สรุปแนวคิด Blitzscaling "โมเดลธุรกิจชนะรวบ" ของบริษัทโลกยุคใหม่

สรุปแนวคิด Blitzscaling "โมเดลธุรกิจชนะรวบ" ของบริษัทโลกยุคใหม่

วันแรกของธุรกิจระดับโลก เริ่มต้นด้วยการขาดทุน
- Netflix ขาดทุน 6 ปี กว่าจะมีกำไร
- Amazon ขาดทุน 7 ปี กว่าจะมีกำไร
- Airbnb ขาดทุน 9 ปี กว่าจะมีกำไร
คำถามคือ ถ้าธุรกิจขาดทุนตั้งแต่วันแรก แถมยังต้องทนขาดทุนหลายปี
เรายังอยากลงทุนในหุ้นพวกนี้อยู่ไหม ?
ถ้าเป็นธุรกิจทั่วไป การขาดทุนคงไม่ใช่เรื่องที่ดีสักเท่าไร
แต่จริง ๆ แล้ว ธุรกิจสมัยใหม่ หลายบริษัทมีความพิเศษ ที่ไม่สามารถใช้มุมมองแบบเดิม ๆ มาวิเคราะห์ธุรกิจได้ ซึ่งหนึ่งในมุมมอง ที่จะมาช่วยวิเคราะห์ธุรกิจยุคนี้ มีชื่อว่า “Blitzscaling”
-Blitzscaling เป็นแนวคิดของคุณ Reid Hoffman ผู้ก่อตั้ง Paypal และ Linkedin กับ Chris Yeh
โดยต้นแบบนักลงทุนเน้นคุณค่า อย่าง คุณแดม ชนาเมธ เฟื่องวรรธนะ ได้นำแนวคิดนี้ มาถ่ายทอดประสบการณ์ในการลงทุน
โดยเขาได้เริ่มต้นลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ช่วงปลายปี 2017 และผ่านเหตุการณ์ต่าง ๆ มามากมาย จนได้รับบทเรียนอันมีค่า ที่ทำให้ได้มุมมองการลงทุนที่มากขึ้น
คุณแดมมองว่า การเอามาตรฐานบัญชีแบบเดิม ๆ มาเทียบกับธุรกิจโลกยุคใหม่ ล้าสมัยไปแล้ว
เพราะบางบริษัทในยุคนี้ ไม่ได้ตั้งโรงงานผลิตสินค้า ที่สามารถทยอยตัดค่าเสื่อมได้ แต่บริษัทยุคใหม่กลับมีค่าใช้จ่าย หลัก ๆ หนักไปทางนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่ไม่มีการทยอยตัดค่าเสื่อม
เท่ากับว่า การต้องนำมาตรฐานบัญชีมาใช้ อาจไม่ได้สะท้อนภาพรวมผลการดำเนินงานของบริษัทได้ดี เท่าที่ควร
ลองคิดตามว่า ปกติบริษัท A มีรายได้ 100 ล้านบาท
มีโรงงาน 200 ล้านบาท
ทยอยตัดค่าเสื่อมปีละ 20 ล้านบาทจนครบ 10 ปี
บริษัทจะเหลือกำไรสุทธิ ที่ยังไม่หักต้นทุนอื่น 80 ล้านบาท
แต่บริษัท B ที่มีรายได้ 100 ล้านบาทเช่นกัน
แต่จ้างวิศวกรมาวิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์ขาย 200 ล้านบาท
ซึ่งตรงนี้ไม่ได้หักค่าเสื่อมเหมือนโรงงาน A
บริษัทจะขาดทุน ตั้งแต่ยังไม่หักต้นทุนอื่น 100 ล้านบาท
ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว บริษัท A ยังเป็นธุรกิจโลกเก่า
ส่วนบริษัท B เป็นธุรกิจโลกยุคใหม่ ที่สามารถขยายธุรกิจไปได้ไวกว่า
แต่ในทางบัญชี บริษัท B กลับมีผลประกอบการแย่กว่าบริษัท A มาก
นี่ก็เป็น หนึ่งตัวอย่างที่ยกขึ้นมาให้เห็นภาพชัดขึ้น โดยคุณแดม ก็ได้ผสมผสานหลักการลงทุนใน Venture Capital แล้วจึงได้ค้นพบแนวคิด Blitzscaling ที่เหมาะสมมาใช้วิเคราะห์ธุรกิจโลกยุคใหม่แทน
โดยธุรกิจนั้นต้องเป็นผู้ชนะที่มีการกินรวบในตลาดหรือ Winner Take Most ซึ่งมีทั้ง Network Effect ที่ผู้ใช้งานบอกต่อเรื่อย ๆ หรือมี Switching Cost สูง ที่ลูกค้าเปลี่ยนไปใช้เจ้าอื่นได้ยาก ซึ่งถือว่าเป็นก้าวแรก ที่สำคัญในการจะคัดกรองหุ้น
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเลย เช่น ธุรกิจแพลตฟอร์มตัวกลาง ที่เชื่อมต่อระหว่างคนสองหรือสามฝั่งให้มาเจอกัน จนเกิดเป็นเครือข่ายผู้ใ้ช้งานที่มีจำนวนมากไปเรื่อย ๆ
นอกจากนั้น “ขนาดตลาดต้องใหญ่” และ “อัตรากำไรขั้นต้นต้องสูง”
แต่ก็ต้องบอกว่าไม่ใช่ทุกธุรกิจที่จะเหมาะกับโมเดล Blitzscaling เช่น Wework อดีตสตาร์ทอัพที่เจ๊งล้านล้าน เพราะโตไว แต่ยังใช้โมเดลธุรกิจแบบเดิม ๆ ด้วยการออกแบบและก่อสร้างสำนักงาน เพื่อปล่อยเช่าให้กับบริษัทอื่น เรียกได้ว่า ถ้าธุรกิจนั้นไม่พร้อมโตไวหรือไม่โต สุดท้ายตายอย่างเดียว
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าธุรกิจไหนบ้าง
ที่เหมาะกับการนำแนวคิด Blitzscaling มาวิเคราะห์ประกอบการตัดสินใจลงทุน
เพื่อให้เรา หาโอกาสการลงทุนได้ ตั้งแต่ธุรกิจนั้น ยังมีขนาดเล็กอยู่
เราสามารถไปหาคำตอบได้กับคุณแดม ชนาเมธ เฟื่องวรรธนะ ใน WORKSHOP งานสัมมนา ลงทุนนอก 2024
ซึ่งงานลงทุนนอก 5 ต.ค. เปิด WORKSHOP ฟรี
3 session ให้ผู้มีบัตร
-โดยรับชม RERUN ONLINE ทุก Session ฟรี จองบัตรได้ที่ https://www.zipeventapp.com/e/longtunnork2024
-งานลงทุนนอก จะมี WORKSHOP ดังต่อไปนี้
1. Blitzscaling “โมเดลธุรกิจชนะรวบ” ของบริษัทโลกยุคใหม่
โดยคุณแดม ชนาเมธ เฟื่องวรรธนะ ต้นแบบนักลงทุนเน้นคุณค่า
2. Longtunmanology “ขั้นตอนเลือกหุ้นนอก” ประเมินมูลค่า สไตล์ลงทุนแมน โดย ลงทุนแมน
3. Contrarian Investing “ลงทุนกองทุนอย่างไร” ให้ WIN RATE สูง
โดยคุณเจษฎา สุขทิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่ม FINNOMENA
บัตร 1 ใบจะลงทะเบียน WORKSHOP ได้ 1 Session และทุกบัตร จะสามารถดู Rerun ย้อนหลัง WORKSHOP ได้ทุก Session
(สำหรับเวทีหลัก ดู Rerun ได้เฉพาะ Session ที่ซื้อบัตรเท่านั้น โดยงานลงทุนนอก 2024 วันที่ 5 ต.ค. 67 สถานที่ ICON SIAM)
สำหรับผู้ยังไม่มีบัตร และสนใจงานลงทุนนอก
2024 และ WORKSHOP ของงานนี้ ดูรายละเอียดได้ที่ จองบัตรได้ที่ https://www.zipeventapp.com/e/longtunnork2024
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon