สรุปประเด็น “เนสกาแฟ” ถูกศาลสั่งห้ามผลิตและจำหน่ายในไทย

สรุปประเด็น “เนสกาแฟ” ถูกศาลสั่งห้ามผลิตและจำหน่ายในไทย

สรุปประเด็น “เนสกาแฟ” ถูกศาลสั่งห้ามผลิตและจำหน่ายในไทย
1. เหตุการณ์
-ศาลแพ่งมีนบุรี มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว (3 เม.ย. 2568) ห้าม เนสท์เล่ ผลิต, ว่าจ้างผลิต, จำหน่าย และนำเข้าผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปภายใต้แบรนด์ Nescafé (เนสกาแฟ) ในประเทศไทย
2. ข้อพิพาท
-เนสท์เล่ ได้ยุติสัญญาร่วมทุนกับ บริษัท ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส (QCP) ตอนสิ้นปี 2567 โดยได้รับรองโดยศาลอนุญาโตตุลาการสากล
-บริษัท ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส เป็นกิจการร่วมทุน 50 : 50 ระหว่างเนสท์เล่ กับตระกูลมหากิจศิริ ตั้งแต่ปี 2533 ซึ่งมีคุณประยุทธ มหากิจศิริ เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้น
-ภายใต้สัญญาการร่วมทุน เนสท์เล่ มีอำนาจในการบริหารงาน การผลิต การจัดจำหน่าย รวมทั้งการทำการตลาดผลิตภัณฑ์เนสกาแฟ
-เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตเนสกาแฟนั้นเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของเนสท์เล่
-แต่ภายหลังยุติสัญญาร่วมทุน ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้
-นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง เพื่อดำเนินคดีกับบริษัทในเครือเนสท์เล่ และกรรมการ ซึ่งนำไปสู่คำสั่งศาล
3. ผลกระทบจากคำสั่งศาล
-ศาลแพ่งมีนบุรี ได้ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามไม่ให้เนสท์เล่ ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์เนสกาแฟแต่เพียงผู้เดียว ดำเนินการผลิต ว่าจ้างผลิต จำหน่าย และนำเข้าผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูป เนสกาแฟ ในประเทศไทย
-ทำให้เนสท์เล่ ต้องแจ้งลูกค้าว่า จะไม่สามารถรับคำสั่งซื้อผลิตภัณฑ์เนสกาแฟได้
-จึงกระทบต่อผู้ประกอบการรายย่อย, ร้านกาแฟ, รถเข็นกาแฟ, ร้านค้าปลีก (แต่ร้านค้าที่มีของในสต็อก ยังสามารถจำหน่ายต่อได้ตามปกติ)
-และกระทบกับเกษตรกรไทย โดยเฉพาะชาวสวนกาแฟพันธุ์โรบัสต้า (เนสกาแฟ รับซื้อเกินครึ่งของผลผลิตทั้งประเทศ) และเกษตรกรโคนมไทย ที่จัดส่งวัตถุดิบ
-รวมถึงกระทบซัปพลายเออร์ และพนักงานในห่วงโซ่ผลิตของเนสกาแฟ
4. ท่าทีของเนสท์เล่ หลังศาลมีคำสั่ง
-เคารพคำสั่งศาล และปฏิบัติตาม
-แต่กำลังยื่นคำร้องคัดค้าน เพื่อเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว พร้อมส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้ศาลพิจารณา
-ยืนยันเจตนาในการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนในไทย
-โดยมีการลงทุนในไทยกว่า 22,800 ล้านบาท ระหว่างปี 2561–2567 และจำหน่ายสินค้าในไทยมายาวนานกว่า 130 ปี
© 2025 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon