ทำไม ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ SME อาจเจ็บตัว ขณะที่บริษัทใหญ่ อาจได้ประโยชน์
ทำไม ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ SME อาจเจ็บตัว ขณะที่บริษัทใหญ่ อาจได้ประโยชน์ /โดย ลงทุนแมน
เรื่องการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เราน่าจะได้ยินกันมานานมาก
ที่ผ่านมาอาจจะมีการปรับเพิ่มกันทีละนิด
แต่ที่เป็นประเด็นตอนนี้ซึ่งสังคมถามถึงคือ การเพิ่มจากฐาน 300 กว่าบาท ไประดับ 400 กว่าบาท ในระยะเวลาสั้น ๆ
เรื่องการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เราน่าจะได้ยินกันมานานมาก
ที่ผ่านมาอาจจะมีการปรับเพิ่มกันทีละนิด
แต่ที่เป็นประเด็นตอนนี้ซึ่งสังคมถามถึงคือ การเพิ่มจากฐาน 300 กว่าบาท ไประดับ 400 กว่าบาท ในระยะเวลาสั้น ๆ
แน่นอนว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ฝั่งผู้บริโภคโดยเฉพาะกลุ่มแรงงาน จะมีกำลังในการจับจ่ายใช้สอยได้มากขึ้น ซึ่งอาจช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้
ในทางกลับกัน ฝั่งผู้ประกอบการ ก็ต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้น กำไรของกิจการ ก็อาจจะน้อยลง หากไม่สามารถปรับราคาสินค้าได้
แต่รู้หรือไม่ว่า เรื่องนี้ยังมีอีกมุมหนึ่งที่ต้องพูดถึง
นั่นคือ ถ้าปรับค่าแรงขั้นต่ำแล้ว
SME จะเจ็บตัว ส่วนบริษัทใหญ่อาจจะได้ประโยชน์
นั่นคือ ถ้าปรับค่าแรงขั้นต่ำแล้ว
SME จะเจ็บตัว ส่วนบริษัทใหญ่อาจจะได้ประโยชน์
ทำไมการปรับค่าแรงขั้นต่ำ จึงกระทบต่อธุรกิจรายเล็กและรายใหญ่ แตกต่างกัน ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ปัจจุบัน หากอ้างอิงค่าแรงขั้นต่ำของพื้นที่กรุงเทพฯ ก็จะอยู่ที่ 363 บาทต่อวัน
ในขณะที่สูงสุดคือ ภูเก็ต จะอยู่ที่ 370 บาทต่อวัน
และจังหวัดอื่น ๆ ก็จะอยู่ที่ประมาณ 330-360 บาทต่อวัน
ในขณะที่สูงสุดคือ ภูเก็ต จะอยู่ที่ 370 บาทต่อวัน
และจังหวัดอื่น ๆ ก็จะอยู่ที่ประมาณ 330-360 บาทต่อวัน
ที่น่ากังวลคือ ค่าแรงขั้นต่ำของไทยอยู่ในระดับ 300 กว่าบาท มานานมากกว่า 10 ปีแล้ว
ซึ่งผู้ที่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำ ก็คือกลุ่มอาชีพที่ไม่ได้ใช้ทักษะวิชาชีพมากมาย เน้นการใช้แรงงานเป็นหลัก
โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง และเกษตรกรรม รวมถึงร้านอาหารข้างทาง ที่มีหน้าที่เจาะจงอย่าง เด็กเสิร์ฟ หรือล้างจาน เป็นต้น
ดังนั้น เมื่อปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ
ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SME)
รวมถึงอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น ที่มีการจ้างแรงงานในกลุ่มนี้อยู่เยอะ ก็จะได้รับผลกระทบทันที
ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SME)
รวมถึงอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น ที่มีการจ้างแรงงานในกลุ่มนี้อยู่เยอะ ก็จะได้รับผลกระทบทันที
หากปรับจาก 360 บาทต่อวัน เป็น 400 บาทต่อวัน ก็เพิ่มขึ้น 11%
หากเพิ่มเป็น 450 บาทต่อวัน ก็จะเท่ากับ เพิ่มขึ้นถึง 25%
หากเพิ่มเป็น 450 บาทต่อวัน ก็จะเท่ากับ เพิ่มขึ้นถึง 25%
ประเด็นคือ กลุ่ม SME อาจมีอำนาจต่อรองในตลาดต่ำ จึงผลักภาระต้นทุนไปที่ราคาขายได้ยาก
หากขึ้นราคาสูงไป ลูกค้าก็ไม่ซื้อ
หรือหากไม่ขึ้นราคา กำไรที่ได้ก็อาจจะน้อยลง หรือแม้แต่ขาดทุน
หรือหากไม่ขึ้นราคา กำไรที่ได้ก็อาจจะน้อยลง หรือแม้แต่ขาดทุน
ส่วนผลกระทบต่อฝั่งธุรกิจขนาดใหญ่ อาจเป็นภาพที่ต่างกัน
นั่นก็เพราะ ในบริษัทขนาดใหญ่ ที่มียอดขายหลักพันล้านบาท หมื่นล้านบาท
ต้นทุนพนักงานส่วนใหญ่ จะเป็นแรงงานทักษะสูง ที่ไม่ค่อยเกี่ยวกับค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว
ต้นทุนพนักงานส่วนใหญ่ จะเป็นแรงงานทักษะสูง ที่ไม่ค่อยเกี่ยวกับค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว
ในขณะที่ส่วนของการจ้างแรงงานในระดับค่าแรงขั้นต่ำ
กลุ่มนี้ก็มีเงินมากพอที่จะใช้หุ่นยนต์หรือเครื่องจักรทุ่นแรงเข้ามาทดแทนแรงงานมนุษย์ เพื่อทำงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะหรือวิชาชีพใด ๆ
กลุ่มนี้ก็มีเงินมากพอที่จะใช้หุ่นยนต์หรือเครื่องจักรทุ่นแรงเข้ามาทดแทนแรงงานมนุษย์ เพื่อทำงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะหรือวิชาชีพใด ๆ
โดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่มีการผลิตและทำซ้ำจำนวนมาก ๆ
ทำให้ถึงแม้จะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำไปเท่าไร
กลุ่มนี้ที่เลือกจ้างแต่แรงงานทักษะสูงในโรงงานหรือออฟฟิศ ก็จะไม่ได้รับผลกระทบ
กลุ่มนี้ที่เลือกจ้างแต่แรงงานทักษะสูงในโรงงานหรือออฟฟิศ ก็จะไม่ได้รับผลกระทบ
อย่างไรก็ตาม บริษัทใหญ่ก็อาจได้รับผลกระทบบ้าง จากราคาวัตถุดิบ หรืออะไรก็ตามที่ยังผลิตโดยใช้แรงงานคนเป็นหลัก เช่น สินค้าเกษตร
แต่บริษัทใหญ่ มักมีอำนาจต่อรองกับซัปพลายเออร์สูง จึงสามารถชะลอหรือทยอยปรับราคารับซื้อวัตถุดิบได้ โดยที่ไม่กระทบกับกำไรของกิจการมากนัก
นอกจากนี้ บริษัทเหล่านี้ยังมีสภาพคล่องและเครื่องมืออีกมาก ในการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของต้นทุนการผลิต
ในขณะที่ SME อาจจะยากกว่า เพราะอำนาจต่อรองน้อยกว่า
เมื่อต้นทุนค่าแรงและวัตถุดิบเพิ่มขึ้น จึงไม่มีทางเลือกมากนัก และส่วนใหญ่ก็จบที่การขึ้นราคาแทบจะในทันที เพื่อให้กิจการอยู่รอดได้
เมื่อต้นทุนค่าแรงและวัตถุดิบเพิ่มขึ้น จึงไม่มีทางเลือกมากนัก และส่วนใหญ่ก็จบที่การขึ้นราคาแทบจะในทันที เพื่อให้กิจการอยู่รอดได้
ซึ่งอีกมุมที่ต้องพูดถึงในเรื่องการปรับค่าแรง ก็คือ หากบริษัทไหน ไม่ได้มีการจ้างแรงงานในระดับค่าแรงขั้นต่ำ หรือจ้างในสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับต้นทุนทั้งหมด โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ ๆ
เมื่อมีการปรับค่าแรงขั้นต่ำขึ้นมา สินค้าของบริษัท ก็อาจขายได้ดีขึ้น ตามกำลังซื้อของผู้คนที่เพิ่มขึ้น
และหากการผลิตของบริษัทเหล่านี้ ไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ บริษัทก็อาจมีอัตรากำไรเพิ่มขึ้นได้
ต่างจากบริษัท SME ที่มีต้นทุนผูกพันกับค่าแรงขั้นต่ำ อัตรากำไรก็อาจจะลดลง นั่นเอง
จะเห็นว่า เมื่อเกิดการปรับค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งเป็นผลบังคับตามกฎหมาย ผลกระทบที่ตามมาจะส่งผลไม่เท่ากันระหว่างรายเล็กและรายใหญ่ รวมถึงธุรกิจที่อยู่ในต่างอุตสาหกรรมกัน
เรื่องนี้ไม่ใช่ความผิดของใคร
เพราะการยกระดับของทักษะวิชาชีพ เพื่อให้ได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น คือสิ่งที่จำเป็น หากเราต้องการยกระดับรายได้ของประชาชน
บริษัทใหญ่เติบโต และยอมจ่ายค่าแรงที่สูงกว่า เพื่อแลกกับทักษะสกิลของพนักงานที่จำเป็นและมีมูลค่าจริง ๆ
ส่วนการปรับค่าแรงขั้นต่ำ ให้สอดคล้องกับระดับค่าครองชีพที่สูงขึ้น เพื่อให้ประชาชนไม่ลำบากจนเกินไป ก็เป็นสิ่งที่รัฐควรทำ
ในขณะที่ธุรกิจขนาดเล็ก หากยังคงพึ่งพาค่าแรงขั้นต่ำเป็นข้อได้เปรียบเหมือนอย่างในอดีต
เมื่อถึงคราวที่ค่าแรงขั้นต่ำปรับขึ้น ข้อได้เปรียบที่เคยมี
อาจกลายเป็นหอกทิ่มแทงกิจการ
และกลายเป็นจุดอ่อน ที่ทำให้แข่งขันได้ยากขึ้นเช่นกัน
อาจกลายเป็นหอกทิ่มแทงกิจการ
และกลายเป็นจุดอ่อน ที่ทำให้แข่งขันได้ยากขึ้นเช่นกัน
ซึ่ง SME ก็สามารถปรับตัว เพื่อลดผลกระทบจากเรื่องนี้ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทักษะแรงงานให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น หรือการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย
และที่สำคัญ ก็เป็นโจทย์ที่ภาครัฐ ต้องออกนโยบายต่าง ๆ มาช่วยเหลือบรรดา SME ไทย ที่จะได้รับผลกระทบ ควบคู่ไปกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำด้วย..