พ.ร.ก. ไซเบอร์ 2568 ให้สถาบันการเงิน, ค่ายมือถือ, ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ ร่วมรับผิดชอบในความเสียจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เช่น ประชาชนถูกหลอกโอนเงิน เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานเพื่อป้องกันอาชญากรรมแล้ว

พ.ร.ก. ไซเบอร์ 2568 ให้สถาบันการเงิน, ค่ายมือถือ, ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ ร่วมรับผิดชอบในความเสียจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เช่น ประชาชนถูกหลอกโอนเงิน เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานเพื่อป้องกันอาชญากรรมแล้ว

ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2568 มีผลตั้งแต่ 12 เม.ย. 2568
เพื่อคุ้มครองประชาชนอย่างเร่งด่วน เพราะมีประชาชนถูกหลอกลวงผ่านเทคโนโลยีจำนวนมาก เช่น ทางโทรศัพท์, แพลตฟอร์มออนไลน์ จนเกิดความเสียหายสูง จึงจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายเพิ่มเติม
ซึ่งสาระสำคัญของ พ.ร.ก. ฉบับนี้ ก็มีตั้งแต่
1. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ห้ามนำไปใช้หลอกลวง
- ห้ามนำข้อมูลส่วนบุคคล เช่น บัตรประชาชน บัญชีธนาคาร เบอร์โทรศัพท์ ไปใช้กระทำความผิด
- ผู้เปิดบัญชีหรือขายบัญชีให้ผู้อื่นใช้ (บัญชีม้า) มีความผิด แม้อ้างว่า "ไม่รู้"
- โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. ค่ายมือถือ ต้องช่วยกรอง SMS
-ให้ผู้บริการเครื่อข่ายมือถือ และผู้ให้บริการโทรคมนาคมอื่น มีหน้าที่ตรวจสอบและคัดกรอง SMS ที่อาจเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
3. เพิ่มอำนาจให้เจ้าหน้าที่รัฐสั่ง “อายัด-สืบค้น-โอนเงินคืน”
- เจ้าหน้าที่รัฐ สามารถสั่งให้ธนาคารหรือแพลตฟอร์มออนไลน์ ดำเนินการได้ทันที เช่น สั่งอายัดบัญชี ระงับซิม หยุดธุรกรรม หรือขอข้อมูลจากผู้ให้บริการ
- อนุญาตให้หน่วยงานรัฐ ธนาคาร ผู้ให้บริการมือถือ และหน่วยงานกำกับดูแล แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เช่น เลขบัญชี เบอร์โทรศัพท์ รายการโอนเงิน พฤติกรรมผิดปกติ ฯลฯ เพื่อป้องกันและหยุดยั้งอาชญากรรม
4. คืนเงินให้ผู้เสียหายได้เร็วขึ้น ไม่ต้องรอศาล
- ถ้าประชาชนถูกหลอกให้โอนเงินจากมิจฉาชีพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กรมสอบสวนพิเศษ, ธนาคาร ฯลฯ ต้องร่วมมือกันส่งรายงานข้อมูลให้ ปปง. ตรวจสอบ
- เมื่อ ปปง. มีการตรวจสอบพบว่า เงินในบัญชีมีความเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ให้เจ้าหน้าที่สามารถอายัดเงินในบัญชีที่เกี่ยวข้องไว้ก่อน
- และถ้าตรวจสอบพบว่า เงินนั้นเป็นของผู้เสียหายจริง เจ้าหน้ามีอำนาจสั่งคืนเงินให้ผู้เสียหายได้ โดยไม่ต้องรอขึ้นศาลก่อน ลดขั้นตอนการพิสูจน์ในชั้นศาล เพื่อให้ประชาชนได้รับเงินคืนเร็วขึ้น
5. สถาบันการเงิน เช่น ธนาคารต้อง “รับผิดร่วม” ในความเสียที่เกิดขึ้นจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ถ้าประชาชนถูกหลอก
- หากไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน มาตรการป้องกันที่หน่วยงานรัฐกำหนด หรือไม่ให้ความร่วมมือในการสืบสวน
- มีโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท
- หากละเลยคำสั่งจากเจ้าหน้าที่ หรือเพิกเฉยจนเกิดความเสียหาย โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
6. ค่ายมือถือและแพลตฟอร์มออนไลน์ ต้องรับผิดร่วมต่อความเสียที่เกิดขึ้น จากอาชญากรรมทางเทคโนโลยีด้วย เช่นเดียวสถาบันการเงิน
- และต้องมีมาตรการป้องกันซิมผี หรือซิมลงทะเบียนไม่ถูกต้อง
- ต้องให้ข้อมูลตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ เช่น หมายเลขผู้ใช้ การใช้ SMS หลอกลวง ฯลฯ
- หากไม่ทำตาม มีโทษเช่นเดียวกับสถาบันการเงิน
- เว้นแต่ค่ายมือถือ และแพลตฟอร์มออนไลน์ (รวมถึงสถาบันการเงิน) จะพิสูจน์ได้ว่า ได้ปฏิบัติตามมาตรฐาน หรือมาตรการเพื่อป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ที่กำหนดโดยหน่วยงานกำกับดูแลแล้ว
7. ตั้ง "ศูนย์ต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์" ประจำหน่วยงานหลัก
- หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ต้องตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสอบสวนคดีพิเศษ ธนาคารแห่งประเทศไทย ปปง. ก.ล.ต. กสทช. ฯลฯ
เพื่อรับคำร้องจากผู้เสียหาย เรื่องการกระทำความผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยี รวมถึงตรวจสอบ ระงับ-เพิกถอนธุรกรรม และประสานงานคืนเงิน

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED
© 2025 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon