สิงคโปร์ กลายเป็นศูนย์กลางการเงิน อันดับ 3 ของโลกได้ ภายในชั่วอายุคน
สิงคโปร์ กลายเป็นศูนย์กลางการเงิน อันดับ 3 ของโลกได้ ภายในชั่วอายุคน
SGX x ลงทุนแมน
SGX x ลงทุนแมน
ในช่วงปีที่ผ่านมานี้ ได้มีศูนย์กลางทางการเงินของโลก อีกแห่งหนึ่งที่ได้ขึ้นมาท้าชิง ตำแหน่งศูนย์กลางทางการเงินโลก กับมหานครนิวยอร์ก และลอนดอน
ซึ่งก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นประเทศเพื่อนบ้านของเราอย่าง “สิงคโปร์” ที่ในปี 2023 ที่ผ่านมา ได้ถูกจัดอันดับ ให้เป็นศูนย์กลางทางการเงิน อันดับ 3 ของโลก นั่นเอง
แต่ที่น่าทึ่งกว่านั้นคือ สิงคโปร์ใช้เวลาเพียงแค่ 58 ปี นับตั้งแต่ได้รับเอกราช ในการกลายเป็นศูนย์กลางทางการเงินอันดับต้น ๆ ของโลก
แล้วสิงคโปร์ มีเส้นทางอย่างไร ถึงกลายเป็นศูนย์กลางทางการเงินโลก ได้อย่างรวดเร็วขนาดนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ด้วยความที่สิงคโปร์ ถูกพัฒนาให้เป็นเมืองท่า ตั้งแต่สมัยอาณานิคม การค้าและเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ จึงไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวสำหรับชาวสิงคโปร์
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ด้วยความที่สิงคโปร์ ถูกพัฒนาให้เป็นเมืองท่า ตั้งแต่สมัยอาณานิคม การค้าและเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ จึงไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวสำหรับชาวสิงคโปร์
เพราะการค้าขายทางทะเลนั้น ไม่ได้มีเพียงแค่การใช้เงินตราแลกสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่ยังนำไปสู่ธุรกิจการเงินต่าง ๆ ทั้งการแลกเปลี่ยนเงินตรา, การระดมทุน รวมไปถึงธุรกิจประกันภัยอีกด้วย
จึงทำให้หลังจากแยกตัวออกมาจากมาเลเซีย ในปี 1965 สิงคโปร์ ซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ ที่แทบไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอะไรเลย
ก็ได้มองเห็นว่า หนึ่งในสิ่งที่จะช่วยพัฒนาประเทศสิงคโปร์ ให้อยู่รอด และเติบโตไปข้างหน้าได้ ก็คืออุตสาหกรรมการเงิน ที่พวกเขาคุ้นเคยนั่นเอง
โดยสิ่งแรกที่รัฐบาลสิงคโปร์ทำก็คือ การตั้งหน่วยงานสำหรับดูแลภาคการเงิน อย่าง Monetary Authority of Singapore มาทำหน้าที่เป็นธนาคารกลาง ในปี 1971
ตามด้วยตลาดหุ้นสิงคโปร์ อย่าง Stock Exchange of Singapore ในปี 1984 สำหรับให้ธุรกิจต่าง ๆ ในสิงคโปร์ เข้ามาระดมทุนขยายกิจการ
ซึ่งต่อมาในปี 1999 Stock Exchange of Singapore ก็เปลี่ยนชื่อเป็น Singapore Exchange หรือ SGX
เมื่อวางระบบหลังบ้านได้แข็งแกร่งแล้ว อุตสาหกรรมการเงินของสิงคโปร์ ในช่วงทศวรรษ 1980 จนถึง 1990 ก็เริ่มเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ
เมื่อวางระบบหลังบ้านได้แข็งแกร่งแล้ว อุตสาหกรรมการเงินของสิงคโปร์ ในช่วงทศวรรษ 1980 จนถึง 1990 ก็เริ่มเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ
โดยมีตัวชูโรงเป็นธุรกิจบริหารสินทรัพย์ (Asset Management) ที่สถาบันการเงิน ทั้งของสิงคโปร์ และสถาบันการเงินต่างชาติที่เข้ามาตั้งในสิงคโปร์ จะทำหน้าที่ดูแล และบริหารจัดการสินทรัพย์ของนักลงทุนให้
นอกจากนี้ ด้วยความที่ประชากรสิงคโปร์ส่วนใหญ่ มีเชื้อสายจีน ทำให้ในช่วงทศวรรษ 2000 ที่ประเทศจีน กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
ทางสิงคโปร์ จึงสามารถดึงเงินลงทุนมาจากจีนได้เป็นจำนวนมาก จนทำให้อุตสาหกรรมการเงินของสิงคโปร์ เติบโตมากขึ้นไปอีก
ปัจจุบันนี้ สิงคโปร์ กลายเป็นหนึ่งในจุดมุ่งหมายสำหรับมหาเศรษฐี ในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะจีน และอินเดีย นำเงินมาวางไว้ ให้เหล่าสถาบันการเงินในสิงคโปร์บริหารจัดการ
ผนวกกับภาครัฐ ก็ยังคงออกมาตรการที่ช่วยให้ภาคการเงินของสิงคโปร์ ยังเติบโตได้อยู่เรื่อย ๆ
เช่น การให้สถานะผู้มีถิ่นพำนักถาวร หรือ PR กับมหาเศรษฐีที่เข้ามาลงทุนตั้ง Family Office กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ในสิงคโปร์ ซึ่งสามารถนำไปสู่การขอสัญชาติได้
และอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ สิงคโปร์ น่าสนใจในสายตานักลงทุนต่างชาติ คือการเป็นประตูสู่การลงทุนในภูมิภาคที่กำลังเติบโตสูง อย่างภูมิภาคอาเซียนด้วย
เพราะถึงแม้ว่าสิงคโปร์ จะเป็นตลาดหุ้นในประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่ คิดว่าไม่น่าจะเติบโตมาก ด้วยปัญหาประชากรสูงวัย แถมยังพึ่งพาเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมาก
แต่อันที่จริงแล้ว ปัจจุบันนี้ ครึ่งหนึ่งของบริษัทในตลาดหุ้นสิงคโปร์นั้น มีรายได้หลักมาจากประเทศที่กำลังเติบโต อย่างภูมิภาคอาเซียน และประเทศอื่น ๆ
ในขณะที่ลักษณะของบริษัทในตลาดหุ้นสิงคโปร์นั้น จะเป็นบริษัทแข็งแกร่ง ที่จ่ายปันผลสูง, มี P/E ค่อนข้างถูก และราคาไม่ผันผวนมาก
เพราะฉะนั้นแล้ว นักลงทุนที่ลงทุนในสิงคโปร์ จึงเหมือนได้ลงทุนหุ้นแข็งแกร่ง แบบในตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสเติบโต แบบในตลาดหุ้นประเทศกำลังพัฒนานั่นเอง
อีกทั้งนอกจากหุ้นแล้ว ในตลาดหุ้นสิงคโปร์เอง ก็ยังมีสิ่งที่น่าสนใจ อย่างเช่น กอง REITs ซึ่งลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ห้างสรรพสินค้า ไปจนถึง Data Center อีกด้วย
ด้วยความน่าดึงดูดใจเหล่านี้เอง จึงทำให้ภาคการเงิน และตลาดหุ้นของสิงคโปร์ เป็นที่หมายปองของชาวต่างชาติ มากขึ้นเรื่อย ๆ
จนในที่สุดแล้ว เพียงแค่ในชั่วอายุคนเท่านั้น ชาวสิงคโปร์ ก็ได้เห็น ประเทศของตัวเอง กลายเป็นศูนย์กลางทางการเงิน อันดับ 3 ของโลก เคียงคู่กันกับนิวยอร์ก และลอนดอน ได้อย่างภาคภูมิใจ..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.zyen.com/publications/public-reports/the-global-financial-centres-index-35/
-https://fepfinanceclub.org/2024/05/02/article-how-singapore-became-a-global-financial-center/
-SGX Group
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.zyen.com/publications/public-reports/the-global-financial-centres-index-35/
-https://fepfinanceclub.org/2024/05/02/article-how-singapore-became-a-global-financial-center/
-SGX Group