ORACLE vs SAP ศึกซอฟต์แวร์องค์กรล้านล้าน
ORACLE vs SAP ศึกซอฟต์แวร์องค์กรล้านล้าน / โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึงบริษัทซอฟต์แวร์มูลค่ามากสุดในโลก
อันดับที่ 1 Microsoft 25.3 ล้านล้านบาท
อันดับที่ 2 Oracle 6.7 ล้านล้านบาท
อันดับที่ 3 SAP 4.0 ล้านล้านบาท
อันดับที่ 1 Microsoft 25.3 ล้านล้านบาท
อันดับที่ 2 Oracle 6.7 ล้านล้านบาท
อันดับที่ 3 SAP 4.0 ล้านล้านบาท
จากอันดับข้างต้น
หลายคนคงคุ้นเคยกับ Microsoft ของ Bill Gates
แต่อาจจะยังไม่คุ้นกับ Oracle และ SAP
หลายคนคงคุ้นเคยกับ Microsoft ของ Bill Gates
แต่อาจจะยังไม่คุ้นกับ Oracle และ SAP
เพราะลูกค้าของทั้งสองบริษัทไม่ใช่ คนทั่วไป..
แล้วลูกค้าของพวกเขาคือใคร?
แล้วลูกค้าของพวกเขาคือใคร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
จริงๆ แล้ว ลูกค้าของทั้ง Oracle และ SAP ก็คือ บริษัท นั่นเอง..
สองบริษัทนี้ทำธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์วางแผนข้อมูลและทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร
หรือที่เรียกกันว่า ERP (Enterprise Resource Planning)
หรือที่เรียกกันว่า ERP (Enterprise Resource Planning)
SAP ย่อมาจาก System Applications & Products in Data Processing
เป็นบริษัทสัญชาติเยอรมัน ก่อตั้งขึ้นในปี 1972 โดยอดีตพนักงาน IBM 5 คน
เป็นบริษัทสัญชาติเยอรมัน ก่อตั้งขึ้นในปี 1972 โดยอดีตพนักงาน IBM 5 คน
ในขณะที่ Oracle เป็นบริษัทสัญชาติอเมริกัน
ก่อตั้งในปี 1977 โดยคุณ Larry Ellison, Bob Miner และ Ed Oates
ก่อตั้งในปี 1977 โดยคุณ Larry Ellison, Bob Miner และ Ed Oates
แล้วทำไมบริษัทต้องมีซอฟต์แวร์ ERP
สมมติตัวอย่างง่ายๆ คือ..
Unilever ผลิตแชมพู Dove
หลังจากผลิตเสร็จแล้ว จึงส่งสินค้าไปเก็บที่คลัง
ขั้นตอนสุดท้าย หากมีการสั่งของ ก็จะทำการจัดส่งสินค้าให้กับผู้จัดจำหน่าย..
หลังจากผลิตเสร็จแล้ว จึงส่งสินค้าไปเก็บที่คลัง
ขั้นตอนสุดท้าย หากมีการสั่งของ ก็จะทำการจัดส่งสินค้าให้กับผู้จัดจำหน่าย..
คำถาม คือ ถ้าขนาดธุรกิจเราใหญ่มากๆ
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสินค้าออกจากคลังไปแล้วจริงๆ
แล้วยอดขายที่เราบันทึก ตรงกับฝั่งบัญชีหรือไม่?
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสินค้าออกจากคลังไปแล้วจริงๆ
แล้วยอดขายที่เราบันทึก ตรงกับฝั่งบัญชีหรือไม่?
เรื่องนี้กลายมาเป็นโจทย์
ที่ทำให้เกิดธุรกิจซอฟต์แวร์จัดโครงสร้างข้อมูลองค์กรเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว
ที่ทำให้เกิดธุรกิจซอฟต์แวร์จัดโครงสร้างข้อมูลองค์กรเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว
ซอฟต์แวร์ดังกล่าวถูกออกแบบและพัฒนามาสำหรับธุรกิจทุกรูปแบบ
ตั้งแต่ฝั่งการผลิต ฝั่งซัพพลายเชน และทั้งหมดไหลไปรวมกันที่ฝั่งบัญชี
ตั้งแต่ฝั่งการผลิต ฝั่งซัพพลายเชน และทั้งหมดไหลไปรวมกันที่ฝั่งบัญชี
สรุปง่ายๆ คือ SAP และ Oracle ออกแบบซอฟต์แวร์ให้บริษัทต่างๆ นำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจ และวางแผนเรื่องข้อมูลทั้งหมดให้อยู่บนแพลตฟอร์มเดียวกัน..
เมื่อโรงงานส่งของไปแล้ว คลังรู้ทันที
คลังตัดจำหน่ายสินค้าไปแล้ว ฝ่ายขายรู้ทันที
ฝ่ายขายลงตัวเลขผิด บัญชีรู้ทันทีและสามารถแก้ไขได้ทัน
คลังตัดจำหน่ายสินค้าไปแล้ว ฝ่ายขายรู้ทันที
ฝ่ายขายลงตัวเลขผิด บัญชีรู้ทันทีและสามารถแก้ไขได้ทัน
ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตส่วนใหญ่ โรงงาน, คลัง และสำนักงาน จะอยู่คนละที่
แต่ ERP นำข้อมูลของแหล่งต่างๆ เหล่านี้มารวมกัน
แต่ ERP นำข้อมูลของแหล่งต่างๆ เหล่านี้มารวมกัน
หมายความว่าระบบ ERP ที่เกิดขึ้นแบบ Real-time ส่งผลให้ข้อมูลของธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น
รวมไปถึงการลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างทางนั่นเอง..
รวมไปถึงการลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างทางนั่นเอง..
แล้วผลประกอบการของทั้งสองบริษัทเป็นอย่างไร?
บริษัท SAP
ปี 2015 รายได้ 7.45 แสนล้านบาท กำไร 1.09 แสนล้านบาท
ปี 2016 รายได้ 7.91 แสนล้านบาท กำไร 1.31 แสนล้านบาท
ปี 2017 รายได้ 8.41 แสนล้านบาท กำไร 1.44 แสนล้านบาท
ปี 2015 รายได้ 7.45 แสนล้านบาท กำไร 1.09 แสนล้านบาท
ปี 2016 รายได้ 7.91 แสนล้านบาท กำไร 1.31 แสนล้านบาท
ปี 2017 รายได้ 8.41 แสนล้านบาท กำไร 1.44 แสนล้านบาท
บริษัท Oracle
ปี 2015 รายได้ 1.16 ล้านล้านบาท กำไร 2.79 แสนล้านบาท
ปี 2016 รายได้ 1.18 ล้านล้านบาท กำไร 2.93 แสนล้านบาท
ปี 2017 รายได้ 1.25 ล้านล้านบาท กำไร 1.19 แสนล้านบาท
ปี 2015 รายได้ 1.16 ล้านล้านบาท กำไร 2.79 แสนล้านบาท
ปี 2016 รายได้ 1.18 ล้านล้านบาท กำไร 2.93 แสนล้านบาท
ปี 2017 รายได้ 1.25 ล้านล้านบาท กำไร 1.19 แสนล้านบาท
แล้วโครงสร้างรายได้ของทั้งสองบริษัทเป็นอย่างไร?
รายได้ SAP มาจาก Cloud and License 83% และ Services 17%
รายได้ Oracle มาจาก Cloud and License 82%, Hardware 10% และ Services 8%
รายได้ Oracle มาจาก Cloud and License 82%, Hardware 10% และ Services 8%
หลักๆ แล้ว รายได้ของซอฟต์แวร์จะมาจาก License และในระยะหลังเริ่มปรับโมเดลให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้นผ่านเทคโนโลยี Cloud
เรื่องนี้ทำให้ซอฟต์แวร์ที่ดูเหมือนใช้งานยากถูกปรับโฉมให้เข้าถึงผู้ประกอบการรายเล็กลงมาได้มากขึ้น
รวมไปถึงบริษัท IT Consulting ที่ซื้อลิขสิทธิ์ไปออกแบบระบบให้กับองค์กรอย่าง Accenture, Deloitte หรือ EY (Ernst & Young) มีลูกเล่นมากขึ้นตามไปด้วย..
นอกจากนี้ หากแบ่งรายได้ตามแต่ละภูมิภาคบริษัท
SAP มีลูกค้าในมือ 425,000 บัญชี
มาจากโซนเอเชีย 16%
โซนอเมริกา 40%
โซนยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา (EMEA) 44%
มาจากโซนเอเชีย 16%
โซนอเมริกา 40%
โซนยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา (EMEA) 44%
รวมไปถึงการเป็นพาร์ตเนอร์กับอีก 18,000 บริษัท ที่ให้บริการครอบคลุม 180 ประเทศ
ในขณะที่ Oracle มีลูกค้าในมือ 430,000 บัญชี
มาจากโซนเอเชีย 16%
โซนอเมริกา 55%
โซนยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา (EMEA) 29%
มาจากโซนเอเชีย 16%
โซนอเมริกา 55%
โซนยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา (EMEA) 29%
จะเห็นได้ว่า Oracle มีรายได้จากโซนอเมริกาเกินกว่าครึ่งของรายได้ทั้งหมด
กลับกัน SAP มีรายได้จากทั้งอเมริกา และกลุ่ม EMEA เท่าๆ กัน..
กลับกัน SAP มีรายได้จากทั้งอเมริกา และกลุ่ม EMEA เท่าๆ กัน..
ปิดท้ายด้วยมูลค่าของทั้งสองบริษัท
Oracle 6.7 ล้านล้านบาท
SAP 4.0 ล้านล้านบาท
SAP 4.0 ล้านล้านบาท
มาถึงตรงนี้ เราจะเห็นได้ว่าทั้ง 2 บริษัทแข่งขันกันอย่างสูสี..
อย่างไรก็ตาม เบื้องหลังความสำเร็จของทั้ง SAP และ Oracle น่าจะมาจากเสน่ห์ของธุรกิจ Business to Business ที่ยอมจ่ายเพื่อสิ่งที่ดีสำหรับบริษัท ซึ่งเรียกว่า ความไว้วางใจ
โดยความไว้วางใจนี้ มีการเดิมพันที่ว่า
“ข้อมูลของบริษัทเราทั้งหมด เราจะฝากไว้ที่คุณ..”
----------------------
อ่านเรื่องหลากหลาย จากผู้เขียนเก่งๆ หลายท่าน โหลดแอป blockdit ได้ที่ blockdit.com
“ข้อมูลของบริษัทเราทั้งหมด เราจะฝากไว้ที่คุณ..”
----------------------
อ่านเรื่องหลากหลาย จากผู้เขียนเก่งๆ หลายท่าน โหลดแอป blockdit ได้ที่ blockdit.com
สั่งหนังสือลงทุนแมน เล่ม 8 ได้ที่
Lazada https://s.lazada.co.th/s.RpFk
Shopee http://bit.ly/2HVWiqj
----------------------
References
-Yahoo Finance
-Market Capitalisation, YChart
-SAP SE Annual Report 2017
-Oracle Corporation Annual Report 2017
Lazada https://s.lazada.co.th/s.RpFk
Shopee http://bit.ly/2HVWiqj
----------------------
References
-Yahoo Finance
-Market Capitalisation, YChart
-SAP SE Annual Report 2017
-Oracle Corporation Annual Report 2017