บริษัทต้องใหญ่แค่ไหน? ถึงไม่ใช่ SME

บริษัทต้องใหญ่แค่ไหน? ถึงไม่ใช่ SME

บริษัทต้องใหญ่แค่ไหน? ถึงไม่ใช่ SME
คนที่อ่านลงทุนแมนคงมีหลายคนที่เป็นเจ้าของบริษัท
หลายคนก็เป็นพนักงานอยู่ในบริษัทต่างๆ
เราเคยสงสัยไหมว่า
บริษัทของเราใหญ่แค่ไหน? เมื่อเทียบกับบริษัทอื่นๆ
ทุกคนรู้ดีว่า บริษัทขนาดเล็ก ขนาดกลาง จะเรียกว่า SME หรือย่อมาจาก Small to Medium Enterprise
แล้วบริษัทต้องใหญ่แค่ไหน? ถึงไม่ใช่ SME
การวัดบริษัทว่าเป็น SME หรือไม่ เกณฑ์หนึ่งที่นิยมใช้คือ การอ้างอิงกับ "เกณฑ์เสียภาษีของกรมสรรพากร"
โดย บริษัทที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี และ มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท จะถือว่าเป็น SME
บริษัทที่เป็น SME จะมีเกณฑ์การเสียภาษีที่น้อยกว่าบริษัททั่วไป คือ
ถ้ากำไรของบริษัทไม่เกิน 3 แสนบาท จะไม่ต้องเสียภาษีใดๆ
ส่วนของกำไรที่เกิน 3 แสนบาท ถึง 3 ล้านบาท จะเสียภาษีในอัตรา 15% ของกำไร
และ สุดท้ายส่วนที่เกิน 3 ล้านบาท จะเสียภาษีในอัตรา 20% ของกำไร
พอเรื่องเป็นแบบนี้
ถ้าบริษัทของเรามีรายได้เกิน 30 ล้านบาทต่อปี (เฉลี่ย 2.5 ล้านบาทต่อเดือน) ก็ภูมิใจได้เลยว่า บริษัทที่เราทำงานอยู่ไม่ใช่ SME แล้วนะ
หรือ บริษัทไหน มีทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท ก็ไม่ใช่ SME เช่นกัน
แต่เดี๋ยวก่อน
ความภูมิใจนี้จะแลกมาด้วยการเสียภาษีที่มากกว่า..
เพราะ กรมสรรพากร จะเก็บภาษีเงินได้เป็นอัตรา 20% จากกำไรของบริษัทตั้งแต่บาทแรก
แล้วแบบไหนถือว่าดีกว่ากัน ?
สรุปก็คือ ดีทั้ง 2 แบบ ถ้าเรามองในแง่ดีในแต่ละมุม
สำหรับคนที่เป็น SME ถึงแม้ว่ารายได้ของบริษัทเราจะไม่มาก แต่เราจะเสียภาษีในอัตราที่น้อยกว่าบริษัททั่วไป
แต่สำหรับบริษัทที่ไม่ใช่ SME ถึงแม้ว่าเราจะเสียภาษีในอัตรา 20% ตั้งแต่บาทแรก
แต่เราก็น่าจะภูมิใจได้ว่า รายได้ของบริษัทเราเติบโตจนกลายเป็นบริษัทขนาดใหญ่ จนคนอื่นเรียกว่าเป็นบริษัทขนาดกลาง หรือขนาดเล็กไม่ได้แล้วนะ..
----------------------
โปรแกรมบัญชีออนไลน์ SMEMOVE โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปที่ออกแบบมาสำหรับ SME ฟังก์ชันครบทุกการใช้งาน
https://smemove.com/
----------------------
Tag: SME

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon