหม่
และชิ้นส่วนที่ไม่ใช่เหล็ก เช่น พลาสติก วัสดุยาง รวมถึงชิ้นส่วนอื่นๆ
จะถูกคัดแยกและนำไปเป็นเชื้อเพลิงผลิตพลังงาน ซึ่งถือเป็นการกำจัดซากรถแบบครบวงจร
และชิ้นส่วนที่ไม่ใช่เหล็ก เช่น พลาสติก วัสดุยาง รวมถึงชิ้นส่วนอื่นๆ
จะถูกคัดแยกและนำไปเป็นเชื้อเพลิงผลิตพลังงาน ซึ่งถือเป็นการกำจัดซากรถแบบครบวงจร
แต่สำหรับประเทศไทย ยังมีเพียงผู้ประกอบการบางรายเท่านั้นที่สามารถรีไซเคิลเหล็กจากซากรถยนต์ได้เพราะกฎหมายของประเทศไทยยังไม่ครอบคลุมการจัดการรถยนต์เก่าและซากรถอย่างครบวงจร
สรุปแล้ว มาตรการ นโยบาย หรือโครงการ
ในการควบคุมปริมาณรถเก่าของแต่ละประเทศอาจแตกต่างกันไป
แต่จุดประสงค์ในการดำเนินนโยบายก็จะคล้ายๆ กัน คือเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม
ในการควบคุมปริมาณรถเก่าของแต่ละประเทศอาจแตกต่างกันไป
แต่จุดประสงค์ในการดำเนินนโยบายก็จะคล้ายๆ กัน คือเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม
ประเด็นสำคัญที่สุดของเรื่องนี้คือ
แต่ละประเทศ จริงจังกับการควบคุมรถเก่า มากแค่ไหน?
----------------------
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
----------------------
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
แต่ละประเทศ จริงจังกับการควบคุมรถเก่า มากแค่ไหน?
----------------------
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
----------------------
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-รายงานสถิติการขนส่ง ประจําปี 2562 กรมการขนส่งทางบก
-โครงการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปริมาณรถยนต์ที่สิ้นสุดการใช้งานในประเทศไทย เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการกับซากยานยนต์เก่า โดย อ.ดร.จิราภรณ์ คำวรรณะ ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-https://www.thairath.co.th/news/business/1983056
-http://recycle.dpim.go.th/wastelist/waste-detail.php?id=27
-https://sdgs.un.org/sites/default/files/2020-09/kitakyushu-sdg-report-en-2018.pdf
-รายงานสถิติการขนส่ง ประจําปี 2562 กรมการขนส่งทางบก
-โครงการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปริมาณรถยนต์ที่สิ้นสุดการใช้งานในประเทศไทย เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการกับซากยานยนต์เก่า โดย อ.ดร.จิราภรณ์ คำวรรณะ ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-https://www.thairath.co.th/news/business/1983056
-http://recycle.dpim.go.th/wastelist/waste-detail.php?id=27
-https://sdgs.un.org/sites/default/files/2020-09/kitakyushu-sdg-report-en-2018.pdf