สรุปมหากาพย์ สงครามชิป ในเอเชีย ครบจบในโพสต์เดียว
สรุปมหากาพย์ สงครามชิป ในเอเชีย ครบจบในโพสต์เดียว /โดย ลงทุนแมน
ปัจจุบัน สหรัฐฯ กับจีน กำลังแย่งชิงกันเป็นผู้นำอุตสาหกรรมชิปหรือเซมิคอนดักเตอร์
ปัจจุบัน สหรัฐฯ กับจีน กำลังแย่งชิงกันเป็นผู้นำอุตสาหกรรมชิปหรือเซมิคอนดักเตอร์
แต่รู้ไหมว่า ในทวีปเอเชียเอง ก็กำลังแย่งชิงการเป็นเจ้าแห่งอุตสาหกรรมชิปกันอยู่เหมือนกัน ระหว่างไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และจีน
มหากาพย์ของเรื่องนี้ เป็นมาอย่างไร ?
แล้วสงครามชิปในเอเชีย กำลังดุเดือดมากแค่ไหน
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก็ต้องบอกว่า เอเชียเป็นผู้ผลิตชิป ที่ครองส่วนแบ่งตลาดมากถึง 73% โดยมีผู้เล่นหลัก ๆ 4 เจ้า นั่นคือ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และจีน
แล้วสงครามชิปในเอเชีย กำลังดุเดือดมากแค่ไหน
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก็ต้องบอกว่า เอเชียเป็นผู้ผลิตชิป ที่ครองส่วนแบ่งตลาดมากถึง 73% โดยมีผู้เล่นหลัก ๆ 4 เจ้า นั่นคือ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และจีน
ในขณะที่การออกแบบชิปส่วนใหญ่ อยู่ในสหรัฐฯ กว่า 70% ยุโรปอีก 20% และอื่น ๆ อีก 10%
ถ้าให้พูดเข้าใจง่าย ๆ สหรัฐฯ และยุโรป เหมือนเป็นสถาปนิกออกแบบชิป แล้วส่งให้ทวีปเอเชียที่เป็นโรงงาน เป็นผู้ผลิตชิปขึ้นมา
ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ความต้องการชิปที่เพิ่มสูงขึ้น
จากกระแสของ AI ทำให้การผลิตชิปในทวีปเอเชีย เพิ่มสูงตามไปด้วย
จากกระแสของ AI ทำให้การผลิตชิปในทวีปเอเชีย เพิ่มสูงตามไปด้วย
และนั่นก็เป็นชนวนที่ทำให้สงครามชิป กำลังดุเดือดขึ้นในทวีปเอเชีย..
โดยจุดเริ่มต้นของสงครามครั้งนี้ มาจากการที่ไต้หวันและเกาหลีใต้ เป็นผู้นำที่ครองตลาดผลิตชิป
ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 นาโนเมตร มายาวนาน
ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 นาโนเมตร มายาวนาน
ฝั่งไต้หวัน ก็มีบริษัทผลิตชิปอย่าง TSMC
ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1977 เพื่อรับจ้างผลิตชิปประมวลผลให้กับบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่ง เช่น Apple
ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1977 เพื่อรับจ้างผลิตชิปประมวลผลให้กับบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่ง เช่น Apple
ส่วนฝั่งเกาหลีใต้ ก็มี Samsung Electronics และ SK hynix ที่เป็นหัวเรือใหญ่ในการผลิตชิปหน่วยความจำ
ทำให้จีนและญี่ปุ่น ที่ตกเป็นผู้ตามในอุตสาหกรรมการผลิตชิปของเอเชีย ก็ต้องเร่งฝีเท้า เพื่อไล่ตามเทคโนโลยีของเกาหลีใต้กับไต้หวันให้ทัน
แต่จริง ๆ แล้ว รู้ไหมว่าก่อนหน้านี้ ทั้งไต้หวันและเกาหลีใต้ ไม่ได้เป็นผู้นำการผลิตชิปมาตั้งแต่แรก แต่เป็นญี่ปุ่น ที่เป็นผู้นำตลาดในช่วงปี 1980
เพราะในตอนนั้น ญี่ปุ่นมีการเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตทรานซิสเตอร์จากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชิ้นเล็ก ๆ ที่ไว้คอยควบคุมกระแสไฟฟ้า ในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ เครื่องเล่นเพลง และอื่น ๆ อีกมากมาย
ต่อมาญี่ปุ่นก็ก้าวหน้าขึ้นไปอีก จนสามารถผลิตชิปหน่วยความจำ ซึ่งใช้ในกล้องถ่ายรูปได้สำเร็จ และครองตลาดนี้ไปได้ในช่วงปี 1980
โดยในตอนนั้น ในบรรดา 10 บริษัท ที่ผลิตชิปหน่วยความจำใหญ่สุดของโลก เป็นบริษัทญี่ปุ่นไปแล้วถึง 6 แห่ง ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดมากถึง 38%
ไล่ตั้งแต่เบอร์ 1 อย่าง NEC, Toshiba, Hitachi, Fujitsu, Mitsubishi และ Matsushita
แต่เมื่อมีวันรุ่งเรือง ก็มีวันตกต่ำได้เช่นกัน เพราะหลังจากนั้นเพียง 10 ปี มีเพียง Toshiba แห่งเดียว ที่ติด 1 ใน 10 บริษัทผลิตชิปหน่วยความจำใหญ่สุดในโลก
ส่วนบริษัทผลิตชิปหน่วยความจำที่เป็นเบอร์ 1 แทน NEC
ก็คือ Samsung Electronics จากประเทศเกาหลีใต้นั่นเอง..
ก็คือ Samsung Electronics จากประเทศเกาหลีใต้นั่นเอง..
ธุรกิจชิปของ Samsung เริ่มต้นจากรับจ้างผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ให้ญี่ปุ่น และต่อยอดไปสู่การนำเข้าเทคโนโลยีการผลิตชิปหน่วยความจำจาก Sharp ของญี่ปุ่น และ Micron ของสหรัฐฯ มาเรียนรู้
แม้ในช่วงแรก Samsung จะเริ่มผลิตชิปหน่วยความจำได้ แต่ก็ยังสู้บริษัทเจ้าตลาดจากญี่ปุ่นไม่ได้
แต่ในช่วงปี 1990 สหรัฐฯ กำลังมีปัญหาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ที่ทะลักเข้ามาจากญี่ปุ่นมากเกินไป จนสหรัฐฯ ขาดดุลการค้าอย่างหนักมาก
ทำให้บริษัทสหรัฐฯ เริ่มมองหาพาร์ตเนอร์มาผลิตชิปหน่วยความจำให้ตัวเอง แทนคู่ค้าบริษัทญี่ปุ่น
และการก้าวเข้าสู่ตลาดของ Samsung ก็เป็นก้าวที่ถูกต้อง และถูกจังหวะ เพราะคู่ค้าสหรัฐฯ ที่ทะเลาะกับญี่ปุ่น หันมาสั่งซื้อชิปหน่วยความจำจาก Samsung มากขึ้น
จนในที่สุด ญี่ปุ่นก็ค่อย ๆ เสียส่วนแบ่งตลาดชิปหน่วยความจำไปเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน
แต่ญี่ปุ่นเอง ก็ไม่ได้เสียส่วนแบ่งตลาดกับอุตสาหกรรมชิปไปทั้งหมด เพราะยังครองตลาด “วัตถุดิบ” สำหรับผลิตชิปถึง 50% และอุปกรณ์การผลิตชิป 30%
พูดง่าย ๆ ก็คือ บริษัทญี่ปุ่นยังเป็นซัปพลายเออร์ให้กับธุรกิจนี้อยู่ เช่น สารเคมีชนิดพิเศษ ทราย ซิลิโคนเหลว หรืออุปกรณ์ทั่วไป ที่ใช้ในโรงงานผลิตชิป
ตัวอย่างเช่น Shin-Etsu บริษัทญี่ปุ่นที่เชี่ยวชาญในการผลิตซิลิโคนเหลว ที่ช่วยในการยึดเกาะผิว และถูกนำไปใช้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น ชิป อีกด้วย
และอีกหนึ่งประเทศที่จะไม่พูดถึงไม่ได้ นั่นคือ ประเทศจีน
ในช่วงปี 1980 ที่ญี่ปุ่นกำลังเป็นผู้นำตลาดชิปหน่วยความจำ จีนเองก็เป็นหนึ่งในประเทศผู้รับจ้างผลิตชิป ที่บรรดาบริษัทต่างชาติ เข้ามาติดต่อด้วยเช่นกัน
แต่การรับจ้างผลิตชิปเพียงอย่างเดียว ก็ไม่ได้ทำให้จีนก้าวกระโดดในอุตสาหกรรมนี้มากนัก จนกระทั่งการมาของ Huawei ในปี 1987..
แต่การรับจ้างผลิตชิปเพียงอย่างเดียว ก็ไม่ได้ทำให้จีนก้าวกระโดดในอุตสาหกรรมนี้มากนัก จนกระทั่งการมาของ Huawei ในปี 1987..
Huawei เริ่มต้นธุรกิจจากการนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ จากฮ่องกง ก่อนหันมาพัฒนาสินค้าแบรนด์ของตัวเอง จนมีสมาร์ตโฟนออกมา
ซึ่งสมาร์ตโฟนที่ผลิตในตอนแรก Huawei ออกแบบชิปประมวลผลด้วยตัวเอง โดยใช้สถาปัตยกรรมเทคโนโลยีจาก Arm Holdings และจ้าง TSMC จากไต้หวัน ให้ผลิตชิปแทน
อย่างไรก็ตาม ในปี 2019 ที่ผ่านมา สหรัฐฯ เริ่มตัดขา Huawei ตั้งแต่การแบนไม่ให้ใช้ Google ไปจนถึงห้ามไม่ให้คู่ค้าของสหรัฐฯ อย่าง Arm Holdings และ TSMC ร่วมมือกับ Huawei ต่อไป
รวมไปถึง ASML จากเนเธอร์แลนด์ ผู้ผลิตเครื่องผลิตชิป EUV รายเดียวในโลก ก็ถูกสั่งให้ตัดขาดจากจีนเช่นกัน
ทำให้ Huawei ต้องไปจับมือกับผู้ผลิตชิปในประเทศจีนอย่าง SMIC ซึ่งปัจจุบันเป็นหนึ่งในผู้ผลิตชิปสำคัญในประเทศ ที่ถือหุ้นโดยรัฐบาลจีน
แต่ปัญหาก็คือ SMIC ต้องกลับไปใช้เทคโนโลยีการผลิตชิปที่ล้าหลังกว่าเครื่องจักรรุ่นใหม่ของ ASML อย่างมาก
และแม้จะพยายามพัฒนาการผลิตชิปให้มีความซับซ้อนมากขึ้น แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ตามหลังอยู่หลายช่วงตัว ก็ทำให้ต้องใช้เวลานาน กว่าจะตามทันชิปของคู่แข่งชาติอื่น ๆ
ซึ่งล่าสุด Huawei และ SMIC ประกาศผลิตชิปขนาด 3 นาโนเมตรร่วมกัน แม้ว่าจะหาทางผลิตชิปคุณภาพสูง โดยใช้เทคโนโลยีเก่าได้ แต่ก็ตามมาด้วยต้นทุนที่สูงกว่าเช่นกัน
พอเป็นแบบนี้ ทำให้รัฐบาลจีน อัดเงินทุนให้กับอุตสาหกรรมชิปของตัวเอง คิดเป็นเงินสูงถึง 5.2 ล้านล้านบาท
โดยตั้งเป้าให้ประเทศจีน สามารถผลิตชิปใช้ในประเทศ 70% ของความต้องการใช้ทั้งหมด และลดการพึ่งพาการนำเข้าชิปจากชาติอื่น ๆ มากขึ้น
ส่วนรัฐบาลเกาหลีใต้ ก็ตั้งเป้าผลิตชิปประมวลผลที่มีความซับซ้อนมากขึ้น และทุ่มเงินไปกว่า 2 ล้านล้านบาท
ญี่ปุ่นเอง ก็ตั้งเป้าให้มียอดส่งออกชิปภายในปี 2030 กว่า 4.1 ล้านล้านบาท ซึ่งรัฐบาลทุ่มงบเพื่อพัฒนาธุรกิจชิปในประเทศถึง 6.2 แสนล้านบาท
และไต้หวัน ที่แม้จะเก่งอยู่แล้ว ก็เกทับชาติอื่น ๆ ด้วยการวางแผนที่จะผลิตชิปขนาด 1 นาโนเมตร.. ให้ได้ภายในปี 2030 โดยรัฐบาลมีการอัดเงินตรงนี้ไปกว่า 5.9 แสนล้านบาทอีกด้วย
ถึงตรงนี้ คงเห็นแล้วว่า ทั้ง 4 ประเทศ ต่างมีแรงผลักดันมากพอ ที่จะเข้าสู่สงครามชิป และหวังชิงความเป็นผู้นำ ซึ่งนอกจากเหตุผลด้านการค้าและเศรษฐกิจแล้ว
การครอบครองเทคโนโลยีการผลิตชิปที่ล้ำสมัยและเป็นผู้ชนะในศึกนี้
ก็หมายถึง ความได้เปรียบในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ต้องพึ่งพาชิปมาก ๆ เช่น AI ด้วยเช่นกัน
ซึ่งสุดท้ายก็นำมาสู่ อิทธิพลและอำนาจต่อรองของชาติ บนเวทีโลกที่มากขึ้น นั่นเอง..
ซึ่งสุดท้ายก็นำมาสู่ อิทธิพลและอำนาจต่อรองของชาติ บนเวทีโลกที่มากขึ้น นั่นเอง..
แล้วในอนาคต จุดจบของมหากาพย์สงครามชิป ในทวีปเอเชีย จะออกมาเป็นแบบไหน
4 ก๊ก จะยังเป็น 4 ก๊ก อยู่หรือไม่
การแข่งขันในตอนนั้น จะหน้าตาเป็นอย่างไร ใครจะถือไพ่เหนือกว่า
4 ก๊ก จะยังเป็น 4 ก๊ก อยู่หรือไม่
การแข่งขันในตอนนั้น จะหน้าตาเป็นอย่างไร ใครจะถือไพ่เหนือกว่า
ปัจฉิมบทของเรื่องนี้ ก็คงน่าติดตามและตื่นเต้นไม่น้อย..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman