กรณีศึกษา ความแตกต่างของ RS และ GRAMMY ในวันนี้
กรณีศึกษา ความแตกต่างของ RS และ GRAMMY ในวันนี้ /โดย ลงทุนแมน
ถ้าเราพูดถึงในอดีต
ค่ายเพลงรายใหญ่ในประเทศไทย 2 ค่าย
ชื่อของ GRAMMY และ RS น่าจะเป็นชื่อที่คนส่วนใหญ่นึกถึง
แต่รู้ไหมว่าตอนนี้ RS ไม่ได้ทำธุรกิจเพลงเป็นหลักแล้ว
ค่ายเพลงรายใหญ่ในประเทศไทย 2 ค่าย
ชื่อของ GRAMMY และ RS น่าจะเป็นชื่อที่คนส่วนใหญ่นึกถึง
แต่รู้ไหมว่าตอนนี้ RS ไม่ได้ทำธุรกิจเพลงเป็นหลักแล้ว
กรณีศึกษาของเรื่องนี้ น่าสนใจอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
GRAMMY ก่อตั้งขึ้นในปี 2526 โดยทำธุรกิจหลักคือ การทำเพลงไทยสากล ก่อนที่จะมีการกระจายไปยังธุรกิจอื่นในเวลาต่อมา
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
GRAMMY ก่อตั้งขึ้นในปี 2526 โดยทำธุรกิจหลักคือ การทำเพลงไทยสากล ก่อนที่จะมีการกระจายไปยังธุรกิจอื่นในเวลาต่อมา
สัดส่วนรายได้ของปี 2562 ของ GRAMMY
1. ธุรกิจเพลงเป็นการขายสินค้าเพลง
รวมทั้งผลิตดิจิทัลมิวสิก การจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ โชว์บิซ การจัดคอนเสิร์ต รวมทั้งบริหารศิลปิน 60%
รวมทั้งผลิตดิจิทัลมิวสิก การจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ โชว์บิซ การจัดคอนเสิร์ต รวมทั้งบริหารศิลปิน 60%
2. ธุรกิจเทรดดิ้ง
ประกอบด้วยธุรกิจขายสินค้าโฮมช้อปปิ้งและขายกล่องรับสัญญาณทีวี 30%
ประกอบด้วยธุรกิจขายสินค้าโฮมช้อปปิ้งและขายกล่องรับสัญญาณทีวี 30%
3. ธุรกิจอื่นๆ เช่น ธุรกิจภาพยนตร์ และการลงทุนในบริษัทอื่น 10%
ดูแบบนี้ต้องบอกว่า รายได้ส่วนใหญ่ของ GRAMMY ยังมาจากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับเพลงเป็นหลัก
แล้วคู่แข่งที่เริ่มต้นทำธุรกิจค่ายเพลงอย่าง RS วันนี้เป็นอย่างไร
RS ก่อตั้งขึ้นในปี 2519 โดยช่วงแรกทำธุรกิจตู้เพลงและอัดเพลงจากแผ่นเสียงลงเทปภายใต้ตรา “ดอกกุหลาบ” ซึ่ง RS ก็ย่อมาจากคำว่า Rose Sound นั่นเอง
หลังจากนั้น RS ก็เริ่มเปลี่ยนมาทำเพลงที่เน้นตลาดวัยรุ่นในปี 2525
ต่อมาก็มีการขยายเข้าสู่ธุรกิจเกี่ยวเนื่องอื่นๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ ทีวีดิจิทัล ในเวลาต่อมา
ต่อมาก็มีการขยายเข้าสู่ธุรกิจเกี่ยวเนื่องอื่นๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ ทีวีดิจิทัล ในเวลาต่อมา
ปี 2557 คือ จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของ RS เมื่อบริษัทเริ่มขยายธุรกิจเข้าสู่ธุรกิจพาณิชย์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม โดยการใช้ธุรกิจสื่อของตนเองที่มีอยู่ในมือ เป็นช่องทางการขายสินค้าของบริษัท จนทำให้ธุรกิจพาณิชย์ กลายเป็นแหล่งรายได้หลักของ RS ในปัจจุบัน
สัดส่วนรายได้ของปี 2562 ของ RS
1. ธุรกิจพาณิชย์ เป็นการขายผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม รวมทั้งผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน 56%
1. ธุรกิจพาณิชย์ เป็นการขายผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม รวมทั้งผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน 56%
2. ธุรกิจสื่อ ซึ่งประกอบด้วย 2 สื่อหลัก ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ และสื่อวิทยุ 30%
3. ธุรกิจเพลง โดยเป็นการขายสินค้าเพลงครบวงจร ผลิตดิจิทัลมิวสิก 14%
พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงทำให้ปัจจุบัน
หุ้นของ RS นั้นถูกซื้อขายอยู่ในกลุ่มธุรกิจพาณิชย์ ไม่ได้อยู่ในกลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ เหมือนในอดีตแล้ว
หุ้นของ RS นั้นถูกซื้อขายอยู่ในกลุ่มธุรกิจพาณิชย์ ไม่ได้อยู่ในกลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ เหมือนในอดีตแล้ว
เปรียบเทียบมูลค่ากิจการ
ปี 2559
มูลค่ากิจการของ GRAMMY เท่ากับ 7,134 ล้านบาท
มูลค่ากิจการของ RS เท่ากับ 7,878 ล้านบาท
มูลค่ากิจการของ GRAMMY เท่ากับ 7,134 ล้านบาท
มูลค่ากิจการของ RS เท่ากับ 7,878 ล้านบาท
ปี 2563
มูลค่ากิจการของ GRAMMY เท่ากับ 7,954 ล้านบาท
มูลค่ากิจการของ RS เท่ากับ 15,463 ล้านบาท
มูลค่ากิจการของ GRAMMY เท่ากับ 7,954 ล้านบาท
มูลค่ากิจการของ RS เท่ากับ 15,463 ล้านบาท
แล้วรายได้ของทั้ง 2 บริษัทในปี 2562 เป็นอย่างไร?
GRAMMY รายได้ 6,640 ล้านบาท กำไร 342 ล้านบาท
RS รายได้ 3,622 ล้านบาท กำไร 363 ล้านบาท
RS รายได้ 3,622 ล้านบาท กำไร 363 ล้านบาท
ถึงแม้รายได้ของ RS น้อยกว่า GRAMMY เกือบเท่าตัว แต่กำไรกลับมีขนาดพอๆกัน แต่อาจเป็นเพราะ RS ถูกย้ายเข้าไปอยู่ในกลุ่มธุรกิจพาณิชย์ ทำให้ตลาดให้ P/E ที่สูงกว่าบริษัทที่อยู่ในกลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์
ซึ่งต้องยอมรับว่า อุตสาหกรรมสื่อและสิ่งพิมพ์ ที่รวมไปถึงธุรกิจเพลงในปัจจุบัน มีความท้าทายมากขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีต
ทุกวันนี้เราเห็นศิลปินจำนวนมากเกิดขึ้น โดยที่พวกเขาไม่จำเป็นต้องสังกัดค่ายเพลงไหน
ที่สำคัญพวกเขายังสามารถเข้าถึงคนฟังจำนวนหลายล้านคนได้ง่ายด้วยการนำเสนอผลงานตัวเองผ่านสื่อ Social Media
เทคโนโลยีที่ก้าวหน้ายังทำให้ต้นทุนในการทำเพลงนั้นถูกลง
ทำให้มีค่ายเพลงขนาดกลาง ขนาดเล็กเกิดขึ้นหลายค่ายเพื่อมาแข่งในอุตสาหกรรมกับค่ายเพลงใหญ่
ทำให้มีค่ายเพลงขนาดกลาง ขนาดเล็กเกิดขึ้นหลายค่ายเพื่อมาแข่งในอุตสาหกรรมกับค่ายเพลงใหญ่
นอกจากนี้ สิ่งที่ลืมไม่ได้คือ ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อธุรกิจเพลงมานาน จนตอนนี้ต้องอาศัยการขายสิทธิ์ให้กับผู้อื่น เช่น แพลตฟอร์มเพลงสตรีมมิง หรือ ต้องอาศัยการได้รับส่วนแบ่งโฆษณาจากแพลตฟอร์มยูทูบ
สำหรับ GRAMMY ที่ยังคงดำเนินธุรกิจเพลงอยู่นั้น ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า บริษัทจะมีวิธีการขับเคลื่อนธุรกิจเพลง ซึ่งตอนนี้ยังเป็นธุรกิจหลักของบริษัท ให้เติบโตต่อไปได้อย่างไรท่ามกลางความท้าทายในปัจจุบัน
เรื่องนี้เป็นกรณีศึกษาให้เราได้เป็นอย่างดี ในเรื่องการตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
RS เลือกที่จะเปลี่ยนตัวเองไปทำธุรกิจพาณิชย์
GRAMMY เลือกที่จะคงตัวเองไว้ในธุรกิจสื่อ และบันเทิง
GRAMMY เลือกที่จะคงตัวเองไว้ในธุรกิจสื่อ และบันเทิง
คงไม่มีคำตอบว่า การตัดสินใจแบบไหนเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
ซึ่งก็ไม่แน่ว่าในอนาคต GRAMMY ก็อาจจะผลิตศิลปินที่โด่งดังระดับโลกก็เป็นได้
แต่การตัดสินใจของ RS ก็น่าสนใจที่ว่าบริษัทกล้าเปลี่ยนตัวเอง ให้เป็นคนละแบบกับภาพลักษณ์ที่ทุกคนเคยคุ้นชินในอดีต
ซึ่งก็ไม่แน่ว่าในอนาคต GRAMMY ก็อาจจะผลิตศิลปินที่โด่งดังระดับโลกก็เป็นได้
แต่การตัดสินใจของ RS ก็น่าสนใจที่ว่าบริษัทกล้าเปลี่ยนตัวเอง ให้เป็นคนละแบบกับภาพลักษณ์ที่ทุกคนเคยคุ้นชินในอดีต
เพราะโลกนี้ไม่มีสูตรสำเร็จในการทำธุรกิจ
แค่เลือกเดินทางในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ และมองเห็น
มันก็จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างของการตัดสินใจเหมือน RS และ GRAMMY ในครั้งนี้..
แค่เลือกเดินทางในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ และมองเห็น
มันก็จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างของการตัดสินใจเหมือน RS และ GRAMMY ในครั้งนี้..
หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ได้ชี้นำให้ซื้อหุ้นเหล่านี้ การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
----------------------
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
----------------------
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-แบบฟอร์ม 56-1 ปี 2562, บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)
-แบบฟอร์ม 56-1 ปี 2562, บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)
-คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค. 2563, บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)
-คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค. 2563, บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)
----------------------
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
----------------------
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-แบบฟอร์ม 56-1 ปี 2562, บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)
-แบบฟอร์ม 56-1 ปี 2562, บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)
-คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค. 2563, บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)
-คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค. 2563, บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)