มาเลเซีย ต่อคิวขึ้นเป็น ประเทศพัฒนาแล้ว ในอีก 4 ปี
มาเลเซีย ต่อคิวขึ้นเป็น ประเทศพัฒนาแล้ว ในอีก 4 ปี /โดย ลงทุนแมน
ประเทศพัฒนาแล้ว คำนี้ไม่ได้แปลว่า ประเทศนั้นต้องมีตึกสูง สะพาน อาคารขนาดใหญ่ หรือเทคโนโลยีล้ำยุค
ประเทศพัฒนาแล้ว คำนี้ไม่ได้แปลว่า ประเทศนั้นต้องมีตึกสูง สะพาน อาคารขนาดใหญ่ หรือเทคโนโลยีล้ำยุค
แต่นิยามประเทศพัฒนาแล้วที่เป็นสากล จากของธนาคารโลก วัดกันง่าย ๆ ว่า คนในประเทศต้องมีรายได้เฉลี่ยมากกว่า 14,005 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือราว 465,000 บาทต่อปี
ซึ่งปัจจุบัน ในเอเชีย มีประเทศพัฒนาแล้ว 4 ประเทศด้วยกัน คือ สิงคโปร์, อิสราเอล, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
และตอนนี้คนมาเลเซียมีรายได้ต่อปีราว 388,791 บาท
เรียกได้ว่า อีกแค่ช่วงหนึ่งก็จะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว
เรียกได้ว่า อีกแค่ช่วงหนึ่งก็จะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว
ซึ่งถ้ามาเลเซียยังโตแรงอย่างต่อเนื่อง ภายในปี 2028
หรือ 4 ปีต่อจากนี้ มาเลเซียจะกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วแห่งที่ 2 ในอาเซียน ต่อจากสิงคโปร์
หรือ 4 ปีต่อจากนี้ มาเลเซียจะกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วแห่งที่ 2 ในอาเซียน ต่อจากสิงคโปร์
ทำไมอีกแค่ 4 ปี มาเลเซียจะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า รายได้เฉลี่ยต่อปีของคนประเทศหนึ่ง มักวัดแทนด้วยค่า GDP per capita ซึ่งคำนวณมาจาก 2 ตัวเลขสำคัญ คือ ขนาดเศรษฐกิจและจำนวนคนในประเทศ
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า รายได้เฉลี่ยต่อปีของคนประเทศหนึ่ง มักวัดแทนด้วยค่า GDP per capita ซึ่งคำนวณมาจาก 2 ตัวเลขสำคัญ คือ ขนาดเศรษฐกิจและจำนวนคนในประเทศ
ถ้าเขียนตามสูตรที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ใช้กัน
เราก็จะเขียนได้เป็น
เราก็จะเขียนได้เป็น
รายได้เฉลี่ยต่อปี (GDP per capita) = ขนาดเศรษฐกิจ / จำนวนคนในประเทศ
แปลว่า ถ้ารายได้เฉลี่ยต่อปีของคนทั้งประเทศจะเพิ่มขึ้นได้
ตัวตั้งอย่างขนาดเศรษฐกิจต้องเยอะขึ้นเรื่อย ๆ
ตัวตั้งอย่างขนาดเศรษฐกิจต้องเยอะขึ้นเรื่อย ๆ
ส่วนตัวหารอย่างจำนวนคนในประเทศ จะเพิ่มขึ้น คงที่ หรือลดลงก็ได้
แต่จำนวนคนในประเทศถ้าเพิ่มขึ้น รายได้เฉลี่ยต่อปีจะโตได้ ก็ต้องทำให้ขนาดเศรษฐกิจ เติบโตมากกว่าจำนวนคนในประเทศ
ตัดภาพมาที่มาเลเซีย ถ้าเราลองย้อนกลับไป 10 ปี
เศรษฐกิจประเทศนี้เติบโตเฉลี่ยปีละ 5.3% ในขณะที่ประชากรในประเทศ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 1.28% เท่านั้น
เศรษฐกิจประเทศนี้เติบโตเฉลี่ยปีละ 5.3% ในขณะที่ประชากรในประเทศ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 1.28% เท่านั้น
เรียกได้ว่า เข้าสูตรตามตำราเศรษฐศาสตร์ เพราะเศรษฐกิจของประเทศเติบโตมากกว่าจำนวนคนในประเทศ จนรายได้เฉลี่ยต่อปีเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ซึ่งถ้าเพิ่มขึ้น จนรายได้เฉลี่ยต่อปีมากกว่า 465,000 บาท
หรือตกกลม ๆ ราว 39,000 บาทต่อเดือน ก็จะถือว่ามาเลเซียเป็นประเทศพัฒนาแล้ว
หรือตกกลม ๆ ราว 39,000 บาทต่อเดือน ก็จะถือว่ามาเลเซียเป็นประเทศพัฒนาแล้ว
แล้วทำไมอีกแค่ 4 ปี มาเลเซียจะไปถึงจุดนั้นได้ ?
ปี 2023 ขนาดเศรษฐกิจมาเลเซียอยู่ที่ 399,650 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีจำนวนคนในประเทศ 34.3 ล้านคน
ถ้าสมมติว่าเศรษฐกิจมาเลเซีย ยังเติบโตเฉลี่ยปีละ 5.3%
ส่วนจำนวนคนมาเลเซีย เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 1.28%
ส่วนจำนวนคนมาเลเซีย เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 1.28%
ในปี 2028 ภาพเศรษฐกิจของมาเลเซีย ก็จะได้เป็น
- ขนาดเศรษฐกิจ 517,390 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- จำนวนคนในประเทศ 36.5 ล้านคน
- ขนาดเศรษฐกิจ 517,390 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- จำนวนคนในประเทศ 36.5 ล้านคน
ทำให้คนมาเลเซียจะมีรายได้เฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 14,151 ดอลลาร์สหรัฐ หรือมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 39,000 บาท เข้าตามเกณฑ์ประเทศพัฒนาแล้ว
คำถามก็คือ แล้วมาเลเซียพัฒนาเศรษฐกิจตัวเอง
ให้โตแรงขนาดนี้ได้อย่างไร ?
ให้โตแรงขนาดนี้ได้อย่างไร ?
เรื่องที่มาเลเซียได้เปรียบ ก็คือมาเลเซียมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย โดยเฉพาะบ่อน้ำมัน ที่สร้างรายได้จากการส่งออกอย่างมหาศาลให้กับมาเลเซีย
แต่ถ้าเราไปดู สินค้าส่งออกของมาเลเซียในช่วงที่ผ่านมา จะพบว่า
ปี 1990
- สินค้าอุตสาหกรรม 58.7%
- น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ 16.7%
- ผลิตภัณฑ์ไม้ 9.6%
- สินค้าอุตสาหกรรม 58.7%
- น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ 16.7%
- ผลิตภัณฑ์ไม้ 9.6%
ปี 2023
- สินค้าอุตสาหกรรม 85.7%
- น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ 6.0%
- ปาล์มน้ำมัน 4.9%
- สินค้าอุตสาหกรรม 85.7%
- น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ 6.0%
- ปาล์มน้ำมัน 4.9%
เห็นได้ชัดว่า มาเลเซียมีสัดส่วนการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ลดลงเยอะมาก
โดยในปี 1990 มาเลเซียส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ที่คิดเป็นเงินปัจจุบันราว 428,367 ล้านบาท
แต่ในปี 2023 มาเลเซียส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
543,160 ล้านบาท หรือ 33 ปีผ่านไป เติบโต 27% เท่านั้น
543,160 ล้านบาท หรือ 33 ปีผ่านไป เติบโต 27% เท่านั้น
ในขณะที่สินค้าอุตสาหกรรม กลับโตแรงกว่าถึง 80%
หลังปรับเงินเฟ้อแล้ว แปลว่าจริง ๆ แล้ว มาเลเซียไม่ได้พุ่งเป้าการเติบโตไปที่ การส่งออกน้ำมัน
หลังปรับเงินเฟ้อแล้ว แปลว่าจริง ๆ แล้ว มาเลเซียไม่ได้พุ่งเป้าการเติบโตไปที่ การส่งออกน้ำมัน
แต่เน้นไปที่การเติบโตของสินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งมาจาก
เป้าหมายการพัฒนาของมาเลเซีย ที่ลดการพึ่งพาการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ขั้นต้น ที่มีความผันผวนสูง
เป้าหมายการพัฒนาของมาเลเซีย ที่ลดการพึ่งพาการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ขั้นต้น ที่มีความผันผวนสูง
เปลี่ยนมาเน้นการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
ทั้งการเอาสินค้าเกษตรมาแปรรูป เช่น น้ำมันปาล์ม หรือการมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แทน
ทั้งการเอาสินค้าเกษตรมาแปรรูป เช่น น้ำมันปาล์ม หรือการมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แทน
พร้อมกับพัฒนาการศึกษาของประเทศ ปั้นคนมาเลเซียที่สามารถทำงานในสายไอทีและวิทยาศาสตร์ เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้น
นอกจากนี้ รัฐบาลมาเลเซีย ยังพยายามให้สิทธิพิเศษทางภาษี ตั้งเขตอุตสาหกรรมปลอดภาษี ยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าบางอย่าง เพื่อดึงดูดบริษัทต่างชาติให้เข้ามาลงทุนและตั้งโรงงาน
ซึ่งก็เหมือนจะมาถูกทาง เพราะบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการชิปเริ่มเข้ามาตั้งโรงงานผลิตที่มาเลเซีย เช่น Intel, Micron, Texas Instruments จากสหรัฐฯ และ Infineon จากเยอรมนี
มาเลเซียไม่รอช้า และต่อยอดด้วยการผันตัวเองเป็นประเทศรับตรวจสอบการทำงานของชิปหรือแผงวงจรรวม ให้กับบริษัทผลิตชิป ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกระบวนการสำคัญในอุตสาหกรรมผลิตชิป
ทำให้มีบริษัทท้องถิ่นที่รับจ้างตรวจสอบชิป เกิดขึ้นมากมาย เช่น Inari Amertron Berhad, ViTrox, Pentamaster
และบางบริษัท เช่น SMD Semiconductor, SilTerra Malaysia ก็ได้รับเงินทุนจากรัฐบาลมาเลเซียในช่วงแรก จนตอนนี้ สามารถออกแบบและผลิตชิปที่มีความซับซ้อนไม่สูงมากได้แล้ว
ทั้งหมดนี้ ทำให้มาเลเซียกลายเป็นประเทศส่งออกชิป อันดับ 4 ของโลก รองจากจีน, ไต้หวัน และสิงคโปร์ เท่านั้น
นอกจากการผลักดันให้ประเทศ ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงมากขึ้น รัฐบาลมาเลเซีย
ยังพยายามควบคุมเงินเฟ้อไม่ให้สูงมากเกินไปอีกด้วย
ยังพยายามควบคุมเงินเฟ้อไม่ให้สูงมากเกินไปอีกด้วย
โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ที่เป็นหนึ่งในตัวการเงินเฟ้อ
มาเลเซียที่มีรายได้จากการส่งออกอยู่แล้ว แถมยังไม่มีการเก็บภาษีน้ำมัน และไม่มีการตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
มาเลเซียที่มีรายได้จากการส่งออกอยู่แล้ว แถมยังไม่มีการเก็บภาษีน้ำมัน และไม่มีการตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ทำให้มาเลเซียสามารถอุดหนุนราคาน้ำมันในประเทศ
ต่ำกว่าความเป็นจริงได้ กลายเป็นแต้มต่อให้กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศได้เติบโต
ต่ำกว่าความเป็นจริงได้ กลายเป็นแต้มต่อให้กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศได้เติบโต
และรัฐหันไปโฟกัสกับการทำให้ รายได้ของคนในประเทศเพิ่มขึ้นแทน ทั้งการพัฒนาการศึกษาให้กับคนทุกเชื้อชาติ เช่น มลายู, จีน, มาเลย์อินเดีย และกลุ่มอื่น ๆ เพื่อลดช่องว่างรายได้ของกลุ่มคนที่รวยสุดและจนสุดในสังคมมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าอีก 4 ปีข้างหน้า มาเลเซียจะเปลี่ยนชื่อจากประเทศกำลังพัฒนา เป็นประเทศพัฒนาได้แล้ว เพราะมีรายได้เฉลี่ยต่อปีผ่านเกณฑ์ของธนาคารโลก
แต่การมีรายได้ถึงเกณฑ์และขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ก็อาจจะไม่มีความหมายอะไรเลย ถ้าคนในประเทศรู้สึกว่า ค่าครองชีพยังแพง คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ ยังไม่ดีขึ้น
สุดท้ายคนก็จะมองว่า
นี่คือประเทศด้อยพัฒนา หรือพัฒนายังไม่เสร็จ แทน..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-The Malaysian Figure in 2023 by Ministry of Economy
-https://www.straitstimes.com/asia/se-asia/malaysia-s-economic-reforms-set-to-eat-into-budgets-of-middle-high-income-households
-https://open.dosm.gov.my/dashboard/household-income-expenditure
-https://tradingeconomics.com/malaysia
-https://www.aljazeera.com/economy/2024/10/10/malaysia-could-reach-high-income-status-by-2028-world-bank-say
-https://www.britannica.com/place/Malaysia
-https://www.oecd.org/en/publications/oecd-economic-surveys-malaysia-2024_e45ca31a-en.html
นี่คือประเทศด้อยพัฒนา หรือพัฒนายังไม่เสร็จ แทน..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-The Malaysian Figure in 2023 by Ministry of Economy
-https://www.straitstimes.com/asia/se-asia/malaysia-s-economic-reforms-set-to-eat-into-budgets-of-middle-high-income-households
-https://open.dosm.gov.my/dashboard/household-income-expenditure
-https://tradingeconomics.com/malaysia
-https://www.aljazeera.com/economy/2024/10/10/malaysia-could-reach-high-income-status-by-2028-world-bank-say
-https://www.britannica.com/place/Malaysia
-https://www.oecd.org/en/publications/oecd-economic-surveys-malaysia-2024_e45ca31a-en.html