Temu บริษัทเทคจีน ที่ลึกลับสุดในโลก
Temu บริษัทเทคจีน ที่ลึกลับสุดในโลก /โดย ลงทุนแมน
Temu แอป E-Commerce จีน บอกว่าจะมาขายสินค้าในไทย และมีหลายคนกลัวว่าจะทำลายตลาดไทย
Temu แอป E-Commerce จีน บอกว่าจะมาขายสินค้าในไทย และมีหลายคนกลัวว่าจะทำลายตลาดไทย
Pinduoduo เป็นบริษัทใหญ่อันดับต้น ๆ จากจีน
มีมูลค่าราว 6 ล้านล้านบาท ซึ่งมีมูลค่าบริษัทใกล้เคียงกับ Alibaba
มีมูลค่าราว 6 ล้านล้านบาท ซึ่งมีมูลค่าบริษัทใกล้เคียงกับ Alibaba
แต่ในมุมของนักลงทุน และนักวิเคราะห์ บริษัทแห่งนี้ เป็นบริษัทที่หาข้อมูลยากมาก เรียกได้ว่าเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ที่มีความลึกลับที่สุดในโลก
Temu และ Pinduoduo ลึกลับขนาดไหน
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
-ลึกลับแรก Pinduoduo แทบไม่ได้สื่อสารอะไร กับนักลงทุนเลย..
แม้ว่าบริษัทจะใหญ่ระดับ 6 ล้านล้านบาท แต่รู้หรือไม่ว่าบริษัทแทบไม่ค่อยบอกข้อมูลอะไรกับนักลงทุนเลย ไม่ว่าจะเป็น
-Presentation ไม่มี
-คาดการณ์ผลประกอบการ และการดำเนินงาน หรือที่เรียกว่า Guidance ก็ไม่มี
-ข้อมูลสำคัญ ที่เกี่ยวกับธุรกิจ ไม่บอก
-คาดการณ์ผลประกอบการ และการดำเนินงาน หรือที่เรียกว่า Guidance ก็ไม่มี
-ข้อมูลสำคัญ ที่เกี่ยวกับธุรกิจ ไม่บอก
โดยปกติทั่วไป บริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้น โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ ๆ จะแจ้งข้อมูลเหล่านี้หมด แต่ Pinduoduo ไม่ได้บอกอะไรเหล่านี้เลย
แถมข้อมูลสำคัญอย่าง GMV หรือ ยอดซื้อขายบนแพลตฟอร์ม บริษัทก็หยุดรายงานไปแล้ว โดยให้เหตุผลว่าเป็นตัวเลขที่ไม่มีความสำคัญอะไร ต่อการติดตามผลการดำเนินงาน
เรารู้แค่เพียงว่า Pinduoduo ขายสินค้าไม่มีแบรนด์ ขายราคาถูก และเก็บค่าธรรมเนียมผู้ขายต่ำ
พอบริษัทไม่ค่อยได้บอกอะไร การศึกษาบริษัทนี้ ส่วนใหญ่นักวิเคราะห์จึงต้องไปเก็บข้อมูลมาจากคู่ค้าของ Pinduoduo ซึ่งก็มาจาก ผู้ให้บริการส่งสินค้า ผู้ขาย และผู้ซื้อของจากแพลตฟอร์ม..
-ลึกลับต่อมา คือ โมเดลธุรกิจของ Pinduoduo
ที่มีความแปลก เมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่น ๆ
ที่มีความแปลก เมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่น ๆ
ปกติแล้ว ธุรกิจอีคอมเมิร์ซจะเป็นแบบ
-ธุรกิจขายให้ธุรกิจ (B2B) เช่น Alibaba
-ธุรกิจขายให้เรา(B2C) เช่น Lazada, Shopee
-เราขายกันเอง (C2C) เช่น TikTok Shop
-ธุรกิจขายให้ธุรกิจ (B2B) เช่น Alibaba
-ธุรกิจขายให้เรา(B2C) เช่น Lazada, Shopee
-เราขายกันเอง (C2C) เช่น TikTok Shop
แต่ Pinduoduo และ Temu เป็นโมเดลธุรกิจโรงงานต่อท่อตรงไปถึงผู้บริโภคเลย เรียกว่า C2M ซึ่งก็พอเข้าใจได้ว่าเป็นโมเดลที่ช่วยลดต้นทุน และทำให้ราคาสินค้าในแพลตฟอร์มถูกลง
อย่างไรก็ตาม บริษัทไม่ได้มีคลังสินค้า เหมือนอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ในจีนอื่น ๆ แบบ JD และ Alibaba ไม่ได้จ้างพนักงานเป็นพัน เป็นหมื่น แต่เลือกที่จะ Outsource ทั้งหมด
นอกจากนั้นแล้ว Pinduoduo ก็บอกว่าบริษัทอาศัยการรวบรวมข้อมูลคนใช้แพลตฟอร์ม มาสร้างอัลกอริทึมเพื่อคาดเดาว่าคนซื้ออยากได้อะไร และ เอาข้อมูลตรงนี้ไปให้กับผู้ผลิตสินค้า เพื่อพัฒนาสินค้าให้ดีขึ้น..
-อีกความลึกลับ คือ หุ้น Pinduoduo..
Pinduoduo ก่อตั้งในประเทศจีน
ปัจจุบันขยายธุรกิจไปทั่วโลก และจดทะเบียนในตลาดหุ้น NASDAQ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ปัจจุบันขยายธุรกิจไปทั่วโลก และจดทะเบียนในตลาดหุ้น NASDAQ ประเทศสหรัฐอเมริกา
และได้ย้ายสำนักงานใหญ่ที่ไอร์แลนด์ แถมไม่ได้จดชื่อเดียวกัน แต่จดชื่อว่า WhaleCo Technology Limited ที่ไม่ได้ระบุในเอกสารของ Pinduoduo เลย
แต่พอมีนักข่าวการเงินไปตรวจสอบที่บริษัท กลับไม่พบบุคคลสำคัญ ๆ หรือแม้แต่พนักงานต้อนรับอะไรเลย เจอแต่เพียงป้ายโลโกบริษัท Temu
-ลึกลับถัดไปอีกก็คือ ผู้ก่อตั้ง หรือ Colin Huang
เขาคนนี้เป็นอดีตพนักงานที่ Google ก่อนที่จะออกมาจัดตั้งบริษัทหลายแห่ง
เขาคนนี้เป็นอดีตพนักงานที่ Google ก่อนที่จะออกมาจัดตั้งบริษัทหลายแห่ง
แน่นอนว่าหนึ่งในนั้นก็คือ Pinduoduo ซึ่งจากเอกสารในช่วงแรกนั้น พบว่าเขาไม่ได้มีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทแห่งนี้เลย แต่เจ้าของจะเป็น
Gu Yanping ถือหุ้น 90%
Cai Hualin ถือหุ้น 10%
Cai Hualin ถือหุ้น 10%
ซึ่ง Gu Yanping ที่เป็นผู้ถือครองสัดส่วนหุ้นใหญ่สุดนั้น เป็นผู้หญิงชาวจีน อายุ 60 ปี
แต่ตอนเข้าตลาดหุ้น NASDAQ ของสหรัฐฯ Pinduoduo กลับบอกว่า Colin Huang เป็นเจ้าของตั้งแต่ก่อตั้ง..
แถมก่อนเข้าตลาดหุ้นสหรัฐฯ Pinduoduo ก็ยังไม่มีประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน หรือ CFO
โดยหลังจากเข้าตลาดแล้ว ก็ยังเปลี่ยนรองประธานฝ่ายการเงินบ่อยครั้ง
-ลึกลับท้ายสุด ก็คือ บริษัทแทบไม่พูดถึง Temu ในงบการเงินเลย
Pinduoduo เริ่มธุรกิจ Temu ช่วงปลายปี 2022 และหลายสำนักข่าวรายงานว่ากำลังแข่งขันกับ Amazon
แต่บริษัทแทบไม่ได้ชี้แจงรายละเอียด ที่เป็นตัวเลขเกี่ยวกับธุรกิจนี้เลย เช่นลงทุนไปเท่าไร
ผลการดำเนินงานของ Temu เป็นอย่างไร
อัตราการเติบโตเป็นอย่างไร
แย่งส่วนแบ่งการตลาดคู่แข่งได้เท่าไร
ผลการดำเนินงานของ Temu เป็นอย่างไร
อัตราการเติบโตเป็นอย่างไร
แย่งส่วนแบ่งการตลาดคู่แข่งได้เท่าไร
โดยเป็นทางนักวิเคราะห์ ที่ต้องคาดการณ์กันเองว่า Temu จะต้องมีค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ในการโฆษณา เพื่อดึงผู้ใช้งาน เพราะทุกอย่าง Outsource หมด
และคาดว่าจะขาดทุนกว่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีที่ผ่านมา หรือคิดเป็นเงินราว 142,462 ล้านบาทเลยทีเดียว
กับอีกเรื่องคือ สินค้าใน Temu มาอย่างถูกกฎหมายแค่ไหน
ปัจจุบัน คณะกรรมการรัฐสภาสหรัฐฯ กำลังตั้งคำถามว่า Temu กำลังนำเข้าสินค้ามาอย่างถูกกฎหมายหรือไม่ เพราะสินค้าบางส่วนก็มาจากโรงงานในจีน
ซึ่งปัจจุบัน สหรัฐฯ เองก็กำลังขัดแย้งทางการค้ากับจีน ทำให้ต้องมีการสอบสวน ถึงที่มาของสินค้า..
ทั้งหมดนี้ ก็เป็นความลึกลับของบริษัท Pinduoduo และ Temu
แม้ว่าหลายเรื่องจะดูแปลก แต่อีกมุมหนึ่ง ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าบริษัทมีความลับทางการค้าจำนวนมาก ยิ่งพูดเยอะ ก็อาจจะยิ่งโดนเลียนแบบ มองมุมนี้ก็พอได้เหมือนกัน
แต่ที่น่าทึ่งไปมากกว่านั้น ก็คือ มีนักวิเคราะห์ใน Wall Street กว่า 56 คน ติดตามหุ้นบริษัทแห่งนี้อยู่
และ 53 จาก 56 คน ดันแนะนำให้ซื้อหุ้นบริษัทแห่งนี้ด้วย ทั้ง ๆ ที่หาข้อมูลยากมาก และเราแทบจะไม่รู้จักบริษัทแห่งนี้ เลยด้วยซ้ำ..
References
-PDD Holdings Annual Report
-The rise of Pinduoduo and Temu: profits and secrets | FT Film
-PDD Holdings Annual Report
-The rise of Pinduoduo and Temu: profits and secrets | FT Film