รัฐ จ่อเก็บ ค่าธรรมเนียมรถติด นำร่อง คันละ 40-50 บาท ตามเส้นสุขุมวิท สีลม รัชดา
รัฐบาลมีแนวคิดในการซื้อคืนรถไฟฟ้า เพื่อนำกลับมาบริหาร และควบคุมค่าโดยสาร ให้เหลือ 20 บาททุกสาย
จึงมอบหมายให้กระทรวงการคลัง ศึกษารูปแบบในการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน
จึงมอบหมายให้กระทรวงการคลัง ศึกษารูปแบบในการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน
ซึ่งกระทรวงคมนาคม ได้เสนอนโยบายเก็บค่าธรรมเนียมรถติด เหมือนในต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทางการซื้อสัมปทานบริหารโครงการรถไฟฟ้าจากภาคเอกชน กลับมาเป็นของรัฐบาล
การระดมทุนของกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน เบื้องต้นจะนำเงินมาจากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติด (Congestion Charge) ที่เป็นโมเดลที่หลายประเทศนิยมใช้ เช่น อังกฤษ
รวมไปถึงจะเปิดระดมทุนจากประชาชน คล้ายกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย หรือ Thailand Future Fund (TFF)
รวมไปถึงจะเปิดระดมทุนจากประชาชน คล้ายกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย หรือ Thailand Future Fund (TFF)
ทั้งนี้ พื้นที่ที่การจราจรติดขัด และอยู่โดยรอบแนวรถไฟฟ้า จะเป็นเป้าหมายในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติด เช่น สุขุมวิท สีลม เอกมัย ท่องหล่อ และรัชดา
โดยพื้นที่เหล่านี้ มีปริมาณการจราจรในพื้นที่ ราว 700,000 คันต่อวัน
โดยพื้นที่เหล่านี้ มีปริมาณการจราจรในพื้นที่ ราว 700,000 คันต่อวัน
ดังนั้นในอนาคต ประชาชนที่นำรถยนต์เข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว จะต้องเสียค่าธรรมเนียม และนำเงินดังกล่าวเข้ากองทุนโครงสร้างพื้นฐาน
เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน หันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะอย่างรถไฟฟ้ามากขึ้น
เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน หันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะอย่างรถไฟฟ้ามากขึ้น
การจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติด จะจัดเก็บในอัตราที่เพิ่มขึ้น เช่น ช่วง 5 ปีแรก จัดเก็บคันละ 40-50 บาท แต่หลังจากนั้นจะทยอยปรับขึ้นค่าธรรมเนียม ให้สอดคล้องกับสถานการณ์
และคาดว่า ค่าธรรมเนียมส่วนนี้ จะเก็บเป็นรายได้เข้ารัฐ ได้ประมาณ 12,000 ล้านบาทต่อปี
สำหรับรายละเอียดของกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ตอนนี้ต้องรอกระทรวงการคลัง ศึกษารายละเอียดที่ชัดเจน ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงกลางปี 2568
แต่เบื้องต้น กองทุนจะมีระยะเวลาลงทุน 30 ปี และมีขนาดประมาณ 200,000 ล้านบาท
และแน่นอนว่า เพื่อจูงใจให้เกิดการระดมทุนจากประชาชน
ทางกองทุน จะมีการการันตีผลตอบแทนรายปี และให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นทุกปี..
ทางกองทุน จะมีการการันตีผลตอบแทนรายปี และให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นทุกปี..