เจ้าของตลาดหุ้นนิวยอร์ก เสือนอนกิน ผลิตเงินสดได้ปีละ 300,000 ล้าน

เจ้าของตลาดหุ้นนิวยอร์ก เสือนอนกิน ผลิตเงินสดได้ปีละ 300,000 ล้าน

เจ้าของตลาดหุ้นนิวยอร์ก เสือนอนกิน ผลิตเงินสดได้ปีละ 300,000 ล้าน /โดย ลงทุนแมน
ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก หรือ New York Stock Exchange (NYSE) มีอายุยาวนานกว่า 230 ปี
ซึ่งปัจจุบัน NYSE เป็นตลาดหุ้นใหญ่สุดในโลก โดยมีมูลค่าบริษัทที่จดทะเบียนรวมกัน ราว 980 ล้านล้านบาท
ในขณะที่ เจ้าของ NYSE ยังมีธุรกิจอื่น ๆ อีก เรียกได้ว่าเป็นบริษัทเสือนอนกิน
ผลิตเงินสด ปีละราว 300,000 ล้านบาท ซึ่งมากกว่ากำไรของธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด ในตลาดหุ้นไทย ปีที่แล้วรวมกัน..
คำถามก็คือปัจจุบัน ใครเป็นเจ้าของ NYSE
แล้วบริษัทแห่งนี้ เป็นเจ้าของธุรกิจอะไรอีกบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
StockRadars PLUS แอปพลิเคชั่นสำหรับลงทุนตรงในหุ้นและ ETF อเมริกา มีฟีเจอร์ที่ช่วยทำเรื่องหุ้น (อเมริกา) เป็นเรื่องง่ายได้ในแอปฯ เดียว ดาวน์โหลดแอปฯ และเปิดบัญชีเทรดผ่าน StockRadars PLUS ที่นี่ https://stockradarsplus.page.link/LTMFB
╚═══════════╝
NYSE บริษัทเก่าแก่ 230 ปีแห่งนี้ มีเจ้าของ ชื่อว่า “Intercontinental Exchange” ซึ่งเพิ่งก่อตั้งมาได้เพียง 24 ปีเท่านั้นเอง
Intercontinental Exchange, Inc. เรียกสั้น ๆ ว่า “ICE” เป็นบริษัทสัญชาติอเมริกัน ก่อตั้งขึ้นในปี 2000 โดยคุณ Jeffrey Sprecher
คุณ Sprecher เคยทำงานในธุรกิจโรงไฟฟ้ามาก่อน และเล็งเห็นช่องว่าง ในการพัฒนาตลาดซื้อขายพลังงาน ให้มีประสิทธิภาพและเปิดเผยข้อมูลโปร่งใสมากขึ้น
ICE จึงเกิดมาเพื่อ “สร้างตลาด” ที่ให้บริการซื้อขายผลิตภัณฑ์กลุ่มพลังงานเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และไฟฟ้า
แต่ต่อมา พอธุรกิจไปได้สวยและเริ่มมีเม็ดเงินในมือเพิ่มขึ้น
ICE ก็ได้วางแผนการเติบโต ด้วยกลยุทธ์ M&A หรือซื้อกิจการ เพื่อขยายฐานตลาดไปสู่ผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ ที่นักลงทุนนิยมซื้อขายกัน
ตัวอย่างเช่น การซื้อกิจการ International Petroleum Exchange ในปี 2001 ซึ่งเป็นตลาดตราสารอนุพันธ์ชั้นนำของยุโรป โดยปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น ICE Futures
หรือการซื้อกิจการ New York Board of Trade ในปี 2007 ซึ่งเป็นตลาดตราสารอนุพันธ์ที่เชี่ยวชาญด้านสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น ICE Futures U.S.
นอกจากนี้ หลังจากที่เกิดวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ ในปี 2008 บริษัทยังได้เปิดตัวธุรกิจศูนย์กลางการชำระราคา (Clearing House) สำหรับผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ซับซ้อนต่าง ๆ อีกด้วย
เพราะเห็นโอกาสที่ตลาดต้องการใช้เครื่องมือสำหรับช่วยบริหารความเสี่ยงกันมากขึ้น
ส่งผลให้ ICE ก้าวขึ้นมาเป็นผู้เล่นชั้นแนวหน้าของอุตสาหกรรมตลาดการเงินแบบเต็มตัวนับจากนั้น
อย่างไรก็ดี ยังขาดอีกหนึ่งจิกซอว์ ที่บริษัทอยากได้มาไว้ในพอร์ตโฟลิโอธุรกิจของตัวเอง ซึ่งก็คือ “ตลาดหุ้น”
ทำให้ในปี 2013 ทาง ICE ได้เจรจาจับมือกับพาร์ตเนอร์อย่าง Nasdaq, Inc. เจ้าของตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ เพื่อทำข้อเสนอขอซื้อกิจการ NYSE Euronext เจ้าของตลาดหุ้นนิวยอร์ก
แต่ปรากฏว่า หน่วยงานกำกับของภาครัฐไม่เห็นชอบ เพราะมองว่ามันจะทำให้เกิดการผูกขาด ในวงการผู้ให้บริการตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา เลยส่งผลให้ดีลนี้ล่มไปเสียก่อน..
อย่างไรก็ตาม ICE ไม่ยอมแพ้ และตัดสินใจกลับมายื่นข้อเสนอใหม่อีกครั้งเพียงรายเดียว ด้วยเงินมูลค่า 300,000 ล้านบาท
ซึ่งคราวนี้ไม่มีใครคัดค้าน จึงทำให้บริษัทสามารถเทกโอเวอร์ กลายมาเป็นเจ้าของ NYSE ได้สำเร็จ
หลังจากนั้น ICE ก็ยังเดินหน้าขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งในตลาดต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
และในธุรกิจกลุ่มอื่น ๆ เช่น การเข้าซื้อกิจการ SuperDerivatives และ Interactive Data Corporation ผู้ให้บริการเทคโนโลยี บริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลตลาดการเงิน
รวมถึงการเข้าซื้อกิจการ Ellie Mae และ Black Knight ผู้ให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัย
มาถึงตรงนี้ ICE มีฐานอยู่ในตลาดซื้อขายสำคัญแทบทุกประเภท คำถามต่อมาคือ แล้วบริษัทมีขนาดใหญ่แค่ไหน ?
เรามาลองดูผลประกอบการ ของ ICE กัน
- ปี 2022 รายได้ 344,102 ล้านบาท กำไร 51,637 ล้านบาท
- ปี 2023 รายได้ 353,636 ล้านบาท กำไร 84,561 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่า บริษัทสามารถสร้างรายได้ในหลักแสนล้านบาท และมีอัตรากำไรสุทธิล่าสุด สูงถึงราว 24% เลยทีเดียว
โดยรายได้ของ ICE จะมาจาก
- 64% มาจาก ธุรกิจตลาดซื้อขายสินทรัพย์
- 23% มาจาก ธุรกิจบริการข้อมูลตลาดการเงิน
- 13% มาจาก ธุรกิจบริการข้อมูลสินเชื่อที่อยู่อาศัย
ซึ่งต้องบอกว่า โมเดลธุรกิจของ ICE มีการคิดค่าธรรมเนียมในธุรกิจตลาดซื้อขายอนุพันธ์ ที่ค่อนข้างสูงกว่าสินทรัพย์กลุ่มอื่น
และการให้บริการบริหารจัดการข้อมูลนั้น ก็มีอัตรากำไรอยู่ในระดับสูงไม่แพ้ตัวธุรกิจหลักเช่นกัน
ทั้งนี้ ICE ก็จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้น NYSE ด้วย และปัจจุบันมีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ประมาณ 2,800,000 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นผู้ให้บริการตลาดซื้อขายชั้นนำของสหรัฐอเมริกา
เปรียบเทียบกับคู่แข่งในธุรกิจตลาดตราสารอนุพันธ์อย่าง CME Group ซึ่งมีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 2,700,000 ล้านบาท ส่วนคู่แข่งในธุรกิจตลาดหลักทรัพย์อย่าง Nasdaq, Inc. มีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 1,200,000 ล้านบาท
และนี่คือเรื่องราวของ ICE บริษัทตลาดซื้อขายสินทรัพย์ ที่เริ่มต้นมาจาก คุณ Jeffrey Sprecher ที่เคยทำงานในธุรกิจโรงไฟฟ้า แล้วเห็นโอกาสในตลาดซื้อขายผลิตภัณฑ์ด้านพลังงาน
ก่อนที่ต่อมา จะขยายธุรกิจผ่านการซื้อกิจการมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ตลาดหุ้น NYSE, ตลาดตราสารอนุพันธ์ และบริการข้อมูลต่าง ๆ
จนอยู่ในจุดที่ทุกวันนี้ ICE ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินทรัพย์ของนักลงทุนและนักเก็งกำไรทั่วโลก ไปเสียแล้ว..
╔═══════════╗
????สำหรับใครที่อยากลงทุนในหุ้น เสือนอนกิน
StockRadars PLUS แอปพลิเคชั่นสำหรับลงทุนตรงในหุ้นและ ETF อเมริกา มี Radars ช่วยหาหุ้น “เสือนอนกิน” รวมหุ้นที่จ่ายปันผลทุกเดือนมาให้แล้ว สามารถเลือกหุ้นที่ต้องการ พร้อมเทรดได้เลยทันที
มีฟีเจอร์ที่ช่วยทำเรื่องหุ้น (อเมริกา) เป็นเรื่องง่ายได้ในแอปฯ เดียว เช่น รู้จักหุ้นอเมริกาง่ายขึ้นด้วย Short Video, ส่องพอร์ตนักลงทุนรายใหญ่ถือหุ้นอะไรบ้าง, ซื้อหุ้นแบบ Combo Trade คลิกเดียวทั้งตะกร้า ฯลฯ

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon