ธุรกิจสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า โอกาสที่ควรรีบคว้า ถ้าอยากเป็นผู้นำเทรนด์
กฟผ. X ลงทุนแมน
ตั้งแต่คนไทยเริ่มรู้จักรถยนต์ไฟฟ้า 100% หรือ EV Car หลายคนน่าจะเกิดคำถามเดียวกัน คือ EV Car จะเข้ามาเปลี่ยนโลกยนตกรรม แทนที่เครื่องยนต์สันดาป ได้หรือไม่ ?
เมื่อเวลาผ่านไป คำถามนี้เริ่มค่อย ๆ พบคำตอบ
เมื่อยอดขาย EV Car ในกลุ่มรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเมืองไทยกำลังโตระเบิด
เมื่อยอดขาย EV Car ในกลุ่มรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเมืองไทยกำลังโตระเบิด
ปี 2020 ยอดจดทะเบียน 1,056 คัน
ปี 2021 ยอดจดทะเบียน 1,935 คัน
ปี 2022 ยอดจดทะเบียน 9,729 คัน
ปี 2023 (ม.ค.-ก.ย.) ยอดจดทะเบียน 50,347 คัน
ปี 2021 ยอดจดทะเบียน 1,935 คัน
ปี 2022 ยอดจดทะเบียน 9,729 คัน
ปี 2023 (ม.ค.-ก.ย.) ยอดจดทะเบียน 50,347 คัน
คิดง่าย ๆ ว่า รถยนต์ที่ออกมา 10 คัน จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า 1 คัน
แค่ปีเดียว ยอดขาย EV Car เติบโต 517%
ล่าสุดศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ประเมินว่า ยอดขาย EV Car ปี 2023 จะสูงถึง 68,000 คัน
ล่าสุดศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ประเมินว่า ยอดขาย EV Car ปี 2023 จะสูงถึง 68,000 คัน
ทำไม รถยนต์ไฟฟ้า ขยายตัวเติบโตไว ?
แล้วธุรกิจใดจะได้รับประโยชน์จากเทรนด์นี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
แล้วธุรกิจใดจะได้รับประโยชน์จากเทรนด์นี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
การขยายตัวของรถยนต์ไฟฟ้าในไทย เหตุผลมาจากการที่ค่ายรถยนต์ต่าง ๆ เริ่มหันมาผลิตและขาย EV Car มากขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งคนไทยเริ่มมีความรู้ความเข้าใจว่า EV Car ดีอย่างไร จนถึงนโยบายของภาครัฐ ที่มอบส่วนลดต่าง ๆ ในการซื้อ EV Car เพื่อให้มีราคาเข้าถึงง่ายขึ้น
และความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อตอบสนองการเพิ่มขึ้นของ EV Car ก็คือ สถานีชาร์จรถ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นเทรนด์ใหม่ของธุรกิจที่กำลังมาแรง เติบโตรองรับรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นมหาศาล
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. รัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน ที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการผลิตและส่งไฟฟ้าของประเทศ ก็เป็นหนึ่งในผู้เล่นที่จริงจัง ในการสร้าง EV Charging Ecosystem ให้กับประเทศไทยผ่านหน่วยธุรกิจ EGAT EV Business Solutions
เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเดินทางสีเขียว โดยขับเคลื่อน 3 ธุรกิจหลัก ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ สถานีชาร์จรถไฟฟ้า นั่นเอง
แล้วทำไม กฟผ. ถึงเป็นผู้เล่นที่สำคัญในธุรกิจนี้ ?
เหตุผลง่าย ๆ มาจากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมผลิตและส่งพลังงานไฟฟ้ามานานกว่า 54 ปี ทำให้ กฟผ. มี Know-how และบุคลากรที่มีความพร้อม ต่อยอดไปสู่การส่งพลังงานไฟฟ้าไปที่รถ EV Car ได้อย่างรวดเร็ว
ส่งผลให้สถานีชาร์จ EleX by EGAT เป็นที่มั่นใจสำหรับคนเดินทางและคนใช้ชีวิตด้วยรถพลังงานสะอาด ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา
หากเราตัดสินใจจะลงทุนในสถานีชาร์จรถไฟฟ้า จะต้องคิดอย่างไร ? คุ้มค่าไหม ?
จากประสบการณ์ของ EleX by EGAT
เรื่องแรก ต้องเข้าใจธุรกิจและองค์ประกอบของสถานีชาร์จก่อน
เพราะเป็นธุรกิจใหม่ที่ถือเป็นนวัตกรรมอนาคต โดย กฟผ. สามารถ Simplify ธุรกิจ ให้ง่ายต่อความเข้าใจ ทั้ง รูปแบบสถานี ความเหมาะสม องค์ประกอบทางเทคนิค และโมเดลทางธุรกิจ
เรื่องที่สอง ต้องมีปัจจัยสนับสนุน Moving Forward เพื่อให้สถานีชาร์จเป็นที่รู้จัก และบริหารจัดการสถานีให้มีเสถียรภาพสูง
ที่สำคัญต้องมีบริการ Customer Service แนะนำและแก้ปัญหาให้ลูกค้าอย่างรวดเร็ว ด้วยการประสานและเชื่อมโยงค่ายรถยนต์ไฟฟ้าชั้นนำต่าง ๆ
เรื่องสุดท้าย Leverage Your Business สร้างผลตอบแทนที่ดี ทั้งทางตรง คือ รายได้จากการใช้บริการสถานี และทางอ้อม คือ ลูกค้าเข้าใช้บริการในธุรกิจมากขึ้น โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มใหม่ที่ชื่นชอบยนตกรรมล้ำสมัยที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
ซึ่งในอดีต หากเราอยากเปิดปั๊มน้ำมันเล็ก ๆ 1 สาขา ต้นทุนขั้นต่ำที่เราต้องใช้ นับเฉพาะค่าก่อสร้าง และค่าตกแต่งต่าง ๆ คงต้องมี 10 ล้านบาทขึ้นไป และหากเราไม่มีที่ดินทำเลดี ๆ ติดถนนใหญ่ ก็อาจต้องแบกรับต้นทุนค่าเช่าพื้นที่อีก
ธุรกิจสถานีชาร์จรถไฟฟ้า ได้เข้ามาทำลายข้อจำกัดเหล่านี้
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน เพียงเงินลงทุนเริ่มต้น 209,000 บาท สำหรับสถานีไซซ์ S ที่มีเครื่องอัดประจุไฟฟ้า ขนาด 22 kW จำนวน 2 เครื่อง ชนิด AC Normal Charge ใช้เวลาการชาร์จ 2-4 ชั่วโมง
ซึ่งเหมาะสำหรับเจ้าของธุรกิจเล็ก ๆ อย่างเจ้าของร้านสะดวกซื้อ, ร้านอาหาร, โรงแรม, ฟิตเนสเซนเตอร์, สถานศึกษา เป็นต้น
สมมติเราตั้งราคาไว้ที่ 9 บาท/kWh ขณะที่ต้นทุนค่าไฟต่อหน่วย อยู่ที่ 4.5 บาท/kWh เท่ากับว่า ต่อ 1 กิโลวัตต์ จะได้กำไร 4.5 บาท
จากข้อมูลสถิติของ กฟผ. หากมีลูกค้าใช้บริการเฉลี่ยวันละ 49 กิโลวัตต์ ผ่าน 2 หัวชาร์จ เราจะมีรายได้วันละ 441 บาท กำไรวันละ 220 บาท เมื่อหักภาษีและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จะเหลือกำไรวันละ 165 บาท
พอนำมาคิดเป็นเวลาคืนทุน จะอยู่ที่ราว ๆ 3 ปี กับ 5 เดือน
คงเห็นภาพแล้วว่า สถานีชาร์จรถไฟฟ้าใช้พื้นที่น้อยมาก สามารถนำมาเป็นธุรกิจเสริมในธุรกิจหลักที่พร้อมสร้างรายได้ทันที แถมยังตัดวงจรยุ่งยากหากเทียบกับปั๊มน้ำมัน
ที่สำคัญใช้เงินลงทุนแค่ 200,000 บาท ทำให้เป็นธุรกิจที่ใคร ๆ ก็เป็นเจ้าของได้แล้ว
ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ว่า วันนี้ กฟผ. พร้อมแล้ว ที่จะเป็นตัวช่วยให้ผู้ประกอบการ ที่ต้องการตอบรับนักเดินทางสีเขียว ด้วยการมีสถานีชาร์จ เพื่อส่งเสริมต่อยอดธุรกิจเดิม เช่น โรงแรม, ร้านอาหาร, สถานที่ท่องเที่ยว ฯลฯ หรือใครที่อยากมีธุรกิจสีเขียวเป็นของตัวเอง
โดย กฟผ. มีบริการครบจบในที่เดียว ผ่าน Package 3 รูปแบบ คือ S, M, L
ที่จะเริ่มต้นตั้งแต่การสำรวจ ออกแบบ ติดตั้ง ให้บริการผ่าน App EleXA ที่จะทำให้สถานีชาร์จของผู้ลงทุน ได้รับการมองเห็นจากผู้ใช้รถไฟฟ้ากว่า 100,000 ราย โดยจะมีระบบปฏิบัติการอัจฉริยะ BackEN EV ช่วยบริหารหลังบ้านให้แก่เจ้าของสถานี
ที่น่าสนใจคือ ธุรกิจนี้ เราสามารถตั้งอัตราค่าบริการด้วยตัวเองได้ ตามความเหมาะสมของทำเล และเข้าดูจำนวนลูกค้าและช่วงเวลาที่มาใช้บริการ
เพื่อวางแผนต่อยอดธุรกิจในอนาคต และมีบริการหลังการขายครอบคลุมรับประกันนาน 2 ปี
และด้วยชื่อเสียงของ กฟผ. ก็น่าจะสร้างความมั่นใจในเรื่องอายุการใช้งานที่ยาวนาน โดยมีช่างผู้เชี่ยวชาญดูแลทุกขั้นตอน จากประสบการณ์ที่ดูแลสถานีชาร์จรถไฟฟ้าของ กฟผ. 150 สถานี
นั่นหมายถึงว่า อายุการใช้งานของเครื่องชาร์จไฟฟ้าจะเหลืออีกยาวนาน ทำให้เมื่อครบเวลาคืนทุน ธุรกิจนี้จะสร้างกำไรเต็มเม็ดเต็มหน่วยไปอีกนาน เช่นกัน
ขณะเดียวกัน กฟผ. ยังมีแอปฯ ที่ชื่อ EleXA
โดยเจ้าแอปฯ นี้ จะช่วยทั้งหาลูกค้าและบริหารจัดการเรื่องต่าง ๆ เช่น สถานีของเราจะเข้าไปอยู่ในแอปฯ EleXA เมื่อรถลูกค้าต้องการชาร์จไฟฟ้า ระบบจะทำการค้นหาสถานีที่ใกล้ที่สุด
จากนั้นแอปฯ EleXA ก็จะนำทางรถลูกค้ามาถึงสถานีของเรา รวมไปถึงยังมีฟังก์ชันอื่น ๆ เช่น สั่งชาร์จ หยุดชาร์จ และชำระเงิน เป็นต้น
แปลว่า เจ้าของสถานีไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงาน เมื่อทุกอย่างลูกค้าจัดการเองได้หมด ผ่านทางแอปฯ EleXA ถือเป็นการลดต้นทุนทางธุรกิจได้ดีทีเดียว
นอกจาก Package S ที่ยกตัวอย่างไปแล้วนั้น ทาง กฟผ. ยังมี Package M และ L
โดย M จะเป็น Package ที่ใช้เครื่องอัดประจุไฟฟ้า DC Charge ขนาดเล็ก 1 เครื่อง ที่ชาร์จไฟฟ้าเข้ารถจนเต็ม ภายในเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง เหมาะสำหรับ ธุรกิจขนาดกลาง, สำนักงานต่าง ๆ เป็นต้น
ส่วน Package L จะเป็น Package ใหญ่สุด ที่ใช้เครื่องอัดประจุไฟฟ้า DC Charge ขนาดใหญ่ 1 เครื่อง ที่ชาร์จได้พร้อมกัน 2 คัน โดยจะชาร์จไฟฟ้าเข้ารถจนเต็ม ภายในเวลา 30 นาที เหมาะสำหรับ เป็นธุรกิจเสริมให้แก่เจ้าของปั๊มน้ำมัน ธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นต้น
หากใครสนใจและอยากสัมผัสธุรกิจนี้จริง ๆ ก่อนตัดสินใจลงทุน ก็ลองไปงาน Bangkok EV Expo 2023 ในวันที่ 26 - 29 ตุลาคม 2566 บูท EL21 ที่นอกจากมีค่ายรถไฟฟ้าต่าง ๆ มาออกบูทแล้วนั้น
ทาง กฟผ. ยังนำโมเดลสถานีชาร์จรถไฟฟ้า มาให้นักลงทุนและเจ้าของกิจการต่าง ๆ ได้สัมผัสกันจริง ๆ พร้อมกับมีผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้แบบจัดเต็ม แถมยังมีส่วนลดพิเศษในงานสูงสุด 90,000 บาท
ส่วนธุรกิจนี้จะน่าลงทุนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน
แต่ที่แน่ ๆ นี่คือธุรกิจที่กำลังเป็นเมกะเทรนด์ของโลก
ในอนาคตอันใกล้ EV Car จะวิ่งเต็มบนท้องถนนทั่วโลก
รวมถึงท้องถนนเมืองไทยเอง เช่นกัน..
ในอนาคตอันใกล้ EV Car จะวิ่งเต็มบนท้องถนนทั่วโลก
รวมถึงท้องถนนเมืองไทยเอง เช่นกัน..