วิเคราะห์แนวคิด “เก็บภาษีคนรวย-ภาษีหุ้นนอก” ดีกับประเทศไทย จริงหรือไม่ ?

วิเคราะห์แนวคิด “เก็บภาษีคนรวย-ภาษีหุ้นนอก” ดีกับประเทศไทย จริงหรือไม่ ?

K WEALTH X ลงทุนแมน
ภาษี คือหนึ่งในเรื่องสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อกระเป๋าเงินของทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
หนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจตอนนี้ก็คือ Negative Income Tax หรือการนำเงินจากคนรวยมาช่วยเหลือคนจน ซึ่งมีหลายประเทศที่พัฒนาแล้วได้นำโมเดลนี้ไปใช้ แต่คำถามสำคัญก็คือ นโยบายเช่นนี้จะเหมาะสมกับประเทศไทยหรือไม่ ?
นอกจากนี้ยังมีเรื่องภาษีการลงทุนในต่างประเทศที่นักลงทุนยังคงต้องติดตามกัน รวมถึงการวางแผนลดหย่อนภาษีในช่วงปลายปี ทั้งการซื้อกองทุนรวมและประกัน
มาติดตามทั้งเรื่อง Negative Income Tax, ภาษีการลงทุนในต่างประเทศ รวมถึงเทคนิคการลดหย่อนภาษีที่สามารถเอาไปใช้ได้จริง จากคุณวีระพล บดีรัฐ First Senior Vice President จาก KBank
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
- Negative Income Tax หรือนโยบายภาษีติดลบ คือการนำเงินภาษีของผู้มีรายได้สูงในประเทศ มาช่วยเหลือผู้มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
- โดยมีหลายประเทศนำนโยบายนี้ไปใช้ เช่น สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และแคนาดา แต่ก็ยังไม่มีประเทศไหนประสบความสำเร็จ
- วิธีการใช้นโยบายนี้ ตัวอย่างเช่น รัฐบาลกำหนดเกณฑ์รายได้มาตรฐานที่คนไทยควรมีไว้ที่ 120,000 บาทต่อปี ดังนั้น กลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์นี้และเข้ามาอยู่ในระบบภาษี จะได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลตามสัดส่วนที่กำหนด
- ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องทำให้ได้คือ การเอาคนเข้ามาอยู่ในระบบภาษีให้ได้มากที่สุด ตัวอย่างประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สวีเดน มีคนอยู่นอกระบบภาษีเพียงแค่ 3% หรือสหรัฐอเมริกา มีคนอยู่นอกระบบภาษี 15%
- ในขณะที่ประเทศไทย มีคนวัยทำงานอยู่ราว 40 ล้านคน แต่มีคนที่อยู่นอกระบบภาษีถึง 21 ล้านคน แปลว่ามีคนจำนวนมากในไทยที่มีรายได้ แต่ไม่ได้อยู่ในระบบภาษี เช่น พ่อค้าแม่ค้า ซึ่งอาจจะรู้สึกกลัวที่จะเข้าระบบภาษี แม้รายได้ยังไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษีก็ตาม
- เพราะฉะนั้น ต้นทุนที่จะเกิดขึ้นก็คือ ต้นทุนเพื่อเอาคนเข้าระบบภาษี และการประเมินว่าบุคคลดังกล่าวมีรายได้มากหรือน้อยแค่ไหนตามความเป็นจริง เพราะบ้านเราใช้ระบบ Self Declare คือยื่นแบบรายได้พึงประเมินด้วยตัวเอง
- ข้อดีของ Negative Income Tax คือ การลดความเหลื่อมล้ำ และช่วยให้คนที่มีรายได้น้อย มีรายได้พอที่จะไปจับจ่ายใช้สอย
- แต่ก็มีข้อเสียคือ คนจำนวนหนึ่งอาจจะรู้สึกว่าไม่ต้องขยันมาก เพราะเดี๋ยวก็มีเงินอุดหนุน ส่งผลต่อ Productivity ของทั้งประเทศ การส่งออกและการแข่งขันลดลง บริษัทมีต้นทุนสูงเกินไป
- นี่เลยเป็นเรื่องที่ผู้ออกนโยบายต้อง Weight ว่าเรื่องไหนเป็นปัญหาใหญ่กว่ากัน ระหว่าง การช่วยคนจนเพื่อสร้างความเท่าเทียม หรือ Productivity ของประเทศที่อาจจะตกลง
- ส่วนประเด็นภาษีจากการลงทุนต่างประเทศ สิ่งที่ยากในการประเมินผลกระทบคือ ความไม่ชัดเจน
- เช่น กรณีไม่ได้เอากำไรกลับเข้าประเทศทั้งก้อนแต่เอาไปลงทุนต่อ ต้องคิดต้นทุนอย่างไร หรือกำไรกับขาดทุนจากการขายหุ้นต่างประเทศในปีเดียวกันเอามาหักลบกันแบบที่สหรัฐอเมริกาได้ไหม
- ตอนนี้สิ่งที่ชัดเจนก็คือ ถ้ามีกำไร แล้วเอากลับไทย นักลงทุนต้อง Declare ดังนั้น สิ่งที่นักลงทุนทำได้ตอนนี้ก็คือ เก็บหลักฐานทั้งหมดจากการลงทุนในต่างประเทศ เช่น เงินปันผล กำไร รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยน เอาไว้แนบตอนยื่นภาษี และแนะนำให้ไปปรึกษากับสรรพากรไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
- โดยนโยบายภาษีคือ สิ่งที่สะท้อนว่ารัฐบาลแต่ละประเทศ อยากหรือไม่อยากให้คนในประเทศทำอะไร เช่น การออกนโยบายภาษีต่างประเทศ ในมุมของรัฐ อาจหมายถึง ไม่อยากให้เงินลงทุนไหลออกนอกประเทศ
- เทคนิคการลดหย่อนภาษีที่ควรทำปลายปีนี้คือ ให้ทำสิ่งที่แพลนได้ เช่น ลงทุนหรือซื้อประกันเพื่อลดหย่อนภาษี และให้ทำเพราะต้องการทำในสิ่งนั้นอยู่แล้ว
- โดยให้ซื้อประกันเพราะต้องการซื้อประกันอยู่แล้ว โดยเลือกให้ตรงตามความต้องการของตัวเอง เช่น ถ้าเป็นคนมีห่วงเยอะ ก็แนะนำประกันชีวิตแบบตลอดชีพมากกว่าแบบสะสมทรัพย์
- การลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีก็เช่นกัน ควรลงทุนเพราะอยากลงทุน เช่น อยากมีเงินไว้ใช้ตอนเกษียณ ก็ลงทุน RMF แล้วค่อยเอามาลดหย่อนภาษี คือให้มองการลดหย่อนภาษีเป็นของแถม
- เพราะสิ่งที่คนไทยส่วนใหญ่ทำก็คือ ลงทุนเพื่อให้ได้ประหยัดภาษี และบางทีเลือกลงทุนในกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงกว่าที่ตัวเองยอมรับได้ พอเวลาผ่านไปกองทุนลดหย่อนภาษีที่ซื้อไว้ เช่น LTF ที่สะสมไว้ 5-10 ล้านบาท อาจขาดทุนไปแล้ว 10-20%
- ในบางครั้ง เงินประหยัดภาษีอาจไม่มีอยู่จริง เช่น ลงทุนปีนี้ ได้เงินคืนภาษีปีหน้า แต่เงินอาจจะไม่ได้มาจริงเพราะหักไปแล้ว หรือบางทีอาจเอาไปซื้อของอยู่ดี และเป็นการเข้าข้างตัวเอง
- อีกเรื่องที่แนะนำให้ทำก็คือ การเอาเงินโบนัสที่ได้ปลายปีนี้ เก็บไว้ซื้อกองทุนตราสารหนี้ลดหย่อนภาษีต้นปีหน้า เพื่อเอามารวมเป็นยอดลดหย่อนได้อีก จะได้เห็นภาพรวมในปีหน้า
- แนะนำให้ลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีด้วยกลยุทธ์การจัดพอร์ตแบบ Core and Satellite อย่าลงทุนแบบกระจุกตัวในสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่ง และอย่ามองพอร์ตลดหย่อนภาษีเป็นพอร์ตแยก เพราะเราอาจจะรู้สึกว่าไม่ต้องทำอะไรกับมัน
- โดยการลงทุนในกองทุนประหยัดภาษี สามารถสับเปลี่ยนกองทุนไปในกองทุนประเภทเดียวกันได้ จึงเหมาะสมกับกลยุทธ์ Core and Satellite
- การลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีอาจเป็นข้อดีสำหรับคนที่เก็บเงินไม่ค่อยอยู่ เพราะมีเงื่อนไขให้เราถือครบตามที่กำหนด โดยวิธีเลือกลงทุนในกองทุนแต่ละประเภท ก็ให้ดูระยะเวลาที่ต้องถือครอง ว่าเรารับไหวแค่ไหน เหมาะกับเป้าหมายการลงทุนของเราหรือไม่ เช่น กองทุน ThaiESG ต้องถือลงทุนเป็นเวลา 5 ปี
- กองทุน ThaiESG แนะนำ 3 กองทุน ได้แก่ K-TNZ-ThaiESG กองทุนหุ้นไทยเพื่อความยั่งยืน, K-BL30-ThaiESG กองทุน ESG แบบลงทุนผสมระหว่างหุ้นกับตราสารหนี้ และ K-ESGSI-ThaiESG กองทุนตราสารหนี้ภาครัฐ ESG
- กองทุน SSF เหมาะสำหรับคนที่มีแผนชัดเจนว่าจะเอาเงินไปทำอะไรในอีก 10 ปี รวมถึงคนที่อายุไม่เยอะ หรือมีเงินจำกัด แนะนำ K-CHANGE-SSF กองทุนหุ้น ESG, K-GINCOME-SSF กองทุนผสมทั่วโลก เน้นสร้างผลตอบแทนสม่ำเสมอ และ K-VIETNAM-SSF กองทุนหุ้นเวียดนาม
- สำหรับคนที่สามารถรอเงินได้นานกว่า 10 ปี แนะนำให้ลงทุนในกองทุน RMF ใน K-WealthPLUS Series ตามระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมกับตัวเอง ได้แก่ KWPBALRMF (เสี่ยงต่ำ), KWPSPEEDRMF (เสี่ยงปานกลาง) และ KWPULTIRMF (เสี่ยงสูง)
- คำแนะนำสำหรับคนที่ถือกองทุน LTF ที่ครบกำหนดในปีหน้า แล้วติดดอยอยู่ ทางเลือกแรกสำหรับคนที่พอทำใจได้ ให้ขาย LTF ที่ครบกำหนด มาซื้อ RMF แทน ซึ่งตรงนี้สามารถเอามาลดหย่อนภาษีได้เพิ่มด้วย
- ทางเลือกที่สองสำหรับคนที่ทำใจไม่ได้ ถ้าฟังผู้เชี่ยวชาญแล้วเชื่อว่าหุ้นไทยยังมีอนาคต ก็ให้รอปีหน้า ภายใน 3 เดือน ถ้าขึ้นตามที่คาด ก็อาศัยจังหวะที่ดี ให้ค่อย ๆ ทยอยขายไปเรื่อย ๆ
- แต่ถ้าผ่านไป 3 เดือนแล้วยังไม่ดี ก็ให้ทำตามเป้าที่ตั้งไว้ตั้งแต่ต้นปี เช่น ถ้าขาดทุนเกิน 25% จะขาย พอถึงตามนั้นจริงก็ทำให้ได้ นี่ถือเป็นการสร้างวินัย และค่อย ๆ เคลียร์พอร์ตที่ขาดทุน
- ส่วนกองทุนที่ยิ่งถือยาวเท่าไร ยิ่งขาดทุนทุกวัน คำแนะนำสำหรับคนที่ยังไม่เคยลงทุนก็คือ ไม่ว่าจะลงทุนใน Theme หรือภูมิภาคไหนก็ไม่ควรกระจุกตัวเกิน 30% และควรตั้งจุด Cut Loss ของตัวเอง
- ส่วนคนที่กำลังติดดอยกองทุนหุ้นจีนอยู่ตอนนี้ ให้พิจารณาว่า ถ้าแนวโน้มหุ้นจีนอาจจะยังไม่ได้โตเร็วใน 3-5 ปีข้างหน้านี้ เราอาจย้ายเงินไปในภูมิภาคอื่น เช่น เวียดนาม ก่อน โดยแนะนำให้ค่อย ๆ ขยับสัดส่วนการลงทุน
สามารถรับชมรายการ TALK ลงทุนแมน วิเคราะห์แนวคิด “เก็บภาษีคนรวย-ภาษีหุ้นนอก” ดีกับประเทศไทย จริงหรือไม่ ​? ได้ที่ลิงก์ https://youtu.be/s2B_hazXglw
หมายเหตุ: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon