กรณีศึกษา ทำไม Grab แพงขึ้น
กรณีศึกษา ทำไม Grab แพงขึ้น / โดย ลงทุนแมน
รู้ไหมว่า Grab แอปพลิเคชันเรียกแท็กซี่น้องใหม่ ถูกประเมินมูลค่าที่ระดับ 3.4 แสนล้านบาท
ใหญ่เทียบเท่าบริษัทเซ็นทรัลพัฒนา (CPN) ของไทยที่เปิดมานานกว่าหลายสิบปี
ใหญ่เทียบเท่าบริษัทเซ็นทรัลพัฒนา (CPN) ของไทยที่เปิดมานานกว่าหลายสิบปี
และในปีที่ผ่านมา..
หนึ่งในดีลที่ถูกพูดถึงมากสุดคงหนีไม่พ้นการรวมกันระหว่าง Grab และ Uber
ซึ่งหลังจากเหตุการณ์นี้
ผู้ใช้ Grab จะเห็นอัตราค่าโดยสารแพงขึ้น
รวมทั้งโปรโมชันส่วนลดที่เคยได้ก็ลดน้อยลง
หนึ่งในดีลที่ถูกพูดถึงมากสุดคงหนีไม่พ้นการรวมกันระหว่าง Grab และ Uber
ซึ่งหลังจากเหตุการณ์นี้
ผู้ใช้ Grab จะเห็นอัตราค่าโดยสารแพงขึ้น
รวมทั้งโปรโมชันส่วนลดที่เคยได้ก็ลดน้อยลง
เรื่องนี้มีความเป็นมาอย่างไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
Uber เคยประกาศว่าจะขยายธุรกิจไปทั่วโลก
และ Uber ก็ได้ขยายธุรกิจมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย
แต่เมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้วกลับมีข่าวว่าธุรกิจ Uber ในภูมิภาคนี้จะถูกรวมเข้ากับ Grab คู่แข่งรายสำคัญจากสิงคโปร์
โดย Grab จะได้รับข้อมูลบัญชีผู้ใช้และพนักงานของ Uber
ส่วน Uber จะได้หุ้นจาก Grab 27.5%
ส่วน Uber จะได้หุ้นจาก Grab 27.5%
CEO ของ Uber ได้ออกมาให้เหตุผลว่า
การรบในหลายๆ สมรภูมิพร้อมกันทำให้ต้องสู้กับคู่แข่งหลายคน
ดังนั้น Uber จึงเลือกที่จะถอนตัวออกมาเพื่อโฟกัสเฉพาะตลาดที่ตนเองเชี่ยวชาญ
และในตลาดที่ไม่ได้เข้าไปเล่นเอง Uber ก็จะเก็บเกี่ยวผลตอบแทนจากการลงทุนในบริษัทที่เคยเป็นคู่แข่งแทน
เหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
เพราะก่อนหน้านั้นคือที่ประเทศจีน
เพราะก่อนหน้านั้นคือที่ประเทศจีน
ในปี 2016 Uber ประเทศจีนก็รวมเข้ากับ Didi Chuxing ที่เป็นบริษัทคู่แข่ง แลกกับการเข้าไปถือหุ้นของ Didi Chuxing
ที่น่าสนใจคือผู้สนับสนุนให้เกิดดีลทั้งหมดนี้คือ “SoftBank” บริษัท Venture Capital ยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่น
แล้ว SoftBank เกี่ยวอะไรกับ Grab และ Uber?
SoftBank เป็นผู้ที่ลงทุนในบริษัทสตาร์ตอัปหลายแห่ง รวมถึงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ Grab และ Uber
นอกจากนั้น SoftBank ยังลงทุนในสตาร์ตอัปที่ให้บริการเรียกรถ (Ride-hailing) อีกหลายบริษัท
OLA จากอินเดีย
Didi Chuxing จากจีน
99 จากบราซิล
Didi Chuxing จากจีน
99 จากบราซิล
การรวมกันของ Grab และ Uber ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดูเหมือนว่าจะส่งผลประโยชน์ให้กับทุกฝ่าย
Grab ได้ฐานลูกค้าจาก Uber รวมทั้งลดจำนวนคู่แข่งลง
Uber ได้รับผลตอบแทนจากหุ้นของ Grab
Uber ได้รับผลตอบแทนจากหุ้นของ Grab
และดูเหมือนคนที่ได้ประโยชน์ในวงจรนี้ขั้นสูงสุดก็คือ SoftBank ที่เป็นเจ้าของทั้งคู่..
แล้วในมุมของเราที่เป็นผู้ใช้งานจะได้อะไร?
บริษัท แกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด
ปี 2559 รายได้ 104 ล้านบาท ขาดทุน 516 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 509 ล้านบาท ขาดทุน 985 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้ 104 ล้านบาท ขาดทุน 516 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 509 ล้านบาท ขาดทุน 985 ล้านบาท
เมื่อเห็นตัวเลขนี้ก็ต้องยอมรับว่า เมื่อก่อน Grab ขาดทุน และไม่ว่าบริษัทไหนก็อยากมีกำไร
หลังการควบรวมของ Grab และ Uber จะทำให้มีผู้เล่นเหลือรายเดียว
เมื่อเหลือรายเดียวก็ไม่ต้องมีการแข่งขันด้านราคา
ทั้งฝ่ายให้ผลตอบแทนแก่คนขับ
และฝ่ายลดค่าโดยสารแก่ลูกค้า
ทั้งฝ่ายให้ผลตอบแทนแก่คนขับ
และฝ่ายลดค่าโดยสารแก่ลูกค้า
จะเห็นได้ว่าคนขับ Grab จะได้ค่าตอบแทนน้อยลงกว่าเมื่อก่อน
จนถึงขั้นบางคนไปซื้อรถเพื่อมาขับ Grab แต่พอมาตอนนี้ รายได้กลับไม่พอค่าผ่อนรถ
จนถึงขั้นบางคนไปซื้อรถเพื่อมาขับ Grab แต่พอมาตอนนี้ รายได้กลับไม่พอค่าผ่อนรถ
สำหรับผู้โดยสารก็จะพบว่าค่าบริการของ Grab จะสูงขึ้น และมีโปรโมชันส่วนลดน้อยลงจากเมื่อก่อน
เรื่องนี้เองที่ทำให้คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐของสิงคโปร์ (Competition and Consumer Commission of Singapore - CCCS) ระบุว่าการควบรวมของ Grab และ Uber ทำผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการผูกขาดด้านธุรกิจ
CCCS กล่าวว่า Grab ได้สัดส่วนการตลาด Ride-hailing ในสิงคโปร์มากถึง 80% และยังส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องอื่น ไม่ว่าจะเป็นบริษัทแท็กซี่ไปจนถึงบริษัทให้เช่ารถ
ซึ่งผลของเรื่องนี้ก็คือ CCCS สั่งปรับเงิน Grab และ Uber เป็นจำนวน 9.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยเกือบ 300 ล้านบาท
ไม่เพียงเท่านั้น CCCS ยังสั่งให้ Grab คงอัตราค่าธรรมเนียมและค่าคอมมิชชั่นตามเดิม
รวมทั้งให้ Uber ขายธุรกิจให้เช่ารถ Lion City Rentals ให้กับคู่แข่งอื่นที่ไม่ใช่ Grab
รวมทั้งให้ Uber ขายธุรกิจให้เช่ารถ Lion City Rentals ให้กับคู่แข่งอื่นที่ไม่ใช่ Grab
อย่างไรก็ตามข้อบังคับนี้มีขอบเขตการบังคับเฉพาะในประเทศสิงคโปร์เท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน
นอกจากสิงคโปร์แล้ว ฟิลิปปินส์ก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ออกกฎควบคุม Grab หลังจากการควบรวมบริษัท ซึ่งข้อกำหนดส่วนใหญ่ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับ CCCS ของสิงคโปร์
จริงๆ แล้วไม่ได้มีแค่ 2 ประเทศนี้เท่านั้นที่มีกฎหมายควบคุมการผูกขาดธุรกิจ
เกือบทุกประเทศในอาเซียนรวมถึงประเทศไทย มีกฎหมายดังกล่าว แต่ประเทศเหล่านี้ยังขาดการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง
เห็นได้จากกรณีของ Grab และ Uber ซึ่งมีเพียง 2 ประเทศจาก 8 ประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้
หลังจากอ่านมาถึงตรงนี้ก็น่าคิดว่า
ประเทศไทยในอนาคตจะมีคู่แข่งอื่นที่มาสู้กับ Grab ได้หรือไม่
ประเทศไทยในอนาคตจะมีคู่แข่งอื่นที่มาสู้กับ Grab ได้หรือไม่
หรือเราจำเป็นต้องมีทางเลือกเดียวในตลาดนี้ คือ Grab ตลอดไป..
----------------------
อ่านเรื่อง Grab ซื้อกิจการ Uber ได้ที่ https://www.blockdit.com/articles/5b30b148076e65512a687079
----------------------
อ่านเรื่อง Grab ซื้อกิจการ Uber ได้ที่ https://www.blockdit.com/articles/5b30b148076e65512a687079
ติดตามเรื่องหลากหลาย จากผู้เขียนเก่งๆ หลายท่าน ในแอป blockdit โหลดได้ที่ http://www.blockdit.com
สั่งซื้อหนังสือลงทุนแมน 9.0 ได้ที่
Lazada: https://www.lazada.co.th/products/90-i293980783-s493954943.html
Lazada: https://www.lazada.co.th/products/90-i293980783-s493954943.html
Shopee: https://shopee.co.th/Longtunman-หนังสือ-ลงทุนแมน-9.0-i.116732911.1933827833
----------------------
References
-http://fortune.com/2018/03/26/uber-grab-softbank-southeast-asia/
-https://qz.com/1187144/softbank-not-uber-is-the-real-king-of-ride-hailing/
-http://fortune.com/2018/09/24/uber-grab-singapore-merger-antitrust/
-https://techcrunch.com/2018/09/23/uber-and-grab-hit-with-9-5m-in-fines/
-https://lawforasean.com/blog/2017/10/c?lang=th
-https://en.wikipedia.org/wiki/Timeline_of_Uber
----------------------
References
-http://fortune.com/2018/03/26/uber-grab-softbank-southeast-asia/
-https://qz.com/1187144/softbank-not-uber-is-the-real-king-of-ride-hailing/
-http://fortune.com/2018/09/24/uber-grab-singapore-merger-antitrust/
-https://techcrunch.com/2018/09/23/uber-and-grab-hit-with-9-5m-in-fines/
-https://lawforasean.com/blog/2017/10/c?lang=th
-https://en.wikipedia.org/wiki/Timeline_of_Uber