วิกฤติ ปาล์มน้ำมัน
วิกฤติ ปาล์มน้ำมัน / โดย ลงทุนแมน
“รณรงค์ปลูกปาล์มน้ำมันแทนยางพารา”
เชื่อว่าเราน่าจะคุ้นเคยกับประโยคนี้กันเป็นอย่างดี
เพราะเมื่อพูดถึงพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยจำนวนมาก
หนึ่งในนั้นคงไม่พ้นชื่อของ ปาล์มน้ำมัน
เพราะเมื่อพูดถึงพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยจำนวนมาก
หนึ่งในนั้นคงไม่พ้นชื่อของ ปาล์มน้ำมัน
แต่มาวันนี้ อนาคตของปาล์มน้ำมัน
อาจจะไม่สดใสเหมือนเมื่ออดีตอีกต่อไป
อาจจะไม่สดใสเหมือนเมื่ออดีตอีกต่อไป
เกิดอะไรขึ้นกับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันกันแน่?
ก่อนอื่นมาดูกันว่าผลผลิตของปาล์มน้ำมันสามารถไปใช้ทำอะไรได้บ้าง?
หลายๆ คนอาจจะนึกออกเพียงแค่ น้ำมันปาล์มที่ใช้ทำอาหาร
แต่จริงๆ แล้วผลผลิตที่ได้จากปาล์มน้ำมัน กลับเป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของทุกคน
เพื่อให้เห็นภาพง่ายขึ้น เราจะขอแบ่งการใช้ออกเป็น 2 ประเภท
อย่างแรกคือ การใช้เพื่ออุปโภคบริโภค เช่น การนำไปใช้ในอาหาร และ การนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอางและยา
อย่างที่สองคือ การนำไปใช้ในอุตสาหกรรมพลังงาน เช่น การทำ Biofuel หรือ การนำไปเป็นเชื้อเพลิง
เมื่อน้ำมันปาล์มอยู่ในชีวิตประจำวันขนาดนี้ แล้ววิกฤติปาล์มน้ำมันเกิดขึ้นได้อย่างไร?
เมื่อน้ำมันปาล์มอยู่ในชีวิตประจำวันขนาดนี้ แล้ววิกฤติปาล์มน้ำมันเกิดขึ้นได้อย่างไร?
เรื่องนี้อาจเป็นเรื่องที่เรานึกไม่ถึง
เพราะพฤติกรรมการใช้น้ำมันปาล์มของประเทศที่พัฒนาแล้วได้เปลี่ยนไป
ตัวเลขการใช้น้ำมันปาล์มของทวีปยุโรป ซึ่งมียอดใช้รวมเป็นลำดับที่ 3 ของโลก
12 ปีก่อน ทวีปยุโรปใช้น้ำมันปาล์มเพื่ออุปโภคบริโภค อยู่ที่ 82%
6 ปีก่อน ทวีปยุโรปใช้น้ำมันปาล์มเพื่ออุปโภคบริโภค อยู่ที่ 62%
และเมื่อปีที่แล้ว ทวีปยุโรปใช้น้ำมันปาล์มเพื่ออุปโภคบริโภค อยู่ที่ 39%
6 ปีก่อน ทวีปยุโรปใช้น้ำมันปาล์มเพื่ออุปโภคบริโภค อยู่ที่ 62%
และเมื่อปีที่แล้ว ทวีปยุโรปใช้น้ำมันปาล์มเพื่ออุปโภคบริโภค อยู่ที่ 39%
เราจะเห็นว่าแนวโน้มของการใช้เพื่ออุปโภคและบริโภคกำลังลดลง เพราะอะไรถึงเป็นแบบนั้น?
เมื่อประมาณ 3 ปีก่อนได้มีงานวิจัยแสดงว่า การรับประทานอาหารที่ใช้น้ำมันปาล์มในปริมาณที่มากจะเป็นการเพิ่มไขมันชนิดที่ไม่ดีให้กับร่างกาย (LDL) ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
พอเป็นแบบนี้แล้ว การบริโภคน้ำมันปาล์มจึงลดลงไปอย่างมาก และหันไปใช้น้ำมันทางเลือกอื่นๆ แทน เช่น น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันทานตะวัน และน้ำมันเรพซีด (คาโนลา)
แม้ว่าการบริโภคจะลดลง แต่อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มก็ยังไม่ได้ซบเซาลงไปเสียทีเดียว
เพราะการใช้น้ำมันปาล์มผลิต Biofuel กำลังมีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับประชากรของโลกที่เพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี
โดยพบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ความต้องการน้ำมันปาล์มเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอยู่ที่ปีละ 3.5 %
ดูเหมือนว่าอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มกำลังจะไปได้เรื่อยๆ จาก Biofuel หรือ การนำไปเป็นเชื้อเพลิง
แต่แล้ว Biofuel ที่เคยเป็นความหวัง กลับเกิดเรื่องไม่คาดฝันขึ้น
ต้นปีที่ผ่านมา ยุโรปได้เตรียมเสนอร่างกฎหมายห้ามใช้น้ำมันปาล์มในการผลิต Biofuel โดยเฉพาะที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงรถยนต์ พร้อมกับจะเลิกการใช้น้ำมันปาล์มใน Biofuel ทั้งหมดภายในปี 2020
เนื่องจากทางยุโรปต้องการที่จะลดการทำลายสิ่งแวดล้อมในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย เพราะการปลูกปาล์มใน 2 ประเทศนี้เกิดจากการถางป่า
แปลว่า น้ำมันปาล์มส่วนที่ยุโรปต้องใช้ในแต่ละปี ก็จะค่อยลดลงเรื่อยๆ จนเหลือศูนย์ในปี 2020 นั่นเอง
แต่ความโชคร้ายของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มก็ยังไม่หยุดแต่เพียงเท่านี้
เพราะ อินเดีย ซึ่งเป็นผู้บริโภคน้ำมันปาล์มอันดับหนึ่งของโลกในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้ปรับขึ้นภาษีนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบเพิ่มขึ้นอีกเกือบเท่าตัวจากของเดิมเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ
การขึ้นภาษีในครั้งนี้ส่งผลให้การบริโภคน้ำมันปาล์มในประเทศอินเดียต้องชะลอตัวลงไป
จากเดิมที่คาดการณ์กันว่าน้ำมันปาล์มจะถูกใช้เพิ่มขึ้น จึงไม่เป็นตามคาด ซ้ำร้ายยังมีผลพวงจากปริมาณผลผลิตเดิมที่มากกว่าปกติเมื่อปีที่แล้วจากปรากฏการณ์ลานีญา
ปรากฏการณ์ลานีญาทำให้อุณหภูมิของพื้นผิวน้ำทะเลต่ำลง ซึ่งจะทำให้มีฝนตกมากขึ้น และทำให้ผลผลิตที่ได้จากปาล์มน้ำมันมีจำนวนเพิ่มขึ้น
ทั้งหมดนี้จึงทำให้เกิดปัญหา น้ำมันปาล์มล้นตลาด และ ราคาตกต่ำ
แน่นอนว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ก็คือ ประเทศที่ปลูกปาล์มน้ำมัน นั่นเอง
แล้วบริเวณไหนของโลกมีการปลูกปาล์มน้ำมันมากที่สุด?
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่เติบโตได้ดีในอากาศที่มีลักษณะร้อนชื้น และมีฝนตกชุกอย่างสม่ำเสมอ
ซึ่งเป็นภูมิอากาศที่มีลักษณะคล้ายกับภาคใต้ของไทย รวมถึงประเทศอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียงอย่างมาเลเซียและอินโดนีเซีย
เมื่อภูมิอากาศส่งเสริมให้ปลูกได้ง่าย มาเลเซียและอินโดนีเซียจึงกลายเป็นผู้นำในการผลิตรายใหญ่ของวงการอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันโลก โดยพบว่ากว่า 85% ของน้ำมันปาล์มทั่วโลกถูกส่งออกมาจากทั้งสองประเทศนี้
เหยื่อของวิกฤติปาล์มในครั้งนี้จึงกลายเป็นมาเลเซียและอินโดนีเซีย ตามมาด้วยประเทศไทยที่เป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มอันดับสามของโลก
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว เราก็คงจะพอเห็นแล้วว่าอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันกำลังเจอปัญหาใหญ่..
แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า ในอนาคตปาล์มน้ำมันจะไม่เป็นที่ต้องการอีกต่อไป เพราะนอกจากยุโรปแล้ว ส่วนอื่นของโลกนี้ก็ยังคงใช้น้ำมันปาล์มกันอยู่
เพียงแต่ตอนนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนี้คงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้สามารถปรับตัวได้อย่างทันท่วงทีนั่นเอง..
----------------------
ยังมีเรื่องเศรษฐกิจอื่นๆ ให้ติดตาม ที่แอปฟลิเคชัน "blockdit" โหลดได้ที่ blockdit.com
ความคิดดีๆ เกิดขึ้นที่บล็อกดิต..
.
หนังสือลงทุนแมนไว้อ่านยามว่าง เล่ม 1.0-6.0 ซื้อได้ที่ลิงก์นี้ lazada.co.th/shop/longtunman
.
อินสตาแกรม ไว้ดูภาพสวยๆ instagram.com/longtunman
.
ทวิตเตอร์กระชับฉับไว twitter.com/longtunman
.
ไลน์ส่งข้อความตรงวันละครั้ง line.me/R/ti/p/%40longtunman
----------------------
----------------------
ยังมีเรื่องเศรษฐกิจอื่นๆ ให้ติดตาม ที่แอปฟลิเคชัน "blockdit" โหลดได้ที่ blockdit.com
ความคิดดีๆ เกิดขึ้นที่บล็อกดิต..
.
หนังสือลงทุนแมนไว้อ่านยามว่าง เล่ม 1.0-6.0 ซื้อได้ที่ลิงก์นี้ lazada.co.th/shop/longtunman
.
อินสตาแกรม ไว้ดูภาพสวยๆ instagram.com/longtunman
.
ทวิตเตอร์กระชับฉับไว twitter.com/longtunman
.
ไลน์ส่งข้อความตรงวันละครั้ง line.me/R/ti/p/%40longtunman
----------------------
References
-https://news.mongabay.com/2013/09/europe-importing-more-palm-oil-for-biofuels-raising-risks-for-rainforests/
-https://www.rainforest-rescue.org/topics/palm-oil#start
-https://www.palmoilinvestigations.org/about-palm-oil.html
-https://www.reuters.com/article/malaysia-palmoil-eu/european-move-to-ban-palm-oil-from-biofuels-is-crop-apartheid-malaysia-idUSL3N1PD1NJ
-https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/New-EU-Regulation_SME_Palm-Oil.pdf
-https://news.mongabay.com/2013/09/europe-importing-more-palm-oil-for-biofuels-raising-risks-for-rainforests/
-https://www.rainforest-rescue.org/topics/palm-oil#start
-https://www.palmoilinvestigations.org/about-palm-oil.html
-https://www.reuters.com/article/malaysia-palmoil-eu/european-move-to-ban-palm-oil-from-biofuels-is-crop-apartheid-malaysia-idUSL3N1PD1NJ
-https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/New-EU-Regulation_SME_Palm-Oil.pdf
Tag: ปาล์มน้ำมัน