KING POWER กำลังเจอความท้าทาย
หากเราพูดถึงธุรกิจ Duty Free ร้านสินค้าปลอดภาษีในไทย
ชื่อแรกที่ทุกคนนึกถึงคือ “คิง เพาเวอร์”
แต่ตอนนี้ มีร้านค้าปลีกปลอดภาษียักษ์ใหญ่ จากต่างชาติ ได้สิทธิเข้ามาทำธุรกิจในไทย ภายใต้แบรนด์ชื่อ “ล็อตเต้ ช้อปปิ้ง”
ชื่อแรกที่ทุกคนนึกถึงคือ “คิง เพาเวอร์”
แต่ตอนนี้ มีร้านค้าปลีกปลอดภาษียักษ์ใหญ่ จากต่างชาติ ได้สิทธิเข้ามาทำธุรกิจในไทย ภายใต้แบรนด์ชื่อ “ล็อตเต้ ช้อปปิ้ง”
คู่แข่ง “คิง เพาเวอร์” รายใหม่นี้เป็นใคร?
ล็อตเต้ ช้อปปิ้ง คือ บริษัทลูกของ “ล็อตเต้ กรุ๊ป” บริษัทสัญชาติเกาหลีใต้ ที่มีธุรกิจค้าปลีกปลอดภาษีใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก
ล็อตเต้ ช้อปปิ้ง จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของเกาหลีใต้ (KRX) โดยมี market cap อยู่ที่ 210,000 ล้านบาท
เมื่อเดือน กรกฎาคม 2560 ล็อตเต้ ช้อปปิ้ง ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการภายใน ศูนย์การค้า Show DC
พร้อมทั้งยังมีแผนอีกว่า จะเดินหน้าธุรกิจโรมแรม รถเช่าและ อาหาร ภายในประเทศไทยเพิ่มอีกเช่นกัน
ผลประกอบการทั่วโลกของล็อตเต้ ช้อปปิ้ง มีดังนี้
ปี 2557 มีรายได้ 831,000 ล้านบาท
ปี 2558 มีรายได้ 861,000 ล้านบาท
ปี 2559 มีรายได้ 873,000 ล้านบาท
ปี 2557 มีรายได้ 831,000 ล้านบาท
ปี 2558 มีรายได้ 861,000 ล้านบาท
ปี 2559 มีรายได้ 873,000 ล้านบาท
ด้าน ผลประกอบการของ คิง เพาเวอร์ ธุรกิจของครอบครัวศรีวัฒนประภาเป็นอย่างไร?
ปี 2557 มีรายได้ 57,000 ล้านบาท
ปี 2558 มีรายได้ 78,000 ล้านบาท
ปี 2559 มีรายได้ 85,000 ล้านบาท
ปี 2557 มีรายได้ 57,000 ล้านบาท
ปี 2558 มีรายได้ 78,000 ล้านบาท
ปี 2559 มีรายได้ 85,000 ล้านบาท
รายได้หลักตามกลุ่มธุรกิจ
คิง เพาวเวอร์ มีการจดทะเบียนแยกเป็น 6 กลุ่มบริษัทย่อย ได้แก่
1. คิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล – ร้านค้าปลีกปลอดภาษี ย่านถนนรางน้ำ, พัทยา และสมุทรปราการ
2. คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี – ธุรกิจจำหน่ายสินค้าปลอดภาษี ภายในสนามบินทั่วประเทศที่ดูแลโดยท่าอากาศยานไทย (AOT)
3. คิง เพาเวอร์ แท็กซ์ฟรี – ร้านจำหน่ายสินค้าของที่ระลึกและสินค้าไทย ที่ดอนเมืองกับสุวรรณภูมิ
4. คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ – ให้บริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั้งหมดรวมทั้งปล่อยเช่าภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
5. คิง เพาเวอร์ มาเก็ตติ้ง แอนด์ เมเนจเมนท์ – จำหน่ายสินค้าปลอดอากรบนเครื่องบินอย่างการบินไทย และแอร์เอเชีย
6. คิง เพาเวอร์ โฮเทล แอนด์ เมเนจเมนท์ - บริหารจัดการโรงแรม พูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพ
1. คิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล – ร้านค้าปลีกปลอดภาษี ย่านถนนรางน้ำ, พัทยา และสมุทรปราการ
2. คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี – ธุรกิจจำหน่ายสินค้าปลอดภาษี ภายในสนามบินทั่วประเทศที่ดูแลโดยท่าอากาศยานไทย (AOT)
3. คิง เพาเวอร์ แท็กซ์ฟรี – ร้านจำหน่ายสินค้าของที่ระลึกและสินค้าไทย ที่ดอนเมืองกับสุวรรณภูมิ
4. คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ – ให้บริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั้งหมดรวมทั้งปล่อยเช่าภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
5. คิง เพาเวอร์ มาเก็ตติ้ง แอนด์ เมเนจเมนท์ – จำหน่ายสินค้าปลอดอากรบนเครื่องบินอย่างการบินไทย และแอร์เอเชีย
6. คิง เพาเวอร์ โฮเทล แอนด์ เมเนจเมนท์ - บริหารจัดการโรงแรม พูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพ
ความท้าทายของ คิง เพาวเวอร์ นอกจากปัจจัยภายนอก ที่มีคู่แข่งที่ใหญ่กว่ามาเปิดแข่งในเมืองแล้ว
แต่ยังเกิดจากปัจจัยภายใน เพราะอายุของสัมปทานที่ คิง เพาวเวอร์ ได้รับอนุญาตให้ขายสินค้าภายในสนามบินสุวรรณภูมิ กำลังจะหมดอายุลงในปี 2563 หรือ 3 ปีข้างหน้า
ซึ่งแน่นอนว่าการประมูลสัมปทานในครั้งหน้า คงจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับ คิง เพาวเวอร์
เพราะคู่แข่งอย่าง ล็อตเต้ ช้อปปิ้ง หรือ เซ็นทรัล เดอะมอลล์ ก็น่าจะจ้องแหล่งรายได้นี้อยู่เช่นกัน..