EGAT Smart Energy Solutions ขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโซลูชั่นการผลิตและใช้พลังงานอย่างยั่งยืน

EGAT Smart Energy Solutions ขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโซลูชั่นการผลิตและใช้พลังงานอย่างยั่งยืน

EGAT x ลงทุนแมน
EGAT Smart Energy Solutions ขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโซลูชั่นการผลิตและใช้พลังงานอย่างยั่งยืน
หลังจากที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เปิดตัวธุรกิจโซลูชั่นพลังงานไฟฟ้าในปี 2566 ตลอด 2 ปีที่ผ่านมาสามารถสร้างการผลิตและใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ กับหลากหลายองค์กร ทั้งภาครัฐ และเอกชนรวมไปถึงชุมชนได้อย่างครอบคลุม ตั้งแต่บริการออกแบบ ติดตั้ง ดูแลและบำรุงรักษาอย่างครบวงจร สำหรับระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำ และระบบกักเก็บพลังงาน, ระบบบริหารจัดการพลังงาน ENZY Platform, EV Business Solutions, Renewal Energy Certificate (REC) และ Smart City
มาดูโครงการที่เกิดขึ้นจริงในวันนี้มีอะไรบ้าง
โครงการพลังงานชุมชน: ส่งเสริมโครงการพลังงานชุมชนเพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน โดยสนับสนุนการสร้างระบบพลังงานทดแทนในระดับชุมชน เพื่อสร้างรายได้และความเป็นอยู่ที่มั่นคงและยั่งยืน เช่น
● “ศรีแสงธรรมโมเดล” อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เปลี่ยนหมู่บ้านดงดิบที่เคยเป็นโคกอีโด่ยเต็มไปด้วยความแห้งแล้ง ห่างไกลความเจริญ ให้กลายเป็น “โคกอีโด่ยวัลเลย์” ด้วยนวัตกรรมการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ พัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้ดีขึ้น และมีความมั่นคงทางพลังงานที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ต้นแบบการขับเคลื่อนชุมชนด้วยพลังงานทดแทนอย่างยั่งยืน
● ศูนย์ศึกษา “โครงการโคก หนอง นา โมเดลวิถีใหม่” เป็นแหล่งเรียนรู้ให้ผู้สนใจ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน สร้างความมั่นคงทางอาหาร น้ำ และพลังงาน การนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในพื้นที่ ช่วยสร้างรายได้ ยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน ปัจจุบัน กฟผ. จัดตั้ง โครงการโคก หนอง นา โมเดลวิถีใหม่ รวม 10 ศูนย์
1) เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี
2) เขื่อนภูมิพล จ.ตาก
3) เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์
4) เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี
5) เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี
6) เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ
7) เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น
8) โรงไฟฟ้าบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา
9) โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง
10) โรงไฟฟาวังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ในโรงเรียนและสถานศึกษา: ดำเนินโครงการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในโรงเรียนหลายแห่งทั่วประเทศ ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายพลังงานและส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานสะอาดให้กับนักเรียน นักศึกษา ได้แก่
● โครงการ TU EGAT Energy ที่มาช่วยทำให้ระบบจัดการพลังงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้กว่า 4 แสนบาทต่อปี โดยเฉพาะการกักเก็บพลังงานส่วนเกินที่ผลิตได้จากโซลาร์เซลล์เพื่อนำมาใช้ในเวลาที่ต้องการ สอดคล้องกับแนวทางการขับเคลื่อนสู่การเป็น TU Smart City
● “โครงการ Smart Campus – Khon Kaen University” ยกระดับ
มหาวิทยาลัยขอนแก่นสู่มหาวิทยาลัยแห่งพลังงานสะอาดด้วยระบบอัจฉริยะส่งเสริมแหล่งการพัฒนาระบบ Smart Energy Solutions ต่อยอดรูปแบบธุรกิจเกี่ยวเนื่องทางไฟฟ้าใหม่ๆ ในอนาคต
● ลงนาม MOU โครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell ในสถานศึกษาทั่วประเทศกับกระทรวงศึกษาธิการ ผลักดันโครงการเป็นต้นแบบการบริหารจัดการด้านพลังงาน มีโรงเรียนที่เริ่มดำเนินการไปแล้ว เช่น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี เป็นต้น
โครงการ Smart Grid เมืองอัจฉริยะ: การพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ในหลายพื้นที่ ทำให้การจ่ายไฟฟ้ามีความเสถียรมากขึ้น ช่วยให้สามารถจัดการพลังงานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ได้แก่
● โครงการ "แม่เมาะเมืองน่าอยู่" (Mae Moh Smart City) ที่ครอบคลุมการพัฒนาใน 3 ด้าน ได้แก่ พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy), เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy), และสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) มีการพัฒนาและส่งเสริมชุมชนในพื้นที่ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว ตลอดจนมีการพัฒนาด้านพลังงาน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดีเหมาะสมแก่การอยู่อาศัยอย่างยั่งยืน
● โครงการ “Smart Grid แม่ฮ่องสอน” เมืองต้นแบบแห่งพลังงานอัจฉริยะ เป็นระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวแม่ฮ่องสอนให้อยู่ดี มีสุข ภายใต้วิถีชีวิตดั้งเดิมและธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยผสานการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านแนวทางพัฒนาพลังงาน 4 ด้าน หรือ '4 SMART' ได้แก่ Smart Energy สร้างแหล่งผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยติดตั้งโซลาร์ฟาร์ม และนำไฟฟ้าไปเก็บไว้ในระบบกักเก็บพลังงาน (Battery) ช่วยบริหารระบบไฟฟ้าของเมืองแม่ฮ่องสอนให้มีเสถียรภาพ, Smart System พัฒนาระบบควบคุมและจัดการพลังงานไฟฟ้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้สามารถผลิตและส่งจ่ายไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ, Smart City
ส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า รวมถึง EV BUS พร้อมติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า ติดตั้งป้าย Smart Billboard ตามจุดสำคัญต่าง ๆ ติดตั้งไฟถนน LED ระบบเซลล์แสงอาทิตย์ และ Solar Rooftop ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ
และ Smart Learning สร้างศูนย์การเรียนรู้ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานสะอาด พร้อมผสานวิถีชีวิตพื้นบ้านของชาวแม่ฮ่องสอน
โครงการลดต้นทุนไฟฟ้าให้กับธุรกิจและองค์กร: การวางแผนการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมระบบวัดผลแบบเรียลไทม์ ซึ่งช่วยให้องค์กรต่างๆ ลดการใช้พลังงาน โดยการปรับปรุงระบบไฟฟ้าและการใช้พลังงานในอาคาร ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมีนัยสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชนอย่าง บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), บริษัท North East Rubber บุรีรัมย์ (NER), บริษัท ซัมเทค (ประเทศไทย) จำกัด หรือ ภาครัฐ องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (อสส.) กับโมเดลต้นแบบการบริหารจัดการพลังงานในสวนสัตว์ของไทย เป็นต้น
และล่าสุดกับโครงการ “ท่าเรืออัจฉริยะพระราม 7” เป็นผลจากความร่วมมือระหว่าง กฟผ. และกรมเจ้าท่า ภายใต้แนวคิดการพัฒนาพื้นที่บางกรวยให้เป็นเมืองที่ทันสมัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และตอบโจทย์วิถีชีวิตของประชาชนแบบ New Normal โดยนำเทคโนโลยีล้ำสมัยมาผสานเข้ากับระบบคมนาคมทางน้ำ เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ในการเดินทาง ภายใต้แนวคิด 5 Smart ประกอบด้วย
1) Smart Energy ประยุกต์ใช้นวัตกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ ควบคู่กับระบบแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน เพื่อยกระดับให้ท่าเรืออัจฉริยะพระราม 7 สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง และ ควบคุมการใช้พลังงานภายในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านระบบบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ
2) Smart Safety ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในท่าเรือ อาทิ กล้องวงจรปิดรักษาความปลอดภัย ระบบเตือนภัยคนตกน้ำ
3) Smart Lighting ระบบไฟส่องสว่างอัตโนมัติ ลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็น
4) Smart Digitalization ระบบข้อมูลดิจิทัลอัจฉริยะที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และ
5) Smart Service ตรวจสอบข้อมูลการเดินเรือ ข่าวสาร และสถานที่ที่น่าสนใจใน อ.บางกรวย ผ่านแอปพลิเคชัน Smart Pier รวมถึงการให้บริการสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า และตู้ชาร์จอัจฉริยะสำหรับรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
ทั้งนี้ จะมีแผนการก่อสร้างและพัฒนายกระดับท่าเรือริมแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 29 แห่ง ให้เป็นท่าเรืออัจฉริยะ ปัจจุบัน ได้ก่อสร้างและพัฒนาแล้วเสร็จจำนวน 12 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือกรมเจ้าท่า สะพานพุทธ นนทบุรี สาทร ท่าช้าง ท่าเตียน ราชินี พายัพ บางโพ พระราม 5 พระปิ่นเกล้า และพระราม 7 ส่วนท่าเรืออีก 17 แห่งจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2570 คาดในปีดังกล่าวจะมีผู้ใช้บริการท่าเรืออัจฉริยะทั้งหมด 29 แห่ง เฉลี่ยจำนวน 53,000 คน/วัน สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 280,230 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
EGAT Smart Energy Solutions ไม่เพียงแต่เป็นผู้นำนวัตกรรมด้านการให้บริการพลังงานที่ทันสมัย แต่ยังเป็นอีกโซลูชั่นที่มองไกลในการสร้างความยั่งยืนให้กับสังคม ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และบริการที่หลากหลาย พร้อมกับโครงการที่ประสบความสำเร็จคือเครื่องพิสูจน์ความเป็นผู้นำในการให้บริการด้านพลังงานอย่างยั่งยืน ตามแนวทางภารกิจขององค์กร ในการผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขอย่างยั่งยืนของคนไทย

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED
© 2025 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon