ค่าธรรมเนียมซื้อ หุ้น กองทุน ที่มี E-receipt ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 50,000 บาท

ค่าธรรมเนียมซื้อ หุ้น กองทุน ที่มี E-receipt ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 50,000 บาท

ค่าธรรมเนียมซื้อ หุ้น กองทุน ที่มี E-receipt ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 50,000 บาท /โดย ลงทุนแมน
ในช่วงต้นปีแบบนี้ ทางภาครัฐมักจะมีมาตรการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน โดยเฉพาะทางด้านภาษี
และในปีนี้ ก็ได้ออกมาตรการใหม่ที่มีชื่อว่า “Easy E-Receipt”
ซึ่งคล้ายกับ ช็อปช่วยชาติ หรือ ช็อปดีมีคืน ที่เราคุ้นเคยกัน
ซึ่งกรมสรรพากร คาดว่า มาตรการนี้จะทำให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นประมาณ 70,000 ล้านบาท เลยทีเดียว
แล้ว “Easy E-Receipt” มีรายละเอียดอะไรบ้าง ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
Easy E-Receipt เป็นมาตรการลดหย่อนทางภาษี สำหรับคนที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
โดยเราเพียงซื้อสินค้าหรือบริการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2567
จากร้านค้าที่เข้าเกณฑ์ของกรมสรรพากร
-เป็นผู้ประกอบการ ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
-เข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt
-ออกใบกำกับภาษีแบบเต็ม ในรูปของ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt
ก็สามารถนำยอดที่ใช้จ่ายตามจริง ไปหักลดหย่อนภาษี ได้สูงสุด 50,000 บาท สำหรับรอบปีภาษี 2567 (ยื่นภาษีตอนปี 2568)
และหากใครที่ซื้อสินค้าหรือบริการหลายรายการ ก็สามารถรวมรายการย่อย ๆ ทุกรายการ มาลดหย่อนรวมกันได้
ซึ่งตอนนี้ก็มีหลายศูนย์การค้าและร้านค้า ที่เข้าร่วมโครงการแล้ว เช่น ร้านค้าไอที, ร้านค้าบนแพลตฟอร์ม Shopee-Lazada
แต่ทั้งนี้ ก็จะมีสินค้าหรือบริการบางอย่าง ที่ไม่เข้าเงื่อนไขลดหย่อนภาษีตามมาตรการนี้ เข่น
-สุรา, เบียร์, ไวน์, ยาสูบ
-ซื้อรถยนต์, จักรยานยนต์
-น้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
-ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า
-ค่าบริการสัญญาณมือถือ-บริการอินเทอร์เน็ต
-ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
แล้วเกณฑ์ลดหย่อนที่ว่า ช่วยให้เราประหยัดภาษีได้มากแค่ไหน ?
สมมติง่าย ๆ ว่า
ถ้าเราซื้อสินค้าหรือบริการที่เข้าเงื่อนไข แบบเต็ม MAX ที่ 50,000 บาท
คนที่เสียภาษีในอัตรา 5%
จะสามารถลดค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ 2,500 บาท
คนที่เสียภาษีในอัตรา 10%
สามารถลดค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ 5,000 บาท
คนที่เสียภาษีในอัตรา 15%
สามารถลดค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ 7,500 บาท
คนที่เสียภาษีในอัตรา 20%
ลดค่าใช้จ่ายทางภาษีได้สูงถึง 10,000 บาท
และคนที่มีรายได้สูง เสียภาษีในอัตราที่มากกว่านี้ ก็จะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี สูงไปเป็นเงาตามตัว
รู้หรือไม่ว่า ค่าธรรมเนียมในการซื้อหุ้น-กองทุนรวม หรือก็คือ ค่าคอมฯ​
ก็สามารถนำไปลดหย่อนภาษี ตามมาตรการ Easy E-Receipt ได้ด้วยเช่นกัน
และสำหรับกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ ที่น่าสนใจในช่วงนี้ ก็คงไม่พ้นกองทุนที่ไปลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ - จีน
เพราะมีศักยภาพการเติบโตที่ดีในระยะยาว
ตัวอย่างกองทุนฯ​ เช่น
1) MEGA10
กองทุน MEGA10-A MEGA10-A, MEGA10-SSF, MEGA10RMF เป็นกองทุนที่เข้าไปลงทุนในบริษัทที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก โดยเน้นแค่ 10 บริษัทเท่านั้น เช่น Meta, Visa, Mastercard, Amazon, Microsoft และ Tesla* ซึ่งเราจะมีส่วนร่วมใน 10 บริษัทนี้แบบ เน้น ๆ ในสัดส่วนที่หาไม่ได้จากกองทุนอื่น
2) MEGA10CHINA
กองทุน MEGA10CHINA-A, MEGA10CHINA-SSF, MEGA10CHINARMF เป็นกองทุนที่ลงทุนใน 10 บริษัท ทรงอิทธิพลในจีน ในช่วงที่ตลาดฮ่องกง P/E แตะระดับ 7 เท่า อยู่ในโซนต่ำสุดในรอบ 10 ปี
สำหรับคนที่อยากเข้าซื้อหุ้นของบริษัทจีนที่มีแบรนด์ที่เป็นรู้จักของคนจีน 1,400 ล้านคน (จีนมีประชากร 20% ของประชากรโลก) เช่น BYD, Xiaomi, Tencent, Meituan, Nongfu, Ping An, Alibaba แบบเน้น ๆ 10 ตัว*
โดยผู้ที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียด และเริ่มต้นลงทุนได้ที่ บลจ.ทาลิส talisam.co.th
โทร. 02-0150215, 02-0150216, 02-0150222 และ ผู้สนับสนุนการขายหลายราย ได้แก่
1. บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด
2. บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป จำกัด (มหาชน)
3. บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี พัฒนสิน จำกัด (มหาชน)
4. บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)
5. บริษัทหลักทรัพย์ เว็ลธ์ เมจิก จำกัด
6. หลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)
7. บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน)
8. บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
9. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด
10. บริษัท หลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
11. บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
12. บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
13. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด
14. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน โรโบเวลธ์ จำกัด
15. บริษัท หลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด
16. บริษัทหลักทรัพย์พาย จำกัด (มหาชน)
17. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน แอสเซนด์ เวลธ์ จำกัด
18. บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เทรเชอริสต์ จำกัด
19. บริษัทหลักทรัพย์หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด
20. บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน)
21. บริษัทหลักทรัพย์ สยามเวลธ์ จำกัด
22. บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด
23. บริษัทหลักทรัพย์ ไพน์ เวลท์ โซลูชั่น จำกัด
24. บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด
25. บริษัท หลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ จำกัด
26. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็กซ์สปริง จำกัด
27. บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
28. บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด
คำเตือน :
- กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ และการลงทุนในกองทุนรวมตราสารแห่งทุน อาจมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน ก่อนตัดสินใจลงทุน
- กองทุนนี้มีการลงทุนในต่างประเทศ มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และมีการลงทุนกระจุกตัวของหลักทรัพย์ หมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก
- ผลการดำเนินงานในอดีต/ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
*บริษัทดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนได้ ตามเกณฑ์การลงทุนและสภาวะการลงทุน ณ ขณะนั้น

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon