ศาลทรัพย์สินทางปัญญา มีคำสั่งชี้ขาด ให้เนสท์เล่ กลับมาจำหน่าย “เนสกาแฟ” ในไทย ได้ตามปกติ

ศาลทรัพย์สินทางปัญญา มีคำสั่งชี้ขาด ให้เนสท์เล่ กลับมาจำหน่าย “เนสกาแฟ” ในไทย ได้ตามปกติ

ศาลทรัพย์สินทางปัญญา มีคำสั่งชี้ขาด ให้เนสท์เล่ กลับมาจำหน่าย “เนสกาแฟ” ในไทย ได้ตามปกติ /โดย ลงทุนแมน
สรุปลำดับเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่าง เนสท์เล่ (Nestlé) และตระกูลมหากิจศิริ จนนำไปสู่การฟ้องร้องต่อศาล ทำให้ศาลแพ่งมีนบุรี ได้ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามไม่ให้เนสท์เล่ ผลิตและจำหน่ายเนสกาแฟ (Nescafe) ในประเทศไทย ช่วงที่ผ่านมา
แต่ล่าสุด ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ได้มีคำสั่งชี้ขาด ให้เนสท์เล่ เป็นผู้ถือสิทธิเครื่องหมายการค้า “เนสกาแฟ” และ “Nescafe” ซึ่งเนสท์เล่ สามารถกลับมาจำหน่ายในไทย ได้ตามปกติแล้ว

1. จุดเริ่มต้นความร่วมมือ เกิดขึ้นในปี 2533 โดยเนสท์เล่ จับมือกับตระกูลมหากิจศิริ ตั้งบริษัท QCP (Quality Coffee Products) เพื่อผลิตและจำหน่ายเนสกาแฟ ในไทย
ซึ่งเป็นกิจการร่วมทุนแบบ 50 : 50 โดยเนสท์เล่ ถือสิทธิแบรนด์และเทคโนโลยีการผลิต ส่วน QCP คือผู้ผลิตในประเทศ
2. ต่อมาในปี 2564 เนสท์เล่ แจ้งยุติสัญญาร่วมทุนกับ QCP และยุติสัญญาการให้สิทธิ QCP ผลิตเนสกาแฟในประเทศไทย
และวันที่ 31 ธ.ค. 2567 สัญญาสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ ตามกระบวนการที่รับรองโดยศาลอนุญาโตตุลาการสากล
3. หลังหมดสัญญา ทั้งสองฝ่ายขัดแย้งกัน และไม่สามารถตกลงเรื่องทิศทางการดำเนินงานของ QCP ได้
นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ (หนึ่งในผู้ถือหุ้น QCP) จึงยื่นฟ้องเนสท์เล่ ต่อศาลแพ่งมีนบุรี
4. วันที่ 3 เม.ย. 2568 ศาลแพ่งมีนบุรี มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามเนสท์เล่ ผลิต, ว่าจ้างผลิต, จำหน่าย และนำเข้า ผลิตภัณฑ์เนสกาแฟ ในประเทศไทย
5. ทำให้เนสท์เล่ ต้องแจ้งลูกค้าว่า ไม่สามารถรับคำสั่งซื้อผลิตภัณฑ์เนสกาแฟได้
ทำให้มีผู้ได้รับผลกระทบจำนวนมาก เช่น ร้านค้าปลีก, ร้านกาแฟ, ผู้ค้ารายย่อย
เกษตรกรสวนกาแฟพันธุ์โรบัสต้า (เนสกาแฟ รับซื้อเกินครึ่งของผลผลิตทั้งประเทศ)
เกษตรกรโคนมไทย ที่จัดส่งวัตถุดิบให้เนสท์เล่ รวมถึงผู้บริโภคทั่วไป ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ ซัปพลายเออร์ และพนักงานในห่วงโซ่การผลิตของเนสกาแฟ
6. ซึ่งก็มีร้านค้าและผู้บริโภคบางคน เริ่มแห่กักตุนผลิตภัณฑ์เนสกาแฟ เพราะกลัวขาดตลาด
7. เนสท์เล่ ยืนยันกับสื่อว่า ยังมีเจตนาในการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนในไทย โดยมีการลงทุนในไทยกว่า 22,800 ล้านบาท ระหว่างปี 2561–2567 และจำหน่ายสินค้าในไทยมายาวนานกว่า 130 ปี
8. วันที่ 11 เมษายน 2568 เนสท์เล่ ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งมีนบุรี ขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉิน เพื่อขอเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว
9. ศาลแพ่งมีนบุรี จึงนัดไต่สวนฉุกเฉินวันที่ 17 เม.ย. 2568 เพื่อพิจารณาว่า จะเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่
10. อย่างไรก็ตาม วันที่ 12 เม.ย. 2568 เนสท์เล่ ได้ส่งหนังสือแจ้งลูกค้าและพันธมิตรทางการค้าว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง มีคำสั่งชี้ขาดวันที่ 11 เม.ย. 2568 ให้เนสท์เล่ เป็นเจ้าของสิทธิเครื่องหมายการค้าเนสกาแฟ และ Nescafe แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย
ทำให้เนสท์เล่ สามารถกลับมาจำหน่ายผลิตภัณฑ์เนสกาแฟ ในไทยได้ตามปกติ..

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED
© 2025 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon