<ผู้สนับสนุน> K PLUS โฉมใหม่
<ผู้สนับสนุน>
K PLUS โฉมใหม่ / โดย ลงทุนแมน
จากสถิติการใช้แอป Mobile Banking ในประเทศไทย
ปี 2017 พบว่า K PLUS ของกสิกรไทย มีคนใช้เยอะที่สุด
แต่ในปีนี้ K PLUS จะเปลี่ยนไป แล้วเปลี่ยนอย่างไร
วันนี้ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
K PLUS โฉมใหม่ / โดย ลงทุนแมน
จากสถิติการใช้แอป Mobile Banking ในประเทศไทย
ปี 2017 พบว่า K PLUS ของกสิกรไทย มีคนใช้เยอะที่สุด
แต่ในปีนี้ K PLUS จะเปลี่ยนไป แล้วเปลี่ยนอย่างไร
วันนี้ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ในปี 2013 ธนาคารกสิกรไทย ได้เปิดตัวแอป Mobile Banking ตัวแรกของธนาคาร ที่มีชื่อว่า K-Mobile Banking Plus ขึ้น
ซึ่งในช่วงแรก การให้บริการทาง Mobile Banking ยังไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก
ในปี 2014 ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 53 ยังเชื่อว่าโทรศัพท์มือถือไม่สามารถใช้ทำธุรกรรมทางการเงินได้ แต่แอป K-Mobile Banking Plus ก็ยังได้รับความนิยมมากที่สุดจากทุกธนาคาร คิดเป็นร้อยละ 24
ภายในไม่กี่ปี Mobile Banking ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
ต่อมาในปี 2016 ธนาคารกสิกรไทย ประกาศตั้งบริษัทลูก ชื่อว่า กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป หรือ KBTG (KASIKORNBANK Business-Technology Group) เพื่อเน้นพัฒนาด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้าน Fintech
และในปี 2017 ทาง KBTG ได้มีการพัฒนา K-Mobile Banking Plus และเปลี่ยนชื่อเป็น K PLUS ที่คนใช้ธนาคารกสิกรไทยปัจจุบัน ก็น่าจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี
นอกจากนั้น KBTG ยังสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมา เช่น
K PLUS Beacon แอปพลิเคชั่น K PLUS ที่พัฒนาเพื่อรองรับการใช้งานของผู้บกพร่องทางการเห็น
Machine Commerce ที่ตอบโจทย์ความต้องการของทั้งผู้ซื้อและขาย เพื่อช่วยลดต้นทุนในหลายๆด้าน
Machine Lending ที่วิเคราะห์ว่าลูกค้ากลุ่มไหนมีความต้องการกู้เงิน และพัฒนาขั้นตอนการปล่อยสินเชื่อผ่าน K PLUS อนุมัติได้ใน 1 นาที
และในปี 2018 นี้ K PLUS จะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
ทางบริษัท KBGT ได้มีการนำระบบ ปัญญาประดิษฐ์ (AI: Artificial Intelligence)
มาพัฒนาต่อยอด เพื่อให้แอปพลิเคชั่นนี้ตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม
มาพัฒนาต่อยอด เพื่อให้แอปพลิเคชั่นนี้ตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม
และได้ตั้งชื่อนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์นี้ว่า “KADE” (เกด) โดยย่อมาจาก K PLUS AI-Driven Experience
KADE จะทำงานอย่างไร?
KADE ถูกสร้างให้เหมือนเพื่อนสนิทที่รู้ใจ สามารถช่วยคิด โดยวิเคราะห์จากพฤติกรรมการใช้ K PLUS ในแต่ละวันของว่าเป็นอย่างไร เลยทำให้เป็นที่ปรึกษาและนำเสนอสิ่งต่างๆให้ตรงกับความต้องการของแต่ละคนได้
ซึ่ง KADE มีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ
1. Design Intelligence คือ การออกแบบให้ความต้องการของลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ซึ่งในอนาคต จะออกแบบให้สามารถได้ติดต่อกับ KADE ได้หลายช่องทาง เพื่อประเมินความต้องการของแต่ละคนได้แม่นยำมากขึ้น
2. Service Intelligence คือ การให้บริการด้วยความสะดวก รวดเร็ว และพัฒนาให้เหมาะสม โดยจะมีระบบ เตือนในทุกๆโอกาสสำคัญและเสนอสิ่งที่เหมาะสมกับโอกาสต่างๆ เช่น วันวาเลนไทน์อยากได้ดอกไม้แบบไหน วันเกิดเลือกของขวัญแบบไหนดี
3. Machine Intelligence คือ ระบบพื้นฐานที่สำคัญที่สุด เพราะจะอยู่ในทุกบริการของ K PLUS เช่น ใช้พัฒนาระบบ Machine Lending ในการเสนอเงินกู้ให้ลูกค้าผ่าน K PLUS โดยขั้นตอนไม่นาน
เราได้อะไรจากเรื่องนี้
ยุคของสังคมไร้เงินสดน่าจะกำลังแทรกซึมกับทุกๆกิจกรรมการเงินของคนไทยมากขึ้นเรื่อยๆในอนาคต
เคยไหม?
ตอนไปกินข้าวกับเพื่อนๆ ที่มีคนนึงเป็นตัวแทนเพื่อนๆจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิต และเพื่อนคนอื่นก็คืนเงินโดยโอนผ่าน PromptPay
สิ่งเหล่านี้จะเข้ามาใกล้ตัวเรามากขึ้นเรื่อยๆ
ต่อไปจะไม่ใช่แค่ร้านอาหาร แต่จะเป็นทุกเรื่องในชีวิตประจำวันของเรา
ก็คงไม่น่าแปลกใจที่จะเห็นการแข่งขันด้านเทคโนโลยีของทุกธนาคารเพื่อให้คนทั่วไปเข้าถึงธุรกรรมทางการเงินได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น
สิ่งที่สำคัญคือการปรับตัวและพัฒนาตนเอง
ถ้าเราปรับตัวได้เร็วกว่าคนอื่น ก็อาจจะมาเป็นผู้นำในตลาดยุคใหม่ได้เหมือน K PLUS ของกสิกรไทย