“Negative Income Tax” แนวคิด นำคนไทยทั้งประเทศ เข้าระบบภาษี แต่ใช้งบมหาศาล
“Negative Income Tax” แนวคิด นำคนไทยทั้งประเทศ เข้าระบบภาษี แต่ใช้งบมหาศาล /โดย ลงทุนแมน
ปี 2004 ประเทศไทย มีเศรษฐกิจนอกระบบคิดเป็น 45.5% ของ GDP
ปี 2004 ประเทศไทย มีเศรษฐกิจนอกระบบคิดเป็น 45.5% ของ GDP
ปัจจุบัน ประเทศไทย ก็ยังคงมีเศรษฐกิจนอกระบบ มากถึง 48.4% ของ GDP หรือกว่า 8.7 ล้านล้านบาท
ผ่านมา 20 ปี เรายังมีเศรษฐกิจนอกระบบ ใหญ่เหมือนเดิม และนับเป็นสัดส่วนที่มาก เป็นอันดับต้น ๆ ในโลก..
เรื่องนี้ กระทบต่อภาครัฐ ที่ไม่สามารถเก็บภาษีได้ และท้ายที่สุด ก็จะลามมายังประชากรทั้งประเทศ ที่จะไม่ได้รับความคุ้มครอง และสวัสดิการเท่าที่ควร
Negative Income Tax เป็นหนึ่งในไอเดียนโยบายภาครัฐ ที่อาจนำคนไทยทั้ง 70 ล้านคน เข้าระบบภาษีได้
แล้วมันคืออะไร ?
แล้วมันคืออะไร ?
Negative Income Tax ถูกเสนอขึ้นโดยนักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังอย่าง Milton Friedman ในช่วงทศวรรษ 1960
เป็นแนวคิดเพื่อแก้ปัญหาความยากจน โดยการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่มีรายได้ต่ำที่สุดในสังคม
โดยระบบภาษีเงินได้ ในปัจจุบัน คือ
- ผู้มีรายได้สูง จะจ่ายภาษีมากกว่า ผู้มีรายได้ต่ำ เป็นแบบขั้นบันได
- ผู้มีรายได้สูง จะจ่ายภาษีมากกว่า ผู้มีรายได้ต่ำ เป็นแบบขั้นบันได
ปัจจุบัน ไทยมีประชากรราว 70 ล้านคน
เป็นแรงงานในระบบ 40 ล้านคน
อยู่ในระบบภาษีเงินได้ 10 ล้านคน
และจ่ายภาษีเงินได้เพียง 4 ล้านคน..
เป็นแรงงานในระบบ 40 ล้านคน
อยู่ในระบบภาษีเงินได้ 10 ล้านคน
และจ่ายภาษีเงินได้เพียง 4 ล้านคน..
เท่ากับว่ามีเพียง 6% ของประชากรไทยเท่านั้น ที่จ่ายภาษีเงินได้
ในขณะที่ Negative Income Tax จะมีแนวคิดคือ ผู้มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คนกลุ่มนี้จะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลแทนที่จะจ่ายภาษี
โดย Negative Income Tax จะมีการกำหนดเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำที่จะได้รับการช่วยเหลือ และเปอร์เซ็นต์เงินช่วยเหลือที่จะได้รับ
ซึ่งเกณฑ์การช่วยเหลือ ก็อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละกรณี เช่น
- รัฐบาลกำหนดเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำที่จะได้รับการช่วยเหลือคือ 100,000 บาทต่อปี
และจะจ่ายเงินช่วยเหลือ 50% ของส่วนต่างระหว่างรายได้จริง และเกณฑ์ขั้นต่ำ
และจะจ่ายเงินช่วยเหลือ 50% ของส่วนต่างระหว่างรายได้จริง และเกณฑ์ขั้นต่ำ
หากเรามีรายได้ 50,000 บาทต่อปี
รัฐบาลจะจ่ายเงินช่วยเหลือให้เรา อีก 25,000 บาท เพื่อเพิ่มรายได้ของเราให้เข้าใกล้เกณฑ์ขั้นต่ำมากที่สุด
รัฐบาลจะจ่ายเงินช่วยเหลือให้เรา อีก 25,000 บาท เพื่อเพิ่มรายได้ของเราให้เข้าใกล้เกณฑ์ขั้นต่ำมากที่สุด
ในประเทศไทย ก็เคยมีการเสนอแนวคิดนี้เช่นกัน โดยในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 ประเทศมีคน “อดอยากและยากจน” เกือบ 10 ล้านคน ซึ่งหมายถึงผู้มีรายได้ต่ำกว่า 3,000 บาทต่อเดือน
ถ้ารัฐบาลต้องการขจัดความยากจน คือ ทุกคนในประเทศมีรายได้ขั้นต่ำ 3,000 บาท รัฐก็ต้องจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับคนกลุ่มนี้
โดยกำหนดเกณฑ์การจ่ายเงินคือ คนที่ไม่มีรายได้ ก็รับเงินสนับสนุนไปเลย 3,000 บาทต่อเดือน
ส่วนคนที่มีรายได้ 1,000 - 6,000 บาทต่อเดือน จะได้รับเงินสนับสนุนครึ่งหนึ่งของส่วนต่าง
เช่น เงินเดือน 1,000 บาท จะได้รับเงินสนับสนุน (6,000 - 1,000) * (0.5) = 2,500 บาท
รวมแล้ว จะมีรายได้เท่ากับ รายได้เดิม 1,000 บาท + เงินสนับสนุน 2,500 บาท = 3,500 บาทต่อเดือน
- เงินเดือน 2,000 บาท จะได้รับเงินสนับสนุน 2,000 บาท รวมมีรายได้ 4,000 บาทต่อเดือน
- เงินเดือน 4,000 บาท จะได้รับเงินสนับสนุน 1,000 บาท รวมมีรายได้ 5,000 บาทต่อเดือน
จะเห็นว่า จะไม่มีใครในประเทศไทย ที่มีรายได้ต่ำกว่า 3,000 บาทต่อเดือน
ในขณะที่ คนที่มีเงินเดือนตั้งแต่ 3,000 - 6,000 บาท แม้จะได้รับเงินสนับสนุนน้อยลงเรื่อย ๆ แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับเงินเพิ่มเติมจากรายได้หลัก
พอเรื่องเป็นแบบนี้ แน่นอนว่าไอเดียดังกล่าว จะจูงใจให้แรงงานนอกระบบ ไหลเข้ามาในระบบได้มากขึ้น เพื่อที่จะรับเงินสนับสนุนนี้
อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างเต็มรูปแบบในหลายประเทศ และยังเป็นที่ถกเถียงกันในวงการเศรษฐศาสตร์ ว่า Negative Income Tax ได้ผลจริงหรือไม่
แต่มีบางประเทศที่ได้นำแนวคิดที่ใกล้เคียงมาประยุกต์ใช้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการทดลองใช้ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น เช่น
- ประเทศแคนาดา
ระบบ Canada Workers Benefit (CWB) เป็นโปรแกรมที่รัฐบาลจ่ายเงินให้กับผู้มีรายได้ต่ำ เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ให้ถึงระดับที่เหมาะสม
ระบบ Canada Workers Benefit (CWB) เป็นโปรแกรมที่รัฐบาลจ่ายเงินให้กับผู้มีรายได้ต่ำ เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ให้ถึงระดับที่เหมาะสม
นอกจากนี้ยังมีการทดลองนำร่อง Negative Income Tax ในบางพื้นที่ของแคนาดาในปี 1970 ที่เมือง Dauphin, Manitoba ที่เรียกว่า “Mincome” ซึ่งเป็นการทดลองที่รัฐบาลจ่ายเงินเสริมให้กับครัวเรือนที่มีรายได้น้อย
- ประเทศสหรัฐอเมริกา
โปรแกรม Earned Income Tax Credit (EITC) ปี 1975 ถือว่าใกล้เคียงกับ Negative Income Tax มากที่สุด
โปรแกรม Earned Income Tax Credit (EITC) ปี 1975 ถือว่าใกล้เคียงกับ Negative Income Tax มากที่สุด
โดยรัฐบาลสหรัฐฯ จะให้เครดิตภาษี กับผู้มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง ซึ่งสามารถทำให้พวกเขาได้รับเงินคืนจากรัฐบาล แม้ว่าจะไม่ต้องเสียภาษีเลยก็ตาม
- ประเทศฟินแลนด์
ปี 2017 - 2018 ได้ทดลองโปรแกรมการให้เงินรายได้พื้นฐาน (Universal Basic Income) แก่ผู้ที่ไม่มีงานทำ แต่การทดลองนี้ไม่ได้ต่ออายุหลังจากเสร็จสิ้น
ปี 2017 - 2018 ได้ทดลองโปรแกรมการให้เงินรายได้พื้นฐาน (Universal Basic Income) แก่ผู้ที่ไม่มีงานทำ แต่การทดลองนี้ไม่ได้ต่ออายุหลังจากเสร็จสิ้น
แล้วหากนำมาใช้ในประเทศไทย จะเป็นอย่างไร ?
แน่นอนว่า นอกจากแก้ปัญหาเรื่องความยากจนแล้ว ภาครัฐ ก็จะมีรายชื่อและฐานรายได้ของประชากรมากขึ้น เป็นการขยายฐานข้อมูลของระบบภาษีของประเทศให้ใหญ่ขึ้น จากการที่แรงงานเหล่านั้น อยากได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐ
จากแรงงานที่อยู่ในระบบภาษีเพียง 10 ล้านคน ก็อาจเพิ่มมากขึ้นอีกหลายล้านคน
และถึงแม้ว่ากลุ่มที่ได้รับเงิน อาจจะมีรายได้ไม่มากพอที่จะเสียภาษี
แต่จากข้อมูลที่มีจะทำให้รัฐได้เห็นว่า ใครเป็นผู้จ่ายค่าจ้างให้แรงงาน และสามารถใช้เป็นข้อมูลที่ช่วยในการตรวจสอบย้อนกลับไปถึงรายได้ที่แท้จริงของนายจ้างที่อาจอยู่นอกระบบและไม่ได้เสียภาษีด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงหลักของแนวคิดนี้ก็ยังมีอยู่หลายข้อ เช่น
- เกณฑ์ชี้วัดว่าใครบ้างที่ควรได้รับเงิน รวมถึงปัญหาที่ว่า ต้องใช้งบประมาณเท่าไร และแต่ละคนควรได้รับเงินมากขนาดไหนถึงช่วยแก้ปัญหาได้จริง โดยไม่เป็นการเสียงบประมาณไปโดยเปล่าประโยชน์
- อาจเกิดการสร้างแรงจูงใจทางลบ ทำให้คนไม่อยากทำงาน หรือพยายามรายงานรายได้ต่ำกว่าความเป็นจริง เพื่อรับเงินช่วยเหลือ
ซึ่งที่ผ่านมา เราก็น่าจะได้เห็นข่าวคนที่มีฐานะดีหลายคน ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือที่เรียกกันว่าบัตรคนจน..
รวมไปถึงประเทศไทย ก็เป็นประเทศที่ขึ้นชื่อว่าบริษัทมี 2 บัญชี บัญชีหนึ่งไว้เสียภาษีกับกรมสรรพากร อีกบัญชีหนึ่ง เป็นบัญชีที่ใช้ภายใน
ถ้าคนมีเงินได้ แสดงรายได้น้อยกว่าความเป็นจริง เพื่อได้รับเงินช่วยเหลือ ก็จะกลายเป็นว่า เป็นภาระของรัฐบาล ที่ต้องมีงบประมาณช่วยเหลือแก่กลุ่มคนที่ตั้งใจแสดงรายได้น้อยกว่าความจริง..
ที่น่าจะยากที่สุด คือ เรื่องของงบประมาณ
การนำ Negative Income Tax มาใช้ ต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล เพราะเป็นการช่วยเหลือคนนับล้าน หรือสิบล้านคน ทั้งประเทศ
การนำ Negative Income Tax มาใช้ ต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล เพราะเป็นการช่วยเหลือคนนับล้าน หรือสิบล้านคน ทั้งประเทศ
เช่น หากจ่ายเดือนละ 3,000 บาท เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนให้กับคน 10 ล้านคน จะต้องใช้งบประมาณต่อปีสูงถึง 360,000 ล้านบาทต่อปี
คำถามที่ตามมาคือ จะเอาเงินจากไหนมาใช้จ่ายในโครงการ และรัฐที่มีรายได้จากภาษี จะสามารถเก็บภาษีได้มากพอกับที่ใช้จ่ายออกไปหรือไม่
สรุปแล้ว Negative Income Tax น่าจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ และแก้ปัญหาความยากจนได้ เพราะเป็นการจ่ายเงินโดยตรงไปที่กลุ่มเป้าหมาย
แต่ก็ยังมีข้อกังวลหลายข้อ ทั้งเกณฑ์การจ่ายเงิน ประสิทธิภาพที่แท้จริงของแนวคิดนี้ รวมถึงเรื่องของงบประมาณที่ต้องใช้เป็นจำนวนมาก ซึ่งก็มีค่าเสียโอกาส ที่จะนำงบตรงนี้ ไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ
อีกทั้งการจะนำมาเป็นเครื่องมือในการต้อนคนเข้าระบบภาษีนั้น ก็น่าจะช่วยได้เช่นกัน เพราะมีสิ่งจูงใจคือ เงินสนับสนุนที่รัฐจะมอบให้
แต่เรื่องนี้ไม่ได้เป็นตัวการันตีว่า รัฐจะเก็บภาษีได้มากขึ้น ตราบใดที่คนไทยส่วนหนึ่ง ยังมีค่านิยมที่แสดงรายได้น้อยกว่าความจริงให้กับสรรพากร..