SAMART เบื้องหลังเทคโนโลยีไทย เตรียมออกหุ้นกู้ดอกเบี้ย 5.20% ต่อปี
SAMART x ลงทุนแมน
------
หุ้นกู้นี้เสนอขายแก่ผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือผู้ลงทุนรายใหญ่
ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้
------
เวลาพูดถึง “หุ้นเทคโนโลยี” ในตลาดหลักทรัพย์ไทย หลายคนอาจนึกถึงแต่บริษัทโทรคมนาคม หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
------
หุ้นกู้นี้เสนอขายแก่ผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือผู้ลงทุนรายใหญ่
ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้
------
เวลาพูดถึง “หุ้นเทคโนโลยี” ในตลาดหลักทรัพย์ไทย หลายคนอาจนึกถึงแต่บริษัทโทรคมนาคม หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
แต่รู้หรือไม่ว่า เบื้องหลังเทคโนโลยีสำคัญ ที่ขับเคลื่อนประเทศไทย มีบริษัท Tech ไทยแท้ ๆ ซ่อนตัวอยู่ในหลากหลายรูปแบบบริการ ไม่ว่าจะเป็น
- ระบบควบคุมการจราจรทางอากาศ
- ระบบ Direct Coding บนผลิตภัณฑ์เบียร์
- ระบบ Smart City ที่ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนเมือง
- ระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์
- ระบบ ERP และ SAP ระดับองค์กรใหญ่
- โครงข่ายใยแก้วนำแสงความเร็วสูง
- ระบบ Direct Coding บนผลิตภัณฑ์เบียร์
- ระบบ Smart City ที่ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนเมือง
- ระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์
- ระบบ ERP และ SAP ระดับองค์กรใหญ่
- โครงข่ายใยแก้วนำแสงความเร็วสูง
ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นผลงานของ “SAMART” หรือ บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของไทย ที่อยู่คู่คนไทยมากว่า 67 ปี
SAMART ไม่ได้เป็นเพียงแค่บริษัทที่อยู่มานาน แต่ยังเป็น “Tech-enabled Company” ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นหัวใจในการขับเคลื่อนธุรกิจ พร้อมนำประเทศไทยสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ
ล่าสุด SAMART เปิดโอกาสให้คนไทยเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตทางธุรกิจ ด้วยการออกหุ้นกู้ SAMART ที่มีอัตราดอกเบี้ย 5.20% ต่อปี ชำระดอกเบี้ยทุก 3 เดือน
โดยบริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับการจัดอันดับเครดิตที่ “BBB” แนวโน้ม “Positive” จากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด
แล้วหุ้นกู้ SAMART น่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAMART ก่อตั้งขึ้นในปี 2500 นับเป็นเวลากว่า 67 ปี ที่ SAMART ยืนหยัดเคียงข้างคนไทย
SAMART เริ่มต้นจากการเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจเพจเจอร์ ธุรกิจจานดาวเทียม เสาอากาศทีวี และงานสื่อสารโทรคมนาคมต่าง ๆ รวมถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่รายแรก ๆ ของประเทศไทย
ซึ่งเป็นการวางรากฐานโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่สำคัญ SAMART ยังเชื่อมต่อผู้คนและธุรกิจต่าง ๆ เข้าด้วยกันผ่านเทคโนโลยีการสื่อสาร
ซึ่งเป็นการวางรากฐานโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่สำคัญ SAMART ยังเชื่อมต่อผู้คนและธุรกิจต่าง ๆ เข้าด้วยกันผ่านเทคโนโลยีการสื่อสาร
จากนั้น SAMART เติบโตอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นบริษัทโฮลดิงในธุรกิจหลากหลาย ทั้ง ICT, Digital, โทรคมนาคม เช่น
1. บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) หรือ SAMTEL ถือหุ้นอยู่ 70.14%
ผู้ให้บริการ ICT Solutions ชั้นนำของประเทศไทย เชี่ยวชาญด้านระบบสื่อสารและเทคโนโลยี เช่น
- โครงสร้างพื้นฐาน ออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่าย, ระบบรักษาความปลอดภัย, วางระบบโครงข่ายใยแก้วนำแสงความเร็วสูง
- Smart Solutions พัฒนา Smart City, Smart Transportation และ Smart Energy ยกระดับเมืองสู่ยุคดิจิทัล
- Digital Transformation วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกด้วย Data Analytics, พัฒนาแอปพลิเคชัน ทั้ง Web และ Mobile, เพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจด้วยระบบ Enterprise Resource Planning และโซลูชันการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ เช่น e-Wallet และ Payment Gateway
- Cloud Services ให้บริการ Cloud แบบครบวงจร
ลูกค้าหลักคือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA), การไฟฟ้านครหลวง (MEA), หน่วยงานภาครัฐ, กรมที่ดิน และองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่
2. บริษัท สามารถ ดิจิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ SDC ถือหุ้นอยู่ 72.80%
เดิมทีเป็นผู้จัดจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ ปัจจุบันมุ่งเน้นธุรกิจ Digital Services เช่น Digital Marketing & Solution แบ่งเป็น
- Digital Network ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์สื่อสารและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการใช้งานวิทยุคมนาคมระบบดิจิทัล (Digital Trunked Radio System หรือ DTRS) และการวางระบบ ให้บริการเครือข่ายสัญญาณวิทยุที่ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ
- Digital Content ให้บริการเทคโนโลยีการตัดสินฟุตบอลด้วยภาพบันทึกวิดีโอ (VAR) เทคโนโลยีระดับ FIFA เจ้าแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเจ้าเดียวในประเทศไทย
นอกจากนี้ ยังมีบริการอื่น ๆ เช่น บริการข้อมูลข่าวสาร และสาระความบันเทิงที่ทันสมัยในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การดูดวงโหราศาสตร์และทำบุญออนไลน์ ไปจนถึงการให้บริการแบบเรียลไทม์ (Real-time) และการให้บริการแบบตัวต่อตัว (One-on-One)
ลูกค้าหลักคือ กระทรวงมหาดไทย, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงหน่วยงานเอกชนหลากหลาย
3. บริษัท สามารถ ยู-ทรานส์ จำกัด ถือหุ้นอยู่ 99%
โดย บริษัท สามารถ ยู-ทรานส์ จำกัด ได้กระจายการลงทุนไปยังหลากหลายอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสาธารณูปโภคและการคมนาคมขนส่ง
ซึ่งหนึ่งในบริษัทที่น่าสนใจและมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีในอนาคต คงหนีไม่พ้น บริษัท สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SAV
โดย SAV ถือหุ้น 100% ในบริษัท แคมโบเดีย แอร์ทราฟฟิค เซอร์วิส จำกัด (“CATS”) ผู้ให้บริการ “วิทยุการบินหรือการควบคุมจราจรทางอากาศ”
ซึ่ง CATS ได้รับสัมปทาน ในการให้บริการควบคุมการจราจรทางอากาศ ในประเทศกัมพูชาแต่เพียงผู้เดียว
นอกจาก SAV ที่เป็นดาวเด่น ยังมีบริษัทอื่น ๆ อีกมากมายที่น่าสนใจ เช่น
- ก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อย สายส่งไฟฟ้า ระบบไฟฟ้าใต้ดิน ผ่านบริษัท เทด้า จำกัด ที่ได้รับความไว้วางใจจาก การไฟฟ้านครหลวง (MEA)
- จำหน่ายไฟฟ้า ในประเทศกัมพูชา ผ่านบริษัท Kampot Power Plant
- จำหน่ายอุปกรณ์เกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัย และระบบสื่อสารด้านภาพและเสียง ผ่าน บริษัท วิชั่น แอนด์ ซีเคียวริตี้ ซีสเต็ม จำกัด
- จำหน่ายไฟฟ้า ในประเทศกัมพูชา ผ่านบริษัท Kampot Power Plant
- จำหน่ายอุปกรณ์เกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัย และระบบสื่อสารด้านภาพและเสียง ผ่าน บริษัท วิชั่น แอนด์ ซีเคียวริตี้ ซีสเต็ม จำกัด
ที่น่าสนใจคือ “สามารถคอร์ปอเรชั่น” ไม่ได้หยุดอยู่แค่ธุรกิจ ICT เท่านั้น แต่ยังพลิกโฉมอุตสาหกรรมเบียร์ด้วยเทคโนโลยี Direct Coding เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย
โดยร่วมมือกับผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น สิงห์, ช้าง, ตะวันแดง, Heineken, San Miguel หรือ Leo ในการยิงโคดลงบนกระป๋องและขวดเบียร์
เทคโนโลยี Direct Coding นี้นับเป็นนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มความโปร่งใสและยกระดับมาตรฐานการผลิตในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สามารถติดตามจำนวนการผลิตได้อย่างแม่นยำ ช่วยรัฐบาลควบคุมการผลิตและจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ยิ่งไปกว่านั้น ยังช่วยผู้ผลิตบริหารจัดการสินค้าคงคลัง ป้องกันการปลอมแปลงสินค้า สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค และนำข้อมูลการผลิตมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนการผลิตและการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อีกด้วย
ปัจจุบันสัดส่วนรายได้ของกลุ่ม SAMART ในปี 2567 คือ
- 56.2% ธุรกิจสาธารณูปโภคและการคมนาคมขนส่ง
- 38.3% ธุรกิจ Digital ICT Solution
- 5.5% ธุรกิจ Digital Communication
- 38.3% ธุรกิจ Digital ICT Solution
- 5.5% ธุรกิจ Digital Communication
ผลประกอบการของ บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ย้อนหลัง 3 ปี จะพบการเติบโตของรายได้อย่างต่อเนื่อง
ปี 2564 รายได้รวม 7,141 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้รวม 9,430 ล้านบาท
ปี 2566 รายได้รวม 10,037 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้รวม 9,430 ล้านบาท
ปี 2566 รายได้รวม 10,037 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการครึ่งปีแรกของปี 2567 ยังขาดทุนจากการรับรู้ประมาณการหนี้สินข้อพิพาทคดีเอเชียนเกมส์
แต่หากไม่รวมรายการพิเศษนี้ บริษัทจะมีผลประกอบการเป็นบวก
แต่หากไม่รวมรายการพิเศษนี้ บริษัทจะมีผลประกอบการเป็นบวก
โดยหากพิจารณากระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงานของบริษัท SAMART ย้อนหลัง จะพบว่า
ปี 2565 มีกระแสเงินสด 904.74 ล้านบาท
ปี 2566 มีกระแสเงินสด 1,087.97 ล้านบาท
และ 6 เดือนแรกของปี 2567 มีกระแสเงินสด 1,377.63 ล้านบาท
ปี 2566 มีกระแสเงินสด 1,087.97 ล้านบาท
และ 6 เดือนแรกของปี 2567 มีกระแสเงินสด 1,377.63 ล้านบาท
ที่น่าสนใจคือ ล่าสุดงบ 6 เดือนแรกของปี 2567 SAMART มีรายได้รวมกว่า 4,223 ล้านบาท
และยังมี Backlog ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2567 มูลค่ากว่า 14,433 ล้านบาท แบ่งเป็น
และยังมี Backlog ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2567 มูลค่ากว่า 14,433 ล้านบาท แบ่งเป็น
- ธุรกิจสาธารณูปโภคและการคมนาคมขนส่ง 9,658 ล้านบาท
- ธุรกิจ Digital ICT Solution 3,635 ล้านบาท
- ธุรกิจ Digital Communication 1,139 ล้านบาท
- ธุรกิจ Digital ICT Solution 3,635 ล้านบาท
- ธุรกิจ Digital Communication 1,139 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม หากพูดถึงในอนาคตการเติบโตของกลุ่ม SAMART
เราคงต้องไปเจาะลึกธุรกิจในเครืออย่าง บริษัท สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) หรือ “SAV”
เราคงต้องไปเจาะลึกธุรกิจในเครืออย่าง บริษัท สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) หรือ “SAV”
SAV คือใคร ?
SAV เป็นบริษัทโฮลดิงที่เน้นการลงทุนในธุรกิจทางการจราจรทางอากาศ โดยถือหุ้น 100% ใน บริษัท แคมโบเดีย แอร์ทราฟฟิค เซอร์วิส จํากัด (“CATS”)
โดย CATS ให้บริการบริหารจัดการจราจรทางอากาศแต่เพียงรายเดียวของสนามบินกัมพูชา จากสัมปทาน 49 ปี ซึ่งจะสิ้นสุดในปี 2594 หรือในอีก 27 ปีข้างหน้า
จุดเด่นของ SAV หลัก ๆ เช่น
- เป็นผู้นำในธุรกิจควบคุมการจราจรทางอากาศแต่เพียงรายเดียวในกัมพูชา นับตั้งแต่ปี 2545 ถือว่ามีส่วนสำคัญในการพัฒนาระบบการบินของประเทศกัมพูชา
- สัมปทานระยะยาวถึงปี 2594 หรืออีก 27 ปี
- ศักยภาพการเติบโตของอุตสาหกรรมการบินของกัมพูชามีแนวโน้มเติบโตสูง โดยในปี 2566 ผู้โดยสารในสนามบินของกัมพูชาเพิ่มขึ้น 240% จากปีก่อนหน้า
- เก็บรายได้จากทั้งเครื่องบินที่บินผ่านประเทศ และบินขึ้น-ลงในประเทศกัมพูชา
- การขยายธุรกิจ ปัจจุบัน SAV อยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อลงทุนในธุรกิจสัมปทานควบคุมการจราจรทางอากาศในสปป.ลาว
สรุปได้ว่า SAV ถือเป็น Growth Engine สำคัญของ SAMART ที่จะผลักดันการเติบโตในอนาคต ด้วยศักยภาพการเติบโต และโอกาสขยายธุรกิจในอุตสาหกรรมการบิน
โดยผลประกอบการย้อนหลังของ SAV พบว่า
ปี 2565 รายได้รวม 1,229 ล้านบาท กำไร 199 ล้านบาท
ปี 2566 รายได้รวม 1,666 ล้านบาท กำไร 271 ล้านบาท
ปี 2566 รายได้รวม 1,666 ล้านบาท กำไร 271 ล้านบาท
ส่วน 6 เดือนแรกของปี 2567 SAV มีรายได้รวม 852 ล้านบาท กำไร 210 ล้านบาท ซึ่งมากกว่ากำไรของปี 2565 ไปเรียบร้อยแล้ว
นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญที่ต้องจับตามองคือ การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจากวิกฤติโรคระบาด
ซึ่งดูแล้วน่าจะมีแนวโน้มที่สดใส เพราะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวกัมพูชามากขึ้น ส่งผลให้จำนวนเที่ยวบินและจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นตาม ประกอบกับเศรษฐกิจกัมพูชาที่มีแนวโน้มเติบโต ทำให้เป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมการบิน ขณะเดียวกัน เครื่องบินที่บินผ่านประเทศก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน
ซึ่งดูแล้วน่าจะมีแนวโน้มที่สดใส เพราะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวกัมพูชามากขึ้น ส่งผลให้จำนวนเที่ยวบินและจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นตาม ประกอบกับเศรษฐกิจกัมพูชาที่มีแนวโน้มเติบโต ทำให้เป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมการบิน ขณะเดียวกัน เครื่องบินที่บินผ่านประเทศก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน
มาถึงตรงนี้ หากใครสนใจในธุรกิจ SAMART สามารถลงทุนหุ้นกู้เสี่ยงสูงชุดใหม่ของ SAMART ล่าสุด
ก่อนอื่นต้องบอกว่า การที่หุ้นกู้ปัจจุบันของ SAMART ถูกจัดให้เป็น หุ้นกู้เสี่ยงสูง นั้น เป็นผลมาจากการที่ ก.ล.ต. ยกระดับหลักเกณฑ์การจัดอันดับความเสี่ยงของหุ้นกู้ใหม่ ซึ่งมีความเข้มงวดมากขึ้น โดยกำหนดให้หุ้นกู้ที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตัวหุ้นกู้เอง (Issue Rating) จะต้องถูกเรียกชื่อว่าเป็นหุ้นกู้เสี่ยงสูงทั้งหมด ทำให้หุ้นกู้หลายตัวที่อาจเคยอยู่ในระดับความเสี่ยงปานกลาง ถูกปรับเป็นระดับความเสี่ยงสูงขึ้นได้ โดยหุ้นกู้ของ SAMART เองที่เพิ่งเสนอขายไปเมื่อช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ก็เคยอยู่ในระดับความเสี่ยงปานกลางเช่นกัน
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากอันดับเครดิตของบริษัท SAMART ที่ถูกจัดอันดับ “BBB” โดย Tris Rating ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับ “Investment Grade” ประกอบกับแนวโน้ม “Positive” ก็แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความมั่นคงของบริษัทในระดับหนึ่ง รวมถึงโอกาสที่อันดับเครดิตจะถูกปรับขึ้นในอนาคต
ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาความเสี่ยงของตนเองประกอบการตัดสินใจลงทุนด้วย
ทีนี้เราลองมาดูรายละเอียดหุ้นกู้ SAMART ชุดใหม่กันบ้าง
-หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนครบกำหนด
-อายุ 2 ปี ครบกำหนดไถ่ถอน 2569
-อัตราดอกเบี้ย 5.20% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน
-อายุ 2 ปี ครบกำหนดไถ่ถอน 2569
-อัตราดอกเบี้ย 5.20% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน
วัตถุประสงค์หลักของการออกหุ้นกู้ครั้งนี้ คือ
- ชำระคืนหนี้หุ้นกู้เดิมของ SAMART ชื่อ SAMART251A ซึ่งจะครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนมกราคม 2568
- ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เพื่อเสริมสภาพคล่อง และรองรับการขยายธุรกิจ
- ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เพื่อเสริมสภาพคล่อง และรองรับการขยายธุรกิจ
โดยเสนอขายผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือผู้ลงทุนรายใหญ่
มูลค่าการจองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท และทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท
ระยะเวลาเสนอขาย 5 - 7 พฤศจิกายน 2567
มูลค่าการจองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท และทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท
ระยะเวลาเสนอขาย 5 - 7 พฤศจิกายน 2567
มาถึงตรงนี้ เราคงพอสรุปได้ว่า SAMART เป็นมากกว่าบริษัทเทคโนโลยีทั่วไป เพราะเป็น “Tech-enabled Company” อย่างแท้จริง
ในขณะที่ประเทศไทย ยังไม่ค่อยมีบริษัทเทคโนโลยีที่โฟกัสด้านเทคโนโลยีเต็มตัวมากนัก
SAMART กลับพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า บริษัทไทยก็สามารถยืนหยัด และเติบโตในธุรกิจเทคโนโลยีได้อย่างแข็งแกร่ง
SAMART กลับพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า บริษัทไทยก็สามารถยืนหยัด และเติบโตในธุรกิจเทคโนโลยีได้อย่างแข็งแกร่ง
ด้วยระยะเวลากว่า 67 ปี ที่ SAMART เคียงข้างคนไทย
และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังนวัตกรรมมากมาย ที่ช่วยขับเคลื่อนประเทศไทย..
และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังนวัตกรรมมากมาย ที่ช่วยขับเคลื่อนประเทศไทย..
ต้องการสอบถามเพิ่มเติม หุ้นกู้ SAMART ได้ที่
- คุณพชร กิตติยวัฒน์ โทร. 02-502-6778 หรือ E-mail: pachara.ki@samartcorp.com
- คุณจุฑาทิพย์ ชีรกาญจน์ โทร. 02-502-6123 หรือ E-mail: juthatip.c@samartcorp.com
- คุณพชร กิตติยวัฒน์ โทร. 02-502-6778 หรือ E-mail: pachara.ki@samartcorp.com
- คุณจุฑาทิพย์ ชีรกาญจน์ โทร. 02-502-6123 หรือ E-mail: juthatip.c@samartcorp.com
หรือผ่านตัวแทนการจัดจำหน่าย
- บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โทร. 02-351-1801
- บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์ จำกัด โทร. 02-249-2999
- บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) โทร. 02-625-2422
- บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โทร. 02-153-9290 ต่อ 8163
- บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด โทร. 02-687-7543
- บริษัทหลักทรัพย์ คิงส์ฟอร์ด จำกัด (มหาชน) โทร. 02-033-6103
- บริษัทหลักทรัพย์ สยามเวลธ์ จำกัด โทร. 02-430-6545
- บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด โทร. 02-088-9136, 02-343-9541
- บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) โทร. 02-820-0100
- บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-205-7350
- บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์ จำกัด โทร. 02-249-2999
- บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) โทร. 02-625-2422
- บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โทร. 02-153-9290 ต่อ 8163
- บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด โทร. 02-687-7543
- บริษัทหลักทรัพย์ คิงส์ฟอร์ด จำกัด (มหาชน) โทร. 02-033-6103
- บริษัทหลักทรัพย์ สยามเวลธ์ จำกัด โทร. 02-430-6545
- บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด โทร. 02-088-9136, 02-343-9541
- บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) โทร. 02-820-0100
- บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-205-7350
คำเตือน: หุ้นกู้นี้เสนอขายแก่ผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขของตราสารหนี้ ลักษณะของตราสารหนี้ ผู้ออกตราสารหนี้ ความเหมาะสมในการลงทุน รวมถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ก่อนตัดสินใจลงทุน