สรุป กองทุนวายุภักษ์ การแบกระดับ 100,000 ล้าน ของรัฐบาลไทย
สรุป กองทุนวายุภักษ์ การแบกระดับ 100,000 ล้าน ของรัฐบาลไทย /โดย ลงทุนแมน
- 10 คนใกล้ตัว ที่ลงทุนแมนถามว่า จะซื้อกองทุนวายุภักษ์ ไหม ?
เกือบทั้งหมดตอบว่า
- ยังไม่แน่ใจ ยังไม่รู้ ซื้อแล้วได้อะไร
- คุ้มครองเงินต้นหรือเปล่า
- หุ้นตกได้เงินคืนไหม
- ผลตอบแทนคุ้มค่าไหม
- 10 คนใกล้ตัว ที่ลงทุนแมนถามว่า จะซื้อกองทุนวายุภักษ์ ไหม ?
เกือบทั้งหมดตอบว่า
- ยังไม่แน่ใจ ยังไม่รู้ ซื้อแล้วได้อะไร
- คุ้มครองเงินต้นหรือเปล่า
- หุ้นตกได้เงินคืนไหม
- ผลตอบแทนคุ้มค่าไหม
ทันทีที่ลงทุนแมนได้ฟัง ก็รู้เลยว่า คนเหล่านั้นคงยัง “งง” กับกลไกที่ซับซ้อนของกองทุนนี้
และกว่าจะรู้ตัว กองทุนนี้ก็คงปิดรับจองแล้ว
รู้ไหมว่า ไม่เคยมีครั้งไหนที่ประเทศไทย ที่จะมีการระดมทุนครั้งไหนใหญ่เท่าครั้งนี้
- หุ้น OR ที่มีคนแห่จองซื้อ 5.3 แสนราย เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ระดมทุนไปได้ 47,000 ล้านบาท
- หุ้น CRC เป็นหุ้นที่เคยระดมทุนได้มากสุด เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ระดมทุนไปได้ 78,000 ล้านบาท
- ตอนนี้ กองทุนวายุภักษ์ ตั้งเป้าหมายว่า จะเป็นกองทุนที่จะระดมเงินมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยเงินก้อนนี้จะมีขนาดมหึมา มากถึง 150,000 ล้านบาท..
วายุภักษ์ มีอะไรดี ? ทำไมถึงมั่นใจว่าจะได้เงินมากขนาดนั้น ?
เปิดสมองให้พร้อม
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
เปิดสมองให้พร้อม
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
จุดเริ่มต้น วายุภักษ์ เกิดขึ้นปี 2546 หรือเมื่อ 21 ปีที่แล้ว
ผู้ถือหน่วย วายุภักษ์ แบ่งเป็น 2 ประเภท
ประเภท ก. คือ ผู้ลงทุนทั่วไป ที่ไม่ใช่รัฐบาล
ประเภท ข. คือ รัฐบาล โดยกระทรวงการคลังเป็นตัวแทน
สิ้นสุดโครงการแรกไปเมื่อ 2556 ตอนนั้นกองทุนวายุภักษ์ซื้อคืนหน่วยลงทุน ทำให้หน่วยลงทุนประเภท ก. คือ ผู้ลงทุนทั่วไป ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวแล้วตั้งแต่ตอนนั้น
ปัจจุบัน กองทุนวายุภักษ์ เลยเหลือแต่ภาครัฐเป็นผู้ถือหน่วย โดยมีมูลค่าล่าสุดประมาณ 350,000 ล้านบาท
จำตัวเลข 350,000 ล้านบาท ไว้ดี ๆ เพราะมันเป็นจุดสำคัญที่จะมีพูดถึงเป็นระยะในบทความนี้
ปัจจุบัน กองทุนวายุภักษ์ กลับมาเสนอขายประเภท ก. หรือผู้ลงทุนทั่วไปใหม่อีกครั้ง โดยเสนอขายสัปดาห์เดียว ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 16 - ศุกร์ที่ 20 กันยายน 2567
มูลค่าที่เสนอขาย ประมาณการไว้ที่ 100,000 - 150,000 ล้านบาท
โดยเสนอขายให้ทั้งบุคคลทั่วไป และสถาบัน
โดยเสนอขายให้ทั้งบุคคลทั่วไป และสถาบัน
เรื่องของเรื่องคือ สถาบัน เช่น ธนาคาร บริษัทประกัน กองทุนรวม เขารู้ดีว่า กองทุนวายุภักษ์มีกลไกอย่างไร และน่าจะจองเต็ม โดยประมาณการว่าจะขายสถาบันได้ 100,000 - 120,000 ล้านบาท
บุคคลรายย่อย จะขายได้ 30,000 - 50,000 ล้านบาทของก้อนนี้
แล้วกลไกของวายุภักษ์เป็นอย่างไร ?
ถ้าเราคิดว่า วายุภักษ์จะไปซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ให้ผู้ถือหน่วยประเภท ก. แล้วก็ลุ้นกันไปว่าหุ้นจะขึ้นหรือจะลง.. “จะเป็นความเข้าใจที่ผิด”
ลงทุนแมนจะขอพูดแบบรวบรัด และทำความเข้าใจให้ใหม่หมดเลย
สำหรับการถือหน่วยประเภท ก. ในภาษาการเงิน ลงทุนแมนจะเรียกว่ามันเป็น Structured Note หรือ เป็นตราสารที่ถูกออกแบบมาประเภทหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายตราสารหนี้แบบมีเงื่อนไข (จริง ๆ แล้วถือเป็นตราสารอนุพันธ์ แต่ไม่ขอพูดถึง ณ จุดนี้เพราะจะทำให้งง)
เงื่อนไขของกองทุน แปลเป็นภาษาชาวบ้าน
ถ้ากองทุนเริ่มต้น 10 บาท
กองทุนจะจ่ายเงินอย่างน้อย 0.3 บาทให้เราต่อปี
และมากสุด 0.9 บาทต่อปี
ถ้ากองทุนเริ่มต้น 10 บาท
กองทุนจะจ่ายเงินอย่างน้อย 0.3 บาทให้เราต่อปี
และมากสุด 0.9 บาทต่อปี
หมายความว่า เราจะได้เงินจากการถือหน่วยประเภท ก. 3% ถึง 9% ต่อปี
แล้วปีไหน จะเป็น 3% ปีไหนเป็น 9% ? มาดูกัน..
กองทุนวายุภักษ์บอกว่า จะนำเงินที่ระดมทุนได้ 150,000 ล้านบาท บวกกับของเดิม 350,000 ล้านบาท ไปกระจายการลงทุนทั้งในตลาดหลักทรัพย์ (หุ้น) ตลาดตราสารหนี้ เพื่อมุ่งหวังให้ได้ผลตอบแทนที่สูงในระยะยาว
แล้วมาวัดกันปีต่อปี ถ้าปีไหนกองทุนมีผลตอบแทนน้อยกว่า 3% ผู้ถือหน่วย ก. จะได้ขั้นต่ำ 3% (ส่วนที่ต่ำกว่า 3% ผู้ถือหน่วย ข. หรือรัฐบาลจะแบกรับไว้เอง)
ถ้าถามว่าผู้ถือหน่วย ข. หรือรัฐบาล จะช่วยรับการขาดทุนมากถึงขนาดไหน ?
คำตอบก็คือ ด้วยเงินทั้งหมดของเดิมของผู้ถือหน่วย ข. ซึ่งเป็นจำนวนเงินมากถึง 350,000 ล้านบาท..
ถ้าให้คิดว่าการขาดทุนนี้คิดเป็น % เท่าไร ? ให้เอา 350,000 / 500,000 ซึ่งก็คือ กองทุนนี้ต้องขาดทุนถึง 70% จากเงินต้น ผู้ถือหน่วย ข. หรือรัฐบาล ถึงจะเริ่มแบกรับการขาดทุนไม่ไหว..
แล้วผู้ถือหุ้นหน่วย ข. หรือรัฐบาล ได้อะไร ?
คำตอบก็คือ ในปีที่ผลตอบแทนดีเกิน 9% ส่วนที่เกิน 9% ผู้ถือหน่วย ข. หรือรัฐบาลจะได้รับไป
พูดง่าย ๆ ก็คือ ผู้ถือหน่วย ข. หรือรัฐบาล จะดูดซับความผันผวนในปีที่ผลตอบแทนต่ำกว่า 3% และปีที่ผลตอบแทนสูงกว่า 9% นั่นเอง
ส่วนปีที่กองทุนทำผลตอบแทนอยู่ในระหว่าง 3% ถึง 9% เช่นปีไหนกองทุนทำผลตอบแทนได้ 5% ผู้ถือหน่วย ก. และผู้ถือหน่วย ข. ก็จะได้รับเงินไป 5% เท่ากัน
โดยครบ 10 ปี ผู้ถือหน่วย ก. ก็จะได้เงินต้นคืนเต็มจำนวน หาก 350,000 ล้านบาท ของผู้ถือหน่วย ข. ไม่ได้หายไปทั้งหมด
เรามาจำลองสิ่งที่เกิดขึ้นย้อนหลังกัน กับผลตอบแทนของกองทุนวายุภักษ์หนึ่ง 10 ปีย้อนหลัง ว่ากลไกของวายุภักษ์จะทำงานอย่างไร ถ้ามีหน่วยลงทุนประเภท ก. เข้ามาอยู่ในสมการ
(แค่ตัวอย่างจำลอง ผลตอบแทนในอนาคตอาจไม่ได้เป็นแบบนี้)
(แค่ตัวอย่างจำลอง ผลตอบแทนในอนาคตอาจไม่ได้เป็นแบบนี้)
ผลตอบแทนกองทุนวายุภักษ์หนึ่ง เมื่อเทียบกับ ผลตอบแทนผู้ถือหน่วย ก.
ปี 2557: 24.07% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 9%
ปี 2558: -25.39% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 3%
ปี 2559: 42.13% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 9%
ปี 2560: 12.83% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 9%
ปี 2561: -0.79% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 3%
ปี 2562: -0.97% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 3%
ปี 2563: -11.73% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 3%
ปี 2564: 13.76% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 9%
ปี 2565: -3.58% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 3%
ปี 2566: 5.50% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 5.5%
ปี 2557: 24.07% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 9%
ปี 2558: -25.39% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 3%
ปี 2559: 42.13% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 9%
ปี 2560: 12.83% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 9%
ปี 2561: -0.79% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 3%
ปี 2562: -0.97% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 3%
ปี 2563: -11.73% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 3%
ปี 2564: 13.76% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 9%
ปี 2565: -3.58% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 3%
ปี 2566: 5.50% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 5.5%
พอเห็นผลตอบแทนเป็นแบบนี้ ก็บอกได้เลยว่า ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ผลตอบแทนคล้ายตราสารหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ย 3% ต่อปี ที่มีโบนัสบางปีที่ได้มากกว่านั้น
ซึ่งจะได้ผลตอบแทนรวม 56.5% ใน 10 ปี หรือผลตอบแทนเฉลี่ย (CAGR) ปีละ 5.61%
ซึ่งจะได้ผลตอบแทนรวม 56.5% ใน 10 ปี หรือผลตอบแทนเฉลี่ย (CAGR) ปีละ 5.61%
รู้ไหมว่า ตอนนี้พันธบัตรรัฐบาล 10 ปี ให้ yield หรือดอกเบี้ย แค่ 2.5% เท่านั้น
ดังนั้นถ้าเรามีส่วนผสมของวายุภักษ์ประเภท ก. ที่ให้ผลตอบแทน 3% - 9% ต่อปี ในพอร์ตการลงทุนอยู่ด้วย ก็คงจะเป็นเรื่องที่ไม่ผิดนัก
ดังนั้นถ้าเรามีส่วนผสมของวายุภักษ์ประเภท ก. ที่ให้ผลตอบแทน 3% - 9% ต่อปี ในพอร์ตการลงทุนอยู่ด้วย ก็คงจะเป็นเรื่องที่ไม่ผิดนัก
และถ้าให้คาดเดา สถาบัน เช่น ธนาคาร บริษัทประกัน กองทุนรวม
ผู้จัดการกองทุนของสถาบันเหล่านี้ ก็คงจะเลือกกองทุนวายุภักษ์ หน่วย ก. เข้าพอร์ตอย่างเต็มที่ เพราะผลตอบแทนเมื่อเทียบกับความเสี่ยง มันมากกว่าพันธบัตรรัฐบาลอยู่มาก
ผู้จัดการกองทุนของสถาบันเหล่านี้ ก็คงจะเลือกกองทุนวายุภักษ์ หน่วย ก. เข้าพอร์ตอย่างเต็มที่ เพราะผลตอบแทนเมื่อเทียบกับความเสี่ยง มันมากกว่าพันธบัตรรัฐบาลอยู่มาก
นอกจากนั้น ถ้าเราไม่อยากถือครอง หน่วยลงทุนวายุภักษ์ ก. จนครบ 10 ปี หน่วยลงทุนนี้ก็มีให้ซื้อขายได้ในตลาดรอง เสมือนหุ้นตัวหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ได้ด้วย
คิดต่อไป เมื่อเทียบกับ yield ของพันธบัตรรัฐบาลแล้ว ก็เป็นไปได้เหมือนกันว่าราคาในตลาดรองของ หน่วยลงทุนวายุภักษ์ ก. อาจจะซื้อขายกันในราคาที่ไม่ใช่หน่วยละ 10 บาท..
มาดูข้อมูลต่อ
แล้วถ้าจำลองให้ใน 10 ปีที่ผ่านมา กองทุนวายุภักษ์หนึ่ง มีหน่วยลงทุน ก. มาถืออยู่ด้วย รัฐบาลจะได้ผลตอบแทนเท่าไร ?
แล้วถ้าจำลองให้ใน 10 ปีที่ผ่านมา กองทุนวายุภักษ์หนึ่ง มีหน่วยลงทุน ก. มาถืออยู่ด้วย รัฐบาลจะได้ผลตอบแทนเท่าไร ?
ผลตอบแทนกองทุนวายุภักษ์หนึ่ง เมื่อเทียบกับ ผลตอบแทนผู้ถือหน่วย ข. หรือรัฐบาล
ปี 2557: 24.07% รัฐบาลจะได้ 30.53%
ปี 2558: -25.39% รัฐบาลจะได้ -37.56%
ปี 2559: 42.13% รัฐบาลจะได้ 56.33%
ปี 2560: 12.83% รัฐบาลจะได้ 14.47%
ปี 2561: -0.79% รัฐบาลจะได้ -2.41%
ปี 2562: -0.97% รัฐบาลจะได้ -2.67%
ปี 2563: -11.73% รัฐบาลจะได้ -18.04%
ปี 2564: 13.76% รัฐบาลจะได้ 15.80%
ปี 2565: -3.58% รัฐบาลจะได้ -6.40%
ปี 2566: 5.50% รัฐบาลจะได้ 5.50%
ปี 2557: 24.07% รัฐบาลจะได้ 30.53%
ปี 2558: -25.39% รัฐบาลจะได้ -37.56%
ปี 2559: 42.13% รัฐบาลจะได้ 56.33%
ปี 2560: 12.83% รัฐบาลจะได้ 14.47%
ปี 2561: -0.79% รัฐบาลจะได้ -2.41%
ปี 2562: -0.97% รัฐบาลจะได้ -2.67%
ปี 2563: -11.73% รัฐบาลจะได้ -18.04%
ปี 2564: 13.76% รัฐบาลจะได้ 15.80%
ปี 2565: -3.58% รัฐบาลจะได้ -6.40%
ปี 2566: 5.50% รัฐบาลจะได้ 5.50%
จะเห็นว่าในปีที่บวกก็จะบวกสุด ๆ จากการได้ส่วนเกินจากหน่วย ก.
ปีที่ลบ ก็จะลบสุด ๆ จากการต้องไปคุ้มครองหน่วย ก.
ปีที่ลบ ก็จะลบสุด ๆ จากการต้องไปคุ้มครองหน่วย ก.
โดยจะได้ผลตอบแทน 29.8% ใน 10 ปี หรือผลตอบแทนเฉลี่ย (CAGR) ปีละ 2.64%
ต้องหมายเหตุว่า การคำนวณนี้เป็นการคำนวณอย่างง่าย ซึ่งในตัวเลขจริงอาจมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ทำให้ผลตอบแทนไม่เป็นไปตามแบบจำลอง
แต่น่าสนใจตรงที่ เมื่อเทียบกับข้อมูลจริงย้อนหลัง 10 ปี
รัฐบาลยอมให้ ผู้ถือหน่วย ก. ได้ผลตอบแทน 5.61% ต่อปี
ส่วนตัวรัฐบาลเองยอมรับความผันผวนสุด ๆ และได้ผลตอบแทนแค่ 2.64% ต่อปี
รัฐบาลยอมให้ ผู้ถือหน่วย ก. ได้ผลตอบแทน 5.61% ต่อปี
ส่วนตัวรัฐบาลเองยอมรับความผันผวนสุด ๆ และได้ผลตอบแทนแค่ 2.64% ต่อปี
ก็คงจะพูดได้ว่า รัฐบาลยอมให้ตัวเองแบก เพื่อให้ผู้ถือหน่วย ก. ได้รับผลตอบแทนที่มีขั้นต่ำ แถมยังมีโบนัสในบางปี
คนที่รู้ความจริงของกองทุนนี้ เมื่อหาย งง แล้ว ก็คงแปลกใจ
ทำไมรัฐ ถึงยอมแบก ?
ทำไมรัฐ ถึงยอมแบก ?
และจากข้อเท็จจริง ผู้ถือหน่วย ก. จะมี 150,000 ล้านบาท
โดยสถาบัน จะซื้อ 100,000 - 120,000 ล้านบาท
อีก 30,000 - 50,000 ล้านบาท จะให้บุคคลรายย่อยจอง
โดยสถาบัน จะซื้อ 100,000 - 120,000 ล้านบาท
อีก 30,000 - 50,000 ล้านบาท จะให้บุคคลรายย่อยจอง
แปลทางอ้อมได้ว่า คนที่ได้ประโยชน์ส่วนใหญ่ของการแบกของรัฐบาลครั้งนี้ ก็คือสถาบัน อย่างธนาคาร บริษัทประกัน กองทุนรวม..
เมื่อคิดรวมกัน 10 ปี การแบกของรัฐบาล คาดว่าอาจจะมีมูลค่ารวมกันหลักหลายหมื่นล้านบาท จนถึงแสนล้านบาท เลยทีเดียว
พออ่านจบ สิ่งเดียวที่เหลืออยู่ ที่คนธรรมดาพอจะทำได้ในช่วงนี้ก็คือ เตรียมเงินไปซื้อ กองทุนวายุภักษ์ ประเภท ก. แล้วให้รัฐบาลแบกไปอีก 10 ปี นั่นเอง..