TOSHIBA ถูกซื้อกิจการ 500,000 ล้าน ถูกนำออกจากตลาดหุ้น หลังอยู่มานาน 74 ปี

TOSHIBA ถูกซื้อกิจการ 500,000 ล้าน ถูกนำออกจากตลาดหุ้น หลังอยู่มานาน 74 ปี

TOSHIBA ถูกซื้อกิจการ 500,000 ล้าน ถูกนำออกจากตลาดหุ้น หลังอยู่มานาน 74 ปี /โดย ลงทุนแมน
-TOSHIBA ถูกเข้าซื้อกิจการโดย Japan Industrial Partners หรือเรียกสั้น ๆ ว่า JIP ในสัดส่วน 79% และได้ถูกนำออกจากตลาดหุ้นญี่ปุ่นแล้ว วันนี้
แล้ว JIP คือใคร ?
สำหรับ JIP เป็นบริษัทโฮลดิง ที่มักเข้าไปลงทุนในธุรกิจอื่นโดยที่ผ่านมา ได้เข้าซื้อธุรกิจ เช่น
- ธุรกิจมือถือ ของ Olympus บริษัทผลิตกล้องและอุปกรณ์ถ่ายรูป
-ธุรกิจแล็ปท็อป ของ Sony บริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และ ธุรกิจบันเทิง
แล้วที่ผ่านมาธุรกิจของ TOSHIBA เป็นอย่างไร ?
ต้องบอกว่าจริง ๆ แล้ว TOSHIBA ทำธุรกิจมานานกว่า 148 ปี จดทะเบียนเข้าตลาดหุ้นมากว่า 74 ปี เป็นแบรนด์ที่เราเห็นกันเป็นประจำ
แต่ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา TOSHIBA เจอปัญหารุมเร้ารอบด้าน เริ่มต้ังแต่
-ปัญหาการแข่งขัน จากแบรนด์อิเล็กทรอนิกส์จีนราคาถูก
-บริษัทถูกพบว่ามีความพยายามตกแต่งบัญชีให้มีกำไรเกินจริง เพื่อปกปิดผลขาดทุน
ถูกซ้ำเติมด้วยความโชคร้าย ที่ไปลงทุนในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เพื่อปรับเปลี่ยน ทิศทางธุรกิจของตัวเอง
แต่กลายเป็นว่า เหตุการณ์สึนามิญี่ปุ่น ในปี 2011 ทำให้ธุรกิจโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หลายแห่ง ต้องชะลอตัวไป..
มรสุมรอบด้านที่รุมเร้า ทำให้ TOSHIBA ขาดทุนหนัก มีเงินสดหมุนไม่ทัน จนมูลค่าบริษัท หายไปครึ่งหนึ่ง
จึงต้องขายกิจการต่าง ๆ ออกมา ไล่ตั้งแต่
- ปี 2015 TOSHIBA ขายหุ้น 4.6% ในธุรกิจลิฟต์ ด้วยมูลค่า 33,533 ล้านบาท ในปีเดียวกัน ก็ได้ขายธุรกิจ Image Sensor ให้ Sony ด้วยมูลค่า 5,497 ล้านบาท
- ปี 2016 ขายธุรกิจเครื่องมือทางการแพทย์ทั้งหมด ให้ Canon ด้วยมูลค่า 209,273 ล้านบาท
รวมถึงขายหุ้น 80% ของธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า ให้บริษัท Midea จากประเทศจีน ด้วยมูลค่า 16,777 ล้านบาท
อีกทั้งยังให้สิทธิ์ใช้ชื่อแบรนด์ TOSHIBA เป็นระยะเวลา 40 ปี..
- ปี 2018 ขายบริษัท Westinghouse ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ มูลค่า 163,162 ล้านบาท ให้กับบริษัท Brookfield
และขายหุ้นในธุรกิจคอมพิวเตอร์ให้กับ Sharp 80% ด้วยมูลค่า 1,278 ล้านบาท
และในวันนี้ TOSHIBA ก็ได้ขายกิจการ ให้กับ JIP และถูกนำออกจากตลาดหุ้นแล้ว
ซึ่งเราก็ต้องมาติดตามกันต่อว่า แบรนด์ TOSHIBA ที่ทำธุรกิจบนโลกนี้มานานกว่า 148 ปี ภายใต้เจ้าของใหม่ จะเป็นอย่างไร..

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon